Category: คุณแม่ตั้งครรภ์

  • คนท้องมีเลือดออกทางช่องคลอด เกิดจากสาเหตุอะไร

    คนท้องมีเลือดออกทางช่องคลอด เกิดจากสาเหตุอะไร

    คุณแม่ทั้งมือใหม่ และคุณแม่ที่เคยผ่านประสบการณ์การตั้งครรภ์มาแล้ว ก็มีสิทธิมีภาวะแทรกซ้อนในขณะที่ตนเองกำลังตั้งท้อง โดยอาการที่จะเห็นได้ชัดคือมีเลือดไหลออกมาจากทางช่องคลอด อาจทำให้คุณแม่มีความตกใจ เพราะมีอาการกลัวว่าลูกที่อยู่ในท้องได้รับอันตราย ซึ่งคุณแม่บางท่านก็มีมีเลือดไหลออกมามาก หรือสำหรับบางคนก็ไหลออกมาน้อย แต่ก็ไม่ได้ตัวบ่งบอกว่าจะเป็นอันตรายหรือไม่อันตรายต่อเด็กในท้อง ต้องขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์

    การมีเลือดออกมาจากช่องคลอดของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ส่วนมากจะพบได้ 2 ช่วง คือช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ และช่วงใกล้คลอด ซึ่งทางการแพทย์ระบุว่าเป็นภาวะที่ไม่เป็นปกติคุณแม่ต้องพบแพทย์โดยด่วน

    สาเหตุของคนท้องมีเลือดออก

    การมีเลือดออกของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ จะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ดังนี้

    การมีเลือดออกในระยะแรกของการตั้งครรภ์

    15-25% ของสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ที่มีภาวะเลือดออกในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งการมีเลือดออกในระยะแรกสาเหตุ ดังนี้

    การแท้งลูก

    เสียชีวิตของเด็กในครรภ์ ซึ่งสามารถพบได้ 10% ของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ กล่าวคือ จะมีภาวะเลือดออกและปวดท้องน้อยแบบหน่วงๆ ซึ่งการแท้งลูก ก็อาจไม่จำเป็นต้องมีประวัติการมีเลือดออกก็ได้ ซึ่งหากแท้งอาจจะมีชิ้นเนื้อติดค้างอยู่ภายในมดลูก ซึ่งคุณแม่สามารถรอให้ชิ้นเนื้อหลุดออกมา หรือใช้ยา หรือใช้วิธีการขุดชิ้นเนื้อออกมาทางโพรงมดลูกได้

    การท้องนอกมดลูก

    อีกหนึ่งสาเหตุที่ให้คุณแม่มีเลือดออกในระหว่างการตั้งครรภ์ คือการท้องนอกมดลูก ซึ่งการท้องนอกมดลูกเกิดจากที่มีการปฎิสนธิแล้วไม่สามารถทำการฝังตัวในผนังมดลูกได้ แต่ไปฝังตัวในท่อนำไข ซึ่งหากท่อนำไข่แตก ก็จะให้คุณแม่มีเลือดออกมาภายในช่องท้อง ส่งผลทำให้คุณแม่มีอาการอ่อนเพลีย เป็นลม ปวด ช๊อค หรือถึงเป็นอันตรายต่อชีวิตของคุณแม่ได้

    การมีเลือดออกในระยะหลังของการตั้งครรภ์

    การที่คุณแม่ที่กำลังท้องมีเลือดออกในระยะหลังใกล้คลอด อาจเกิดได้จากที่อักเสบ มีการขยายขนาดของปากมดลูก หรือหากมีอาการที่หนัก ก็อาจเกิดมาจากความผิดปกติของรก หรือคุณแม่มีอาการเจ็บคลอดก่อนกำหนด ซึ่งหากคุณแม่มีภาวะเลือดออก ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน

    ความผิดปกติของรกที่เป็นสาเหตุของการมีเลือดออก

    • รกลอกตัวก่อนกำหนด คือ ภาวะที่รกมีการลอกตัวออกก่อนมีการคลอด ซึ่งส่วนใหญ่จะพบอาการที่แสดงออกมาคือจะมีเลือดไหลออกมาทางช่องคลอด และมีอาการปวดท้องและปวดหลัง ภาวะรกลอกออกมาก่อนกำหนด อาจส่งผมให้มีผลข้างเคียงอย่างรุนแรงหากไม่สามารถตรวจพบในช่วงแรกๆ จะทำให้ออกซิเจนส่งไปถึงเด็กไม่เพียงพอ และจะส่งผลทำให้คุณแม่ต้องเสียเลือดมาก
    • รกเกาะต่ำ คือ เป็นอีกภาวะหนึ่งที่รกจะมาเกาะที่บริเวณด้านล่างของมดลูกทำให้เกิดปิดบังมาดลูกในบางส่วนหรือปิดบังทั้งหมด ส่งผลทำให้มีอาการเลือดออกได้ แต่ก็จะไม่มีอาการปวด ภาวะรกต่ำสามารถหายได้โดยคุณแม่จะมีอายุครรภ์ 32-35 สัปดาห์ โดยการที่มดลูกมีการยืดหด หรือบางตัวลง ทำให้สามารถกลับมาคลอดได้อย่างปกติ แต่ถ้าไม่หายไปในระยะเวลาดังกล่าว คุณแม่ก็จำเป็นทำการคลอดโดยการฝ่าคลอด
    • รกเกาะแน่น คือ คือสภาวะที่ส่วนรกบางส่วนฝังตัวโดยไม่สามารถแยกออกมาจากผนังมดลูก เป็นเหตุทำให้เลือดออก ซึ่งมักจะเป็นในช่วงหลังของการตั้งครรภ์ จะส่งผลให้คุณแม่เสียเลือดมากในระหว่างที่ทำการคลอด ซึ่งภาวะรกเกาะแน่นสามารถตรวจเจอในระหว่างการตั้งครรภ์ โดยหมอทำการอัลตราซาวน์ แต่ในบางครั้งก็ไม่สามารถตรวจเจอ จะตรวจเจอก็ต่อเมื่อเด็กได้ทำการคลอดออกมาแล้ว ซึ่งถ้ามีภาวะรกเกาะแน่นก็จะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้จากการที่คุณแม่เสียเลือดในระหว่างที่ทำการคลอด ดังนั้น ถ้าคุณแม่เป็นภาวะรกเกาะแน่น ทางหมอก็จะจัดเตรียมทำการคลอด และเมื่อคุณแม่เสียเลือดมาก หมอก็จำเป็นต้องทำการผ่าตัดมดลูกออกเพื่อรักษาชีวิตของคุณแม่ไว้

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • คุณแม่แพ้ท้อง ตอน 8 เดือน ผิดปกติหรือไม่

    คุณแม่แพ้ท้อง ตอน 8 เดือน ผิดปกติหรือไม่

    ปกติคุณแม่แพ้ท้องได้ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งเชื่อว่าเป็นผลมาจากการสร้างฮอร์โมนจากเนื้อรกในช่วงตั้งครรภ์ที่สูงขึ้น โดยเฉพาะฮอร์โมนเอชซีจี (human chorionic gonadotropin,hcg) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีความสัมพันธ์กับอาการคลื่นไส้อาเจียรได้มาก ยิ่งถ้าเป็นครรภ์แฝดจะมีการสร้างฮอร์โมนออกมามากกว่าครรภ์เดี่ยว ก็จะทำให้อาการแพ้ท้องมากกว่าครรภ์เดี่ยว แต่หลังจาก 3 เดือนไปแล้ว ระดับฮอร์โมนจะลดลง ทำให้อาการคลื่นไส้อาเจียรดีขึ้นและหายไปได้เองค่ะ

    ขณะนี้คุณแม่อายุครรภ์ 8 เดือนแล้ว แต่กลับมีอาการคลื่นไส้อาเจียรอีก อาจเกิดจากความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร เช่นมีภาวะการทำงานของลำไส้แปรปรวน อาหารเป็นพิษ หรือมีระบบการไหลเวียนเลือดในร่างกายที่ผิดปกติ ความดันโลหิตต่ำ เนื่องจากมดลูกไปกดทับเส้นเลือดดำใหญ่ในอุ้งเชิงกราน ทำให้เลือดไหลกลับหัวใจไม่สะดวก เลือดสูบไปเลี้ยงสมองไม่เต็มที่ ก็เกิดอาการแบบนี้และพบได้บ่อยพอสมควร นอกจากนี้ก็อาจเกิดจากภาวะซีด ระบบเกลือแร่ในร่างกายมีความผิดปกติ หรือมีการติดเชื้อของระบบใดระบบหนึ่งในร่างกาย เป็นต้น

