Category: คุณแม่ตั้งครรภ์

  • ถ้าเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเอง SLE มีลูกได้หรือไม่

    ถ้าเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเอง SLE มีลูกได้หรือไม่

    โรค SLE คือโรคที่มีสาเหตุมาจากภูมิคุ้มกันในร่างกายมีการทำงานที่ผิดปกติ ไม่สามารถจดจำเนื้อเยื้อในร่างกายได้ ทำให้สร้างภูมิคุ้มกันเพื่อทำลายเนื้อเยื้อตนเอทั่วทั้งร่างกาย เช่น บริเวณผิวหนัง ปอด ไต ข้อต่างๆ ตามร่างกาย และหัวใจ เป็นต้น ในบางครั้งโรค SLE มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “โรคพันหน้า” เนืองจากสามารถแสดงอาการทางร่างกายหลายระบบและมีความเด่นชัดของอาการในแต่ละระบบต่างๆ แตกต่างกันออกไป เช่น อาจจะแสดงอาการผื่นผิวหนัง ข้ออักเสบ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือมีความดันโลหิตสูง เป็นต้น

    การคุมกำเนิดของผู้ป่วยโรค SLE ที่ถูกต้อง

    ผู้ป่วยที่เป็นโรค SLE และมีการตั้งครรภ์ อาจทำให้โรค SLE กำเริบขึ้นมาได้ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ เช่น ครรภ์เป็นพิษ เด็กมีการพัฒนาการทางร่างกายช้า ทำให้ตัวเล็กกว่าอายุ ภาวะคลอดก่อนกำหนด หรือตลอดจนคุณแม่อาจแท้งลูกได้ ดังนั้นผู้ป่วยโรค SLE ไม่แนะนำให้มีบุตร ต้องได้รับการคุมกำเนิดอย่างมีประสิทธิภาพ ในระยะที่อาการ SLE กำเริบ ควรควรกำเนิดด้วยวิธีการสวมถุงยางอนามัย หรือการฉีดยาคุมกำเนิด ไม่ควรใช้การกินยาคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนขนาดสูง อาจส่งผลให้โรค SLE กำเริบ และหากผู้ป่วยที่เป็นโรค SLE และมีภาวะแอลตี้ฟอสโฟไลปิดร่วมด้วย ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นหลอดเลือดอุดตัน ดังนั้นการคุมกำเนิดของผู้ป่วย SLE ควรหลีกเลี่ยงการกินยาคุมกำเนิด หากมีความจำเป็นควรใช้ยาคุมกำเนิดที่ควรใช้ชนิดที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ และควรใช้ในช่วงที่โรคโรคสงบ ไม่มีอาการกำเริบ และต้องแน่ใจว่าผู้ป่วยไม่มีภาวะแอนตีฟอสโฟไลปิดร่วมการคุมกำเนิดวิธีอื่น เช่น การใส่ห่วงคุมกำเนิดนั้นไม่แนะนำเนื่องจากผู้ป่วยโรคลูปัสมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย ในผู้ป่วยที่ไม่ต้องการมีบุตรอีกอาจพิจารณาการทำหมัน

    โรคแพ้ภูมิตัวเองกับการตั้งครรภ์

    การตั้งครรภ์อาจทำให้โรค SLE กำเริบได้ ดังนั้น คำแนะนำของการมีลูกคือ ไปปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับคำแนะนำในการตั้งครรภ์อย่างถูกต้องปลอดภัย แต่คำแนะนำเบื้องต้นมีต่อ ดังนี้

    • ก่อนจะทำการตั้งครรภ์ต้องทำการหยุดยาคอร์สเตรียรอยด์ หรือยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ในขนาดต่ำ ต่ำกว่า 10 มิลลิกรัม/วัน นานอย่างน้อย 6 เดือน
    • ก่อนจะทำการตั้งครรภ์ควรหยุดยาภูมิคุ้มกัน เช่น ยา methotrexte ยา cyclophosphamide และยา MMF ก่อนอย่างน้อย 30 วันก่อนการปฏิสนธิ
    • หยุดยา leflunomide อย่างน้อย 2 ปีก่อนการปฏิสนธิ

    ในกรณีที่มีการตั้งครรภ์โดยไม่ได้วางแผนล่วงหน้าควรให้ผู้ป่วยหยุดยาทันทีเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ ส่วนยาต้านมาลาเรียในขณะตั้งครรภ์นั้น จากการศึกษาพบว่าจะช่วยป้องกันการกำเริบของโรคในขณะตั้งครรภ์จึงไม่จำเป็นต้องหยุดยาก่อนขณะตั้งครรภ์ผู้ป่วยควรได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด ควรได้รับการนัดตรวจทุก 4-6 สัปดาห์ เพื่อประเมินอาการ

    ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์และมีอาการแสดงของโรคกำเริบขณะตั้งครรภ์อาจควบคุมด้วยยา prednisolone เพราะยาจะถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงที่รกทำให้ยาไปถึงลูกในขนาดต่ำควรหลีกเลี่ยงการใช้ยา dexamethasone เนื่องจากยา dexamethasone จะไม่ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงที่รกจึงสามารถข้ามรกไปสู่ลูกได้ อย่างไรก็ตามขนาดของยา prednisolone ที่สูงกว่า 20 มิลลิกรัมต่อวันจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดครรภ์เป็นพิษ และภาวะเบาหวานในคนท้อง

    ประมาณร้อยละ 25-35 ของผู้ป่วยโรคSLEตรวจพบ anti-cardiolipin antibodies ให้ผลบวกและร้อยละ 10 ของผู้ป่วยโรคSLEมีโรคแอนตีฟอสโฟไลปิดร่วม ทำให้ผู้ป่วยมีอาการได้หลายรูปแบบ เช่น เกล็ดเลือดต่ำ มีลิ่มเลือดที่หลอดเลือดดำ หลอดเลือดไปเลี้ยงสทองอุดตัน มีการอุดตันของหลอดเลือดเล็กในไต ฯลฯ การรักษาผู้ป่วยที่มีโรคSLEมีโรคแอนตีฟอสโฟไลปิดร่วมที่มีหลอดเลือดอุดตันนั้นควรให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น ยา wafarin เพื่อให้ค่า prothombin time ยาวขึ้นประมาณ 2-3 เท่าจากค่าควบคุม ในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดดำอุดตัน 3 เท่าจากค่าควบคุมในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดแดงอุดตัน 3-4 เท่าจากค่าควบคุมร่วมกับยาแอสไพรินขนาดต่ำในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดอุดตันซ้ำหลังจากได้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด และควรให้นานไปตลอดชีวิต

    มียาบางชนิดเมื่อใช้ติดต่อเป็นเวลานาน (โดยไม่จำกัดความ มากกว่า 1 เดือน) อาจทำให้เกิดอาการเหมือนโรคSLE และทำให้ผลการตรวจ anti-nuclear antibody (ANA) ให้ผลบวก เราเรียกภาวะนี้ว่าเป็น โรคSLEจากการใช้ยา ได้แก่

    • Chlorpromazine Methyldopa Hydralazine Procainamide Isoniazid Quinidine
    • ส่วนยาที่อาจทำให้เกิดโรคSLEจากการใช้ยามีหลายชนิด เช่น ยา phenytoin ยา proputhiouracil ยา sulfasalazine ยา isoniacid ฯลฯ
    • อาการของโรคSLEจากการใช้ยามักไม่รุนแรงส่วนใหญ่จะเป็นอาการทางข้อ และผิวหนัง อาจมีเยื่อหุ้มปอดอักเสบ หรือความผิดปกติต่อเม็ดเลือด การตรวจ ANA มักให้ผลบวกเป็นรูปแบบ homogenous และอาจให้ผลบวกในการตรวจหา anti-histone antibody แต่ส่วนใหญ่จะให้ผลลบต่อการตรวจ anti-ds DNA antibody การรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้คือการหยุดยาที่ชักนำให้เกิดโรค อาการจะหายไปภายในระยะเวลาเป็นวันถึงสัปดาห์หลังจากหยุดยา และอาการที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะตอบสนองดีต่อยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช้สเตียรอยด์ บางรายอาจจำเป็นต้องได้รับยา prednisolone ได้ในเวลาอันรวดเร็ว โดยรวมผู้ป่วยกลุ่มนี้จะตอบสนองดีต่อการรักษา

