Distal stomach

ภาวะกระเพาะส่วนปลายตีบตันในทารก

ภาวะกระเพาะส่วนปลายตีบตันภัยเงียบในทารกแรกเกิด หากไม่สังเกตดีๆอาจคิดว่าลูกน้อยเป็น overfeeding หรือพฤติกรรมการกินนมเยอะเกินไปของทารก กินจนล้นกระเพาะ ท้องอืด ไม่สบายท้อง แหวะนม ภาวะกระเพาะส่วนปลายตีบตันเป็นโรคมีกพบในเด็กอายุ 2 – 8 สัปดาห์ และเป็นภาวะที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้นค่ะ

ภาวะกระเพาะอาหารส่วนปลายตีบตัน (Infantile hypertrophic pyloric stenosis)  เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างในระบบทางเดินอาหาร ความหนาของกล้ามเนื้อไพโลเรอสที่อยู่ระหว่างส่วนปลายของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ทำให้เกิดการอุดตันขัดขวางทางเดินอาหาร ส่งผลให้ทารกขาดสารอาหารอัตราการเจริญเติบโตช้า การอาเจียนซ้ำๆ จะทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารระคายเคืองและทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ค่ะ ภาวะดังกล่าวยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรค ดังนั้นการสังเกตอาการจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดูแลเอาใจใส่ทารกอย่างใกล้ชิดค่ะ

อาการกระเพาะอาหารส่วนปลายตีบตัน

อาการที่พบบ่อยที่สุดที่พบในทารกที่มีภาวะกระเพาะอาหารส่วนปลายตีบตัน คือการอาเจียนออกตลอดทุกครั้งที่กินนม หรือบางทีอ้วกพุ่งออกจมูก ท้องอืด ปวดท้องไม่สบายตัว ท้องผูก น้ำหนักไม่ขึ้นหรือลดลง งอแง ฯลฯ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดภาวะขาดน้ำ ชักและเสียชีวิตได้ค่ะ

การรักษาภาวะกระเพาะอาหารส่วนปลายตีบตันในทารก คือการผ่าตัดเปิดแผลทางหน้าท้องเพื่อขยายกล้ามเนื้อไพโลเรอสทางเดินเชื่อมต่อเพื่อให้อาหารเข้าสู่ลำไส้และถูกย่อยค่ะ และการดูแลหลังการผ่าตัดมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาค่ะ โดยแพทย์จะแนะนำวิธีการต่างๆ เพื่อให้แผลผ่าตัดถูกสุขลักษณะและจนกว่าจะหายสนิทค่ะ

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหลังการผ่าตัด ควรรีบพาทารกไปพบแพทย์ทันทีหากคุณพบอาการต่อไปนี้

  • มีไข้สูง แผลสีแดงและอักเสบรอบๆรอยเย็บ มีหนองเลือดหรือของเหลวใสไหลออกมาจากแผล
  • อาการบวมของส่วนใดส่วนหนึ่งของช่องท้อง
  • อาเจียนออกมาอย่างต่อเนื่องหรืออาเจียนมากเกินสามวันหลังการผ่าตัด
  • เด็กดูเหมือนจะเจ็บปวดแม้จะมียาบรรเทาอาการปวด