    วิธีการแก้อาการแพ้ท้องของคุณแม่แพ้ท้อง 8 เดือน

    วิธีการแก้อาการแพ้ท้อง

    การปฏิบัติตัวเบื้องต้นก็คือการพักผ่อนเยอะๆให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงการอยู่ในท่ายืนหรือนั่งเป็นเวลานานๆ เพื่อไม่ให้มดลูกกดทับเส้นเลือดนานเกินไป แต่ถ้าอาการไม่ทุเลาหรือเป็นมากขึ้นก็ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด

    แพทย์อาจจะต้องทำการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ และพิจจารณาให้คุณแม่นอนในโรงพยาบาลเพื่อให้สารน้ำทางหลอดเลือด ซึ่งจะทำให้ร่างกายฟื้นเข้าสู่สภาวะปกติได้รวดเร็วขึ้น เพราะถ้าคุณแม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียรมาก อาจจะส่งผลเสียต่อเด็กในครรภ์ได้ เพราะช่วงอายุครรภ์ 8 เดือน เป็นช่วงที่เด็กมีการเจริญเติบโตรวดเร็วมาก อาจทำให้เกิดอาการขาดน้ำ ขาดสารอาหาร จนทารกมีการเจริญเติบโตช้าได้ หรือถ้าอาเจียรบ่อยๆ ก็จำทำให้คุณแม่มีอาการบีบเกร็งที่ผนังหน้าท้อง ไปกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมดลูกมีการหดรัดตัว เกิดความเสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้ด้วยค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • 10 อาการและพฤติกรรมความเสี่ยงที่ทำให้คลอดก่อนกำหนดและแท้งลูก คุณแม่ตั้งครรภ์เช็คด่วน

    10 อาการและพฤติกรรมความเสี่ยงที่ทำให้คลอดก่อนกำหนดและแท้งลูก คุณแม่ตั้งครรภ์เช็คด่วน

    ความกังวัลของคุณแม่หลายๆ ท่านที่กำลังตั้งครรภ์ เป็นอันดับต้นๆคือเรื่องของการคลอดก่อนกำหนด หรือการแท้งลูก เนื่องจากหากเด็กที่คลอดในขณะที่อยู่ครรภ์น้อยกว่า 28 สัปดาห์ ซึ่งแปลว่าโอกาสการรอดชีวิตของลูกแทบจะเป็นศูนย์ ซึ่งทางการแพทย์เด็กที่อายุครรภ์ยิ่งน้อยโอกาสรอดจะต่ำ และยังทำให้เด็กไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างปกติ ยิ่งอายุครรภ์มากเด็กก็มีโอกาสรอดที่มากขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

    • เด็กที่คลอดโดยมีอายุครรภ์ 22-23 สัปดาห์ โอกาสที่จะสามารถเลี้ยงเด็กให้รอด 17 %
    • เด็กที่คลอดโดยมีอายุครรภ์ 24-25 สัปดาห์ โอกาสที่จะสามารถเลีียงเด็กให้รอด 40-50 %
    • เด็กที่คลอดโดยมีอายุครรภ์ 26-28 สัปดาห์ โอกาสที่จะสามารถเลีียงเด็กให้รอด 80-90 %
    • เด็กที่คลอดโดยมีอายุครรภ์ 29-31 สัปดาห์ โอกาสที่จะสามารถเลีียงเด็กให้รอด 90-95 %
    • เด็กที่คลอดโดยมีอายุครรภ์ 32-33 สัปดาห์ โอกาสที่จะสามารถเลีียงเด็กให้รอด 95 %
    • เด็กที่คลอดโดยมีอายุครรภ์ 95-98 สัปดาห์ โอกาสที่จะสามารถเลีียงเด็กให้รอด 95-98 %

    แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าดิฉันมีความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด หรือแท้งลูก ดังนั้น ในครั้งนี้เรามีเช็คลิสกันว่าคุณแม่มีความเสี่ยงที่จะคลอดกำหนดหรือไม่ ด้วยกับ 10 อาการและพฤติกรรมอันตรายสำหรับคนที่กำลังตั้งครรภ์ มาฝากกันค่ะ

    10 พฤติกรรมกรรมและอาหารที่มีความเสี่ยงให้คุณแม่คลอดก่อนกำหนดและแท้งลูก

    คุณแม่มีมดลูกยืดขยายตัวหรือหดตัวมากเกินไป

    เนื่องจากอาการมดลูกยืดขยาดตัวหรือหดตัวมากเกินไปจะทำให้คุณแม่เกร็งและเป็นสาเหตุทำให้เข้าสู่ภาวะคลอดกำหนด ซึ่งอาจเกิดจากได้หลายสาเหตุ เช่น มีเนื้องอกในผนังมดลูก การขยายตัวของเด็กในครรภ์ที่ใหญ่เกินไป หรือมีปริมาณน้ำคร่ำที่มากจนเกินไป

    ปากมดลูกของคุณแม่สั้น

    ขนาดของปากมากมดลูกสั้นก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้คุณแม่คลอดน้องก่อนกำหนด ซึ่งขนาดที่สั้นคือขนาดน้อยกว่า 2.5 ซม. ซึ่งถ้าหากถามว่าจะรู้ได้อย่างไร คำตอบคือไปหาคุณหมอเพื่อทำการอัลตาซาวด์เพื่อทำการตรวจครรภ์

    คุณแม่มีมดลูกที่รูปร่างไม่เป็นปกติ

    ลักษณะที่ผิดปกติของมดลูก เช่น มดลูกจะเป็นลักษณะรูปทรงเหมือนรูปหัวใจ บริเวณโพรงมดลูกจะมีเนื้อเยื้อปิดกั้น มีโพรงมดลูก 2 โพรง มีเนื้องอกบริเวณมดลูก มดลูกพิการตั้งแต่กำเนิด เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ คุณแม่จะมีความเสี่ยงที่จะคลอดลูกก่อนกำหนดทั้งนั้น

    คุณแม่ตั้งครรภ์ติดต่อมากเกินไป

    การตั้งท้องติดต่อกัน คือ คุณแม่ได้ทำการคลอดน้องได้ไม่นาน คุณแม่ก็เริ่มตั้งครรภ์ใหม่ในทันที ซึ่งสาเหตุดังกล่าวก็จะทำให้คุณแม่มีความเสี่ยงที่จะทำให้คุณแม่คลอดน้องก่อนกำหนด

    คุณแม่เคยมีประวัติการคลอดลูกก่อนกำหนด

    การที่คุณแม่เคยมีประวัติคลอดลูกก่อนกำหนดมาแล้ว คุณแม่ก็จะมีความเสี่ยงที่คลอดก่อนกำหนด และมีโอกาสเสี่ยงสูงมากกว่าสาเหตุอื่นๆ แต่คุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะหากคุณหมดสักถามแล้วคุณแม่มีประวัติ คุณหมอก็จะทำการฉีดยาป้องกันให้ค่ะ

    คุณแม่มีอาการเลือดออกในขณะที่กำลังตั้งครรภ์

    เลือดออกในขณะที่กำลังตั้งครรภ์ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งถึงแม้จะเกิดจากสาเหตุใดก็ตามก็ไม่ใช่เรื่องดีแน่นอน ดังนั้น หากมีเลือดออกมาคุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยในทันทีและทำการรักษา เพื่อป้องกันการส่งผลกระทบไปยังลูกของเราที่อยู่ในครรภ์

    คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์สูบบุหรี่

    การสูบบุหรี่ ไม่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งคำๆนี้ใช้ได้กับทุกเพศทุกวัย และโดยอย่างยิ่ง เป็นพฤติกรรมอันตรายและต้องห้ามอย่างมากสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ เนื่องจาก คุณแม่จะมีความเสี่ยงต่อการที่คลอดก่อนกำหนด หรือทำให้คุณแม่แท้งลูกได้ ดังนั้น ห้ามเลยกับการสูบบุหรี่ระหว่างที่กำลังตั้งครรภ์ และอีกอย่างสำหรับคุณผู้ชายที่ชอบสูบหรี่และมีมีภรรยาที่กำลังตั้งครรภ์ ควรหลี่กเลี่ยงการสูบ หรือไม่ก็ไม่ควรเข้าใกล้ภรรยาในขณะที่สูบบหรี่ เพราะควันบุหรี่มันส่งผลต่อเด็กในท้องอย่างรุนแรง

    คุณแม่เกิดติดเชื้อระหว่างที่กำลังตั้งครรภ์

    การติดเชื้อในที่นี้หมายถึง การติดเชื้อจากการทำฟัน หรือการติดเชื้อจากทางเดินปัสสาวะก็ดี ก็สามารถทำให้คุณแม่มีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ดังนั้น ในเวลาที่ไปฝากครรภ์ ตรวจครรภ์ ควรให้ความสำคัญทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยทั้งตัวคุณแม่และลูกของคุณแม่

    น้ำหนักตัวของคุณแม่น้อยเกินไป

    อีกสาเหตุหนึ่งที่คุณแม่ต้องคลอดลูกก่อนกำหนด คือ น้ำหนักตัวของคุณแม่น้อยเกินไป

    คุณแม่ตั้งครรภ์จากวิธีพิเศษ

    สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์มาจากวิธีพิเศษ ที่ไม่ได้จากการตั้งครรภ์ที่มาจากธรรมชาติ แนวโน้มที่จะคลอดก่อนกำหนดก็เป็นไปได้สูงเช่นกัน ดังนั้น คุณแม่ที่อยู่ในข้อนี้ควรต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์เป็นพิเศษ

    วิธีการป้องกันไม่ให้คุณแม่เข้าสู่ภาวะคลอดก่อนกำหนด

    ป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
    • ไม่ทำงานหนักจนเกินไป และพักผ่อนให้เพียงพอ
    • พยายามอย่าคิดเยอะ คิดมาก หลีกเลี่ยงความเครียด
    • ไม่กลั้นปัสสาวะ ถ้าไม่จำเป็น ถึงกลั้นก็อยากกลั้นจนไม่ไหว
    • รับประทานอาหารสำหรับคนท้อง คืออาหารที่มีสารอาหารให้ครบและเหมาะสำหรับคนท้อง
    • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งท้อง หรือหากเลี่ยงเลี่ยงไม่ไหวก็ควรทำอย่างนุ่มนวล
    • ดูแลสุขภาพทางช่องปาก เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
    • งดเครื่องดื่ทแอลกอฮอร์ งดสูบบุหรี่ หรือสารเสพติดทุกชนิด
    • ให้ความสำคัญต่อการตรวจครรภ์ ในทุกๆ เดือน ไปตามหมอนัดทุกเดือน

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • คนท้องกลั้นปัสสาวะ เสี่ยงต่อการแท้งลูก

    คนท้องกลั้นปัสสาวะ เสี่ยงต่อการแท้งลูก

    ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์คุณแม่ต้องพบกับภาวะการปัสสาวะบ่อยๆ ซึ่งคุณแม่หลายท่านสงสัยว่าทำไม เกิดจากอะไร ซึ่งคุณแม่หลายๆ ยังไม่ทราบว่าเกิดจากสาเหตุอะไร ในครั้งนี้เรามาหาคำตอบกันว่าคนท้องที่กลั้นปัสสาวะ เสี่ยงแท้งลูกจริงหรือไม่

    การที่คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ปัสสาวะบ่อย สาเหตุมากจากที่มดลูกมีการขยายตัวแล้วไปเบียดกับกระเพาะปัสสาวะ และไม่เพียงเท่านี้ ช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ ระบบการทำงานของไตจะทำงานหนัก เนื่องจากเวลาที่เลือดไหลเวียนมาเลี้ยงในครรภ์ ต้องผ่านระบบไต ไตจึงได้กรองปัสสาวะออกมา ส่งผลทำให้คุณแม่มีอาการปวดปัสสาวะบ่อยๆ แต่อาการดังกล่าวจะค่อยๆหายไปเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น และจะมีอาการปัสสาวะบ่อยๆอีกครั้งก็เมื่อคุณแม่เข้าสู่เดือนที่ 7 ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายของการอุ้มท้อง ซึ่งในระยะดังกล่าวเกิดจากที่เด็กในครรภ์โตขึ้นแล้วไปเบียดกับกระเพาะปัสสาวะ

    อาการและความเสี่ยงของคนท้องกลั้นปัสสาวะ

    การที่คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์กลั้นปัสสาวะ จะส่งผลเสียและมีความเสี่ยงเป็นอย่างมาก เนื่องจากปัสสาวะที่ค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะคือของเสียที่ร่างกายพยายามขับออกจากร่างกาย ซึ่งในปัสสาวะจะประกอบด้วยตะกอนของของเสียต่างๆในร่างกาย ซึ่งถ้าหากค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะมากเกินไป จนกระเพาะปัสสาวะรองรับไหว ปัสสาวะก็จะไหลย้อนกลับไปที่ท่อไตและกรวยไตทั้ง 2 ข้าง และยิ่งไปกว่านั้นสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ยิ่งมดลูกขยายตัวเบียดกับกระเพาะปัสสาวะ ก็ยิ่งทำให้กระเพาะปัสสาวะกักเก็บปัสสาวะได้น้อยลงไปอีก จึงทำให้คุณแม่มีอาการปวดปัสสาวะบ่อยมากขึ้น และยิ่งมีอายุครรภ์ที่มากขึ้นก็จะทำให้ปัสสาวะปวดบ่อยมากขึ้นโดยเฉพาะ 3 เดือนสุดท้ายก่อนคุณแม่ทำการคลอด

    ในความเสี่ยงที่คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์กลั้นปัสสาวะ คุณแม่จะมีความเสี่ยงที่จะทำให้ทางเดินระบบปัสสาวะอักเสบ ซึ่งคุณแม่จะมีอาการปัสสาวะเสียดขัด ปัสสาวะกะปริดกะปรอย และมีอาการเหมือนปัสสาวะออกมาไม่สุด แต่ถ้าหากยิ่งอาการหนักอาจส่งผลให้กรวบไตักเสบ เช่น จะมีอาการปัสสาวะออกมาเป็นเลือด ปัสสาวะแสบและขัด มีอาการปวดหลัง มีไข้ขึ้นสูง มีอาการหนาวสั่น และอาจทำให้คุณแม่ติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ไม่เพียงเท่านั้น อาจส่งผลต่อเด็กในท้อง เช่น เกิดภาวะแท้งลูก หรือทำให้คุณแม่คลอดน้องก่อนกำหนดเมื่อมีอายุครรภ์มากขึ้น

    วิธีการป้องกันและแนวทางไม่ให้คุณแม่มีอาการและความเสี่ยงจากการกลั้นปัสสาวะ

    วิธีการป้องกัน

    เมื่อคุณแม่มีอาการปวดปัสสาวะ ถ้าไม่จำเป็นหรืออยู่ในเหตุการณ์ที่ไม่สามารถปัสสาวะได้ ก็ควรไปปัสสาวะในทันที่เมื่อมีอาการปวด อย่ากลั้นเอาไว้หรือรอจนปวดมากแล้วไป เพราะมันจะส่งผลเสียต่อตัวคุณแม่และลูกที่อยู่ในครรภ์ และคุณแม่ควรดื่มน้ำมากๆให้เพียงพอต่อร่างกาย อย่าได้ไปจำกัดการดื่มน้ำเพราะร่างกายในช่วงนี้ต้องการน้ำในการหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆมากกว่าตอนที่ยังไม่ได้ตั้งครรภ์ และหากได้รับน้ำที่ไม่เพียงพอก็จะส่งผลต่อระบบการทำงานต่างๆของร่างกาย