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • คนท้องเป็นอีสุกอีใส อันตรายต่อเด็กในท้องหรือไม่

    คนท้องเป็นอีสุกอีใส อันตรายต่อเด็กในท้องหรือไม่

    โรคอีสุกอีใสเกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลา (Varicella virur) ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคงูสวัด ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการเหมือนการติดเชื้อไวรัสทั่วไป คือ มีไข้ อ่อนเพลีย และมีผื่นแดงราบตุ่มน้ำใส หรือตุ่มหนองขึ้นตามใบหน้า ลำตัว ฟลัง และสามารถติดต่อกันได้ง่าย โดยการสัมผัสกับตุ่มน้ำที่แตกออก การใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกัน หรือการหายใจ ไอจามรดกัน เชื้อนี้จะมีระยะฟักตัวประมาณ 2-3 สัปดาห์จนเกิดอาการ ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการรักษา โรคสามารถหายไปได้เองใน 7-10 วัน

    คนท้องเป็นโรคอีสุกอีใส คงไม่ใช่เรื่องดี ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากการได้รับเชื้อจากคนใกล้ตัว เช่น ญาติพี่น้อง หรือติดจากลูกคนแรกที่คุณแม่กำลังเลี้ยงอยู่ โดยไร้การป้องกันแต่อย่างใด เพราะไม่เคยเป็นมาก่อน จึงทำให้คุณแม่มีความกังวลว่าจะมีผลต่อลูกที่อยู่ในท้องหรือไม่ ในครั้งนี้เรามาค้นหาคำตอบกันค่ะ

    ความอันตรายของคนท้องที่เป็นโรคอีสุกอีใส

    ความอันตรายของคนท้องที่เป็นโรคอีสุกอีใส

    ในช่วงตั้งครรภ์ร่างกายจะมีภูมิต้านทานที่ต่ำลง ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายและมีความรุนแรงมากขึ้น ถ้ามีการติดเชื้อในช่วงตั้งครรภ์ จะทำให้เด็กในท้องมีความเสี่ยง โดยปกติแล้วหากช่วงท้องเป็นอีกสุกอีใส มักจะเป็นในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ และช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนคุณแม่คลอดเนื่องจากระบบภูมิต้านทานของคนท้องจะลดลงกว่าปกติ เป็นเหตุทำให้คนท้องมีโอกาสติดเชื้อต่างๆได้ง่าย

    หากมีการติดเชื้อโรคอีสุกอีใสในภายใน 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ในช่วงนี้เป็นช่วงที่เด็กในครรภ์อยู่ในระหว่างการสร้างอวัยวะ ซึงหากคุณแม่ได้รับเชื้ออีสุกอีใส อาจทำให้เกิดความผิดปกติของเด็กในครรภ์ หรือเรียกว่า Congenital varicella syndrome โดยเด็กที่อยู่ในครรภ์เกิดความผิดปกติบริเวณผิวหนัง หรือไม่ก็แขนขาลีบเล็ก สมองมีปัญหา เช่น ปัญหาอ่อน สมองฝ่อ สมองอักเสบ เป็นต้น หรือเด็กก็จะมีอาการชัก เป็นอัมพาต มีความผิดปกติทางสายตา เช่น เป็นต่อกระจก หรือไม่อาจส่งผลให้คุณแม่ต้องคลอดเด็กก่อนกำหนด ซึ่งโดยทั่วไปเด็กทารกที่ติดเชื้ออีสุกอีใสจะเสียชีวิตในช่วง 2 ปีแรก หรือไม่เด็กอาจเกิดมาแบบปกติ และเมื่อเข้าสู่อายุ 1 ขวบ ก็เริ่มแสดงอาการงูสวัดออกมา

    หากมีการติดเชื้อโรคอีสุกอีใสในช่วงที่ใกล้คลอด คือช่วง 7 วันก่อนคลอดไปถึงอีก 7 วันหลังคลอด อาจทำให้มีอาการหายใจล้มเหลว ปอดบวม ปอดอักเสบ ส่งผมทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตทั้งแม่และลูก แต่ในปัจจุบันก็มียาต้านเชื้อไวรัสอีสุกอีใสได้แล้ว แต่ยังคงมีราคาสูง และค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงมากเช่นกัน ดังนั้นเพื่อลดความเสียงของโรค และเสี่ยงที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเยอะ ควรทำการเลื่อนการคลอดออกไป อย่างน้อย 7 วัน หลังจากที่คุณแม่เป็นผื่น เพื่อเป็นการส่งภูมิคุ้มกันไปยังลูก แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจจากแพทย์เท่านั้น

    การรักษาคนท้องเป็นอีสุกอีใส

    การรักษาคนท้องเป็นอีสุกอีใส

    หากคุณแม่ได้ทำการตรวจวินิจฉัยจากหมอแล้วระบุว่าคุณแม่เป็นอีสุกอีใส แต่เชื้อยังไม่ได้ส่งไปยังทารกที่อยู่ในครรภ์แล้ว คุณหมอจะทำการรักษาไปตามอาการของคุณแม่ เช่นหากคุณแม่เป็นไข้ ก็ให้ยาลดไข้ หากคุณแม่อ่อนเพลีย ก็ให้ดื่มน้ำในปริมาณที่มากเพียงพอ และให้คุณแม่ได้นอนหลับพักผ่อน หรือในบางรายอาจได้รับน้ำเกลือช่วย เพื่อให้คุณแม่มีอาการสดชื่น และในระหว่างนี้ก็จะทำการเฝ้าระวังไม่ให้คุณแม่ไปแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น

    แต่สำหรับคุณแม่บางรายตรวจพบว่าเป็นอีสุกอีใส แล้วมีการตรวจพบว่าเด็กทารกที่อยู่ในครรภ์ได้รับเชื้อเช่นกัน ทางเดียวที่จะรักษาคือ คุณแม่จะต้องยุดิการตั้งครรภ์เพื่อรักษาชีวิตของคุณแม่เอาไว้

    การป้องกันคนท้องเป็นอีสุกอีใส

    • สำหรับคนแม่ที่ทำการตั้งครรภ์ แต่ยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส หรือได้รับการตรวจเลือดแล้วยังไม่มีภูมิคุ้มกัน จะให้หลีกเลี่ยงผู้ที่เป็นโรคอีสุกอีใส และควรรีบไปพบแพทย์ หากใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้ป่วยที่เป็นอีสุกอีใส
    • คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ ไม่ควรไปรับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส เพราะมีความเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อคุณแม่และเด็กในครรภ์
    • สำหรับคุณแม่ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส และอยากวางแผนการมีลูก ควรต้องไปรับวัคซีนการป้องกันโรคอีสุกอีใสก่อน โดยการฉีดวัคซีนดังกล่าวสำหรับผู้ใหญ่จะต้องทำการฉีดเป็นจำนวน 2 เข็ม โดยเข็มที่ 1 กับเข็มที่ 2 จะมีระยะห่างประมาณ 1 เดือน และเมื่อได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วก็ควรเว้นระยะออกไป 1-3 เดือน ก่อนที่จะทำการตั้งครรภ์
    • คุณแม่ไม่จำเป็นต้องตรวจภูมิคุ้มกัน หากมีการตรวจไม่พบภูมิคุ้มกัน ก็ควรไปฉีดวัคซีนหลังมีบุตรไปแล้ว
    • การให้วัคซีนหลังคลอดนั้น คุณแม่สามารถให้นมบุตรได้

    การดูแลคุณแม่ที่เป็นโรคอีสุกอีใสระหว่างการตั้งครรภ์

    • ควรดื่มน้ำมากๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ
    • ตัดเล็มมือ เล็บเท้าให้สั้น ป้องกันการเกาผื่นที่มาจากโรคอีสุกอีใส และป้องกันการติดเชื้อ
    • หารมีไข้สูงควรกินยาลดไข้ และใช้น้ำชุมเช็ดตัวร่วมด้วย
    • หารอดทนต่ออาการคันไม่ไหวควรทาคาลาไมน์เพื่อบรรเทาอาการคัน หากซื้อยาแก้แพ้มากินเอง ควรต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์เสียก่อน
    • ควรหาสบู่ที่มีส่วนผสมยาฆ่าเชื้อมาอาบน้ำ ชำระร่างกาย
    • หากสำหรับคุณแม่ที่มีอาการหนัก ควรรีบปรึกษาแพทย์
    • สำหรับคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป ควรหมั่นนับการดิ้นของลูก และการดิ้นของลูกน้อยกว่าปกติควรรีบไปแพทย์วินิจฉัยโดยทันที

