หลอดอาหารอักเสบในเด็ก

หลอดอาหารอักเสบในเด็ก

โรคหลอดอาหารอักเสบ (Esophagitis) คือการอักเสบหรือการระคายเคืองของเยื่อบุหลอดอาหารกล้ามเนื้อที่เชื่อมต่อคอไปยังกระเพาะอาหาร ในเด็กมักจะเป็นผลมาจากโรคกรดไหลย้อน โรคภูมิแพ้ การติดเชื้อหรือการกลืนกินสารกัดกร่อย เช่น กรดจากถ่านหรือแบตเตอรี่ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เป็นต้น ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอาจสิ่งผลให้เกิดแผลหรือหลอดอาหารตีบตันได้ค่ะ

อาการของหลอดอาหารอักเสบ

โดยทั่วไปอาการอักเสบของเยื่อบุหลอดอาหารมักมีอาการ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน แสบร้อนคล้ายกรดไหลย้อน เด็กๆมักมีปัญหาการกลืนอาหาร กลืนลำบากเจ็บปวดเวลากลืนอาหารรู้สึกเหมือนมีบางสิ่งติดอยู่ในลำคอและอาจมีปัญหาในการนอนค่ะ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้ เช่น มีเลือดออกในหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง การตีบตันของหลอดอาหาร โรคกรดไหลย้อน ปัญหาการเจริญเติบโต เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อนของหลอดอาหารอักเสบ
หลอดอาหารอักเสบหากปล่อยทิ้งไว้หรือชะล่าใจในการเข้ารับการรักษา อาจนำไปสู่ภาวะแรกซ้อนอื่นได้ค่ะ เช่น หลอดอาหารอุดตันซึ่งส่งผลต่อการกลืนอาหารและอาจนำไปสู่โรคขาดสารอาหารในเด็กได้ค่ะ โรคมะเร็งหลอดอาหารซึ่งเกิดจากการอักเสบหรือเป็นแผลเรื้อรัง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื้อบุหลอดอาหาร เป็นต้น

สาเหตุของหลอดอาหารอักเสบ

Causes of esophagitis

หลอดอาหารอักเสบมักเกิดขึ้นเมื่อหลอดอาหารของลูกคุณสัมผัสกับสารระคายเคืองไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีฤทธิ์กัดกร่อน สารก่อภูมิแพ้ในอาหารหรือกรดในกระเพาะอาหาร ซึ่งมีแนวที่ก่อให้เกิดโรคหลอดอาหารอักเสบได้หากลูกมีพฤิกรรมเสี่ยงดังนี้

  • กรดไหลย้อนซึ่งเกี่ยวข้องกับการสำรอกหรือการอ้วกเรื้อรังที่เกิดจากกรดในกระเพาะอาหาร
  • เม็ดเลือดขาวอีโอสิโนฟิล(esoinophilic esophagitis)  ในเยื่อบุหลอดอาหารมากกว่าปกติ ปฏิกิริยาการแพ้ที่อาจทำให้เกิดการอักเสบ
  • แพ้อาหาร
  • สารกัดกร่อนจากสิ่งของต่างๆ เช่น น้ำยาทำความสะอาดในบ้าน แบตเตอรี่จากของเล่น เป็นต้น
  • ภูมิคุ้มกันลดลง หรือการติดเชื้อบางชนิด เช่น เริม ฯลฯ
  • รับประทานยาบางชนิดโดยไม่ได้ดื่มน้ำตามหรือดื่มน้ำเพียงเล็กน้อย ซึ่งอาจส่งผลให้ตัวยาอยู่ภายในหลอดอาหารนานจนเกินไป

การรักษาอาการหลอดอาหารอักเสบ

การรักษาอาการหลอดอาหารอักเสบ

การรักษาโรคหลอดอาหารอักเสบขึ้นอยู่กับสาเหตุซึ่งจะช่วยให้รักษาได้อย่างตรงจุดและหายเร็วยิ่งขึ้น เช่น การใช้ยาลดกรดหากเกิดจากกรดไหลย้อนอาจรักษาโดยปรับพฤติกรรมการทานอาหาร กรณีเกิดจากการติดเชื้อไวรัสบางชนิดจะรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะยาต้านไวรัส เป็นต้น

การป้องกันหลอดอาหารอักเสบ

การป้องกันหลอดอาหารอักเสบ

เนื่องการภาวะหลอดอาหารอักเสบในเด็กมักเกิดจากโรคกรดไหลย้อน ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดคือการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการนอน เช่น หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรด เคี้ยวอาหารให้ละเอียดอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการนอนทันทีหลังรับประทานอาหาร ไม่นอนทานอาหาร เป็นต้น นอกจากนี้ควรดูแลสุขภาพอยู่เสมอเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆค่ะ