Category: การเลี้ยงดูลูก

  • พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลง 15 วันแรกของการเป็นแม่

    พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลง 15 วันแรกของการเป็นแม่

    การตั้งครรภ์สำหรับหลายคนอาจเป็นเรื่องง่าย แต่ความเป็นแม่ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่จะเตรียมพร้อมแค่ไหน โดยเฉพาะในช่วง 15 วันแรกของการเป็นแม่ การรับรู้และสัมผัสกับสิ่งต่างๆมากมายเกี่ยวกับทารกแรกเกิด เช่นเดียวกันคุณแม่มือใหม่ที่มีทั้งความสุข ความกลัวและความวิตกกังวล จนอาจมีคำถามในใจว่า “ฉันจะดูแลทารกแรกเกิดได้ไหม” ซึ่งการเลี้ยงลูกคนเดียวในบางครั้งอาจทำให้คุณแม่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ค่ะ และวันนี้เราจะมาพูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์ 15 วันแรกของการเป็นแม่ค่ะ รวมถึงวิธีการรับมือมาฝากค่ะ

    วันนี้คุณรอคอยและพร้อมที่จะต้อนรับเจ้าตัวน้อย สำหรับคุณแม่มือใหม่หลายๆอาจมีคุณพ่อคุณแม่หรือสามีคอยช่วยอยู่ใกล้ๆ แต่ไม่ว่าคุณจะพร้อมแค่ไหนการเป็นคุณแม่มือใหม่อาจเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและมันก็เป็นเรื่องยากในเวลาเดียวกันค่ะ การปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆของเจ้าตัวน้อยและตัวคุณพ่อคุณแม่เองค่ะ และนี่คือสิ่งต่างที่อาจเกิดขึ้นและการรับมือทารกแรกเกิดในช่วง 2 สัปดาห์แรกค่ะ

    • เจ็บแผลหลังคลอด ไม่ว่าคุณแม่จะคลอดด้วยวิธีธรรมชาติหรือการผ่าคลอด ในระยะ 7 วันหลังคลอดเป็นช่วงที่ร่างกายกำลังฟื้นฟูค่ะ ซึ่งควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ค่ะ
    • การร้องไห้งอแงโดยไม่มีเหตุผล การอุ้มลูกเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการทำให้ทารกแรกเกิดสงบค่ะ เพราะเด็กทารกจะร้องไห้โดยไม่มีเหตุผลจนกว่าพวกเขาจะเข้าใจสิ่งที่คุณพูดค่ะ
    • 2-3 วันแรก ช่วงปรับตัวของทารกคุณแม่อาจจะต้องตื่นเกือบทั้งคืน เพื่อเปลี่ยนผ้าอ้อมและให้นมลูกค่ะ
    • สังเกตสัญญาณความหิว ซึ่งทารกแรกเกิดควรกินนมทุกๆ 2 – 3 ชั่วโมง และควรให้ลูกเรอหลังป้อนนมทุกครั้งค่ะ ช่วยลดอาการแน่นท้อง ท้องอืดได้ค่ะ และอาการไม่สบายตัวต่างๆ เช่น ผ้าอ้อมเปียกชื้น ลูกอึ ท้องอืด เป็นต้น
    • คำพูดและแรงกดดันของคนรอบข้าง อาทิเช่น ทำไมไม่ทำแบบนั้น ต้องทำแบบนี้สิ ฯลฯ ซึ่งคำเหล่านี้คุณแม่คงอาจจะได้ยินอีกนานค่ะ สิ่งที่คุณทำได้คือการรับฟังและอาจนำมาปรับใช้ให้เข้ากับตัวคุณและลูกของคุณค่ะ 
    • คุณเหนื่อยล้าทั้งทางร่างกายและจิตใจของคุณแม่ การนอนเมื่อลูกหลับซึ่งเป็นเวลาทองสำหรับคุณแม่ค่ะ
    • การเดินเล่นรับอากาศบริสุทธิ์ จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและทำจิตใจให้สงบได้ค่ะ
    • เตรียมกระเป๋าผ้าอ้อมให้พร้อมตลอดเวลา เพราะคุณไม่มีทางรู้ว่าเมื่อไหร่ที่คุณจะต้องไปหาหมอ

    ข้างต้นเป็นเพียงประการณ์ทั่วไปของคุณแม่มือใหม่ค่ะ สิ่งสำคัญโปรดจำไว้ว่าลูกของคุณคือลูกของคุณ คุณแม่ทุกคนล้วนรู้วิธีที่ดีที่สุดในการดูแลเลี้ยงดูและมีความสุขกับลูกน้อย อย่าให้ใครมาผลักดันหรือกดดันให้คุณทำบางสิ่งที่คุณไม่สบายใจหรือไม่ใช่ในสิ่งที่ลูกของคุณเป็นค่ะ  thaichildcare เป็นกำลังใจให้คุณแม่มือใหม่ทุกๆคนค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • ลูกติดเกม พฤติกรรมที่พ่อแม่ต้องดูแล

    ลูกติดเกม พฤติกรรมที่พ่อแม่ต้องดูแล

    การเล่นเกม ไม่ใช่เรื่องที่ไม่ดี แต่เป็นการ แถมยังฝึกให้เด็กรู้จักใช้เวลาในเป็นประโยชน์ สามารถให้เด็กแก้ปัญหา ตอบโต้ฉับไว และเสริมสร้างความสัมพันธ์กับคนในวัยเดียวกัน และรู้จักการทำงานเป็นทีม แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีข้อเสีย หากเล่นมากเกินไปโดยไม่สนใจในกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งผลเสียที่จะเห็นได้ชัดคือ เสียเวลา เสียสายตา เสียสุขภาพ เริ่มมีอาการสมาธิสั้น หรือในบางเกมก็ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายทำให้เด็กสามารถเป็นลมชักได้ และส่งผลต่ออารมณ์และพฤติกรรมที่รุนแรงต่อเด็ก

    ปัจจัยที่ทำให้ลูกติดเกม

    ปัจจัยที่ทำให้เด็กติดเกมมีด้วยกันหลายปัจจัย ดังนี้

    การเลี้ยงดู

    เด็กติดเกมมักจะพบในครอบครัวที่คนในครอบครัวไม่ค่อยมีเวลาที่จะดูแลเด็กเท่าที่ควร ขาดการฝึก สั่งสอนเด็ก และมักจะตามใจเด็ก เพราะทดแทนเวลาที่ไม่ได้เลี้ยงดู หรือในบางครอบครัวก็ไม่รู้วิธีในการเลี้ยงดู ใจอ่อนไม่ลงโทษในเวลาที่เด็กกระทำความผิด หรือขาดเวลาทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งเป็นการสร้างความอ้าวว้างให้แก่เด็ก ทำให้เด็กไปหากิจกรรมแก้เบื่อเอง ซึ่งไม่พ้นการเล่นเกม

    การเปลี่ยนแปลงของสังคม

    เครื่องมือการสร้างความสนุก ตื่นเต้น ของสังคมในสมัยนี้มีมากมาย แต่ก็ขาดสถานที่ที่ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว ได้อย่างปลอดภัยและเพลิดเพลิน ด้วยเหตุนี้ การเล่นเกมจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดในความคิดของเด็ก

    เป็นที่ตัวของเด็กเอง

    เด็กบางคนมีความเสี่ยงต่อการเป็นเด็กอาธิสั้น (ADHD) เด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์ รวมทั้งเด็กที่มีความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า หรือเด็กที่มีปัญหามาจากโรงเรียน เป็นต้น

    ระดับความรุนแรงของการติดเกม

    ทางการแพทย์ จะระบุระดับการติดไว้ 3 ระดับ แต่พ่อแม่หรือคนรอบข้างมักจะเหมารวมว่า ติดเกม หมดซึ่งการติดจะมีความแตกต่างกัน ซึ่งแบ่งระดับไว้ ดังนี้

    1. ชื่นชอบการเล่นเกม แต่ไม่ได้ติด การติดในระดับนี้เป็นการชอบธรรมดาทั่วไป ที่ยังอยู่ในความควบคุมของตัวเองได้ ซึ่งทุกคนสามารถเป็นได้ และยังสามารถทำกิจกรรมอื่นได้
    2. ระดับคลั่งไคล้ ในระดับนี้จะไม่ค่อยทำกิจกรรมอื่น เริ่มจะควบคุมตัวไม่ได้ แต่ยังสามารถทำกิจกรรมอื่นๆได้ แต่น้อยลง
    3. ระดับติด เมื่อเข้าสู่ระดับนี้ จะเริ่มเสียเวลาทำกิจวัตร หรือทำหน้าที่ และเริ่มไม่สนใจกิจกรรมอื่นๆ อธิเช่น
      • ไม่สามารถกำหนดเวลาเล่นได้ และเล่นนานติดต่อหลายชั่วโมง
      • เริ่มแสดงอาการหงุดหงิด หรือต่อต้าน เมื่อถูกขัดขวาง หรือห้ามเล่นเกม
      • เริ่มไม่สนใจในการเรียน และหน้าที่รับผิดชอบของตัวเอง
      • เริ่มมีการแสดงอาการที่ผิดปกติ เช่น แยกตัว เก็บตัว เป็นต้น

    วิธีการรับมือ หรือแก้ปัญหาลูกติดเกม

    • พูดคุยกับลูก วางกฏกติกา และกำหนดเวลาในการเล่น
    • ให้เวลากับลูกมากขึ้น พากันไปทำกิจกกรมร่วมกันทั้งในบ้านและนอกบ้าน เพื่อให้ลูกไม่รู้สึกโดดเดี่ยว
    • ไม่ควรใช้ถ้อยคำที่รุนแรงต่อลูก หลีกเลี่ยงการดุบ่น ตำหนิอย่างไรเหตุผล
    • ถ้าเป็นไปได้ ควรรวมกลุ่มพ่อและแม่ด้วยกัน เพื่อแลกเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงลูก
    • สำหรับเด็กคนไหนที่เข้าขั้นติดเกมไปแล้ว และมีพฤติกรรมก้าวร้าว มีอาการต่อต้านอย่างรุนแรง วิธีแก้คุณพ่อหรือคุณแม่ลองค่อยๆตะล่อมเล่นเกมกับลูกดู หากเกมมีความรุนแรง ให้ลองเบี่ยงเบนเปลี่ยนเกมที่เบา หรือคิดว่าเป็นผลดีต่อลูก เพื่อให้ลูกได้ปรับอารมณ์ตามเกม และเมื่อเล่นเกมเสร็จก็คอยสอนเปรียบเทียบระหว่างเกมที่ลูกเล่นกับเกมที่เปลี่ยน ว่ามีข้อดีกับข้อเสียอย่างไร แลกเปลี่ยนความคิดกับลูก ลองทำตัวเหมือนเป็นเพื่อนกับลูก และเมื่อลูกรู้สึกดีขึ้นก็ดึงลูกไปทำกิจกรรมอื่นๆ
    • หากการทำทุกข้อที่ผ่านมา แล้วไม่สำเร็จ ควรพาลูกไปปรึกษาจิตแพทย์

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • สิ่งที่แม่ต้องรู้เกี่ยวกับการดูแลเด็กแรกเกิด

    สิ่งที่แม่ต้องรู้เกี่ยวกับการดูแลเด็กแรกเกิด

    คุณพ่อคุณแม่มือใหม่อาจกำลังงงหรือสงสัยเกี่ยวกับการดูแลลูกน้อยแรกเกิด วันนี้ thaichildcare รวบรวมข้อมูลและสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ก่อนพาเจ้าตัวน้อยกลับบ้านมาฝากค่ะ

    การกินของเด็กแรกเกิด

    น้ำนมคุณแม่หลังคลอดกับลักษณะการกินของลูกน้อยสำหรับคุณแม่มือใหม่ อาจจะกังวลปัญหาน้ำนมน้อย ลูกไม่เข้าเต้าหรือปัญหาลูกแหวะนม จะมีวิธีรับมืออย่างไรมาดูกันเลยจ้า

    • ทารกตัวเหลือง เป็นภาวะที่พบได้ทั่วไปในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด และเมื่ออายุ 3-5 วัน จะค่อยๆเหลืองน้อยลงจนหายไปได้เองค่ะ แต่ในบางกรณีที่มีภาวะตัวเหลืองผิดปกติหรือตัวเหลืองจากโรค ควรไปพบแพทย์ทันทีเพื่อการตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
    • น้ำนมคุณแม่หลังคลอดในช่วง 2-3 วันหลังคลอดน้ำนมจะอาจมีน้อยค่ะ อย่าเพิ่งตกใจไปค่ะเป็นเรื่องปกติของคุณแม่หลังคลอดค่ะ ซึ่งน้ำนมหลังคลอดจะมีสีเหลืองๆอย่าเพิ่งทิ้งนะคะ คุณแม่รู้หรือไหมว่านี่เป็นสุดยอดของภูมิต้านทานจากแม่สู่ลูกจากน้ำนมสีเหลืองๆนั้นค่ะ
    • คุณแม่ที่น้ำนมน้อยสามารถกระตุ้นได้โดยการดื่มน้ำอย่างน้อย 2-3 ลิตรต่อวัน แนะนำเป็นน้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิห้องจะดีกว่าการดื่มน้ำเย็นค่ะ ควรให้ดูดนมทุก 3 ชั่วโมง ซึ่งรวมรวมถึงกลางคืนด้วยค่ะ หรือปั๊มนมต่อจากลูกดูด โดยเฉพาะในช่วง 2-4 สัปดาห์แรกค่ะ เพื่อเป็นกระตุ้นกระบวนการสร้างน้ำนมใหม่ค่ะ
    • ลูกควรกินนมบ่อยแค่ไหน? การกินนมของเด็กทารกที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 4-5 ออนซ์ ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งสามารถปรับได้ปริมาณการทานได้โดยสังเกตลูกน้อยของคุณค่ะและควรแบ่งทานทุก 2-4 ชั่วโมงค่ะ
    • อาการแหวะนม เป็นอาการที่พบบ่อยในเด็กทารกหลังจากกินนมค่ะ คุณแม่ไม่ต้องตกใจค่ะ เนื่องจากหูรูดกระเพาะอาหารยังไม่แข็งแรงค่ะ หลังกินนมเสร็จคุณแม่ควรยกศีรษะของลูกน้อยให้สูงหรือจับลูกเรอก่อนวางค่ะ นอกจากนี้เด็กที่แหวะนมบ่อยๆอาจเกิดจากการกินเยอะไปหรือภาวะ overfeeding ซึ่งมักจะส่งผลกระทบในระยะยาวได้ค่ะ
    • อุ้มเรอทุกครั้งหลังทานนมนะคะ แม้ว่าลูกน้อยจะหลับไปแล้วค่ะ ซึ่งการเรอจะช่วยให้ลูกน้อยสบายตัวมากขึ้นค่ะ ลดอาการแน่นท้อง ท้องอืดและลดอาการอ๊วกหลังกินนมได้ค่ะ

    การนอนของทารกแรกเกิด

    การนอนของทารกแรกเกิดเป็นสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่มือควรทราบค่ะ ทารกในช่วงวัย 1- 2 เดือนแรก มักจะต้องตื่นทุก 3 – 4 ชั่วโมง เพื่อดูดนม นอนหลับและขับถ่ายค่ะ ซึ่งเป็นวัยที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเหนื่อยหน่อยค่ะ นอกจากนี้การนอนที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ระมัดระวังอาจทำให้ทารกเสียชีวิตได้ค่ะ จากภาวะไหลตายในทารก(SIDS) เป็นการเสียชีวิตแบบกะทันหันหรือหยุดหายใจในขณะนอนหลับ ซึ่งอาจเกิดจากการนอนคว่ำในขณะที่่นอนหลับสนิทเป็นเวลานานๆ ผ้าห่ม หมอนหรือตุ๊กตาปิดจมูก การนอนที่นอนนุ่มมากๆทำให้เด็กยุบตัวไปกับที่นอน หรือแม้กระทั่งตัวคุณพ่อคุณแม่เองเผลอนอนทับลูกจนเสียชีวิตค่ะ

    การขับถ่ายของลูกน้อย

    นอกจากการกินและการนอนของทารก อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรทราบคือ การขับถ่ายของลูกน้อยค่ะ

    • ลูกกินนมพอหรือไม่นั้น คุณแม่สามารถสังเกตได้จากการขับถ่ายค่ะ โดยทั่วไปทารกควรปัสสาวะอย่างน้อย 6 ครั้งต่อวัน และควรอุจจาระ 4 ครั้งต่อวันค่ะ ทารกบางคนอาจถ่ายบ่อยได้ถึง 10 ครั้งในหนึ่งวัน ก็ไม่ต้องกังวลไปนะคะ หากทารกยังไม่มีอาการอื่นๆร่วมด้วยยังคงกินได้ปกติค่ะ หลังจากทารกอายุ 1 เดือนขึ้นไปการขับถ่ายจะค่อยๆน้อยลงไปเองค่ะ 
    • การทำความสะอาดก้นของทารกหรือการเช็ดก้น ห้ามเช็ดก้นจากข้างหลังไปข้างหน้าเด็ดขาดค่ะ เพราะการเช็ดย้อนจากข้างหลังมาด้านหน้า จะทำให้เอาเชื้อโรคที่อยู่ในอุจาระเข้าสู่อวัยวะเพศ และทำให้ลูกติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ค่ะ
    • แป้งฝุ่นไม่จำเป็นสำหรับเด็กๆทารกค่ะ เพราะแป้งเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งทีก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ในเด็กได้ค่ะ นอกจากนี้แป้งฝุ่นบางยี่ห้ออาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวของทารกได้ค่ะ

    การเลี้ยงลูกไม่มีคู่มือเล่มไหนที่สามารถบอกได้ทุกขั้นตอน ไม่มีสูตรสำเร็จ เพราะเด็กๆในแต่ละวัยมีเรื่องราวและปัญหาแตกต่างกันออกไปค่ะ ดังนั้นค่อยๆเรียนรู้ไปพร้อมกันค่ะ thaichildcare ขอแสดงความยินดีและเป็นกำลังใจให้กับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ทุกท่านค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • โกนผมไฟ จำเป็นไหม

    โกนผมไฟ จำเป็นไหม

    โกนผมไฟ พิธีโบราณของคนไทยที่สืบทอดกันมายาวนานและหลายๆท่านคงเคยได้ยิน แต่สำหรับคุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่อาจสงสัยว่า โกนผมไฟคืออะไร จำเป็นต้องโกนไหม หรือต้องโกนเมื่อไหร่ ดังนั้นวันนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับการโกนผมไฟมาฝากคุณพ่อคุณแม่ค่ะ

    การโกนผมไฟคืออะไร

    การโกนผมไฟ หรือที่เรียกกันว่าพิธีรับขวัญเดือน คือพิธีกรรมหรือความเชื่อที่สืบทอดกันมายาวนาน การโกนผมไฟหรือผมของเด็กแรกเกิด ซึ่งคนโบราณเชื่อว่าเส้นผมและเล็บของทารกแรกเกิดนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สะอาด และการโกนผมยังเป็นการรับขวัญทารก เด็กที่ได้รับการโกนผมไฟจะเลี้ยงง่าย ไม่ดื้อ มีผู้ใหญ่หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยคุ้มครอง นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่าการโกนผมจะช่วยในทารกมีผมดกดำมากขึ้นค่ะ

    โกนผมไฟตอนไหน

    การโกนผมไฟจะทำในช่วงที่ทารกแรกเกิดมีอายุครบ 1 เดือน เนื่องจากเป็นช่วงที่ทารกและคุณแม่หลังคลอดแข็งแรงมากขึ้น อีกทั้งทารกแรกคลอดมีผิวที่บอบบางมาก คุณแม่หลังคลอดยุ่งกับการดูแลลูกหรือยังเจ็บแผลคลอดอยู่ทำให้ไม่สะดวกจึงไม่นิยมโกนผมในช่วงแรกคลอดค่ะ

    พิธีโกนผมไฟในสมัยโบราณกับปัจจุบันแตกต่างกันไหม

    การโกนผมไฟในสมัยโบราณ หรือพิธีรับขวัญเดือน ซึ่งจะทำตามฤกษ์ดีตามดวงชะตาเกิดของเด็กเท่านั้นเพื่อเป็นสิริมงคลกับตัวเด็กค่ะ เนื่องจากการโกนผมไฟจะทำให้เด็กไม่ดื้อ เลี้ยงง่าย มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยคุ้มครองช่วยเหลือค่ะ และพิธีการโกนผมไฟมีขั้นตอนค่อนข้างมาก ได้แก่

    • ดูฤกษ์ยามสำหรับการโกนผมไฟที่ถูกโฉลกกับตัวเด็ก
    • นิมนต์พระสงฆ์เจริญพุทธมนต์
    • พระสงฆ์หลั่งน้ำมนต์ด้วยสังข์ที่ศีรษะทารก และโกนผมเป็นปฐมฤกษ์
    • พระสงฆ์สวดชะยันโต และปีพาทย์บรรเลงเพลงอวยชัย
    • เชิญผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือและญาติมาโกนผมไปต่อ พร้อมทั้งอวยพรเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ทารกค่ะค่ะ

    การโกนผมไฟในปัจจุบัน หรือพิธีรับขวัญเดือน ด้วยยุคสมัยทำให้พิธีดังกล่าวค่อยๆเลือนหายและเปลี่ยนแปลงไปค่ะ ซึ่งการโกนผมไฟในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่เป็นการโกนตามความสะดวกมากกว่าค่ะ เช่น ขณะที่เด็กกำลังหลับ โดยใหญ่ผู้ใหญ่ในบ้าน ปู่ ย่า ตาหรือยายเป็นผู้โกนให้ค่ะ

    โกนผมไฟแล้วเอาไปไหน

    ผมเด็กทารกที่ถูกโกนออกมาแล้ว ส่วนใหญ่จะใส่ไว้ในใบบอนหรือใบบัว โดยที่ส่วนหนึ่งเก็บไว้วางในเตียงหรือใกล้ตัวเด็ก เนื่องจากเชื่อกันว่าจะทำให้เด็กเลี้ยงง่าย ไม่งอแง เจริญรุ่งเรืองเมื่อเติบโตค่ะ และอีกส่วนจะนำไปลอยนำค่ะ

    โกนผมไฟ จำเป็นไหม

    จากที่กล่าวมาข้างต้นการโกนผมไฟเป็นพิธีรับขวัญเดือนที่สืบทอดกันมายาวนานตามความเชื่อ ซึ่งในปัจจุบันอาจเลือนหายไปโดยส่วนใหญ่คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่อาจไม่เชื่อหรืออาจเห็นว่าไม่สำคัญ และทำตามความสะดวกของแต่ละครอบครัวค่ะ

    การโกนผมไฟหรือการโกนผมเด็กทารกนั้น นอกจากความเชื่อเพื่อเป็นสิริมงคลกับตัวของเด็กทารก การโกนผมยังเป็นวิธีหนึ่งในการดูแลเส้นผมของเด็กทารก เนื่องจากเด็กแรกเกิดส่วนใหญ่มักมีปัญหาเรื่องของไขบนหนังศีรษะ การโกนผมจึงเป็นวิธีที่ทำให้ดูแลเส้นผมและหนังศีรษะได้ง่ายขึ้นค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • ทารกนอนลืมตา ผิดปกติหรือไม่

    ทารกนอนลืมตา ผิดปกติหรือไม่

    ทารกนอนลืมตา ผิดปกติหรือไม่

    การนอนหลับมีความสำคัญอย่างเหลือเชื่อสำหรับทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับทารกแรกเกิดและในขณะที่ลูกหลับคุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่มักชอบดูลูกน้อยมาก แต่ในบางครั้งคุณอาจสังเกตเห็นว่าลูกน้อยของคุณนอนหลับตาไม่สนิทหรือนอนลืมตา ซึ่งอาจสร้างความกังวลให้กับคุณพ่อคุณแม่ บทความนี้จะพาคุณมาหาคำตอบกันค่ะ

    สาเหตุที่ทารกนอนหลับตาไม่สนิท

    หากลูกน้อยของคุณนอนหลับไม่สนิทหรือนอนลืมตาอาจเป็นเพราะสาเหตุจากกรรมพันธุ์ ซึ่งพบว่าหากลูกน้อยของคุณนอนหลับโดยลืมตาอาจเป็นกรรมพันธุ์ หากครอบครัวของคุณมีประวัติการนอนหลับตาไม่สนิทโอกาสที่ลูกน้อยของคุณได้เช่นกันค่ะ และบางกรณีอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพ เช่น ปัญหาต่อมไทรอยด์ เส้นประสาทบนใบหน้าเสียหาย เป็นต้น หากคุณสังเกตเห็นว่าลูกน้อยของคุณนอนหลับโดยลืมตาบางส่วนเป็นเวลานานและมีอาการอื่นๆร่วมด้วยควรปรึกษาแพทย์

    ทารกนอนลืมตา ผิดปกติหรือไม่

    การนอนโดยลืมตาอาจดูแปลกและน่าเป็นห่วง แต่ก็เป็นเรื่องปกติที่พบได้บ่อยในเด็กทารกและไม่เป็นอันตรายค่ะ ด้านผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าทารกจำนวนมากนอนลืมตาในช่วงที่หลับลึก (REM Sleep) เนื่องจากประสาทของทารกมีความตื่นตัวสูง จะเห็นได้จากว่าเวลาลูกหลับลูกตากลิ้งไปมาหรือปลอกตากระตุกค่ะ เมื่อโตขึ้นรูปแบบการนอนหลับของเด็กๆจะค่อยดีขึ้นค่ะ

    ลูกนอนหลับตาไม่สนิททำอย่างไร

    แม้ว่าคุณจะไม่ต้องกังวลว่าลูกของคุณจะหลับโดยลืมตา แต่เราเข้าใจว่าในฐานะของพ่อแม่จะต้องสงสัยหรือหาวิธีเพื่อทำให้ลูกน้อยนอนหลับตาได้อย่างไร ซึ่งมีบางอย่างที่คุณแม่สามารถทำได้ค่ะ อาทิเช่น ค่อยๆปิดเปลือกตาของทารกด้วยปลายนิ้วจนกว่าจะปิด ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเขาหลับสนิทในขณะที่คุณทำเช่นนั้น ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุณหภูมิในห้องของเขาอบอุ่นและห้องนั้นมืด วิธีนี้ลูกจะจะไม่ถูกรบกวนในกรณีที่ดวงตาหลับไม่สนิทค่ะ

    แม้ว่าจะดูแปลกหรือผิดปกติ แต่คุณสามารถมั่นใจได้ว่าลูกน้อยของคุณจะหลับสบายแม้ว่าเขาจะลืมตาอยู่ก็ตามค่ะ สิ่งสำคัญที่สุดที่การนอนของลูกน้อยเพียงพอ ไม่มีสิ่งเร้าหรือรบกวนการนอนของลูกน้อค่ะ อย่างไรก็ตามหากคุณพ่อคุณแม่กังวลเกี่ยวกับการนอนของลูกน้อย ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • ลูกตื่นกลางคืนบ่อย ปกติหรือไม่

    ลูกตื่นกลางคืนบ่อย ปกติหรือไม่

    ลูกตื่นกลางคืนบ่อยๆตื่นขึ้นมาทุกๆชั่วโมง ซึ่งเป็นเรื่องที่พบบ่อยในทารกอายุไม่เกิน 6 เดือน ถึงอย่างไรก็ตามการตื่นบ่อยในทารกแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่พบบ่อยในทารก แต่ก็อาจเชื่อมโยงกับสาเหตุอื่นๆได้เช่นกันค่ะ ดังนั้นเราจะมาดูว่ามีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง และจะมีวิธีรับมือหรือเคล็ดลับอย่างไรบ้างค่ะ

    ลูกตื่นกลางคืนบ่อย ปกติหรือไม่

    การนอนหลับช่วงระยะเวลาสั้นๆตื่นบ่อยๆเป็นเรื่องปกติสำหรับทารกค่ะ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะหลับประมาณ 50 นาทีหลังจากนั้นทารกก็ตื่นขึ้นมาและเข้านอนอีกครั้ง ลูกน้อยของคุณจะค่อยๆเรียนรู้วิธีการนอนหลับได้นานมากขึ้นค่ะ อย่างไรก็ตามในบางกรณีเด็กบางคนอาจตื่นขึ้นมาแล้วไม่นอนต่อหรือหลับอีก อาจเกิดจากปัจจัยอื่นๆค่ะ

    สาเหตุที่ทำให้ทารกตื่นบ่อย

    • ความหิว เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทารกตื่นบ่อย หากลูกน้อยของคุณรับประทานอาหารไม่เพียงพอโอกาสที่เขาจะต้องตื่นขึ้นมาเพราะความหิว คุณแม่สามารถลองเพิ่มปริมาณอาหารหรือเพิ่มนม แต่ควรสังเกตการนอนหลับของลูกน้อยด้วยนะคะ
    • ไม่สบายตัว อาจเกิดจากอากาศร้อน ผ้าอ้อมชื้น แมลงกัดต่อย รวมถึงการเจ็บป่วยของเด็กๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจรบกวนและทำให้ลูกน้อยของคุณนอนหลับไม่สนิท คุณแม่ควรสังเกตมองหาสัญญาณเพื่อดูว่าลูกน้อยรู้สึกไม่สบายตัวและจะช่วยให้ผ่อนคลายได้บ้างหรือไม่ เนื่องจากทารกเขาไม่สมารถบอกหรืออธิบายได้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นได้ค่ะ
    • ปวดท้อง ท้องอืด ซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยในทารกและเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ลูกน้อยของคุณตื่นบ่อยๆ  อากาศที่ติดอยู่ในท้องสาเหตุของอาการปวดท้องท้องอืดในเด็ก และการเรอเป็นวิธีที่ดีในการแก้ไขปัญหาของท้องอืด แน่นท้องค่ะ
    • ภาวะกรดไหลย้อนในทารก อาการกรดไหลย้อนสามารถเกิดขึ้นได้ในเด็กทารกเช่นกันค่ะ สาเหตุภาวะกรดไหลย้อนในทารกส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการกินนมมากเกินไป การดูแลป้องกันคุณแม่สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชียวชาญเพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้องค่ะ
    • สภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง การสัมผัสกับเสียงที่ไม่พึงประสงค์ในระหว่างการนอนหรือในระหว่างวัน ทำให้ทารกไม่สามารถนอนหลับในเวลากลางคืนได้เช่นกันค่ะ
    • การงอกของฟัน เป็นกระบวนการทางสรีรวิทยาตามธรรมชาติที่รบกวนการนอนหลับของเด็กๆได้ค่ะ โดยมักมีอาการคันไมสบายช่องปากนั่นเองค่ะ
    • นิสัยการนอน หากลูกน้อยของคุณเคยชินกับการนอนในรูปแบบที่ผิดปกติเกินไปอาจกลายเป็นนิสัย เช่น นอนไม่เป็นเวลา หลับบนตัวแม่ นอนกลางวันมากเกินไป เป็นต้น
    • การเจ็บป่วย ระบบภูมิคุ้มกันของทารกอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาของมันซึ่งทำให้เขามีแนวโน้มมากขึ้นที่จะเจ็บป่วยง่ายค่ะ 

    อย่างไรก็ตามหากลูกน้อยของคุณตื่นขึ้นมากลางดึกบ่อย ร้องไห้โดยไม่ทราบสาเหตุบ่อยๆ คุณพ่อคุณแม่สามารถปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาสาเหตุและปฏิบัติตามคำแนะนำที่ถูกต้องต่อไปค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • วิธีแก้ปัญหาลูกดื้อ วัย 2-5 ปี

    วิธีแก้ปัญหาลูกดื้อ วัย 2-5 ปี

    เมื่อลูกเข้าสู่วัย 2 ปี ขึ้นไปจนถึงวัย 5 ปี จะเป็นวัยที่ลูกกำลังเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว และชอบเลียนแบบพฤติกรรมจากผู้ใหญ่ ในช่วงวัยนี้เป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่ปวดหัวมากที่สุด เพราะลูกจะ ทั้งดื้อ ทั้งซน ไม่เชื่อฟัง ยิ่งห้ามยิ่งทำ เอาแต่ใจ เรียกร้องความสนใจเก่ง หรือที่ทั่วไปเรียกกันว่า วัยทอง 2 ขวบ ซึ่งในเด็กในวัยนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องมีความอดทนในการเลี้ยงดู เพราะต้องคอยทำความเข้าใจพร้อมกับสอนลูกเพื่อให้ลูกเข้าใจในการกระทำต่างๆทั้งดีและไม่ดี

    การรับมือหรือวิธีการแก้ปัญหาของเด็กดื้อในวัยนี้ ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจก่อนว่า การดื้อของลูก มันเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการของเด็ก ซึ่งการที่เด็กในวัยนี้ได้แสดงพฤติกรรมต่อต้านหรือดื้อแพ่งกับพ่อแม่ออกมา เพราะลูกกำลังทดสอบการเรียนรู้ที่ได้จากพ่อแม่ที่ได้สอนหรือกำหนดเอาไว้ ว่าในแต่ละเรื่องมีขอบเขตของการที่จะทำสิ่งนั้นขนาดไหน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสินใจที่สามารถทำสิ่งนั้นมากน้อยเพียงใด ซึ่งทั้งหมดนี้คือพัฒนาการการเจริญเติบโตทางความคิดและจิตใจ ในการตัดสินใจ และใช้เหตุผลด้วยตนเอง ของเด็ก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องต้องมีความอดทน และทำความเข้าใจ พยายามอธิบายในสิ่งต่างที่ลูกทำอยู่เสมอ เพื่อให้เรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวของเด็กว่าอันไหนทำแล้วดี อันไหนทำแล้วไม่ดี

    สาเหตุที่ทำให้ลูกดื้อ

    สาเหตุของเด็กดื้อหลักๆ เกิดจากความเข้าใจผิดในการเลี้ยงดูของพ่อแม่ หรือการเลี้ยงดูแบบผิดๆ ส่วนมากเป็นการตามใจมากเกินไปและไม่ค่อยมีเวลาเอาใจใส่ลูกเป็นส่วนใหญ่ อย่างเช่น เมื่อเวลาที่ลูกเรียกร้องความสนใจโดยการร้อง วีน ก็เข้าไปโอ๋ให้หายในทันที ซึ่งเป็นวิธีที่ผิด เพราะหาก ลูกใช้วิธีนี้ครั้งหนึ่งแล้วครั้งต่อไปก็จะตามมา หรือการเลี้ยงอีกอย่างที่ผิดคือการเลี้ยงด้วยสิ่งของเช่น เงิน โทรศัพท์ ฯลฯ แทนการเลี้ยง หรือตามใจในสิ่งที่ลูกต้องการ เพราะจะทำให้เด็กถูกปลูกฝังความใจที่ผิดว่าเด็กจะคิดว่าเวลาพ่อแม่รักย่อมได้สิ่งตอบแทนเสมอ

    วิธีการแก้ไขปัญหาลูกดื้อ

    การแก้ไข้ปัญหาลูกดื้อ มีด้วยกัน 5 วิธี

    • การกำหนดเวลาในการเล่นโทรศัพท์มือถือ
      ควรมีการกำหนดในการเล่น เพียงวัน 30 นาที เป็นระยะเวลาที่เหมาะสม สำหรับเด็กในวัย 2-5 ปี ที่จะอยู่กับหน้าจอ เพราะไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ โทรศัพท์ หรือแท็บเล็ต หากให้ลูกดูนานเกินไป อาจจะทำให้ลูก อารมณ์แปรปรวน สมาธิสั้น เกิดการซุกซนที่มากขึ้น ดังนั้น ต้องกำหนดเวลาในการเล่นสิ่งเหล่านี้
    • การปล่อยให้เด็กออกไปวิ่งเล่นนอกบ้านบ้าง
      การที่คุณพ่อคุณแม่ให้ออกไปวิ่งเล่น ทำกิจกรรมต่างๆ นอกบ้าน บ้าง จะทำให้เด็กได้ใช้แรงเผาพลาญพลังงาน ออกกำลังกาย จะเป็นการให้เด็กได้รู้สึกปลดปล่อย ได้สนุกสนาน จะทำให้เป็นการช่วยให้เด็กเวลาทำกิจกรรมภายในบ้าน เด็กจะมีสมาธิที่มากขึ้น และซนดื้อ น้อยลง
    • ทำข้อตกลง หรือตั้งกฏ งดของว่างหรืองดกิจกรรมที่เด็กต้องการ
      ในกรณีที่เด็กแสดงพฤติกรรมดื้อออกมา ให้ทำข้อตกลง หรือกฏ หากไม่ทำตามกฏหรือสัญญาที่กำหนดไว้ ก็จะถูกงดของว่าง หรือ อดทำกินกรรมที่เด็กต้องการ คุณพ่อคุณแม่ต้องใจแข็งให้ลูกทำตามกฏให้ได้ วิธีนี้จะทำให้ลูกได้รู้จักและเป็นการส่งเสนิมทำตามเงื่อนไขหรือกฏระเบียบทางสังคม
    • อธิบายเหตุผลเมื่อลูกทำผิด อย่างจริงจัง
      ส่วนมากคุณพ่อคุณแม่ดุและลงโทษลูกเวลาทำผิด แต่ไม่ได้อธิบายเหตุผลว่าทำไมถึงผิด ทำให้เด็กไม่เข้าใจในสิ่งที่ตัวเองทำว่าผิดอะไร ทำให้เด็กเกิดการต่อต้านในทันที เพราะเกิดจากความน้อยใจพ่อแม่ และอาจทำให้คิดว่าพ่อแม่ไม่รัก ดังนั้น หากลูกทำผิด ต้องอธิบายความผิดของลูกด้วย เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดของลูก และทำความเข้าใจลูกในความผิด นั้นๆว่าไม่ควรทำแบบนั้นอีก
    • ไม่สนใจ ทำเมินเมื่อลูกทำผิดและเรียกร้องความสนใจ
      หากในกรณีที่ลูกเริ่มโวยวาย อาละวาดอย่างไร้เหตุผล เพื่อเรียกร้องความสนใจ เอาไม่อยู่ ให้ใช้ไม้แข็งในการทำเมิน และใช้สายตาที่ดุ จะทำให้ลูกรูสึกถึงปฏิกริยาของพ่อแม่ในทันที ว่าต้องหยุดทำ ต้องกำชับคนรอบข้างห้ามโอ๋โดยเด็ดขาด เพราะไม่อย่างนั้น เวลาพ่อแม่ดุ เด็กก็จะหันไปหาคนที่โอ๋ในทันที ไม่เพียงจะทำให้เด็กไม่เลิกเรียกร้องความสนใจแล้ว ก็อาจทำให้เด็กเสียนิสัยไปถึงในอนาคต วิธีนี้หากทำให้ได้เด็กจะลดความดื้อ และเรียกร้องความสนใจน้อยลง

    ทั้งหมดนี้เป็นแนวทางที่จะช่วยลดพฤติกรรมการดื้อให้ลดลง และง่ายต่อการเลี้ยงดู ปัจจัยหลักของการเลี้ยงดู คือการดูแลเอาใจใส่ ไม่ปล่อยปะละเลย หรือการเลี้ยงลูกแบบพ่อแม่รังแกฉัน เพราะอาจทำให้เด็กโตขึ้นมา และจะแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสังคม ดังนั้น พ่อแม่คือปัจจัยหลักสำคัญที่จะมอบความรัก มอบสิ่งดีให้กับลูก เพื่อลูกเป็นคนดีของสังคมค่ะ เพราะไม่มีใครเลี้ยงดูลูกได้เท่ากับพ่อแม่

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • หลัง 6 เดือนนมแม่ไร้ประโยชน์จริงหรือไม่?

    หลัง 6 เดือนนมแม่ไร้ประโยชน์จริงหรือไม่?

    นมแม่อาหารวิเศษสุดของเด็กทารก เพราะนมแม่ อุดมด้วยสารอาหารต่างๆ มากมาย ที่เด็กต้องการ เพื่อช่วยในการเจริญเติบโตและภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ แต่ก็มีข่าวลือที่ว่าต่อกันมา ว่าหลังลูก 6 เดือน นมแม่จะไม่มีประโยชน์

    ในครั้งจะมาไขข้อสงสัยให้กับคุณแม่มือใหม่ว่าหลัง 6 เดือนนมแม่ไร้ประโยชน์จริงหรือไม่

    คำตอบที่ว่า หลัง 6 เดือนนมแม่ไร้ประโยชน์ เป็นเรื่องที่ไม่จริง ไม่ว่าอย่างไรก็ตามนมแม่คือไม่ว่าจะนานขนาดไหน นมแม่ ก็เปนอาหารที่มีประโยชน์มากที่สุดสำหรับเด็ก แต่เพียงแค่ว่าหลังจากที่ลูกมีอายุ 6 เดือนขึ้นไป การที่ลูกกินนมแม่เพียงอย่างเดียว จะไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายของลูก

    นมแม่ประกอบด้วยสารอาหารอะไรบ้าง

    • โปรตีน
    • ไขมัน
    • น้ำตาล
    • แคลเซียม
    • โฟเลต
    • วิตามิน A,ฺB12,C

    นมแม่ควรให้ลูกกินนานเท่าไร

    แรกเกิด – 5 เดือน

    ลูกมีความต้องการนมแม่เพียงอย่างเดียว แค่เพียงนมแม่ก็เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายของลูก แต่ก็อาจหาอาหารมาเสริมหลังจากที่ ลูกเข้าสู่ 4 เดือน เพื่อเป็นการฝึกให้ลูกริมลองรสชาติอื่นนอกจากน้ำนม

    6 เดือนไปจนถึง 1 ปี

    เมื่อเข้าสู่ 6 เดือน การกินนมเพียงอย่างเดียวจะไม่เพียงพอต่อความต้องการของเด็กต้องมีอาหารเสริมอื่นควบคู่ไปด้วย แต่อย่างไรก็ตามนมแม่ยังเป็นออาหารหลักของเด็กอยู่

    1 ปี

    เมื่อลูกมีอายุครบ 1 ปี นมแม่จะไม่ใช่อาหารหลักอีกต่อไป จะเป็นการกินข้าวเป็นหลักส่วนนมแม่เป็นอาหารเสริม แต่นมแม่ก็ยังคงประโยชน์มากมายเช่นเดิม แต่อาจจะน้อยลงตามธรรมชาติของร่างกายของแม่ตามความต้องการของลูก

    สำหรับคุณแม่บางคน ก็ยังอยากให้ลูกได้กินนมแม่ ไปจนลูกอายุ 5-6 ปี เพราะอยากให้ลูกได้รับการบำรุงสมองและภูมิคุ้มกันจากนมแม่ จึงกระตุ้นร่างกายให้ผลิตน้ำนมได้จนโต

    สารอาหารในน้ำนมแม่ 15 ออนซ์ ที่เด็กมีอายุ 1 ปี ขึ้นไปต้องการต่อวัน มีสัดส่วน ดังนี้

    • พลังงาน 29% /วัน
    • โปรตีน 43% /วัน
    • แคลเซียม 36% /วัน
    • Vitamin A 75% /วัน
    • โฟเลต 76% /วัน
    • Vitamin B12 94% /วัน
    • Vitamin C 60% /วัน

    ดังนั้น น้ำนมแม่ ก็ยังเป็นอาหารที่มีประโยชน์ และเต็มไปด้วยสารอาหารที่ครบถ้วนต่อความต้องการของลูก คุณแม่สามารถให้ลูกกินได้นานจนกว่าคุณแม่ไม่สามารถผลิตน้ำนมให้ลูกกินได้ค่ะ

    บทความที่เกี่ยวกับกับนมแม่

  • วิธีเช็ดตัวลดไข้ลูก อย่างถูกต้อง

    วิธีเช็ดตัวลดไข้ลูก อย่างถูกต้อง

    ในช่วงนี้ที่อยู่ในฤดูฝน ที่อากาศชื้นๆ ไม่ค่อยได้รับแสงแดดที่จะคอยฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ร่างกายของเด็กทารก โดยเฉพาะเด็กเล็กที่มีอายุ 3 ปีแรกจะมีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยได้ง่าย เนื่องจากร่างกายยังมีภูมิต้านทานที่ยังไม่สมบูรณ์เท่าไร และเมื่อลูกมีไข้ หรือป่วย อย่างแรกที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำคือการเช็ดตัว เพื่อให้อุณหภูมิร่างกายของลูกลดลง และลดความเสี่ยงหรือป้องกันการชักที่มาจากที่ลูกมีไข้ขึ้นสูง และค่อยพาไปรักษาต่อไป

    สำหรับการเช็ดตัว คุณพ่อคุณแม่หลายๆ ท่าน โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ยังทำการเช็ดตัวลูกไม่ถูกต้อง ดังนั้น จะมาแนะนำวิธีการเช็ดตัวลดไข้ลูก อย่างถูกต้อง ถูกวิธีกันค่ะ

    อุปกรณ์ที่ใช้เช็ดตัวลดไข้ลูก

    • อ่างน้ำหรือกะละมังใส่น้ำ พร้อมเตรียมน้ำอุ่น 29.4 – 35 องศาเซลเซียส ไม่ให้น้ำร้อนจนเกินไป วิธีวัดง่ายๆ โดยใช้หลังมือแตะทำสอบก่อนที่จะเช็ดตัวให้ลูก
    • ผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่
    • ผ้าเช็ดตัวผืนเล็ก 2 ผืน (ผืนหนึ่งไว้เช็ดเปียก อีกผืนเอาไว้เช็ดแห้ง)

    หมายเหตุ ไม่ควรใช้น้ำแข็งหรือแอลกอฮอล์มาผสมน้ำเช็ดตัวให้กับลูก เพราะอาจทำให้ลูกมีอาการหนาวสั่นได้

    วิธีการเช็ดตัวลดไข้ลูก

    • นำผ้าขนหนูปูรองบนเตียงก่อน และถอดเสื้อผ้าลูกออก เพื่อเตรียมการเช็ดตัวให้ลูก
    • ทดสอบน้ำในอ่างว่าไม่ร้อนเกินไป และนำผ้าขนหนูผืนเล็กชุบน้ำ และนำขึ้นมาบิดหมาดๆ และนำมาเช็ดตัวให้ลูกอย่างเบามือนุ่มนวล
    • การเช็ดตัวลูก จะทำการเช็ดลูกจากแขนและขา จะทำการเช็ดอย่างน้อยข้างละ 5 นาที เพื่อให้ร่างกายของลูกได้ปรับอุณหภูมิกับน้ำที่นำมาเช็ดตัว โดยคุณแม่จะเริ่มเช็ดจากปลายแขน-ขา ไปจนถึงต้นแขน-ขา จะทำให้เป็นการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้กลับเข้าไปสู่หัวใจ ในระหว่างที่เช็ดควรมีการพักผ้าไว้ที่ข้อพับต่างทั้งแขนและขา เพื่อเป็นการช่วยลดอุณหภูมิร่างกายได้อีกทางหนึ่ง
    • นำผ้าไปชุบน้ำในอ่างน้ำอีกครั้งเพื่อให้ผ้าร้อนขึ้นและนำไปเช็ดในส่วนต่อไปคือ ลำตัว หลังและก้น ในส่วนนี้จะทำการเช็ดอย่างน้อย 10-15 นาที รวมๆแล้วทั้งร่างกายควรเช็ดตัวลูกอย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้อุณภูมิของลูกลดลง ซึ่งหลังเช็ดร่างกายของลูกควรมีอุณหภูมิต่ำกว่า 37.5 องศาเซลเซียส
    • เมื่อทำการเช็ดตัวเสร็จแล้ว ใช้ผ้าแห้งเช็ดตัวลูกอีกครั้ง
      คำแนะนำเพิ่มเติม หลังจากการเช็ดตัวลูกเสร็จไม่ควรทาแป้ง หรือให้ลูกใส่เสื้อผ้าหนาๆ เพราะจะเป็นการขัดความการระบายความร้อนในร่างกายของลูก
    • (ในกรณีที่เด็กมีอายุ 6 ปีขึ้นไป) หลังจากที่ลูกเช็ดตัวและรู้สึกสบายตัวแล้ว ให้ลูกดื่มน้ำเยอะๆ ซึ่งโดยปกติ การเช็ดตัวเป็นวิธีการลดไข้ที่ดีที่สุด เพราะจะช่วยลดอุณหภูมิของร่างกายได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเด็กเล็ก แต่การเช็ดตัวจะช่วยให้อุณภูมิร่างกายของลูกลดลงได้เพียงชั่วขณะ ลูกก็อาจกลับมาร้อนอีกครั้ง แต่ไม่ต้องตกใจไป คุณแม่สามารถให้ลูกกินยาลดไข้ควบคู่ไปด้วย แต่ต้องดูว่ายาลดไข้ที่เหมาะสมกับเด็กด้วย ระยะห่างเวลาในการกินยาลดไข้ ให้ห่างกัน 4-6 ชั่วไมง และไม่ควรกินยาลดไข้เกิน 5 วัน แต่หากในกรณี 2-3 เช็ดตัวแล้ว กินยาลดไข้ก็แล้ว ลูกยังไม่ดีขึ้นก็ควรรีบพาลูกไปหาหมอโดยด่วนค่ะ

    อย่างไรก็ตามในระหว่างที่ทำการเช็ดตัวให้ลูก แล้วลูกมีอาการหนาวสั่น ให้หยุดการเช็ดทันที และใช้ผ้าขนหนูที่แห้งห่อตัวลูกในทันที โดยหุ้มไปถึงหัวของลูก ห่อตัวลูกจนลูกหยุดสั่น จากนั้น ใช้ปรอทวัดไข้ลูก ทุกๆ 10-15 นาที และอ่านค่าปรอทวัด หากวัดแล้วไข้ไม่ลด และมีอาการซีม ไม่ยอกกินอาหาร ท้องเสียและอาเจียรมากกว่า 3 ครั้งในภายใน 6 ชั่วโมง รีบนำลูกไปหาหมอโดยด่วย

    บทความที่เกี่ยวข้อง การเช็ดตัวลดไข้ลูก

  • ลูกสมาธิสั้น รักษาอย่างไร

    ลูกสมาธิสั้น รักษาอย่างไร

    โรคสมาธิสั้น หรือ ADHD (Attention-Deficit/Hyperactivity Disorder) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางสมอง ซึ่งลักษณะที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตุลูกง่ายๆ คือ อารมณ์หุนหันพลันแล่น ซน จะอยู่ไม่นิ่ง ขาดสมาธิ มีความทำอะไรแล้ววู่วาม ซึ่งอาการซนและหุนหันพลันแล่น เป็นอาการเด่นที่พบในเด็กได้มากที่สุด อาการทั้งหมดดังกล่าวที่กล่าวมา หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ก็อาจจะส่งผลต่อการเรียนและการใช้ชีวิตของลูกได้ในอนาคต

    อัตราของเด็กสมาธิสั้นในประเทศไทยอยู่ 3-5 % ของเด็กปกติทั่วไปในวัยเรียน โรคสมาธิสั้น จะแสดงอาการเมื่อลูกเข้าสู่อายุ 7 ขวบ ขึ้นไป

    ลูกสมาธิสั้น อาการเป็นอย่างไร

    อาการเด็กสมาธิสั้นจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

    กลุ่มที่ 1 คือ เด็กขาดสมาธิ

    • เด็กจะไม่สามาถทำงานที่พ่อแม่หรือคุณครูสั่งได้สำเร็จ
    • จดจ่อกับการเล่นหรือทำงานน้อยมาก
    • เวลาที่คุยจะให้ความสนใจในระหว่างการสนทนาน้อยมาก
    • เด็กจะทำงานที่คุณครูหรือพ่อแม่สั่งผิดพลาดบ่อย ไม่ค่อยตั้งใจฟัง และเก็บรายละเอียดในงานน้อย
    • ทำอะไรไม่ค่อยจะมีระเบียบ
    • ไม่ชอบทำงานที่ต้องใช้สมาธิ หรือมีการวิเคราะห์วางแผน
    • ขี้ลืม ชอบทำอุปกรณ์การเรียนหายบ่อย
    • ไม่จดจ่อกับงาน วอกแวกบ่อย

    กลุ่มที่ 2 เด็กที่มีอาการซุกซน การควบคุมตัวเองต่ำ

    • ชอบยุกยิก ไม่อยู่นิ่ง
    • ไม่ค่อยชอบอยู่กับที่
    • ชอบปีนป่าย หรือวิ่งไปมา
    • ชอบพูด พูดมาก พูดไม่หยุด
    • ชอบเล่นเสียงดัง
    • เป็นเด็กที่ตื่นเต้นง่าย หรือตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
    • ชอบตอบคำถาม ในขณะยังพูดคำถามไม่หมด
    • ไม่ชอบรอ
    • ชอบพูดแทรกเวลาคนอื่นพูด

    ทั้ง 2 กลุ่มนี้ หากลูกคุณเป็นลักษณะดังกล่าว เกิน 6 ข้อ ควรรีบทำการรักษา เพื่อไม่ให้เป็นผลกระทบต่อการเรียนหรือการใช้ชีวิตในอนาคต

    ลูกสมาธิสั้น สาเหตุเกิดจาก

    สาเหตุของเด็กสมาธิสั้น เกิดจากความบกพร่องของสารเคมีในสมองบางตัว ซึ่งกรรมพันธ์ุก็เป็นปัจจัยหลักสำคัญ ที่ทำให้เด็กสมาธิสั้น ส่วนการเลี้ยงดู หรือสิ่งแวดล้อมทั่วไป เป็นเพียงปัจจัยรองลงมาที่ทำให้อาการสมาธิสั้นในเด็กจะดีขึ้นหรือแย่ลง ในระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่ที่มีขาดสารอาหาร หรือคุณแม่ที่ชอบดูดบุหรี่ ชอบดื่มแอลกอฮอร์ หรืออยู่ในแวดล้อมที่มีสารพิษ อย่างเช่น ตะกั่ว เป็นต้น จะมีโอกาสที่ลูกจะเป็นเด็กสมาธิสั้นสูงถึง 30-40% และยังส่งผลไปถึงความบกพร่องในทักษะการเรียนรู้ ร่วมด้วย

    กลุ่มเด็กที่สมาธิสั้น ประมาณ 20-30% ของเด็กทีสมาธิสั้น ทั้งหมด มีโอกาสหาย เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น จะสามารถใช้ชีวิต หรือเรียน ทำงาน ได้อย่างปกติโดยไม่จำเป็นต้องใช้ยา แต่อย่างไรก็ตามเด็กส่วนใหญ่ที่สมาธิสั้น จะยังมีความบกพร่องทางสมาธิอยู่ แต่ความซนอาจจะลดลงมา แต่ก็ยังคงรักษาอย่างต่อเนื่อง เพราะจะมีผลต่อการเรียน การทำงาน หรือเข้าสังคมต่อผู้อื่น

    วิธีการรักษาลูกสมาธิสั้น

    การรักษาลูกสมาธิสั้นจะรักษาด้วย 4 วิธี ดังนี้

    • ให้ความรู้ให้กับคุณพ่อคุณแม่ และครู ของเด็ก ถึงการดำเนินการของโรค การรับมือ การรักษา และการป้องกันโรคสมาธิสั้น
    • การรักษาโดยการใช้ยา
    • การช่วยเหลือทางด้านจิตใจ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้กับเด็ก และพ่อแม่
    • ให้คำแนะนำช่วยเหลือทางด้านการเรียน และการใช้ชีวิต

    คุณครูช่วยเด็กที่สมาธิสั้นได้ ดังนี้

    • จัดที่นั่งเด็กที่สมาธิสั้นไว้ข้างหน้า หรือใกล้คุณครู เพื่อควบคุมพฤติกรรมการเรียนของเด็ก
    • ไม่จัดที่นั่งของเด็กไว้ใกล้หน้าต่างหรือประตู
    • สั่งการบ้านหรือการงานที่ต้องให้เด็กทำอย่างชัดเจนบนกระดานดำ
    • ตรวจสอบสมุดจดการบ้านหรืองานที่ต้องทำ เพื่อดูว่าเด็กจดงานหรือการบ้านไปครบถ้วนหรือไม่
    • อย่าสั่งงานหรือการบ้านเด็กมาจนเกินไปให้เด็กทำเสร็จไปทีละอย่าง
    • ส่งเสริมให้เด็กทำกิจกรรมที่ใช้แรงควบคู่กับการทำงานอื่นที่ใช้สมอง เพื่อไม่ให้เด็กรู้สึกเบื่อกับการเรียนได้ง่าย
    • กระตุ้นเด็กโดยการชมเด็กหรือให้รางวัลกับเด็กหากเด็กทำดี ทำเก่ง เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้เด็กอยากเรียน
    • หลีกเลี่ยงการทำโทษรุนแรง หรือทำร้ายจิตใจเด็ก ควรทำโทษเด็ก โดยใช้วิธีที่นุ่มนวลอย่างเช่น หักคะแนน หรือหากต้องการว่ากล่าวตักเตือนควรตักเตือนโดยเป็นการส่วนตัวระหว่างเด็กที่ทำผิดกับคุณครูเท่านั้น
    • ควรให้เวลาเด็กที่เป็นสมาธิสั้นมากขึ้น ในการสอบ