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • คุณแม่ผ่าคลอดท้องแรก แล้วท้องสองต้องผ่าคลอดด้วยหรือไม่

    คุณแม่ผ่าคลอดท้องแรก แล้วท้องสองต้องผ่าคลอดด้วยหรือไม่

    ในกรณีที่เคยที่คุณแม่ผ่าคลอดมาแล้ว แพทย์จะผ่าตัดคลอดให้อีกในครรภ์ถัดๆไป เพราะบริเวณรอยต่อระหว่างคอมดลูกกะบปากมดลูกด้านล่างซึ่งเป็นรอยแผลผ่าตัดเดิมจะมีความบางตัวมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเข้าสู่ระยะเจ็บครรภ์คลอด อาจเสี่ยงต่อการปริหรือแตกได้ ทำใหเกิดความเสี่ยงต่อภาวะมดลูกแตก ทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์และมารดาอาจเสียชีวิตจากการเสียเลือดได้

    ทั้งนี้ไม่ได้เกิดภาวะดังกล่าวกับสตรีตั้งครรภ์ทุกราย ในต่างประเทศก็ยังมีการลองให้คุณแม่ที่ไม่มีภาวะอุ้งเชิงกรานแคบและเคยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องในครรภ์ก่อนเนื่องจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ทารกท่าก้น (ทารกที่คลอดท่าก้น) เป็นต้น ให้ลองคลอดเองในครรภ์ถัดไป โดยแพทย์จะต้องเป็นผู้ที่เฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลาในขณะที่คุณแม่เจ็บครรภ์มาโรงพยาบาลหรือเข้าสู่ระยะการคลอด เพราะคุณแม่และทารกจะมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการแตกของมดลูกได้ตลอดเวลา

    ในประเทศไทยสูติแพทย์จะแนะนำให้คุณแม่ผ่าตัดคลอดถ้าเคยมีประวัติการผ่าตัดคลอดมาก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น

    ถ้าคุณแม่มีการตั้งครรภ์ในครั้งถัดไปก็น่าจะได้รับการผ่าตัดคลอดอีกค่อนข้างแน่นอน ยกเว้นสูติแพทย์ที่ดูแลคุณแม่อยู่จะสามารถให้การเฝ้าคลอดได้ในช่วงเข้าสู่ระยะการคลอด จึงควรปรึกษาแพทย์อีกครั้ง

    อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรเตรียมตัวและเตรียมใจให้พร้อมเพื่อที่จะสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และฟื้นตัวได้ดีในช่วงหลังคลอดโดยการผ่าตัด ความจริงแล้วการผ่าตัดคลอดไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะหัวใจของการประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คือการให้ลูกดูดนมแม่ให้เร็วที่สุด ดูดบ่อย และดูดถูกวิธี หลังการผ่าตัดอาจจะมีอาการเจ็บแผลบ้าง แต่ก็สามารถจัดท่าให้ลูกดูดนมแม่ได้เช่นกัน

    นอกจากนี้ การระงับความเจ็บปวดโดยการฉีดยาและการรับประทานยาก็ยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้คุณแม่มีความสบายตัวมากขึ้นด้วย ส่วนใหญ่แพทย์จะให้น้ำเกลือและใส่สายสวนปัสสาวะนานประมาณ 24 ชั่วโมง และจะเอาสายน้ำเกลือและสายสวนปัสสาวะออก จากนั้นคุณแม่จะรู้สึกสบายตัวขึ้น โดยทั่วไปพยาบาลจะนำลูกมาให้ดูดนมคุณแม่ทันทีในช่วงหลังคลอดคุณแม่จะต้องปรับเปลี่ยนท่าท่างที่เหมาะสม โดยอาจจะนอนตะแคงตัวเพื่อให้ลูกมาดูดนมกระตุ้นการสร้างและการไหลของน้ำนม

    ถ้าเจ็บแผลก็ใช้ยาบรรเทาอาการเป็นระยะๆและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปพร้อมๆกัน หลังผ่าตัดคลอดประมาณ 24-48 ชั่วโมง คุณแม่จะสบายขึ้นมากและสามารถให้ลูกดูดนมแม่ได้มากและนานขึ้นเรื่อยๆ

    คุณแม่ควรควรทำใจให้สบายในช่วงตั้งครรภ์ครั้งต่อไป ตลอดจนในช่วงที่คลอดและเข้าสู่ระยะหลังคลอด ถ้ามีความตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ก็จะประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การฟื้นตัวอาจจะช้ากว่าการคลอดเองสัก 24 ชั่วโมง แต่สุดท้ายก็สามารถให้ลูกดูดนมแม่ได้เหมือนกัน

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • 5 เทคนิควิธีการตั้งชื่อลูกให้เหมาะสม

    5 เทคนิควิธีการตั้งชื่อลูกให้เหมาะสม

    เมื่อคุณพ่อคุณแม่ได้รู้ว่าลูกที่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่เป็นเพศไหน คุณพ่อและคุณแม่ก็เริ่มตื่นเต้นที่จะตั้งชื้อลูก ในครั้งนี้เรามีเทคนิควิธีตั้งชื่อลูกได้อย่างเหมาะสม เพราะการตั้งชื้อลูกคุณอาจจะมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ชื่อของลูกมันมีผลต่ออนาคตของลูกได้

    คุณพ่อคุณแม่เคยที่จะสงสัยไหมว่า การตั้งชื่อลูกนั้นมีความสำคัญมากขนาดไหนในแต่ละวัฒนธรรม และส่วนใหญ่คนอื่นใช้วิธีใด แบบไหนในการตั้งชื่อลูก ซึ่งแต่ละประเทศก็มีวัฒนธรรมในการตั้งชื่อลูกที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งแต่ละแบบเราก็นำมาเป็นไอเดียต่อการตั้งชื่อลูกของเราได้

    การตั้งชื่อลูกในแต่ละวัฒนธรรมทั่วโลก

    ศาสตร์ของการตั้งชื่อลูกได้รับความนิยมมาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ โดยอ้างอิงมากจากความเชื่อทางศาสนาและบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ สำหรับชาวยุโรปจะนิยมตั้งชื่อลูกหลังจากที่คลอดลูกออกมาแล้ว 2-3 วัน และหลังจากนั้นก็เข้าผ้านพิธีเป็นคริสต์สนิกชน (Baptism) สำหรับประเทศอังกฤษจะตั้งชื่อตามพ่อและแม่อุปถัมภ์ แต่ในขณะเดียวกันชาวฝรั่งเศสจะชอบตั้งชื่อลูกตามชื่อของปู่ย่าตายาย ส่วนในชาวสเปนจะมีความเคร่างครัดต่อธรรมเนียมการตั้งชื่อลูกคนแรกเป็นอย่างมาก หากเด็กเป็นหญิงจะตั้งชื่อตามย่า ส่วนเด็กชายจะตั้งชื่อตามปู่ และชาวยุโรปยังมีอีกวัฒนธรรมในการตั้งชื่อลูกคือการตั้งชื่อเล่นตามพ่อลและต่อด้วยคำว่า “จูเนียร์” อีกด้วย

    อีกซีกโลกหนึ่งฝั่งเอเชีย ชาวจีนมีความเชื่อว่าการตั้งชื่อลูกไม่ควรตั้งก่อนที่เด็กจะลืมตาดูลูก เนื่องด้วยเชื่อว่าวิญญาณร้ายอาจจะพรากลมหายใจของลูกน้อยไป และการตั้งชื่อจะถูกตั้งชื่อในงานฉลองการถือกำเนิด มาที่ชาวญีปุ่น วัฒนธรรมการตั้งชื่อของชาวญี่ปุ่นนิยมจะตั้งชื่อโดยการนำตัวอักษรคันจิที่มีความหมายดีๆ 2-3 ตัว มาเรียงกัน เพื่อให้เกิดการพ้องเสียงที่มีความสวยและงดงาม รวมไปถึงการนำตัวอักษรคันจิที่มีอยู่ในชื่อของบรรพบุรุษหรือพ่อแม่มาใช้ในการตั้งชื่อด้วย แต่จะไม่มีความหมาย ดังนั้นอย่าตกใจไป หากถามหาความหมายของชื่อจากชาวญี่ปุ่นแล้วไม่ได้รับคำตอบ

