ยุงกัดลูก เสี่ยงโรคอันตราย และวิธีป้องกัน
ยุง สัตว์ตัวเล็ก แต่แฝงไปด้วยพิษสง พาหะนำโรคมากมายที่คร่าชีวิตมนุษย์มาแล้วมากมาย เพราะยุงเมื่อกัดแล้ว ไม่เพียงจะเอาเลือดคุณไป แต่จะปล่อยสารโปรตีนทำให้เกิดอาการคัน และตุ่มแดงคันขึ้นบนผิวหนัง ซึ่งตุ่มยุงกัดจะอยู่บนร่างกายของเราประมาณ 1 วัน หรืออาจจะนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับการแพ้ของร่างกายของเรา
บางคนร้ายแรงกว่านั้น คือเกิดการติดเชื้อ ซึ่งส่วนมากคนที่เกิดการติดเชื้อเนื่องจากไม่ค่อยได้ถูกยุงกันเท่าไร อยู่ในแหล่งที่มียุงน้อย หรือเป็นผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ ในวัยที่เป็นอันตรายมากที่สุดคือวัยเด็ก เพราะระบบภูมิคุ้มกันในเด็กยังทำงานยังไม่เต็มที่เหมือนของผู้ใหญ่
“ข้อห้ามหลังโดนยุงกัด”
หากเมื่อเราโดนยุงกัด บางคนอาจมีการแพ้อย่างรุนแรง การเกาอย่างรุนแรงทำให้ผิวหนังเกิดแผล ทำให้แผลติดเชื้อได้ เนื่องจาก มือที่เราใช้เกาอาจจะมีเชื้อโรค ซึ่งทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายและเกิดการติดเชื้อ และกลายเป็นแผลลามใหญ่หรือเป็นหนอง “หากเกิดแผลจากการเกาแล้วลุกลามให้รีบพบแพทย์เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้ อาจส่งผลไปสู่ผิวหนังส่วนลึก จนทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้”
ดังนั้น เมื่อเราถูกยุงกัด ให้หลีกเลี่ยงการเกา ให้ใช้ยาแก้คัน เช่น คาลามาย์ เป็นต้น เพื่อลดอาการคัน หรือถ้าไม่สามารถทนอาการคันได้ มีอีกวิธีคือหาผ้าสะอาดบางมารองก่อนการเกา แต่หากบางรายมีการแพ้มากคันมัก แนะนำให้กินยาแก้แพ้ และหากเกาแล้วมีแผล อย่างแรกที่ควรทำคือการล้างแผลให้สะอาดให้ใช้แอลกอฮอร์ในการล้างแผล อย่าปล่อยทิ้งไว้ ไม่อย่างนั้นแผลอาจติดเชื้อได้
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย
(อ้างอิงข้อมูลจาก เว็บไซต์ MGR Online)
ยิ่งไปกว่านั้น บางรายที่น้ำเหลืองไม่ดี การเกิดแผลเกาที่มาจากที่ยุงกัด จะทำให้แผลติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจาก ภาวะน้ำเหลืองที่มีการระบายที่ไม่ราบรื่น คั้งค้าง ทำให้เกิดการอักเสบ ง่ายกว่าคนที่ระบบน้ำเหลืองปกติหลายเท่า
อาการหลังยุงกัดที่ควรพาลูกไปพบแพทย์
ซึ่งสัญญาณเตือนว่าลูกของคุณพ่คุณแม่ได้ติดเชื้อจากการที่ลูกโดนยุงกัด คือ มีไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย และมีอาการปวดหัว ต้องพาลูกของคุณไปตรวจและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
ลูกโดนยุงกัดเสี่ยงกับโรคอะไรบ้าง
ทำไม่ยุงถึงเป็นพาหะ เพราะยุงไม่ได้กัดแค่เราเพียงคนเดียว แต่ไปกันสัตว์ หรือคนอื่นๆ ด้วย ดังนั้น เชื้อไวรัสต่างๆ จากสัตว์ หรือของคน ก็สามารถส่งผ่านจากยุงมาสู่งเราได้
ภูมิภาคของโลกที่ยุงเยอะที่สุดคือ ทวีปเอเชีย ทำให้โรคดังต่อไปนี้ มักจะระบาดในไทย และประเทศอื่นๆ ที่อยู่ในภูมิภาคเอเชีย
- โรคไข้เลือดออก (Dengue Fever) (อ่านต่อเรื่องโรคไข้เลือดออกได้โดยคลิ๊กที่ชื่อโรค)
โรคยอดฮิค เมื่อปี 2562 อัตราของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสูงถึง 44,671 คน และทีการตายถึงโรคนี้ถึง 62 ราย สูงสงในรอบ 7 ปี (ข้อมูลอ้างอิง จากเว็บไซต์ Thai PBS) เป็นโรคที่กรมการอนามัยโรค (WHO) ประกาศออกมาเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวัง เป็นโรคที่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว
โรคไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกิ เมื่อเชื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกายจะแพร่กระจายทั่วร่างกาย ผู้ป่วยจะมีไข้สูง และอาการจะหนักกว่าผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดธรรมดา - โรคไข้มาลาเรีย (Malaria) (อ่านต่อเรื่องโรคไข้เลือดออกได้โดยคลิ๊กที่ชื่อโรค)
ไข้มาลาเรีย คือโรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัว เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอาการหนาวสั่น แต่อาการจะไม่รุนแรง อาจคิดว่าเป็นไข้ธรรมดา เพราะตรวจแล้วเชื้อสามารถซ่อนไม่ให้ตรวจเจอได้ เป็นโรคที่ระบุโรคยากมาก ดังนั้นวิธีแก้ที่ดีที่สุด หากอยู่ในพื้นี่เสี่ยงที่มีการระบายของโรค แล้วมีอาการที่เข้าข่าย ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาโดยทันที - โรคไข้สมองอักเสบ (Encephalitis) (อ่านต่อเรื่องโรคไข้เลือดออกได้โดยคลิ๊กที่ชื่อโรค)
คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียหลายชนิด ผู้ที่ได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย
จะมีอาการซึ่งจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ โดยสังเกตได้ดังนี้- ระยะอาการเริ่มแรกหลังจากรับเชื้อ 1 – 2 สัปดาห์ จะมีไข้สูง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ตัวแข็งเกร็ง ปวดเมื่อยตามข้อและกล้ามเนื้อ มีผื่นหรือตุ่มน้ำพองใสขึ้นที่ผิวหนัง และมักพบอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วยค่ะ
- ระยะสมองอักเสบเฉียบพลันในเด็กและทารก มีไข้สูง กระหม่อมทารกโป่งตึง คลื่นไส้ อาเจียน ไม่ยอมรับประทานอาหาร ซึม ไม่ตื่นตัว ร่างกายแข็งเกร็งหรือขยับตัวไม่ได้ ร้องไห้ไม่หยุด หรือบางรายมีอาการชักหมดสติ
- ระยะพื้นโรคผู้ป่วยประมาณร้อยละ 40 – 60 ที่รอดชีวิต มักพบความผิดปกติทางระบบประสาท ระดับสติปัญญาลดลง ความผันแปรทางอารมณ์ อัมพาตและบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไป
- ชิคุนกุนยา (Chikungunya) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีการแพร่ระบาดในช่วงฤดูฝน โดยมีอาการคล้ายกับโรคไข้เลือดออกแต่โรคชิคุนกุนยามีความรุนแรงน้อยกว่าโรคไข้เลือดออกและมีอาการปวดข้อเรื้อรังต่อเนื่องซึ่งอาจนานเป็นเดือนค่ะ ทำให้ผู้ป่วยบางรายมีการวินิจฉัยโรคผิดว่าเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้เช่นกันค่ะ
วิธีการดูแลรักษาหลังลูกโดนยุงกัด
- ทำความสะอาดบริเวณผิวหนังที่โดนยุงกัด
- ทายา แก้คันบริเวณที่โดนยุงกัด
- ใช้น้ำแข็งประคบเย็นบริเวณที่โดนยุงกัดเพื่อบรรเทาอาการ
- หากมีอาการรุนแรง มีไข้ ปวดตามเนื้อตัว ให้ทายา
- ลดการเกิดแผลจากการเกา โดยการตัดเล็บให้สั้น
การป้องกันลูกไม่ให้ยุงกัด
- หลีกเลี่ยงไปในพื้นที่ที่มีน้ำขังเป็นเวลานานๆ
- ตรวจสอบรอบบ้าน ว่ามีแหล่งที่จะเป็นการเพาะพพันธุ์ยุงหรือไม่ ถ้ามีกำจัดทิ้ง
- หลีกเลี่ยงทำกิจกรรมในบริเวณที่เป็นแหล่งของยุง
- ใส่ทรายอะเบท เพื่อกำจัดยุงลายโดยใช้อัตราทราย 1 กรัม/น้ำ 10 ลิตร
- หากอยู่ในพื้นที่ที่มียุงก็ควรหาเครื่องมือป้องกัน เช่น ยากันยุง มุ้ง เป็นต้น
- หากมีการพ่นสารเคมีกำจัดยุง ก็ควรใช้อย่างระมัดระวัง เพราะอาจมีผลต่อคนได้
- กลุ่มคนที่มีอาการสกีตเตอร์ซินโดรม ควรกินยาต้านฮิสจสมีนก่อน เมื่อทราบว่าต้องไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่มียุงเยอะ
- หากไปในแหล่งที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส แล้วเผลอโดนยุงกัด ให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อทำการฉีดวัคซีนป้องกัน หรือตรวจการติดเชื้อหรือไม่