    ไม่เพียงเท่านี้ เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์มากขึ้น มดลูกก็จะขยายใหญ่มากขุึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้คุณแม่มีอาการที่ไม่สบายตัว เพราะเนื่องจากกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้องจะต้องทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักมดลูก รวมถึงน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น จนทำให้คุณแม่มีอาการปวดหลัง ปวดขา และส่งผลต่อการเคลื่อนไหว ทำให้เคลื่อนไหวช้าลง จนทำให้ในบางครั้งคุณแม่ไม่อยากลุกหรือเคลื่อนที่ไปไหน โดยเฉพาะคุณแม่ที่ท้องโตที่น้ำหนักตัวมากๆ

    ดังนั้น คุณแม่ควรบรรเทาอาการอาการดังกล่าวด้วยการนั่งทำงานอย่างถูกวิธี โดยการใช้หมอนรองหลัง และยืดขาตรง และอย่าได้อยู่ท่าใดท่าหนึ่งนานจนเกินไป ควรมีการปรับขยับอริยาบถเป็นระยะ และอีกอย่างคุณแม่ควรพยายามลุกขึ้นเดินบ่อยๆ เพื่อช่วยให้เลือดได้ไหวเวียนได้สะดวก และช่วยให้อาการปวดหลังหรือขาลดลง เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อส่วนต่างมีการคลายตัว ไม่เกร็งอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานๆ หรือคุณแม่อาจจะมีตัวช่วยคือยานวด แต่ควรทำการปรึกษาแพทย์ว่าตัวยาชนิดใดที่เหมาะแก่หญิงตั้งท้อง เพราะหากใช้ยาที่ไม่เหมาะสมอาจส่งผลต่อเด็กในท้องได้ และหากคุณแม่มีอาการปวดมากก็ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาในทันที

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • 10 อาหารเสริมบำรุงคนท้อง

    10 อาหารเสริมบำรุงคนท้อง

    ในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ก็มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับอาหารคนท้องในการกินในแต่ละวัน เนื่องจากอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายของลูกที่อยู่ในท้อง ซึ่งความเป็นจริงแล้วคุณแม่ไม่จำเป็นต้องกังวล เพราะทารกที่ครรภ์จะได้รับสารอาหารผ่านทางสายสะดือและรกตลอดเวลา ซึ่งคุณแม่แค่รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์มีสารอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารในกลุ่มสารอาหารโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ ถั่ว ผักผลไม้สด ที่จะอุดมไปด้วยวิตามินจากธรรมชาติและเกลือแร่มากมาย ดังนั้นคุณแม่ก็ไม่จำเป็นต้องกินอาหารเสริมวิตามินแต่อย่างใด แต่สำหรับคุณแม่บางคน ที่ไม่ค่อยได้กิน หรือกินไม่เพียงพอจริงๆ ในครั้งนี้ จะมาแนะนำวิตามินอาหารเสริมเพื่อบำรุงสำหรับคนท้อง เพื่อบำรุงร่างกายตัวเองและกับลูกที่อยู่ในครรภ์ ให้เพียงพอและสุขภาพแข็งแรง ว่ามีอะไรกันบ้างค่ะ

    อาหารเสริมบำรุงคนท้อง 10 ชนิด ดังนี้

    กรดโฟลิก

    กรดโฟลิก
    กรดโฟลิก

    กรดโฟลิก มีความสำคัญกับคนท้องโดยช่วยในการป้องกันความผิดปกติของเด็กที่อยู่ในครรภ์ เช่น ภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defects) ซึ่งจะไปมีผลต่อสมองและไขสันหลัง จะช่วยให้เด็กในครรภ์มีสุขภาพที่แข็งแรง ปริมาณของกรดโฟลิกสำหรับคนท้องต่อวัน คือ 400 ไมโครกรัม โดยเริ่มรับประทานกรดโฟลิกได้ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์และรับประทานอย่างต่อเนื่องจนไปถึง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ เพื่อช่วยในการบำรุงครรภ์ให้ครรภ์มีสุขภาพที่ดี กรดโฟลิกจากแหล่งธรรมชาติ จะมีอยู่ในอาหารจำพวก ผักโขม / หน่อไม้ฝรั่ง / ผักตระกูลกระหล่ำ เช่น กระหล่ำปลี บล็อกโคลี่ เป็นต้น / ผักกาดหอม / ตับวัว / พืชตระกูลถั่ว / พืชตระกูลหัว เช่น หัวผักกาด บีทรูท เป็นต้น / มะละกอ / อาหารอื่นๆ เช่น ผักชีฝรั่ง สาหร่ายทะเล สควอช แตงกวา ยี่หร่า พริก กระเทียม มะเขือเทศ ราสเบอร์รี่ แตงโม มะเขือ ข้าวโพด อะโวคาโด เมล็ดทานตะวัน ส้ม ส้มโอ และผักคะน้า

    ธาตุเหล็ก

    ธาตุเหล็ก
    ธาตุเหล็ก

    ธาตุเหล็ก มีความจำเป็นต่อคนท้อง เพราะธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบสำคัญในเม็ดเล์อดแดง ทั้งในแม่และเด็กในท้อง ซึ่งมีหน้าที่ช่วยส่งออกซิเจนในร่างกายของแต่ละวัน ดังนั้นควรได้รับสารอาหารจำพวกธาตุเหล็กต่อวันประมาณ 17 มิลลิกรัม เพื่อทำให้เม็ดเลือดแดงมีสุขภาพที่แข็งแรง ธาตุเหล็กจากแหล่งธรรมชาติ จะมีอยู่ในอาหาร จำพวก ตับ เลือด และเนื้อสัตว์ต่างๆ / ธัญพืช แป้งไข่ และผักสีเขียวเข้ม / อาหารทะเล ปลา เป็ด ไก่ และไข่แดง / อัลมอนด์ ซีเรียล ข้าวโอ๊ต ถั่วแดง ถั่วดำ และจมูกข้าวสาลี / ข้าวเสริมธาตุเหล็ก ข้าวหอมนิล และข้าวสายพันธุ์ 313 / แครอท ฟักทอง และมะเขือเทศ / กระเทียม พริก และขมิ้น / น้ำว่านหางจระเข้

    แคลเซียม

    แคลเซียม
    แคลเซียม

    ความสำคัญของแคลเซียมสำหรับคนท้อง คือจะช่วยในการป้องกันไม่ให้คุณแม่สูญเสียมวลกระดูก เพราะเด็กอยู่ในครรภ์จะดึงแคลเซียมจากแม่ไปใช้สร้างกระดูกในตัวเด็ก เพื่อความแข็งแรงให้กับกระดูก ดังนั้นคุณแม่ที่กำลังตั้งท้องควรรับประทานแคลเซียมอย่างน้อย 200-300 มิลลิกรัมต่อวัน แคลเซียมจากธรรมชาติจะอยู่ในอาหารจำพวก ส้ม / เมล็ดงา / คะน้า / บล็อกโคลี่ / ข้าวโอ๊ต / ถั่วขาว / ปลาซาร์ดีน / ถั่วแระ หรือถั่วแระญี่ปุ่น / นมถั่วเหลือง / อัลมอนด์ / เต้าหู้ /ปลาแซลมอน

    ไอโอดีน

    ไอโอดีน
    ไอโอดีน

    ไอโอดีนเป็นอีกสารอาหารที่สำคัญสำหรับคนท้องเป็นอย่างมาก เพราะมีหน้าที่สำคัญต่อต่อมไทรอยด์ เพราะหากคนท้องขาดสารอาหารไอโอดีน จะส่งผลให้เด็กในท้องมีสภาพที่แคระแกรน มีความผิดปกติทางสมอง ส่งผลให้หูเป็นน้ำหนวก และไม่เพียงเท่านี้ถ้าได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอจะทำให้คุณแม่คลอดก่อนกำหนด หรือถ้าร้ายไปกว่านั้นถึงขั้นเด็กเสียชีวิตได้ ดังนั้น สารไอโอดีนคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ต้องได้รับไอโอเดีนอย่างน้อยวันละ 175-200 ไมโครกรัม แหล่งอาหารที่มีไอโอดีน คือ อาหารทะเล เช่น ปลาทะเล สาหร่ายทะเล กุ้งทะเล ปูทะเล เป็นต้น / ผลิตภัณฑ์จากนม / ไข่ / น้ำมันตับปลา / กระเทียม / ผักกาดเขียว / ผักขม / โยเกิร์ต / เมล็ดงา ถั่วเมล็ดแบน / สตอรอเบอรรี่ / เกลือทะเล

    ผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนทุกชนิด เช่น เกลือเสริมไอโอดีน น้ำดื่มเสริมไอโอดีน ซีอิ้วขาวเสริมไอโอดีน ไข่สดเสริมไอโอดีน กล้วยตากเสริมไอโอดีน

    วิตามินซี

    วิตามินซี
    วิตามินซี

    วิตามินซีเป็นอีกสารอาหารสำหรับคนท้องที่จะช่วยในการป้องกันไม่ให้แท้งบุตร และช่วยเสริมสุขภาพให้ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์มีสุขภาพดี ดังนั้น คนท้องควรรับประทานวิตามินซีประมาณวันละ 70 มิลลิกรัม วิตามินซีจะอยู่ในผักผลไม้ เช่น พริกหวาน / บล็อกโคลี่ / ผักคะน้า / ผักปวยเล้ง / ใบมะรุม / ส้ม / มะขามป้อม / สตอรอเบอร์รี่ / ฝรั่ง / ลิ้นจี่

    วิตามินอี

    วิตามืนอี

    สำหรับคนท้องแล้ว วิตามินอีมีความสำคัญมาก เพราะวิตามินอีจะช่วยให้ช่วงเวลาตกไข่ตรงเวลา จะง่ายสำหรับการคำนวณไข่ตกเพื่อในการตั้งท้อง และจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาเซลล์เม็ดเลือดและพัฒนากล้ามเนื้อของเด็กในครรภ์ ดังนั้น คุณแม่ควรรับประทานวิตามินอีต่อวันๆละ 10 มิลลิกรัม วิตามินอีจากแหล่งธรรมชาติจะอยู่ใน เช่น อัลมอลด์ / บล็อกโคลี่ / ผักโขม / มะเขือเทศ / มะม่วง / เนยถั่ว / เมล็ดทานตะวัน / น้ำมันคาโนล่า / อะโวคาโด / ผักปวยเล้ง / มันหวาน / ฟักทอง

    วิตามินดี

    วิตามินดี

    วิตามินดี จะช่วยในการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกให้แก่เด็กในท้อง ทำให้โครงสร้างกระดูกของเด็กในท้องมีความแข็งแรงสมบูรณ์และโตขึ้น ดังนั้น คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีวันละ 400 มิลลิกรัม แหล่งอาหารที่มีวิตามินดี เช่น น้ำมันตับปลา / ปลาเทราท์ / นมสด / ปลาแซลมอล / ปลาทู / ปลาทูน่า / ปลาซาดีน / แฮม / ไข่ปลาคาร์เวีย / ไข่ไก่ / เนื้อไก่ / เห็ด / เนื้อไก่งวง / ชีส

    สังกะสี

    สังกะสี
    สังกะสี

    สำหรับคนตั้งครรภ์ สังกะสีจะมีประโยชน์ในการช่วยให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานได้ดี ช่วยในการแบ่งเซลล์ไข่ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ และมีความสำคัญในการช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์ของเด็กในครรภ์ เพื่อให้ครรภ์ของคุณแม่มีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ ดังนั้น คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีสารอาหารสังกะสีต่อวันประมาณ 15 มิลลิกรัม แหล่งอาหารที่มีสังกะสี เช่น เนื้อสัตว์ทุกประเภท / ตับ / นม / เนย / ปู / กุ้ง / ไข่ / หอยนางรม / พวกพืชผัก เช่น ข้าวกล้อง เมล็ดทานตะวัน เมล็ดพืช วุ้นเส้นไม่ฟอกขาว งา มันฝรั่ง / ผักใบเขียวต่างๆ ผลไม้ เช่น มะม่วง สับปะรด แอปเปิ้ล

    วิตามินบีรวม (บี1 บี2 บี3 บี6 บี12)

    วิตามินบีรวม (บี1 บี2 บี3 บี6 บี12)

    วิตามินบีรวม ช่วยในการบรรเทาอาการแพ้ท้อง โดยคุณแม่ควรรับประทานเพื่อสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรงและแม่แข็งแรง ควรรับประทาน วิตามินบี1 3 มิลลิกรับ/วัน วิตามินบี2 2 มิลลิกรัม/วัน วิตามินบี3 20 มิลลิกรัม/วัน และวิตามินบี12 6 ไมโครกรัม/วัน แหล่งอาหารวิตามินบีรวม ดังนี้

    • วิตามินบี1 ได้แก่ ผัก โฮลวีต ถั่วเหลือง ข้าวโอ๊ต ถั่วลิสง รำข้าว เปลือกข้าว เมล็ดที่ไม่ผ่านการขัดสี บริเวอร์ยีสต์ นม ไข่แดง ปลา เนื้อออร์แกนิก เนื้อหมูไม่ติดมัน
    • วิตามินบี2 ได้แก่ ไข่ นม ถั่ว โยเกิร์ต ชีส ผักใบเขียว ปลา ตับ ไต
    • วิตามินบี3 ได้แก่ ไข่ ปลา เนื้อไม่ติดมัน เนื้อขาวจากพวกสัตว์ปีก ตับ โฮลวีต จมูกข้าวสาลี ถั่วลิสง อะโวคาโด อินทผลัม ลูกพรุน มะเดื่อฝรั่ง บริเวอร์ยีสต์
    • วิตามินบี6 ได้แก่ บริเวอร์ยีสต์ รำข้าว จมูกข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี ถั่วลิสง ถั่วเหลือง วอลนัต กะหล่ำปลี กากน้ำตาล แคนตาลูป ไข่ ตับ ปลา
    • วิตามินบี12 ได้แก่ นื้อสัตว์เป็นหลัก ตับ ไต นม ไข่แดง ชีส ปลา เนื้อหมู เนื้อวัว อาหารหมักดอง

    โอเมก้า 3

    โอเมก้า 3

    โอเมก้า 3 มีประโยชน์สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ช่วยควบคุมระดับฮอร์โมน ทำให้มดลูกแข็งแรง ช่วยในการเรื่องไหลเวียนของโลหิต ลดภาวะคลอดก่อนกำหนด ช่วยเรื่องน้ำหนักตัวลูกดี ดังนั้น คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 หรือน้ำมันปลาเป็นประจำ แหล่งอาหารที่มีโอเมก้า 3 เช่น ปลาและอาหารทะเล / ถั่วและเมล็ดพืช / น้ำมันพืช

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • ท่านอนคนท้องตลอด 9 เดือนที่ถูกต้อง

    ท่านอนคนท้องตลอด 9 เดือนที่ถูกต้อง

    คุณแม่ทุกท่านที่กำลังตั้งครรภ์คงต้องเจอปัญหาในการนอนของคนท้อง เพราะเมื่อท้องแล้ว ก็นอนสบายเป็นเรื่องที่ยากมาก ไม่เพียงจะนอนยากแล้วก็ยังมีอาการปวดเมื่อยตามจุดต่างๆตามร่างกายโดยเฉพาะหลังและขา ร่วมด้วย สำหรับท่านอนสำหรับคนท้อง ถึงเป็นเรื่องเล็ก แต่ก็สำคัญเพราะมันส่งผลต่อความปลอดภัยของเด็กในท้องด้วย ดังนั้นในครั้งนี้เรามารู้วิธีท่านอนสำหรับคนท้องที่ถูกต้อง ปลอยภัยสำหรับลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์กันค่ะ

    ทำไมการนอนสำหรับคนท้องจึงสำคัญ

    การนอนให้เพียงพอสำหรับคนท้องเป็นเรื่องจำเป็น เพราะในช่วงการนอนร่างกายจะทำการซ่อมแซมส่วนต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงหลอดเลือดด้วย ที่จะไปทำการกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต เพื่อไปเสริมสร้างส่วนต่างๆร่างกายของลูกที่อยู่ในครรภ์ด้วย ไม่เพียงเท่านั้นการนอนยังส่วนเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ควบคุมการตอบสนองร่างกายต่ออินซูลิน เป็นการลดความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