    ตั้งชื่อลูก

    5 เทคนิควิธีการตั้งชื่อลูก

    การตั้งชื่อถึงแม้จะเป็นความสุขของคนเป็นพ่อเป็นแม่ แต่อาจจะเป็นเรื่องปวดหัวเป็นได้ว่าจะตั้งชื่อลูกได้อย่างไร

    การเปิดใจรับฟังซึ่งกันและกัน

    เป็นเรื่องธรรมดาที่คุณพ่อคุณแม่จะมีความเห็นที่ไม่ตรงกันในการตั้งชื่อลูก ดังนั้น ควรเปิดใจรับฟังซึ่งกันและกันค่อยๆคิด ค่อยๆตกลงกัน อาจจะมีวิธีการตั้งชื่อที่มีความแตกต่างๆกัน ก็ค่อยๆตกลงกัน เมื่อตกลงกันได้แล้วค่อยบอกกับสมาชิกคนอื่นๆ ตอนคลอดน้องแล้วก็ได้

    ตั้งชื่อให้เขียนง่าย

    ในปัจจุบันมีโปรแกรมที่สามารถช่วยในการตั้งชื่อลูกให้มีความมงคลมากมาย แต่ในบางครั้งโปรแกรมก็อาจนำตัวอักษรแปลกๆมาใส่ เพื่อลดกาลกิณีในชื่อ ซึ่งในบางครั้งอาจจะมีความหมายดี แต่ก็อาจทำให้อ่านออกเสียงยากซึ่งไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป เพราะอาจส่งผลให้อาจอ่านชื่อผิดหรือเรียกชื่อผิดก็เป็นได้

    ตั้งชื่อตามคนมีชื่อเสียง

    นอกจากลูกจะมีเพื่อนร่วมรุ่นที่ชื่อคล้ายกันมากมาย ในอนาคตหากคนดังคนนั้นเกิดสร้างชื่อเสียงไม่ดี อาจกลายเป็นชื่อที่นำมาล้อเลียนได้ด้วย นี่เป็นเหตุผลที่ควรเลือกชื่อตามวีรบุรุษ นักกีฬาที่ประสบความสำเร็จ หรือบรรพบุรุษของตระกูลที่สร้างคุณงามความดีให้กับสังคม เพราะเมื่อลูกน้อยโตพอที่จะเข้าใจที่มาของชื่อ เขาอาจได้แรงบันดาลใจที่ดีด้วยค่ะ

    ชื่อควรมีความหมายที่ดี

    คุณพ่อคุณแม่อาจได้ชื่อดี มีความหมายดีมาแล้ว แต่การที่มีความหมายสูงมากเกินไปก็ไม่ใช่เรื่องที่มีความเหมาะสม ควรหลีกเลี่ยงการนำลักษณะด้วยของลูกมาตั้งชื่อเล่น เพราะลูกอาจถูกล้อเลียนได้ในอนาคต

    การตั้งชื่อตามสัญชาตญาณ

    มีคุณพ่อ-คุณแม่หลายคนที่ได้แรงบันดาลใจในการตั้งชื่อลูกน้อยตามความรู้สึกผูกพันตอนที่ลูกอยู่ในท้อง อาทิ ลูกดิ้นตอนฟังเพลงของศิลปินหรือตอนอ่านหนังสือเล่มโปรด บ้างก็ได้แรงบันดาลใจในวินาทีแรกที่ได้พบหน้าเจ้าตัวน้อย เป็นช่วงเวลาที่คุณสัมผัสได้ถึงพลังงานแห่งความรักและความสุข หากตัดสินใจไม่ถูกว่า จะเลือกชื่อไหนดี รอให้ถึงวันแรกของการพบกัน เรียกเขาด้วยชื่อในลิสต์ที่คุณเตรียมไว้ แล้วสังเกตรอยยิ้มหรือพฤติกรรมน่ารักๆ ของเจ้าตัวน้อยดูสิคะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • คนท้องภาวะเลือดจาง เสี่ยงเป็นธาลัสซีเมียหรือไม่

    คนท้องภาวะเลือดจาง เสี่ยงเป็นธาลัสซีเมียหรือไม่

    ภาวะเลือดจาง หมายถึง ภาวะที่มีความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง หรือฮีโมโกบิน ซึ่งฮีโมโกบินเป็นสารโปรตีนและเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่นำออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่างๆ ของร่างกาย ตลอดจนแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้น ถ้ามีความผิดปกติของการสร้างฮีโมโกลบินหรือเม็ดเลือดแดงมีปริมาณน้อยลง จะทำให้เซลล์ต่างๆ ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอจนเกิดภาวะคั่งของคาร์บอนไดออกไซต์ ผู้ที่มีภาวะโลหิตจางจะมีอาการซีด เหนื่อยง่าย ใจสั่น และอ่อนเพลียมากกว่าปกติค่ะ

    สาเหตุของภาวะเลือดจาง

    การเสียเลือดปริมาณมาก

    การเสียเลือดมากกว่า 1 ใน 3 ของปริมาณเลือดในร่างกายทั้งหมด ก็จะส่งผลทำให้เกิดภาวะเลือดจางได้ ซึ่งสาเหตุของการเสียเลือดในปริมาณมากนั้น มีทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง ได้แก่ อุบัติเหตุ มีแผลเรื้อรังในกระเพาะอาหารทำให้เลือดออกผิดปกติตลอดเวลา ริดสีดวงทวารหนัก หรือมีประจำเดือนมามาก เป็นต้น หรือเกิดจากการที่เม็ดเลือดแดงถูกทำลายไปเร็วกว่าปกติ เช่น โรคที่ร่างกายต่อต้านเม็ดเลือดแดงของตนเอง โรคโลหิตจาง จากกรรมพันธุ์ เช่น โรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น

    การทำลายเม็ดเลือดแดงในปริมาณมากกว่าผิดปกติ

    ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่ม้ามมีการทำลายเม็ดเลือดแดงมากกว่าปริมาณที่สร้างขึ้นใหม่เพื่อทดแทนของเก่า จะทำให้ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงลดลงสำหรับสาเหตุหลักของภาวะดังกล่าว ได้แก่ ภาวะที่ร่างกายมีรูปร่างเม็ดเลือดแดงผิดปกติหรือมีภาวะ sickle cell anemia เป็นต้น

    ความผิดปกติในการสร้างเม็ดเลือดแดง

    ความผิดปกติในการสร้างเม็ดเลือดแดง สาเหตุหลัก คือ การขาดสารอาหารที่สำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง ได้แก่ ธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 และกรดโฟลิก สำหรับสาเหตุอื่นๆ ที่พบ ได้แก่ โรคไขกระดูกฝ่อ มีเซลล์มะเร็งในไขกระดูก เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือเกิดจากพยาธิบางชนิดที่ดูดเลือดจากระบบทางเดินอาหารในคน หรือเกิดจากกรกินอาหารที่มีธาตุเหล็กหรือวิตามินไม่เพียงพอ เป็นต้น

    ภาวะโลหิตจางที่พบได้บ่อยที่สุดในคนไทย ได้แก่ โรคโลหิตจาง ธาลัสสีเมีย ซึ่งเป็นโรคโลหิตจางที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โรคนี้สามารถถ่ายทอดได้จากบิดามารดาที่เป็นพาหนะหรือมีภาวะแฝงมาสู่บุตร โดยที่บิดามารดาไม่จำเป็นต้องมีอาการ ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ที่เป็นพาหะธาลัสซีเมียถึงร้อยละ 30 และเป็นโรคร้ายละ 1 คู่สมรสที่เป็นพาหะของธาลัสซีเมียประเภทเดียวกัน มีโอกาสที่จะถ่ายทอดความผิดปกติไปสู่บุตรได้ถึงร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4 ได้ค่ะ

    โรคธาลัสซีเมียมีหลายประเภท ที่สำคัญได้แก่ กลุ่มแอลฟ่าธาลัสซีเมียชนิดที่รุนแรงจะทำให้ลูกเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาได้ แต่ถ้าเป็นชนิดปานกลาง อาจทำให้เด็กมีภาวะซีดเรื้อรัง ตับม้ามโต ต้องได้รับเลือดทดแทนเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะเวลาที่มีไข้ หรือเจ็บป่วยไม่สบายจะมีภาวะซีดลงเร็วมากเพราะเม็ดเลือดแดงแตกและถูกทำลายเร็วขึ้น

    กลุ่มเบต้าธาลัสซีเมีย อาจมีความผิดปกติของฮีโมโกลบินอีร่วมด้วย ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มของโฮโมไซกัสเบต้าธาลัสซีเมีย หรือเบต้าธาลัสซีเมียฮีโมโกลบินอี สำหรับโฮโมไซกัสเบต้าธาลัสซีเมียจะมีความรุนแรง เด็กจะมีภาวะซีดมากในช่วง 6 เดือน ถึง 1 ปี จะมีอาการตัวเหลือง ตับม้ามโต ท้องป่อง เจริญเติบโตช้า พัฒนาการช้า ตัวเตี้ยแคระแกร็น โครงสร้างของใบหน้ามีความผิดปกติ มีความเจ็บป่วยได้ง่าย ส่วนกลุ่มเบต้าธาลัสซีเมียฮีโมโกลบินอีจะมีความรุนแรงมากหรือค่อนข้างรุนแรงได้

    คนท้องภาวะเลือดจาง

    กรณีของคุณแม่น่าจะมีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเกิดจากกินอาหารที่มีธาตุเหล็กน้อย ร่วมกับปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นในร่างกายระหว่างตั้งครรภ์ทำให้เลือดเจือจางลง คงไม่ใช่เป็นโรคธาลัสซีเมีย เพราะถ้ามีภาวะธาลัสซีเมีย แพทย์น่าจะบอกตั้งแต่การตรวจเลือดครั้งแรก จึงไม่น่ากังวล เมื่อรับประทานยาบำรุงเลือดได้สักระยะหนึ่ง คุณแม่จะมีอาการดีขึ้น โดยแพทย์จะนัดตรวจเลือดอีกครั้ง ซึ่งจะบอกได้ว่ามีความเข้มข้นของเลือดกลับสู่ภาวะปกติหรือยังค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • คนท้องเดินทางอย่างไรให้ปลอดภัย

    คนท้องเดินทางอย่างไรให้ปลอดภัย

    สำหรับคนท้องแล้วการเดินทางต่างๆย่อมเป็นเรื่องยาก เนื่องจากอาจมีผลกระทบต่อเด็กในท้องได้ โดยเฉพาะช่วง 4 เดือนแรกที่ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะครรภ์ยังไม่แข็งแรงเสี่ยงอาการแท้งลูกได้ทุกเมื่อ แต่ใช่ว่าจะไม่สามารถเดินทางไปไหนได้เลยสะทีเดียว ในครั้งนี้เรามีเคล็ดลับคนท้องจะเดินทางอย่างไรให้ปลอดภัย

    เมื่อคุณแม่มีความจำเป็นที่ต้องเดินทาง อย่างแรกที่คุณแม่ต้องทำคือ หยุดความวิตกกังวัลและเข้าใจสะใหม่ว่าการตั้งครรภ์ไม่ใช่การป่วย หากคุณหมอไม่ได้สั่งให้เดินทางหรือต้องระวังเป็นพิเศษ คุณแม่ก็สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้ แต่ก็จำเป็นต้องเตรียมเนื้อเตรียมตัวมากกว่าคนอื่นมากกว่าคนอื่นทั้งก่อนเดินทาง ระหว่างเดินทาง และหลังการเดินทาง จำเป็นต้องมีการวางแผนเพื่อความปลอดภัยทั้งตัวคุณแม่เองและเด็กที่อยู่ในครรภ์

    คนท้องแบบไหนไม่ควรเดินทาง

    จะมีคนท้องในบางคนที่คุณหมอจะแนะนำว่าไม่ควรเดินทางเพราะเพื่อความปลอดภัยทั้งตัวคุณแม่และเด็กในท้อง ซึ่งจะมีลักษณะ ดังนี้

    • คุณแม่ที่คาดว่าจะตั้งครรภ์เป็นลูกแฝด
    • คุณแม่ที่เคยที่ประวัติการแท้งลูกมาก่อน คาดว่าอาจคลอดก่อนกำหนด มีความดันโลหิตสูง เป็นเสี่ยงที่เป็นโรคเบาหวาน เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหากคุณแม่ที่มีความเสี่ยงดังกล่าว ไม่ควรที่จะเดินทางอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการเดินทางในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เพราะคุณแม่จะมีความเสี่ยงที่จะแท้งลูกได้ และอาจมีอาการเพลียที่ผลมาจากการแพ้ท้อง และอีกช่วงที่ไม่ควรเดินทางคือช่วง 3 เดือนหลังก่อนการคลอด เพราะอาจทำให้คุณแม่มีความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด และมีความเสี่ยงที่จะมีความดันโลหิตสูง

    คนท้องเดินทางแบบไหนที่มีความปลอดภัย

    ในการเดินทางของคนท้องในแต่ละแบบจะมีความเสี่ยงที่มีความแตกต่างกัน เช่น บางประเภทเดินทางแล้วส่งผลให้คุณแม่มีอาการเหนื่อยล้า หรือมีความเสี่ยงต่อการกระเทือน เป็นต้น ดังนั้นหากมีความจำเป็นต้องเดินทาง ควรขอรับคำแนะนำจากคุณหมอผู้เชียวชาญเพื่อเดินทางได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม

    การเดินทางสำหรับคนท้องที่ปลอดภัยมีด้วยกัน 4 แบบ ดังนี้

    การเดินทางด้วยรถยนต์

    คนท้องเดินทางด้วยรถยนต์

    การที่คุณแม่ที่กำลังครรภ์ต้องเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว สิ่งที่ควรรู้ คนท้องขับรถเองได้ ไม่ได้เป็นอันตรายต่อเด็กในท้อง แต่แค่คุณแม่ควรระมังระวังเป็นพิเศษ เพราะเนื่องจากคนท้องจะมีอาการอ่อนเพลียง่าย และสามารถเป็นตะคริวได้ทุกเมื่อ หากเริ่มมีอาการควรจอดแวะพักสักครู่ ออกมายืดเส้นยืดสายนอกรถ เปลี่ยนกริยาบถ เป็นระยะ หรือถึงแม้คุณแม่เป็นเพียงผู้นั่งก็ตามก็ควรจอดแวะพักเป็นระยะเช่นกัน และที่สำคัญจะลืมไม่ได้ ควรคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง โดยปรับตำแหน่งของสายคาดมาอยู่บริเวณหน้าท้องเล็กน้อยเพื่อความสะดวกสบาย

    การเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ

    ขนส่งสาธารณมีหลายแบบ ทั้งรถแท๊กซี่ รถเมล์ รถไฟ เป็นต้น สำหรับการนั่งรถแท๊กซี่ก็จะเป็นลักษณะเดียวกับหัวข้อด้านบน แต่สำหรับการโดยสารรถเมล์หรือรถไฟ หากคุณกำลังท้องอย่าได้ลังเลที่จะขอที่นั่งเพราะเป็นสิทธิที่คนท้องทุกคนพึงมี แต่คำแนะนำหากคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เข้าสู่ 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอดแล้วควรหลีกเลี่ยงการเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ หรือหากจำเป็นก็ควรวางแผนเพื่อหลีกเลี่ยงการเดินทางในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน

    การเดินทางด้วยรถไฟ

    สำหรับคนท้องการเดินทางด้วยไฟจะช่วยให้คุณแม่เหนื่อยน้อยที่สุด ซึ่งหากคุณแม่ต้องเดินทางด้วยรถไฟ ควรเลือกแบบ First class เพราะจะอำนวยความสะดวกสบายกว่า และมีพื่นที่ให้คุณแม่เปลี่ยนกริยาบถได้ง่าย

    การเดินทางด้วยเครื่องบิน

    หากคุณแม่ไม่มีความเสี่ยงที่ต้องห้ามเดินทาง คุณแม่ก็สามารถเดินทางโดยเครื่องบินได้ ซึ่งคำแนะนำคือระหว่างการเดินทางด้วยเครื่องบินให้คุณแม่ดื่มน้ำบ่อยๆ จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย และคุณแม่สามารถใช้ถุงน่องซัพพอร์ช่วยด้วยอีกทาง แต่ส่วนมากคุณแม่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 7 เดือนขึ้นไป สายการบินต่างๆมักจะไม่อนุญาตให้เดินทางไปด้วย เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณแม่และลูกของคุณแม่

    คำแนะนำการเดินทางท่องเที่ยวในที่ห่างไกลสำหรับคนท้อง

    คนท่องเดินทางท่องเที่ยวในที่ห่างไกล

    ก่อนที่คุณแม่จะจองตั๋วท่องเที่ยว ก่อนอื่นคุณแม่ควรไปปรึกษาคุณหมอก่อน เพื่อได้รับคำแนะนำให้การที่จะวางแผนท้องเที่ยวอย่างถูกต้อง การเดินทางท่องเที่ยวในที่ห่างไกลสำหรับคนท้องอย่างถูกมี ดังนี้

    • หลีกเลี่ยงเดินทางไปในสถานที่ที่ท่องเที่ยวที่ให้บริการทางการแพทย์ และสุขอนามัยที่ยังไม่พร้อม
    • หลีดเลี่ยงเดินทางไปในพื้นที่ที่มีโรคบางชนิดระบาดชุกชม เช่น โรคไข้มาลาเรีย ไข้เหลือง เป็นต้น หรือไปในประเทศที่มีอาการร้อนมากๆ เนื่องจากปกติหมอไม่สามารถให้วัคซีนป้องกันโรคต่างๆ กับคนท้องได้ แต่หากมีความจำเป็นต้องไปในพื้นที่นั้นๆ ก่อนไปควรได้รับคำปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีป้องกัน
    • ควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ สะอาด และเลือกเครื่องดื่มที่สะอาด ปราศจากเชื้อ เท่านั้น
    • ควรหลีกเลี่ยงไปในที่แดดจัดๆ เพื่อป้องกันจากสัตว์ที่เป็นพาหนะนำโรค
    • ก่อนการเดินทางควรมีการวางแผนศึกษาข้อมูลเกี่ยวสถานพยาบาลที่มีความพร้อมรองรับเหตุไม่คาดฝัน และเตรียมข้อมูลทางการแพทย์ส่วนตัวของคุณแม่เตรียมเอาไว้ด้วย

    เพียงเท่านี้หากคุณแม่ปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าว ก็สามารถจะเดินทางท่องเที่ยวพักผ่อนอย่างสุขใจ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • 10 คำพูดต้องห้าม ที่คุณพ่อไม่ควรพูดกับคุณแม่ตั้งครรภ์

    10 คำพูดต้องห้าม ที่คุณพ่อไม่ควรพูดกับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ อารมณ์จะขึ้นๆลงๆ แปรปรวน ทำให้คุณแม่ในบางครั้งจะมีอาการที่หงุดหงิดได้ง่าย ดังนั้นในช่วงนี้เวลาควรที่จะพูดกับคนท้องในเรื่องที่ดีๆ และเข้าหูคนท้องมากๆ โดยเฉพาะคุณพ่อควรพูดกับคุณแม่ให้ดี เพราะไม่เพียงจะส่งผลต่อคุณแม่แล้ว ก็ยังส่งผลไปถึงลูกในท้องด้วย

    ในครั้งนี้จะมาดู 10 คำพูดต้องห้าม ว่ามีคำพูดคำไหนบ้างที่ไม่ควรพูดกับคนท้อง กันค่ะ

    10 คำพูดต้องห้าม ดังนี้

    พูดว่า “จะกินอะไรนักหนา”

    การที่คนท้องอยากกินโน่นกินนี่ เป็นเรื่องปกติของคนท้อง ไม่เว้นแม้ในยาวค่ำคืน เพราะคนท้องมีความต้องการอาหาร หิว มากกว่าคนปกติ ดังนั้น โดยเฉพาะคุณพ่อ เป็นหน้าทีที่ควรหามาให้คุณแม่ได้รับประทาน โดยเก็บคำบ่นไว้ในใจ อย่าได้เผลอพูดคำ จะกินอะไรหนักหนา , หิวอีกแล้วหรอ ออกมาโดยเด็ดขาด เพราะจะส่งผลทำให้คุณแม่เกิดอาการหงุดหงิดขึ้นมาในทันที หรือเกิดอาการน้อยใจอย่างฉับพลันขึ้นมาได้ ดังนั้นในช่วงนี้ควรตามใจ จะได้ไม่เกิดปัญหาภายในครอบครัวได้

    พูดว่า “ช่วงนี้ดูอ้วนไปนะ”

    ผู้หญิงทั่วไปโดยทักว่าอ้วนก็เกิดความไม่มั่นใจในตัวเองแล้ว และยิ่งเมื่อผู้หญิงกำลังตั้งท้องด้วยแล้ว การทักว่าอ้วน เป็นสิ่งที่ต้องห้ามอย่างยิ่ง เพราะคุณแม่จะมีความรู้สึกไม่มั่นใจในตนเอง และอาจเกิดการงอลเป็นได้ ดังนั้นหากคุณพ่อสังเกตุหรือมีความรู้สึกว่าคุณแม่อ้วนเกินไปห่วงสุขภาพคุณแม่ ขอแนะนำให้ใช้ลักษณะการชวนลดความอ้วนในทางอ้อมดีกว่า โดยการออกกำลังกายเบาๆ หรือชวนรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ที่เหมาะสมกับคนท้อง ซึ่งในวิธีดังกล่าวไม่เพียงส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่แล้ว แต่ยังทำให้คุณแม่มีความรู้สึกถึงการเอาใจใส่ของคุณพ่อด้วย

    พูดว่า “จะร้องไห้ทำไมกันนักกันหนา”

    อารมณ์ของคนท้อง มีความอ่อนไหวง่าย อารมณแปรปรวน สืบเนื่องผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนภายในร่างกาย ดังนั้นในช่วงนี้มีการกระทบกระเทือนจิตใจคุณแม่นิดหน่อย ก็มีความอ่อนไหวทางอารมณ์ได้ง่าย คุณพ่อก็จะพบว่าคุณแม่จะร้องไห้ได้อยู่บ่อยๆ ซึ่งแน่นอนกรที่คุณพ่อพูดว่า “จะร้องไห้ทำไมกันนักกันหนา” จะเป็นการตอกย้ำความรู้สึกของคุณแม่ยิ่งเข้าไปอีก ทำให้ยิ่งน้อยใจมากขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นหากเห็นคุณแม่ร้องไห้ก็ควรเข้าไปปรอบประโลมสวมกอดให้คุณแม่รู้สึกดีขึ้น

    พูดว่า “จะเหนื่อยอะไรนักกันหนา”

    จะเหนื่อยอะไรนักหนา เป็นคำพูดที่บั่นทอนคุณแม่อย่างรุนแรง เป็นคำพูดที่ไม่ควรพูดอย่างยิ่ง เพราะซึ่งผู้ชายยังไม่เข้าใจความเหนื่อยของของคนท้อง ทั้งที่เพียงแค่ทำงานเล็กๆน้อยๆภายในบ้านเท้านั้น ก็เหนื่อยแล้ว ดังนั้น คุณพ่อต้องเข้าใจก่อนว่าคนท้องจะมีฮอร์โมนชนิดหนึ่งจะมีปริมาณมากกว่าปกติ ส่งผลทำให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์มีอาการเหนื่อยล้าง่ายและง่วงนอนอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นถ้าไม่อยากให้คุณภรรยาน้อยใจหรือโมโห ก็อย่าหลุดพูดคำนี้ออกมา

    พูดว่า “ต้องอยู่ในห้องคลอดด้วยหรือป่าว”

    ตอนที่คุณแม่คลอดลูกออกมา กำลังใจที่ดีที่สุดคงไม่ใช่ใครอื่นก็ต้องมาจากคุณพ่อ ดังนั้น คุณพ่อต้องยึดเป็นหน้าที่หลักเป็นตายร้ายดีอย่างไร ต้องอยู่ในห้องคลอดร่วมกับคุณแม่ให้ได้

    พูดว่า “อย่ามางี่เง่าได้ไหม”

    ในช่วงที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์ ก็เป็นช่วงที่คุณแม่งี่เง่าได้เช่นกัน จนในบางครั้งทำให้คุณพ่อมีอารมณ์บ้าง แต่ขอให้คุณผู้ชายฉุกคิดสักนิดว่าอารมณ์งี่เง่าของคุณแม่ ก็มาจากการตั้งครรภ์ ดังนั้น หาคุณพ่อว่าคำนี้ออกไป ก็อาจทำให้คุณแม่น้อยใจ และเสียใจได้ ก็เป็นอีกคำที่ไม่ควรพูดออกมา

    พูดว่า “ชมผู้หญิงคนอื่นว่าสวย”

    การชมผู้หญิงคนอื่นว่าสวย ก็อาจทำให้คุณแม่เกิดอาการน้อยใจ หงุดหงิด ได้ง่ายกว่าปกติ เพราะด้วยอารมณ์คนท้องที่แปรปรวน บอกเลยว่าคุณพ่องานเข้าแน่นอน อย่าได้เผลอชมผู้หญิงคนอื่นเลยเชียว

    พูดว่า “อย่าเรื่องมากได้เปล่า”

    สิ่งหนึ่งที่คุณพ่อต้องจำขึ้นใจคือ ต้องตามใจคุณแม่ หากคุณแม่ต้องการสิ่งใด ถ้าไม่เหนือบากกว่าแรงก็ควรหามาให้ ดังนั้นคำว่า อย่าเรื่องมาก ควรทิ้งไปอย่าได้พูดออกมา

    พูดว่า “แฟนเก่าเราดีกว่านี้อีก”

    เปรียบเทียบแบบนี้ไม่ดีนะขอบอกเลย เพราะคงไม่มีใครอยากได้ยินประโยคที่ว่า แฟนเก่าของคุณดีกว่าหรอก โดยเฉพาะผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ด้วยแล้ว จะทำให้เธอรู้สึกน้อยใจไปไกลเลยทีเดียว เอาเป็นว่าลองคิดว่าคุณเป็นฝ่ายได้ยินประโยคแบบนี้บ้างสิ แล้วจะรู้ว่ามันทำให้รู้สึกแย่มากแค่ไหน

    พูดว่า “เป็นง่อยเหรอ”

    ภรรยาของคุณอาจจะใช้ให้คุณทำโน่นทำนี่ให้ จนนึกสนุกหยอกล้อเธอด้วยคำว่า “เป็นง่อยเหรอ” เท่านั้นแหละรับรองเลยว่าเธอจะวีนขึ้นมาทันที ก็เพราะภรรยาท้องขี้หงุดหงิดนั่นเอง แม้คุณจะพูดแค่เล่นๆ แต่ก็ถึงกับเป็นเรื่องเป็นราว เกิดการทะเลาะกันได้เลยทีเดียว

    เพราะคนท้องอารมณ์เสียง่าย ขี้หงุดหงิดและน้อยใจมากเป็นพิเศษ ดังนั้นถ้าไม่อยากให้ภรรยาของคุณเหวี่ยงวีนขึ้นมาบ่อยๆ ก็ควรระวังอย่าใช้คำพูด 10 คำนี้เด็ดขาด และที่สำคัญควรไตร่ตรองให้ดีก่อนจะพูดอะไรออกไปทุกครั้งด้วย นั่นก็เพราะคำพูดเพียงเล็กน้อยที่ไม่ได้คิดอะไร อาจทำให้เป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาได้เลยทีเดียว

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • มะระ ประโยชน์และความเสี่ยงสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    มะระ ประโยชน์และความเสี่ยงสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    การตั้งครรภ์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายในร่างกายของผู้หญิงและเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น ซึ่งในระหว่างที่กำลังตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาสำคัญที่คุณแม่ควรใส่ใจในเรื่องของสุขภาพและการรับประทานอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ค่ะ บทความนี้เรารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของมะระสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์มาฝากค่ะ

    ประโยชน์ของการกินมะระระหว่างตั้งครรภ์

    มะระผักสีเขียวรสขมที่หลายๆคนอาจไม่ชอบ แต่เต็มไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินที่ดีต่อสุขภาพและนิยมใช้เป็นยาจากธรรมชาติค่ะ ซึ่งจะมีประโยชน์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไรบ้างมาดูกันเลยค่ะ

    • มะระเต็มไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นสำหรับพัฒนาการและการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ เช่น สังกะสี โพแทสเซียม แมงกานีส แมกนีเซียม กรดแพนโทธีนิก เป็นต้น
    • เพิ่มภูมิคุ้มกัน การเจ็บป่วยแม้เพียงเล็กน้อยอาจทำให้เกิดปัญหามากมายในระหว่างตั้งครรภ์ แค่ไข้หวัดธรรมดาหวัดหรือไอก็ส่งผลร้ายต่อร่างกายได้ค่ะ ในมะระมีวิตามินซีในปริมาณที่เพียงพอซึ่งวิตามินซีเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ และจะช่วยให้คุณต่อสู้กับความเจ็บป่วยทั่วไปได้ค่ะ
    • ป้องกันอาการท้องผูกและริดสีดวงทวาร อาการท้องผูกและโรคริดสีดวงทวารเป็นปัญหาทั่วไปในหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ซึ่งในมะระมีไฟเบอร์สูงซึ่งช่วยป้องกันปัญหาอาการท้องผูกได้ดีค่ะ
    • ลดปัญหาอาการท้องอืดระหว่างตั้งครรภ์ ปัญหาการย่อยอาหารยังเป็นปัญหาที่พบบ่อยในระหว่างตั้งครรภ์ ความผันผวนอย่างมากของฮอร์โมนและการขยายตัวของมดลูกทำให้เกิดปัญหาท้องอืดค่ะ
    • ป้องกันโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งพบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์และเป็นอันตรายต่อตัวลูกน้อยในครรภ์ ในมะระประกอบด้วยสารอาหาร polypeptide-P และ charantin ที่ช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีค่ะ
    • มะระอุดมไปด้วยโฟเลต ซึ่งมีความจำเป็นในระหว่างตั้งครรภ์เพื่อป้องกันหรือลดข้อบกพร่องของระบบประสาทในทารกในครรภ์ค่ะ

    ความเสี่ยงของการกินมะระในระหว่างตั้งครรภ์

    แม้ว่ามะระจะเป็นผักที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ แต่ก็มีความเสี่ยงบางประการที่อาจเกิดขึ้นได้เช่นกันค่ะ โดยในเฉพาะคุณแม่ที่ร่างกายไวต่อการตอบสนองสิ่งต่างๆ ซึ่งการบริโภคมากเกินไปอาจทำให้มีความเสี่ยงของการแท้งบุตรหรือภาวะการคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากสารเคมีในผลหรือเมล็ดมะระอาจทำให้มีเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ค่ะ

    ดังนั้นคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับอาหารมากเป็นพิเศษ เพราะคุณไม่สามารถคาดเดาได้ว่ากระเพาะอาหารของคุณจะตอบสนองต่อนั้นอย่างไรบ้าง ดังนั้นควรสอบถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและสังเกตอาการความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาการค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • เชื้อราในช่องคลอด เป็นอันตรายต่อลูกในท้องหรือไม่

    เชื้อราในช่องคลอด เป็นอันตรายต่อลูกในท้องหรือไม่

    ร่างกายของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ตามปกติแล้วจะมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ ทำให้คุณแม่มีโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณช่องคลอด เพราะเป็นจุดที่เกิดการอับชื้น และเป็นแหล่งสะสมแบคทีเรียหรือเชื้อราอย่างดี ดังนั้น ในช่วงที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์ต้องมีการดูแลเอาใจใส่รักษาความสะอาดเป็นสำคัญ ไม่ใช่เรื่องที่จะมองข้ามได้ เพราะมันอาจส่งผลไปถึงลูกน้อยที่อยู่ในท้องของคุณแม่ได้

    ในครั้งนี้ มีคุณแม่หลายๆท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเป็นเชื้อราในช่องคลอดที่เป็นในระหว่างการตั้งครรภ์ ว่ามีผลอันตรายต่อลูกที่อยู่ในครรภ์หรือไม่ ในครั้งนี้เรามาหาคำตอบกัน

    สาเหตุของการเกิดเชื้อราในช่องคลอด

    โดยปกติแล้วมนุษย์เราจะมีเชื้อราที่ชื่อว่า แคนดิดา อัลบิแคนส ที่จะใช้ร่างกายของเราเป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งเชื้อดังกล่าวมักเกิดขึ้นได้มีร่างกายมีสภาพที่อบอุ่น หรือมีการอับชื้น แต่เชื้อราดังกล่าวจะไม่ก่อปัญหาแต่อย่างใด หากร่างกายมีสภาพแข็งแรง แต่เมื่อคุณแม่ได้มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นภูมิคุ้มกันต่างๆในร่างกายจะทำงานที่ลดต่ำลง ร่วมด้วยมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในระหว่างการตั้งครรภ์ ทำให้สมดุลของกรดและด่าง ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อราในช่องคลอดได้อย่างรวดเร็วได้ ซึ่งเชื้อราดังกล่าวเป็นสาเหตุหลักทำให้เกิดอับเสบบริเวณช่องคลอด

    อาการโรคเชื้อราในช่องคลอด

    • มีอาการคัน ระคายเคือง หรือแสบร้อนบริเวณรอบๆช่องคลอด
    • เกิดอาการบวมแดง บริเวณช่องคลอด
    • ลักษณะของตกขาว จะเป็นก้อนหรือข้น มีสีออกเหลืองๆนวล คล้ายนมบูด และมีกลิ่นคล้ายขนมปังหรือยีสต์
    • ในระหว่างปัสสาวะ หรือระหว่างการมีเพศสัมพันธ์จะมีอาการปวดแสบ

    เชื้อราในช่องคลอดส่งผลต่อลูกในท้องหรือไม่

    คุณแม่ที่ตั้งครรภร่างกายจะมีภูมิต้านทานในร่างกายลดลงกว่าปกติ การเป็นเชื้อราในช่องคลอดในระหว่างที่กำลังตั้งครรภ์ เกิดจากที่มีการอับชื้นบริเวณช่องคลอดได้ง่าย ทำให้เกิดอาการติดเชื้อภายในช่องคลอดได้ง่ายเช่นกัน ซึ่งสิ่งที่คุณแม่ต้องรู้และต้องกังวลคือ จะมีเชื้อบางชนิดที่จะส่งผลต่อคุณแม่ทำให้คุณแม่ต้องคลอดก่อนกำหนด เช่น เชื้อแบคทีเรียวาจิโนสิส แต่ถ้ามีการติดเชื้อรา จะทำให้คุณแม่มีอาการคันสร้างความรำคาญให้กับคุณแม่ หรือไม่ก็มีจำนวนตกขาวมากกว่าปกติ แต่ก็ไม่ได้ส่งผลให้คุณแม่คลอดก่อนกำหนดหรือมีความเสี่ยงแต่อันตรายต่อทารกแต่อย่างใด ดังนั้น การเป็นเชื้อราในช่องคลอดไม่ได้ส่งผลอันตรายต่อเด็กแต่อย่างใด แต่ต้องรักษาความสะอาดช่องคลอดเป็นสำคัญเพราะอาจติดเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวได้

    การรักษาเชื้อราในช่องคลอด

    การรักษาเชื้อราในช่องคลอด

    หากมีการติดเชื้อราบ่อยครั้ง ก็ควรที่จะรักษาความสะอาดช่องคลอดเป็นสำคัญ หรือให้รีบไปปรึกษาแพทย์ และแพทย์ก็จะจ่ายยาสอดมารักษา อย่าได้ซื้อยาสอดมาใช้เอง เพราะอาจเป็นอันตรายได้ ซึ่งตามปกติแล้วการรักษาเชื้อราในช่องคลอดจะใช้ระยะเวลาในการรักษาอยู่ประมาณ 1 สัปดาห์ อาการก็จะดีขึ้น แต่ถ้าหากเกิดตกขาวจากการเกิดเชื้อรา แพทย์ก็จะทำการตรวจเลือดหาภาวะการเป็นเบาหวาน เพราะการรักษาจะต้องทำการรักษาโดยการควบคุมระดับน้ำตาลควบคู่ไปด้วย

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • ความแม่นยำของการอัลตราซาวน์คนท้อง

    ความแม่นยำของการอัลตราซาวน์คนท้อง

    โดยปกติเมื่อคุณแม่มาฝากครรภ์ แพทย์จะประเมินสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ โดยการชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิตตรวจปัสสาวะ ตรวจครรภ์และฟังเสียงหัวใจของทารกในครรภ์ นอกจากนี้จะถามถึงอาการผิดปกติที่อาจพบได้ในช่วงอายุครรภ์ต่างๆ

    ในกรณีที่ตรวจพบว่าคุณแม่มีน้ำหนักตัวขึ้นน้อย และท้องมีขนาดเล็กกว่าปกติของอายุครรภ์ที่ควรจะเป็น แพทย์จะตรวจวินิจฉัยต่อด้วยอัลตราซาวนด์ เพื่อประเมินทารกในครรภ์ โดยแพทย์จะตรวจวัดสัดส่วนของทารกในครรภ์ ตั้งแต่ศีระษะ ท้อง และกระดูกต้นขา ซึ่งจะสามารถคำนวณน้ำหนัก ซึ่งส่วนใหญ่เครื่องมือที่ใช้ตรวจอัลตราซาวนด์จะมีสูตรที่สามารถคำนวณน้ำหนักตัวทารกโดยอัตโนมัติอยู่แลัว และจะแสดงให้เห็นจากเครืองตรวจได้เลย

    ทั้งนี้ความแม่นยำของการประเมินน้ำหนักทารกในครรภ์โดยการใช้เครื่องตรวจอัลตราซาวนด์จะมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นกับความชำนาญของแพทย์ที่ตรวจวัด แพทย์ที่ได้รับการฝึกฝนและมีประสบการณ์ในการตรวจท่าทางของทารกในครรภ์ว่าอยู่ในลักษณะที่สามารถตรวจวัดได้ดีหรือไม่ เช่น ถ้าศีรษะทารกมีการเคลื่อนเข้าสู่อุ้งเชิงกรานมาก จะทำให้ความแม่นยำในการตรวจลดลง เพราะขนาดศีรษะที่วัดได้อาจจะน้อยกว่าความเป็นจริง ปริมาณน้ำคร่ำที่มีอยู่ก็มีส่วนสำคัญ เพราะถ้าน้ำคร่ำน้อยจะทำให้การวัดสัดส่วนของเด็กทารกทำได้ยาก

    อายุครรภ์ที่มาตรวจถ้าอยู่ในไตรมาสแรกมีความแม่นยำสูงสุด แต่ถ้าอยู่ในไตรมาสที่ 2 และ 3 จะมีความคลาดเคลื่อนมากขึ้น ประมาณ 1,2 และ 3 สัปดาห์ ตามลำดับของไตรมาส นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีก เช่น การเคลื่อนไหวของเด็กทารกในขณะตรวจ คุณม่ที่มีน้ำหนักตัวมาก ผนังหน้าท้องหนา เป็นต้น

    การชั่งน้ำหนักและการตรวจประเมินขนาดมดลูกของคุณแม่ในการมาฝากครรภ์แต่ละครั้ง จะช่วยแพทย์ประเมินน้ำหนักของทารกในครรภ์เบื้องต้นได้ เพราะถ้าน้ำหนักคุณแม่ขึ้นน้อยเกินไป แม้ว่าคุณแม่สามารถกินอาหารได้ตามปกติก็จะบ่งบอกว่าเด็กทารกอาจมีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ โดยน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์จะประมาณ 12-15 กิโลกรัม และอาจจะขึ้นน้อยถ้าคุณแม่มีน้ำหนักตัวมาก และขึ้นได้มากกว่านี้ถ้าคุณแม่มีน้ำหนักตัวน้อยได้ เช่น ถ้าอายุครรภ์ 20 สัปดาห์หรือ 5 เดือน มดลูกควรมีขนาดประมาณระดับสะดืออายุครรภ์ 32 สัปดาห์หรือ 8 เดือน ก็ควรจะมีขนาดประมาณใต้ลิ้นปี่สัก 1 ฝ่ามือ เป็นต้น

    อย่างไรก็ตาม คุณแม่ที่มีลักษณะมดลูกที่ผิดปกติหรือผนังหน้าท้องหนาก็จะประเมินได้ยาก และความคลาดเคลื่อนสูงมาก จำเป็นต้องใช้อัลตราซาวนด์ในการประเมินร่วมด้วยต่อไป

    สำหรับคุณแม่ ถ้าตรวจอัลตราซาวนด์ประเมินแล้วพบว่าทารกในครรภ์มีความแข็งแรงปกติดี น้ำหนักตัวดี ก็ไม่ควรกังวลอีกต่อไปควรไปพบแพทย์ตามนัด และกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เพียงพอ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี อากาศถ่ายเทสะดวก ก็จะช่วยให้ทารกในครรภ์มีสุขภาพที่แข็งแรงค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง