Exanthem subitum

ส่าไข้ โรคฮิตในเด็กเล็กที่คุณแม่ต้องรู้

ส่าไข้ในเด็กคุณพ่อคุณแม่หลายๆท่านอาจเคยได้ยินมาบ้างแล้ว แต่ทราบหรือไม่ว่า โรคนี้เป็นโดรยอดฮิตของเด็กเล็กกันเลยทีเดียว ซึ่งไม่มียารักษาโรค ไม่มีวัคซีนป้องกัน สามารถติดต่อกันได้ง่ายจากการไอ จามและที่สำคัญสามารถเป็นได้ตลอดทั้งปีค่ะ แต่ไม่ต้องกังวลค่ะเพราะส่าไข้ไม่ใช้โรครุนแรงสามารถรักษาได้ค่ะ และจำมีสาเหตุจากอะไร อาการ รวมถึงวิธีการดูแลรักษาอย่างไรมาฟังทางนี้ค่ะ

ส่าไข้ในเด็ก

ส่าไข้คืออะไร

profile facebook

ส่าไข้ หรือไข้ผื่นกุหลาบ เป็นโรคไข้ออกผื่นชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในเด็กเล็กช่วงอายุ 3 เดือนถึง 3 ปีและไม่ใช่โรครุนแรง เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Human herpesvirus type 6 (HHV-6) เป็นส่วนใหญ่ ทำให้เกิดผื่นแดงขึ้นกระจายตามลำตัวและมีไข้สูง โดยส่วนใหญ่อาการจะหายไปเองภายใน 3 – 5 วัน หากไม่มีอาการอื่นแทรกซ้อนค่ะ

อาการส่าไข้ในเด็ก

อาการส่าไข้

ระยะฟักตัวของเชื้อไวรัสอยู่ที่ประมาณ 5 – 15 วันหลังจากได้รับเชื้อไวรัส คุณแม่สามารถสังเกตอาการได้จาก ลูกมีไข้สูงฉับพลันซึ่งอาจสูงถึง 40 องศาเซลเซียส เบื่ออาหาร เปลือกตาบวม หรือมีอาหารท้อง ในเด็กบางคนอาจมีอาการเจ็บคอ มีน้ำมูกไหล ไอร่วมด้วยค่ะ และหลังไข้ลดลงมักจะเกิดผื่นขนาดเล็กประมาณ 2 – 3 มิลลิเมตร กระจายทั่วลำตัว แขน ขา รวมถึงใบหน้า ลักษณะเป็นจุดเล็กๆสีแดงหรือเป็นปื้นสีแดงออกชมพู มักไม่มีอาการคันหรือรู้สึกเจ็บปวด ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นนี้จะหายไปเองใน 2 – 5 วัน โดยไม่มีรอยหรือแผลเป็นตามตัวค่ะ แต่สิ่งที่คุณแม่ต้องระวังคือ อาการชักจากไข้สูงซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสมองลูกน้อยได้ค่ะ รวมถึงภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ปอดอักเสบ ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เป็นต้น

สาเหตุการเกิดส่าไข้ในเด็ก

สาเหตุของส่าไข้

ส่าไข้เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัส Human Herpesvirus 6 (HHV-6) โดยส่วนใหญ่และอาจเกิดจากเชื้อไวรัส Human Herpes Virus 7 (HHV-7) ซึ่งเป็นไวรัสในกลุ่มโรคเริม และสามารถแพร่กระจายและติดต่อกันได้จากการสัมผัสสารคัดหลังในระบบทางเดินหายใจผู้ป่วยอย่างเช่น น้ำลาย น้ำมูก ฯลฯ โดยการไอ จามหรือการใช้ช้อนร่วมกัน เป็นต้น

การรักษาอาการส่าไข้

การรักษาส่าไข้

ส่าไข่ไม่มีนารักษาสำหรับโรคโดยเฉพาะและไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกันค่ะ ดังนั้นการรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้นค่ะ ซึ่งส่วนใหญ่จะหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ หากไม่มีอาการอื่นๆร่วมด้วยหรือมีอาการรุนแรงอาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลค่ะ ซึ่งคุณแม่สามารถดูแลลูกน้อยได้เองที่บ้านดังนี้ 

– ทานยาลดไข้สำหรับเด็กตามอาการ แต่ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนการใช้ค่ะ

– เช็ดตัวลดไข้ เพื่อป้องกันอาการชักจากไข้สูง

– นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

– ในเด็กควรดื่มน้ำมากๆ และในวัยทารกคุณแม่ควรให้ทานนมสม่ำเสมอ เพื่อช่วยลดความร้อนในร่างกายและป้องกันภาวะขาดน้ำ

– ในกรณีที่ออกผื่นแล้วไม่จำเป็นต้องทายาแก้คันหรือแป้งค่ะ

สิ่งที่คุณแม่ต้องเฝ้าระวังคือภาวะแทรกซ้อนอื่นที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะอาการชัก และหากพบว่าลูกมีอาการอื่นๆร่วมด้วยหรือหากสงสัยเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้นควรรีบพบแพทย์ทันทีค่ะ

การป้องกันส่าไข้ในเด็ก

การป้องกันส่าไข้

เนื่องจากส่าไข้ไม่มีวัคซีนป้องกันโรค ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อคือ การหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วย การล้างมือบ่อยๆโดยเฉพาะก่อน-หลังรับประทานอาหาร รวมถึงหากลูกป่วยควรหลีกเลี่ยงการพาออกนอกบ้าน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นและการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆค่ะ