    ท่านอนของคนท้องในแต่ละช่วง

    ท่านอนคนท้องในช่วง 1-3 เดือนแรก

    ท่านอนคนท้อง 1-3 เดือนแรก

    ในช่วง 3 เดือนแรกนี้คุณแม่สามารถนอนท่าไหนก็ได้ เพราะเด็กในครรภ์ยังเป็นตัวอ่อนเล็กๆอยู่ ดังนั้นนอนท่าไหนก็ไม่อันตรายต่อลูก แต่สิ่งที่คุณแม่ต้องระวังคือช่วงตอนตื่นนอน โดยที่ก่อนจะลุกขึ้นตื่นให้คุณแม่ให้พลิกตัวมาท่าตะแคงข้างก่อน แล้วค่อยๆใช้มือพยุงตัวลุกขึ้นมา เพราะหากลุกขึ้นมาในทันทีอาจทำให้คุณแม่หน้ามืดได้

    ท่านอนในช่วง 4-6 เดือน

    Photo of beautiful pregnant woman sleeping in bed; Shutterstock ID 97380734; Purchase Order: –

    เมื่อการท้องคุณแม่เดินทางมาเข้าสู่เดือนที่ 4 ท้องของคุณแม่เริ่มมีการขยายใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ท่านอนก็จะมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อไม่ส่งผลอันตรายต่อตัวลูกน้อยของคุณแม่ คือท่านอนตะแคงซ้าย หรือนอนตะแคงข้าง ซึ่งการนอนในท่านี้จะเป็นการช่วยส่งเสริมระบบการไหลเวียนโลหิตได้ดีขึ้น ซึ่งน้ำหนักของท้องส่วนใดส่วนหนึ่งจะตกลงมาพื้น และไม่ไปกดทับเส้นเลือดใหญ่ในช่องท้อง ในท่านี้คุณแม่จะรู้สึกสบายกว่าท่านอนหงาย และในท่านี้จะช่วยให้คุณแม่ลดความเสี่ยงจากอาการหน้ามืด เป็นลม ได้ แต่ใช่ว่าจะนอนในท่านี้ตลอดเวลา ควรมีการเปลี่ยนท่านอนบ้างได้ เพราะถ้าหากอยู่ในท่าไหนนานๆ จะทำให้มีอาการปวดหลังได้

    ท่านอนในช่วง 7-9 เดือน

    ท่านอนคนท้องในช่วง 7-9 เดือน

    สำหรับโค้งสุดท้องของการท้อง เมื่อคุณแม่เข้าสู่ช่วงนี้ ท้องของคุณแม่ก็จะใหญ่มาก ท่านอนที่เหมาะสมคือคือการนอนท่าตะแคงซ้ายพร้อมงอเข่าทั้ง 2 ข้าง และใช้หมอนรองระหว่างขาทั้งข้าง เพื่อช่วยในการรับน้ำหนักบริเวณหน้าที่ใหญ่ และช่วยไม่ให้โน้มลงต่ำมากเกินไป ในท่านี่จะเป็นท่าที่สบายมากที่สุด เลือดไหลเวียนได้ดี และมดลูกไม่ไปกดทับหลอดเลือดในช่องท้องน้อยเหมือนท่านอนท่าอื่นๆ เพราะการไหลเวียนเลือดได้ดีจะช่วยการส่งอาหารไปยังเด็กในครรภ์ได้ดีไปด้วย ไม่เพียงเท่านี้ยังช่วยให้ไตได้ขับปัสสาวะ และช่วยลดการบวมในท้องได้ด้วย

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • คนท้องนอนน้อย นอนดึก มีผลต่อลูกในท้องหรือไม่

    คนท้องนอนน้อย นอนดึก มีผลต่อลูกในท้องหรือไม่

    “มีคุณแม่ท่านหนึ่งที่กำลังท้องได้มีปัญหาการนอนไม่พอ นอนได้ไม่ถึง 5 ชั่วโมงต่อคืน แบบนี้จะมีผลต่อลูกในท้องหรือไม่” ซึ่งจากคำถาม การนอนของคนที่กำลังท้องเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งปัญหาการนอนของคุณแม่แต่ละคนก็แตกต่างกันออกไป บางคนเกิดจากการเปลี่ยแปลงที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ตั้งครรภ์ บางคนผลมาจากหน้าที่การงานหรือหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ ทำให้คุณต้องอดนอนบ้าง นอนน้อยบ้าง แต่อย่างไรก็ตามปัญหาคนท้องที่นอนน้อย ก็ไม่เป็นผลดีทั้งต่อตัวคุณแม่เอง และลูกที่อยู่ในท้อง

    คนท้องนอนน้อย นอนดึก มีความเสี่ยงต่อเด็กในท้องอะไรบ้าง

    เสี่ยงต่อการต้องผ่าคลอด

    เนื่องจากมีคุณแม่ที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์นอนน้อยกว่าวันละ 6 ชั่วโมง จะส่งผลทำให้ตอนคลอดยาก อัตราเวลาคลอดจะใช้เวลามากกว่าคนท้องปกติดีถึง 4.5 เท่า หรือส่งผลทำให้ไม่สามารถคลอดด้วยตัวเอง ต้องทำการผ่าคลอด

    เสี่ยงต่อครรภ์เป็นพิษ

    จากงานวิจัยจากประเทศสหัฐอเมริกา ว่า ในระหว่างที่มนุษย์ทำการนอน ความดันโลหิตจะลดลงเฉลี่ยประมาณ 10-20 เปอร์เซนต์ ซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ดูแลหลอดเลือดทั้งร่างกาย ดังนั้น การที่คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์นอนดึก นอนไม่พอ จะส่งผลทำให้การผลิตฮอร์โมนดังกล่าวมีปัญหา และยิ่งไปกว่านั้นคุณแม่กำลังท้องนอนดึกนอนน้อยจะมีค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตสูงกว่าปกติ จะส่งผลต่อการการทำงานของหัวใจในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์ และเมื่อระดับความดันโลหิตสูงจะทำให้คุณแม่มีความเสี่ยงที่เป็นภาวะครรภ์เป็นพิษ โดยผลของงานวิจัยจะพบว่าคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์นอนน้อยกว่าคืนละ 5 ชั่วโมง จะมีอัตราครรภ์เป็นพิษสูงถึง 9.5 เท่าของคนท้องปกติ

    เสี่ยงต่อการเจริญเติบโตช้า

    การนอนน้อยของคุณแม่จะส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงเด็กที่อยู่ในท้องไม่ดี ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองของลูก เมื่อคุณแม่คลอดน้องออกจะมีแน้วโน้มทำให้น้ำหนักตัวของเด็กน้อยว่ามาตรฐานและทำให้เด็กเจริญเติบโตช้าว่าเด็กปกติ ร่างกายก็จะไม่แข็งแรง ส่งผลต่ออารมณ์ของเด็ก ทำให้กลายเป็นเด็กเลี้ยงยาก หงุดหงิดง่าย มีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับสังคม มีผลต่อการใช้ชิวิตและความเครียดของเด็กในอนาคต

    คนท้องควรนอนเท่าไรถึงเพียงพอ

    คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรได้รับการนอนพักผ่อนวันละ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ฺ

    วิธีการช่วยให้คนท้องนอนเพียงพอ

    • คุณแม่ที่กำลังท้องบางคนมีอาการปวดหลังซึ่งเป็นอีกปัญหาของการนอน ดังนั้น คุณแม่ควรใช้หมอนพยุงร่างกายจะได้หรับสบาย หรือถ้าคุณแม่มีอาการปวดขาก็ให้เอาหมอนมารองขาทั้ง 2 ข้าง หรือคุณแม่นอนตะแคงก็หาหมอนมารองที่บริเวณท้องด้วย
    • สร้างบรรยากาศในห้องนอนโดยการใช้กลิ่นหอม โดยอาจจะใช้เทียนหอม หรือไม่ก็น้ำมันหอมระเหย แต่ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่สกัดจากธรรมชาติ และไม่มีกลิ่นที่ฉุนจนมากเกินไป เพราะกลิ่นจะให้การนอนของคุณแม่หลับง่ายและหลับได้ยาวนานยิ่งขึ้น
    • ใช้เสียงเพลงในกล่อมนอน เลือกเพลงที่มีจังหวะช้า หรือเพลงบรรเลง จะช่วยให้คุณแม่และร่างกายของคุณแม่ผ่อนคลาย
    • อ่านหนังสือหรือทำสมาธิก่อนนอน การทำสมาธิไม่จำเป็นต้องทำแบบจริงจัง เพียงแค่สวดมนต์ และจดจ่อกับสมาธิ ก็ช่วยให้แม่มีความผ่อนคลาย หรืออีกอย่างคือการอ่านหนังสือโดยการหาหนังสือดีๆ มาอ่านเพื่อกล่อมตัวเองให้ได้นอนไปในตัว

    การนอนสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งท้อง เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก เพราะการนอนที่เพียงพอของคุณแม่แล้ว ไม่เพียงจะส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่แล้ว แต่ยังส่งผลดีให้กับลูกของคุณแม่ที่อยู่ในท้องด้วย ดังนั้น หลีกเลี่ยงการนอนดึก หาเวลานอนให้ได้มากที่สุดค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • คนท้องกินปลาดิบได้หรือไม่

    คนท้องกินปลาดิบได้หรือไม่

    อาหารญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะเป็นจำพวกปลาดิบ ปลาหมึกดิบ เข้าใจว่าคุณแม่คงจะกังวลเรื่องความสะอาดของอาหารหรือกังวลเรื่องพยาธิที่อาจจะพบในอาหารดิบได้ เท่าที่พอจะทราบข้อมูลเกี่ยวกับอาหารญี่ปุ่นมาบ้างก็คือส่วนใหญ่แล้วเนื้อปลาที่นำมาประกอบอาหารมักมาจากทะเลซึ่งมีเกลือสูง ไม่มีพยาธิ มิฉะนั้นคนญี่ปุ่นคงจะเป็นโรคพยาธิกันหมดแล้ว ที่สำคัญอาหารที่ทำก็มักจะสด สะอาด และใหม่ด้วย อาหารเหล่านี้จะมีโปรตีนสูง สามารถรับประทานได้เลย

    สำหรับอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทย คุณแม่คงต้องเลือกร้านที่มีคุณภาพ แต่อย่างไรก็ตาม ขึ้นชื่อว่าเป็นอาหารดิบๆหรือเนื้อสดๆ แล้วไม่ว่าจะระวังอย่างไร หรือเลือกร้านดีแค่ไหนก็คงต้องมีความเสี่ยงบ้างเป็นของธรรมดา

    ซึ่งได้มีข่าวอยู่บ่อยๆ ว่ากินอาหารญี่ปุ่น แล้วชักหมดสติ เนื่องจากมีพยาธิขึ้นสมอง ดังนั้นสำหรับคนท้องควรกินอาหารของคนท้อง แต่ถ้าหากจะกินให้ปลอดภัยจริงๆ ก็ควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกแล้วเท่านั้น

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • คนท้องขับรถได้หรือไม่

    คนท้องขับรถได้หรือไม่

    คำถามนี้ก็เป็นอีกหนึ่งคำถามยอดฮิตของคุณแม่ ที่มีข้อสงสัยว่าคนท้องขับรถได้ไหม โดยเฉพาะคุณแม่ที่ก่อนท้องต้องใช้ชีวิตเอง ขับรถเองไปไหนมาไหนด้วยตนเองประจำ และเมื่ออยู่ในช่วงท้องแล้วสามารถขับรถได้ไหม จะเป็นอันตรายต่อลูกในท้องหรือไม่

    คำตอบของคำถามนี้ ถ้าหากคุณแม่จำเป็นต้องไปไหนมาไหนจริงๆ คุณแม่ที่กำลังท้องสามารถขับรถได้ นั่งรถยนต์ได้ นั่งรถมอเตอร์ไซต์ได้ แต่ให้เพื่อความปลอดภัยมากที่สุดคือการใช้รถยนต์ส่วนตัว เพราะเราสามารถควบคุมความเร็วได้และเส้นทางที่จะเดินทางได้ ซึ่งเทียบกับการใช้รถประจำทาง หรือมอเตอร์ไซต์รับจ้าง ที่ไม่สามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้เลย

    อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบความอันตรายทางตรงต่อเด็กในครรภ์ที่มีผลมาจากการขับรถของคุณแม่ที่กำลังท้อง เพราะเนื่องจากเด็กทารกที่อยู่ในครรภ์จะมีน้ำคร่ำเป็นเกาะป้องกันรอบตัว ทำให้ปลอดภัยในระดับหนึ่ง

    นอกจากนี้ เด็กที่อยู่ในครรภ์ก็ยังมีเกาะกำบังในชั้นถัดไปๆ มา ได้แก่ กล้ามเนื้อมดลูก กล้ามเนื้อผนังหน้าท้อง ลำไส้ กระดูกสันหลัง และกระดูกเชิงกรานของคุณแม่ด้วย แม้ว่าเด็กในท้องจะได้รับแรงกระแทกซึ่งจะไม่มีผลโดยตรงต่อเด็ก เว้นเสียแต่ว่ามีอุบัติเหตุที่รุนแรง อาจจะเกิดอันตรายต่อทารกโดยตรงต่อทารกในครรภ์โดยตรงได้ เช่น การลอกตัวของรกก่อนกำหนด

    คนท้องขับรถ มี 6 สิ่งที่ควรรู้ก่อนการขับรถ

    สำหรับคุณแม่ที่กำลังท้อง หลายท่านคงจะหลีกเลี่ยงการขับรถไม่ได้ จำเป็นต้องใช้รถเพื่อไปไหนมาไหน ดังนั้น ก่อนที่คุณแม่ที่กำลังท้องขับรถต้องรู้สิ่งต่อไปนี้

    ช่วงเวลาไหนที่ไม่ควรขับรถ

    ซึ่งมี 2 ช่วงที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงของการขับรถ ดังนี้

    • ช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งท้อง เพราะช่วงนี้คุณกำลังมีอาการแพ้ท้อง มีอาการคลื่นไส้ เวียนหัว มีอาการอ่อนแรง ง่วงนอนง่าย ซึ่งอาการเหล่านี้จะส่งผลต่อความสามารถในการขับรถ ซึ่งหากเลี่ยงได้ ก็ควรที่จะให้คนอื่นหรือสามีของเราขับให้ดีกว่า หรือหากไม่มีจริงๆ และต้องขับในระยะทางไกล ควรจอดพักรถเป็นระยะๆ เพื่อให้ร่างกายพัก และเปลี่ยนอริยาบถ ของร่างกายของคุณแม่
    • ช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนการคลอด เนื่องจากในช่วงนี้ ท้องของคุณแม่ใหญ่โต เป็นช่วงที่คุณแม่ไม่ควรที่จะขับรถเลย เพราะครรภ์ของคุณแม่ อาจจะใหญ่เกินกว่าที่จะเข้าไปนั่งขับรถ เพราะท้องของคุณแม่จะไปขัดขวางการหมุนของพวงมาลัย ทำให้การขับรถยาก และทำให้คุณแม่มีความรู้สึกอึดอัด และหากเกิดกรณีเบรกกระทันหัน ก็มีความเสี่ยงที่ท้องจะไปกระแทกกับพวงมาลัย ส่งผลทำให้ครรภ์ได้รับความเสียหาย และอาจเกิดการคลอดก่อนกำหนด ดังนั้นช่วงนี้ ควรหลีกเลี่ยงหรืองดการใช้รถค่ะ

    ขับรถทุกครั้งควรคาดเข็มขัดนิรภัย

    การคาดเข็มขัดนิรภัย ไม่เพียงแค่ความจำเป็นแค่คนท้อง และมันจำเป็นสำหรับทุกคน เพื่อความปลอดภัย และลดความเสี่ยงที่จะมีผลร้ายที่มาจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ แต่สำหรับคนท้องที่ขับรถ ก็ต้องระวังเป็นพิเศษเป็น 2 เท่า เนื่องจาก มีกรณีศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า คุณแม่ที่ขับรถแต่ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ส่งผลทำให้เด็กที่คลอดออกมามีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และมีความเสี่ยงที่จะมีโอกาสเลือดออกเป็นจำนวนมากในคณะที่คลอด เป็น 2.1 เท่า และมีความเสี่ยงที่เด็กจะเสียชีวิต เป็น 2.8 เท่า ของคุณแม่กำลังท้องขับรถและคาดเข็มขัดนิรภัย ดังนั้นแสดงว่า การคาดเข็มขัดนิรภัยสำหรับคนท้อง มีความจำเป็น เพื่อช่วยลดและป้องกันอันตรายต่อเด็กที่อยู่ในครรภ์ ในขณะที่เกิดอุบัติเหตุ

    วิธีการนั่งในรถของคนท้องที่ถูกต้อง

    เนื่องจาก ในขณะที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์ และครรภ์ของคุณแม่ใหญ่ขี้น ในเวลานั่งในรถยนต์ คุณแม่ควรปรับเบาะรถให้ถอยห่างจากพวงมาลัยขึ้นอย่างน้อย 10 เซนติเมตร ปรับเบาะเอนให้เอนหลังมากกว่าปกติ และปรับพวงมาลังให้สูงขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ขณะที่เบรกรถและท้องของคุณแม่ไปกระแทกพวงมาลัย รวมทั้งไม่ให้แอร์แบ็กไปกระแทกกับท้องของคุณแม่ อีกเรื่องที่สำคัญคุณแม่ควรปรับให้คุณแม่นั่งสบายมากที่สุด

    วิธีการคาดเข็มขัดนิรภัยอย่างถูกต้อง

    วฺิธีการคาดเข็มขัดที่ถูกวิธี คือพาดสายจากจุดข้างสะโพกไป พาดผ่านต้นขา แต่ควรให้อยู่ระดับต่ำกว่าท้องของคุณแม่ และสายบน ควรให้อยู่ช่วงราวนมและคอ ส่วนสายล่างให้ปรับโดยไม่รั้งจนแน่นเกินไปและไว้บริเวณใต้ท้อง โดยที่จะต้องเว้นสามเหลี่ยมไว้ตรงบริเวณท้อง ซึ่งวิธีนี้จะช่วยในการกระจายการกระแทก และเกิดการกระชากกลับของเข็มขัดนิรภัย

    แต่มีคุณแม่หลายคนก็มีความกังวลว่าการคาดเข็มขัดนิรภะยจะไปรัดลูกที่อยู่ในครรภ์หรือไม่ ซึ่งคุณแม่ไม่จำเป็นต้องกังวล ถ้าหากคุณแม่ทำตามคำแนะนำ ไม่พาดสายรัดบริเวณบนหน้าท้อง ก็ไม่เกิดอันตรายต่อลูกค่ะ

    มีตัวช่วยลดอาการปวดหลังขณะขับรถ

    รูปแบบของร่างกายของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ ทำให้คุณแม่มีอาการปวดหลังได้ง่าย และยิ่งถ้าคุณปม่ต้องขับรถด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้คุณแม่ทวีอาการปวดหลังได้มากขึ้น ดังนั้น คุณแม่หาที่พักพิงหลังเพื่อลดบรรเทาอาการปวดหลัง

    รู้เรื่องอันตรายที่เกิดขึ้นในขณะขับรถ

    ถึงแม้จะไม่ได้เกิดอุบัติเหตุ เฉี่ยวชนรุนแรง แต่ถ้าได้รับการกระทบกระเทือน กระแทก หรือแค่ขับรถตกหลุม เป็นสิ่งที่ควรระวังให้อย่างมาก เพราะอาจส่งผลอันตรายต่อลูกได้

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • คุณแม่กำลังท้องกินเผ็ด ทำให้เด็กผมไม่ขึ้นจริงหรือ

    คุณแม่กำลังท้องกินเผ็ด ทำให้เด็กผมไม่ขึ้นจริงหรือ

    ได้มีคำถามจากคุณแม่ทางบ้านว่า “ตั้งครรภ์มาแล้ว 1 เดือนกับอีก 2 อาทตย์ ดิฉันมีอาการแพ้ท้องอย่างมาก กินอะไรไม่ค่อยลง แต่อาหารที่กินคืออาหารรถเผ็ด เช่น ต้มยำ ยำ แต่ก็มีคนทักว่า อย่ากินเผ็ดมาก เพราะจะไปส่งผลเสียต่อลูกได้ และก็มีบางคนบอกว่ากินเผ็ดมากๆ จะทำให้ลูกผมไม่ขึ้น ซึ่งอยากถามว่าหรือไม่คะ และหากเป็นเรื่องจริงควรทำอย่างไรดีคะ”

    ตอบ : โดยทั่วไปหมอจะมักแนะนำให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ รับประทาน อาหารคนท้อง ซึ่งจะมีประโยชน์ มีสารอาหารครบ 5 หมู่ ที่จะเน้นไปที่ผัก ผลไม้ และน้ำดื่มสะอาดให้มากๆ และให้หลีกเลี่ยงรับประทานอาหารที่มีรสจัด เช่น เค็มจัด หวานจัด เปรี้ยวจัด หรือเผ็ดจัด เพราะอาจส่งผลเสียโดยตรงต่อคุณแม่ หรือลูก ไม่ว่าจะโดยตรงหรือทางอ้อม

    ในช่วงที่คุณแม่กำลัง กระเพาะอาหารและลำไส้ของคุณแม่จะมีการเคลื่อนไหว หรือมีการบีบรัดตัวที่ช้าลง ซึ่งผลมาจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมีปริมาณสูงในช่วงที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์ ซึ่งมันเป็นระบบกลไกของร่างกายที่สำคัญ เพื่อช่วยป้องกันการแท้งลูก

    ดังนั้น คุณแม่อาจจะมีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย หรือย่อยยากมาก เนื่องจากมีอาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารและลำไส้ หรือมีอาการกรดไหลย้อนบ่อยครั้ง เพราะหูรูดบริเวณรอยต่อของหลอดอาหารและกระเพาะอาหารมีการเปิดถึงกันได้ง่ายกว่าปกติ จึงมีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณยอดอก หรือกระเพาะอาหารได้ และหากคุณแม่มีการแพ้ท้องคลื่นไส้อาเจียรร่วมด้วยแล้ว จะทำให้ทวีคูณของอาการมากขึ้นไปอีก

    และหากคุณแม่ยังจะกินอาหารรสเผ็ดจัด ก็จะส่งผลให้อาการดังกล่าวทวีความรุนแรงมากขึ้นไปอีก แถมยังต้องมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ เนื่องจากอาหารที่มีรสเผ็ดจัดจะไปทำให้เยื่อบุของหลอดอาหารและกระเพาะอาหารเกิดการระคายเคือง ส่งผลทำให้มีการอักเสบและเลือดออกได้ง่าย ทำให้คุณแม่มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง หรืออาจมีความเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร หรือเกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง การดูดซึมอาหารหรือการทำงานของระบบทางเดินอาหารของคุณแม่ผิดปกติ และยังส่งผลเสียต่อเด็กในท้องทางอ้อม เช่น เด็กจะมีการเจริญเติบโตช้า เป็นต้น แต่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเส้นผมของลูก

    ดังนั้น จากคำถามที่คุณแม่ท่านถ้าว่าคุณแม่ที่กำลังท้องกินเผ็ดจัดจะทำให้ผมของลูกไม่ขึ้นจริงหรือไม่ คำตอบคือ ไม่จริงคะ

    แต่มันจะส่งผลเสียทางด้านอื่นๆ เมื่อคุณแม่ทราบถึงผลเสียดังกล่าวแล้ว ก็ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีรสเผ็ดจัด โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ทีในช่วงนี้จะยังมีอาการแพ้ท้องอยู่ ควรเลือกกินอาหารอ่อน ย่อยง่าย เช่น น้ำซุป น้ำผลไม้ โจ๊ก ข้าวต้ม กินทีละน้อยๆ แต่ให้บ่อยมื้อมากขึ้น ถ้ามีอาการมากก็ควรใช้ยาบรรเทาอาการแพ้ท้องร่วมด้วย จะได้กินอาหารได้ดีขึ้นไปค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง