Category: โภชนาการของเด็ก

  • อาหารที่อุดมด้วยแคลเซียมสำหรับเด็ก

    อาหารที่อุดมด้วยแคลเซียมสำหรับเด็ก

    การรับประทานอาหารของลูกเป็นเรื่องสำคัญมากที่คุณแม่จะต้องระมัดระวัง เนื่องจากการได้รับสารอาหารในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยให้มีสุขภาพที่ดีและเจริญเติบโตสมวัยค่ะ แคลเซียมเป็นหนึ่งสารอาหารที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กที่กำลังเติบโต ช่วยในการสร้างและพัฒนากระดูกและฟันค่ะ แต่รู้หรือไม่ว่าอาหารอะไรบ้างที่อุดมไปด้วยแคลเซียมสำหรับเด็กค่ะ ดังนั้นเรามาดูกันค่ะว่ามีอาหารอะไรบ้างและทำไมอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียมจึงมีความสำคัญสำหรับเด็กๆ

    ทำไมแคลเซียมจึงมีความสำคัญสำหรับเด็ก

    แคลเซียมมีความสำคัญต่อการสร้างฟันที่แข็งแรงในทารกและเด็กเล็ก มีประโยชน์สำหรับการสร้างกล้ามเนื้อ การรักษาระดับแคลเซียมในร่างกายให้เพียงพอในช่วงปีแรกๆของลูกน้อยจะช่วยป้องกันเขาจากการเสียรูปของกระดูกความผิดปกติค่ะ

    อาหารที่อุดมด้วยแคลเซียมสำหรับเด็ก

    อาหารที่อุดมด้วยแคลเซียมมีหลากหลายชนิดค่ะ แต่เรานำมาบางส่วนทานง่ายสำหรับเด็กๆได้แก่

    • ผลิตภัณฑ์นม เช่น นมวัว โยเกิร์ตซึ่งเป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีเยี่ยม หากลูกของคุณไม่ชอบนมคุณอาจเปลี่ยนเป็นโยเกิร์ตแทนค่ะ แนะนำให้เด็กๆรับประทานผลิตภัณฑ์นมอย่างน้อยหนึ่งมื้อต่อวันค่ะ
    • ส้ม ผลไม้สีส้มหรือน้ำส้มไม่เพียงแค่อุดมไปด้วยวิตามินซี โพแทสเซียม แมกนีเซียมและโฟเลตเท่านั้น แต่ยังอุดมไปด้วยแคลเซียมค่ะ
    • ถั่วเหลือง อาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียมอีกชนิดหนึ่งที่สามารถเพิ่มเข้าไปในอาหารประจำวันของลูกได้ คุณแม่สามารถใช้ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น นมถั่วเหลืองหรือน้ำเต้าหู้ เพื่อเตรียมสูตรอาหารแสนอร่อยที่เหมาะกับวัยของลูกน้อย
    • อัลมอนด์ เชื่อกันว่าอัลมอนด์ช่วยเพิ่มพลังสมอง ความจำและยังเป็นแหล่งแคลเซียมที่ดี ขอควรระวังคืออาจติดคอหรืออุดกลั้นทางเดินหายใจได้ค่ะ ในเด็กเล็กที่มักเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดคุณแม่สามารถป้อนอัลมอนด์ในรูปของเนยอัลมอนด์ นมอัลมอนด์แทนได้ค่ะ
    • ผักสีเขียวเป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีเยี่ยม เช่น ผักโขม ถั่วลันเตา บรอกโคลี เป็นต้น ผักสีเขียวเหล่านี้ยังให้ไฟเบอร์และแร่ธาตุอื่นๆที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของลูกน้อยค่ะ
    • ธัญพืชเป็นวิธีที่ดีในการเพิ่มแคลเซียมในอาหารของลูกน้อย คุณแม่สามารถลองสูตรอาหารต่างๆ เช่น บาร์เพื่อสุขภาพที่ไม่ต้องอบหรือคุกกี้เพื่อทำขนมกรุบกรอบในช่วงเวลาว่างค่ะ
    • ปลาและเนื้อ เป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีเยี่ยมสำหรับเด็กๆเช่นกันค่ะ อาทิเช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน เนื้อแดงและเนื้อไก่ยังให้แคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอที่จำเป็นในวัยเจริญเติบโตของเด็กๆค่ะ
    • ไข่ ให้โปรตีนและวิตามินในปริมาณสูง แต่ก็มีแคลเซียมจำนวนมากซึ่งช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง นอกจากนี้ไข่มักเป็นอาหารที่เด็กๆมักแพ้ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวังและสังเกตหลังลูกประทานไข่ค่ะ

    ปริมาณแคลเซียมที่ต้องการสำหรับเด็ก

    ลูกของคุณจะต้องการแคลเซียมในปริมาณที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุค่ะ ได้แก่ 

    • เด็กอายุ 1 – 3 ปีต้องการแคลเซียม 700 มิลลิกรัมต่อวัน
    • เด็กอายุ 4 – 8 ปีต้องการแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
    • เด็กอายุ 9 – 18 ปีต้องการแคลเซียม 1,300 มิลลิกรัมต่อวัน

    ร่างกายของเราต้องการวิตามินดีเพื่อให้ดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ร่างกายจะต้องมีวิตามินดีในปริมาณที่เพียงพอเช่นกันค่ะ

    เนื่องจากมีแหล่งแคลเซียมจากธรรมชาติมากมายที่คุณแม่สามารถทดลองส่วนผสมและปรุงสูตรอาหารแสนอร่อยสำหรับลูกน้อยของคุณ เพื่อตอบสนองความต้องการแคลเซียมของเขาได้ค่ะ การเปลี่ยนสูตรอาหารที่น่าเบื่อเป็นวิธีที่น่าสนใจในการทำให้เด็กๆรับประทานอาหารค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • ไอโอดีน สารอาหารที่ขาดไม่ได้

    ไอโอดีน สารอาหารที่ขาดไม่ได้

    ไอโอดีนเป็นแร่ธาตุที่สำคัญที่สุดชนิดหนึ่งที่จำเป็นสำหรับพัฒนาการของทารก โดยเฉพาะต่อมไทรอยด์ที่แข็งแรง ต่อมไทรอยด์ควบคุมการปล่อยฮอร์โมนที่จำเป็นสำหรับการเผาผลาญ ควบคุมการเจริญเติบโต อุณหภูมิของร่างกาย การผลิตเซลล์เม็ดเลือดตลอดจนการทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ การขาดสารไอโอดีนในทารกอาจนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพมากมาย ดังนั้นการบริโภคไอโอดีนในปริมาณที่เพียงพอจึงจำเป็นสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และเด็กๆค่ะ

    ไอโอดีน คืออะไร

    ไอโอดีน (Iodine) เป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ ไอโอดีนสิ่งสำคัญสำหรับการเติบโตพัฒนาการและสุขภาพที่ดี ซึ่งร่างกายของเราต้องการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยค่าที่แนะนำสำหรับทารกคือ 90 ไมโครกรัมต่อวัน สำหรับเด็กคือ 90-120 ไมโครกรัมต่อวัน ผู้ใหญ่ 220 ไมโครกรัมต่อวัน และคุณแม่ตั้งครรภหรือให้นมบุตร 290 ไมโครกรัมต่อวัน ความต้องการไอโอดีนเพิ่มขึ้นประมาณ 50% ในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร เนื่องจากการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์เพิ่มขึ้น การถ่ายเทไอโอดีนไปยังทารกในครรภ์ การขับออกทางปัสสาวะและถ่ายโอนไปยังทารกทางน้ำนมแม่ค่ะ

    ไอโอดีนหาได้จากที่ไหน

    ไอโอดีนในอาหารส่วนใหญ่มักมาจากเกลือเสริมไอโอดีนและอาหารที่มีไอโอดีน อาทิเช่น 

    • สาหร่ายทะเล ปลาน้ำเค็ม อาหารทะเล กุ้ง หอย ปู ซึ่งสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรระมัดระวังในการเลือกปลา เนื่องจากปลาบางชนิดมีปรอทในระดับสูงกว่าปลาชนิดอื่นๆค่ะ 
    • ผัก เช่น ผักโขม ผักกาดเขียว บร็อคโคลี่ เป็นต้น
    • ไข่เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนม รวมถึงนมถั่วเหลือง
    • น้ำมันตับปลา 
    • เมล็ดงา ถั่วเมล็ดแบน
    • เกลือเสริมไอโอดีน น้ำปลาเสริมไอโอดีน

    ผลกระทบของการขาดสารไอโอดีน

    หากเด็กและผู้ใหญ่ไม่ได้รับสารไอโอดีนเพียงพอ อาจนำไปสู้การขาดสารไอโอดีนซึ่งส่งผลเสียหลายประการต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ และเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของความพิการทางสติปัญญาที่สามารถป้องกันได้ค่ะ โดยผลกระทบจะแตกต่างกันในตามช่วงอายุได้แก่

    • ทารกในครรภ์ ก่อให้เกิดภาวะความพิการทางสมอง โรคเอ๋อ หรือโรคขาดไทรอยด์ฮอร์โมนในทารก มีความผิดปกติทางระบบประสาทและการเคลื่อนไหว สูญเสียการได้ยินค่ะ
    • ทารกแรกเกิดถึง 2 ปี ส่งผลต่อพัฒนาการสมองไม่สมบูรณ์ ความผิดปกติทางระบบประสาทและการเคลื่อนไหว โรคคอพอก เป็นต้น
    • เด็กและวัยรุ่น ส่งผลให้เกิดโรคคอพอก ไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ ร่างกายแคระแกร็น พัฒนาการทางด้านสติปัญญาช้า
    • ผู้ใหญ่และสตรีตั้งครรภ์ ส่งผลให้เกิดโรคคอพอก เชื่องช้า ไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ ผิวหนังแห้ง ทนความหนาวเย็นไม่ค่อยได้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ สตรีมีครรภ์มีโอกาสเสี่ยงต่อการแท้งสูงค่ะ

    ความต้องการไอโอดีนของร่างกายเปลี่ยนแปลงไปตามอายุและยังแตกต่างกันสำหรับหญิงตั้งครรภ์และการบริโภคไอโอดีนมากเกินไปก็เป็นอันตรายต่อทารกเช่นกัน โดยส่วนใหญ่ไอโอดีนที่บริโภคจะถูกขับออกจากร่างกายพร้อมกับปัสสาวะค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี

    อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี

    เมื่อลูกถึงจะเริ่มทานอาหารอย่างอื่นนอกจากนมแม่ สิ่งสำคัญที่คุณแม่ควรทราบคือ ลูกน้อยของคุณไม่สามารถทานและย่อยอาหารได้ทุกอย่างโดยเฉพาะในช่วง 1 ปีแรก เนื่องจากทารกมีระบบย่อยอาหารที่บอบบางและอาหารที่ไม่เหมาะกับระบบการทำงานของร่างกายเด็กอาจทำให้เกิดอาการแพ้อาหารได้ค่ะ  ในฐานะพ่อแม่คุณจำเป็นต้องรู้ว่าอาหารชนิดใดปลอดภัยและไม่ปลอดภัยสำหรับลูกของคุณค่ะ ซึ่งอาหารที่คุณอาจคิดว่าปลอดภัยสำหรับเด็กทารก แต่ในความเป็นจริงแล้วอาหารเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่างๆต่อทารกได้ค่ะ มีอาหารอะไรบ้างที่ควรให้ลูกน้อยหลีกเลี่ยง

    อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี

    เมื่อลูกน้อยของคุณอายุ 6 เดือนถึงเวลาแนะนำให้เขารู้จักกับพื้นผิวและรสชาติที่หลากหลาย เนื่องจากเป็นวัยแห่งความอยากรู้อยากเห็น และนี่คือรายการอาหารที่คุณควรหลีกเลี่ยงสำหรับเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 1 ปี

    น้ำผึ้ง
    น้ำผึ้ง น้ำหวานจากธรรมชาติที่อุดมไปด้วยสารอาหารมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ไม่ได้มีไว้สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี เนื่องจากในน้ำผึ้งมีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียคลอสติเดียมโบทูลินัม(Clostridium botulism) สารพิษที่เรียกว่าโบทูลินัมอาจก่อให้เกิดโรคโบทูลิซึมในทารก ทำให้เกิดปัญหาในทางเดินอาหารของทารก หากมีอาการแพ้ร่วมด้วยอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ

    เกลือ
    เกลือไม่ควรใช้ปรุงอาหารสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีค่ะ เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่ไตกำลังพัฒนาทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพเท่ากับช่วงวัยอื่น เมื่อไตทำงานหนักอาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้ค่ะ อาหารที่มีรสเค็มจึงไม่เหมาะสำหรับเด็กเล็ก 

    นมวัว
    อย่างที่ทราบกันดีว่านมแม่เป็นแหล่งโภชนาการที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อยของคุณ อย่างไรก็ตามนมวัวมีปริมาณแลคโตสสูงซึ่งอาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารและเสี่ยงต่อการแพ้โปรตีนในนมวัวอีกด้วย เนื่องจากทารกยังมีความสามารถในการย่อยโปรตีนในอาหารจำกัด จึงควรหลีกเลี่ยงในช่วงอายุต่ำกว่า 1 ปี และหลังจากนั้นควรใช้นมวัวจะดีกว่าเพราะย่อยง่ายและมีสารอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อย

    ไข่ขาว 
    เด็กเล็กๆมักมีความเสี่ยงและไวต่อสิ่งกระตุ่นให้เกิดอาการแพ้ได้ง่าย และไข่ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่มักก่อให้เกิดอาการแพ้ในเด็กเล็ก โดยเฉพาะไข่ขาวเนื่องจากในการแพ้โปรตีนมากกว่าไข่แดง เมื่อให้ลูกทานควรทำให้สุกทั่วทั้งฟองค่ะ และควรเริ่มรับประทานครั้งละน้อยๆพร้อมทั้งสังเกตอาการแพ้ของลูกด้วยนะคะ

    ถั่วลิสงและเนยถั่ว
    แม้ว่าจะดีต่อสุขภาพและอุดมไปด้วยโปรตีน อาจเสี่ยงต่อการสำลักอุดกลั้นทางเดินหายใจได้ค่ะ สิ่งสำคัญอีประการหนึ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษคือ อาการแพ้ถั่ว เป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็กเช่นเดียวกันภูมิแพ้ชนิดอื่นๆ เนื่องจากร่างกายของเด็กยังมีระบบภูมิต้านทานต่ำ ระบบย่อยยังทำงานได้ไม่ดีพอการรับประทานอาหารที่ส่วนประกอบจากถั่วในช่วงอายุ 6-12 เดือน จึงเสี่ยงต่อการเกิดอาการแพ้ได้ค่ะ 

    อาหารทะเล
    อาหารทะเลโดยเฉพาะ กุ้ง หอย ปู เป็นต้น อาจทำให้เกิดอาการแพ้ในทารกได้ เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาการแพ้อาหารทะเลคุณสามารถป้อนอาหารทะเลให้ลูกน้อยของคุณได้หลังจากที่พวกเขาอายุ 1 หรือ 2 ปี และเมื่อเริ่มประทานควรตรวจสอบปฏิกิริยาอาการแพ้หลังรับประทานทุกครั้งค่ะ

    ช็อกโกแลต
    ช็อคโกแลตเป็นหนึ่งในอาหารที่ไม่ปลอดภัยที่สุดสำหรับทารกเนื่องจากมีคาเฟอีน และช็อกโกแลตยังมีปริมาณน้ำตาลมากซึ่งไม่เหมาะกับลูกน้อยของคุณ การย่อยของแข็งยังเป็นอีกก้าวสำคัญของทารกที่ต้องผ่านไปในปีแรกและคุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าเจ้าตัวเล็กอยู่ห่างไกลจากปัญหาเกี่ยวกับท้องค่ะ

    น้ำตาล
    น้ำตาลไม่ควรเป็นส่วนหนึ่งของอาหารของทารกจนกว่าลูกน้อยของคุณจะอายุครบ 1 ขวบ เพราะอาจส่งผลต่อความต้องการอาหาร เด็กๆติดหวานและปฏิเสธอาหารอื่นที่ไม่มีรสหวานค่ะ นอกจากนี้ยังส่งผลต่อสุขภาพได้ค่ะ ดังนั้นจึงควรชะลอน้ำตาลในอาหารของทารก เมื่อลูกน้อยของคุณอายุครบ 1 ขวบคุณสามารถเริ่มด้วยน้ำตาลธรรมชาติในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อไม่ให้เด็กเป็นโรคอ้วน

    ทั้งนี้การเลือกอาหารเสริมให้กับเด็กๆควรเลือกให้เหมาะกับช่วงวัยค่ะ เพื่อประโยชน์ทางโภชนาการและความปลอดภัยของลูกคุณค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • อาหารกระตุ้นภูมิคุ้มกัน สู้ไข้หวัดสำหรับเด็ก

    อาหารกระตุ้นภูมิคุ้มกัน สู้ไข้หวัดสำหรับเด็ก

    อย่างที่พ่อแม่ทุกคนรู้ดีว่าการรับมือกับเด็กป่วยไม่ใช่เรื่องสนุกเลย ถึงเวลาเติมพลังด้วยสารอาหารเสริมภูมิคุ้มกันเด็กๆกันค่ะ เราได้รวบรวม Superfoods อาหารที่ดีที่สุดสำหรับต่อสู้กับโรคหวัด เพิ่มในมื้ออาหารของลูกน้อยอีกหนึ่งตัวช่วยเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มค่ะ มาดูกันเลยค่ะว่ามีอะไรบ้าง

    อาหารกระตุ้นภูมิคุ้มกัน สู้ไข้หวัดสำหรับเด็ก

    นมแม่
    นมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเด็กๆ เปรียบเสมือนวัคซีนหยดแรกสำหรับลูกน้อย อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายทารกมากกว่า 200 ชนิด ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แก่ลูกน้อยของคุณ อีกทั้งยังมีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและช่วยพัฒนาสมองของลูกน้อยค่ะ 

    กระเทียม
    คุณรู้ไหมว่ากระเทียมมีสรรพคุณช่วยต้านแบคทีเรียและไวรัสในร่างกาย กระเทียมเป็นหนึ่งในอาหารที่ดีที่สุดในการรับประทานเพื่อต่อสู้กับโรคหวัด ซึ่งไม่ง่ายเลยที่จะนำกระเทียมมาเป็นอาหารของเด็กเนื่องจากมีกลิ่นแรงแต่ไม่จำเป็นต้องรับประทานเยอะ เพียงวันละหนึ่งถึงสองกลีบก็เพียงพอแล้วค่ะ

    ผักใบเขียว
    ผักใบเชียว เช่น ผักโขม คะน้า ฯลฯ เป็นแหล่งวิตามินซีและวิตามินอีที่ยอดเยี่ยมซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในช่วงที่เป็นไข้หวัด ซึ่งสามารถบริโภคแบบดิบๆหรือนำมาประกอบอาหาร รวมถึงการนำมาปั่นเป็นน้ำก็สามารถรับประทานได้เช่นกันค่ะ 

    ซุปไก่
    ซุปไก่เป็นวิธีการรักษาที่เก่าแก่สำหรับโรคไข้หวัด น้ำซุปมีโปรตีนและผักที่มีความเข้มข้นสูงทำให้เหมาะสำหรับเป็นอาหารที่ช่วยต่อสู้กับโรคหวัด ยังเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับช่วงที่เด็กๆเป็นไข้หวัด ไอ น้ำมูกไหล น้ำซุปไก่ช่วยต้านการอักเสบช่วยขจัดเมือกและช่วยให้จมูกโล่งได้ค่ะ

    มันเทศ
    มันเทศเป็นผักอีกชนิดหนึ่งที่อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนและมีความสามารถในการเพิ่มระดับวิตามินเอในร่างกาย อีกทั้งยังเป็นผักที่เด็กๆชอบ รับประทานง่าย เมนูแนะนำสำหรับเด็กๆคือมันบดซึ่งเป็นเมนูทานง่ายและชื่นชอบสำหรับเด็ก

    บร็อคโคลี
    บรอกโคลี่ เป็นแหล่งพลังงานที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งยังมีวิตามินซี วิตามินอี แคลเซียม และไฟเบอร์ ที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย บรอกโคลี่จึงถือเป็นอาหารต้านหวัดอีกหนึ่งชนิดที่ควรเลือกทานค่ะ

    แครอท
    แครอทช่วยเพิ่มพลังในการป้องกันของระบบภูมิคุ้มกันจากไวรัสและแบคทีเรียที่ต่อสู้กับโรคโดยการทำลายจุลินทรีย์ เมนูแนะนำสำหรับเด็กเล็กคือซุปแคทรอท รับประทานง่ายสีสันสดใสดึงดูดความสนใจเด็กได้ดีค่ะ

    ดื่มน้ำมากๆ
    การดื่มน้ำมากๆในช่วงที่เด็กๆเป็นหวัด โดยเฉพาะการดื่มน้ำอุ่นจะช่วยบรรเทาอาการไอ และละลายเสมหะในลำคอได้ดีค่ะ

    อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในช่วงที่ลูกป่วย

    ถึงแม้ว่าอาหารบางชนิดมีประโยชน์และจำเป็นต่อร่างกาย แต่มีอาหารบางชนิดที่ควรหลีกเลี่ยงในช่วงที่ลูกของคุณป่วยเป็นไข้หวัด ได้แก่ ผลไม้รสเปรี้ยวหากลูกของคุณมีอาการเจ็บคอ เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองมากขึ้นค่ะ งดเครื่องดื่มรสหวาน หรือเครื่องดื่มอัดลม เช่น โซดา น้ำอัดลม ฯลฯ รวมถึงอาหารรสจัด เช่น อาหารไขมันสูง ฯลฯ

    อาหารที่กล่าวข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งค่ะ ยังมีอาหารอีกมากมายที่สามารถเสริมสร้างระบบภูมิต้านทานและจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเด็กๆค่ะ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถนำไปดัดแปลงให้เหมาะสมกับลูกน้อยของคุณ นอกจากการรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ครบ 5 หมู่แล้ว ควรดื่มน้ำสะอาดมากๆ พักผ่อนให้เพียงพอและออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำอย่างไรดี

    ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำอย่างไรดี

    การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นประสบการณ์สำหรับคุณแม่ทุกคน และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก เนื่องจากในนมแม่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีสำหรับดี เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ดีต่อตัวลูกน้องค่ะ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ทารกแรกเกิดจะเรียนรู้และสามารถดูดนมแม่ได้ค่ะ ปัญหาลูกไม่เข้าเต้า ลูกไม่ยอมดูดนมแม่ทำอย่างไรดี วันนี้เรามีเคล็ดลับดีๆแก้ปัญหานี้มาฝากคุณแม่ค่ะ

    ลูกไม่เข้าเต้าเกิดจากอะไร

    ปัญหาลูกไม่ดูดนมแม่จากเต้า ลูกไม่ยอมเข้าเต้าสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ เช่น ติดขวดนม เนื่องจากเด็กบางคนมีการเสริมนมผงตั้งแต่อยู่โรงพยาบาลค่ะ โดยอ้างว่าน้ำนมแม่ยังไม่มาค่ะ หรือการให้ลูกกินนมแม่สบลับกับขวดนมค่ะ ลูกมีปัญหาพังผืดใต้ลิ้น ท่านอนดูดนมไม่ถูกต้อง ทำให้ดูดเต้ายาก ไม่ถนัดค่ะ น้ำนมแม่น้อยหรือไหลช้า หรือคุณแม่บางคนที่น้ำนมเยอะพุงแรงทำให้ลูกกลืนนมไม่ทันได้ค่ะ อื่นๆ เช่น แม่ไม่มีหัวนม หัวนมบอดหรือสั้น เป็นต้น

    ผลกระทบของลูกไม่เข้าเต้า

    ผลของการที่ลูกไม่ดูดนมจากเต้าหรือไม่ยอมเข้าเต้า ซึ่งการปั้มน้ำมักส่งผลให้ผลิตน้ำนมได้น้อย หรือท่อน้ำนมอุดตัน อาจทำให้เต้านมปวดบวมได้ค่ะ และให้ลูกดูดเรื่อยๆทุก 2-3 ชั่วโมงจะยิ่งเป็นการกระตุ้นน้ำนมได้ดีมากๆเลยค่ะ

    เคล็ดลับช่วยให้ลูกเข้าเต้า

    การแก้ปัญหาลูกไม่ยอมดูดนมจากเต้า คุณแม่ต้องใจแข็ง อดทน ยอมเหนื่อยและใจเย็นๆค่ะ ค่อยเรียนรู้และปรับเปลี่ยนค่ะ ซึ่งสามารถปฏิบัติตามเคล็ดลับต่างๆได้ดังนี้ค่ะ

    • การวางตำแหน่งลูกน้อยของคุณเป็นสิ่งสำคัญมาก เมื่อทารกอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องจะช่วยให้ลูกของคุณดูดนมได้ง่ายขึ้นค่ะ รวมถึงการสัมผัสยังช่วยทำให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายอบอุ่นค่ะ
    • ให้ลูกเรียนรู้ความหิว เพราะตามสัญชาตญาณถ้าหิวถึงที่สุดแล้วลูกยอมดูดนมแม่ค่ะ ซึ่งอาจจะใช้เวลาแค่ 2-3 วันเท่านั้น
    • หลีกเลี่ยงการให้ลูกดูดนมจากขวดสลับกับนมแม่ รวมถึงหลีกเลี่ยงการใช้จุกนมยาง จุกนมหลอกค่ะ
    • อุ้มลูกบ่อยๆ ให้ลูกเคยชินกับไออุ่นจากอกแม่ ไม่ต้องกลัวว่าลูกจะติดมือค่ะ เพราะเขาจะติดเราได้ไม่นานค่ะ เมื่อเริ่มโตขึ้นเขาจะเริ่มห่างคุณไปเรื่อยได้เองค่ะ
    • กรณีที่คุณแม่น้ำนมมากไหลเร็ว ควรปั้มน้ำนมก่อนให้ลูกดูดค่ะ เพื่อชะลอการไหลของน้ำนมค่ะ
    • กรณีกลัวลูกจะติดเต้านมแล้วเลิกยาก กรณีนี้คุณแม่เมื่อลูกอายุ 6 เดือนขึ้นไปเริ่มรับประทานอาหารอื่นๆร่วมด้วย คุณแม่สามารถป้อนนมลูกด้วยวิธีอื่นๆร่วมด้วยค่ะ เช่น แก้ว ช้อน หรือ หลอด เป็นต้น
    • กรณีที่คุณแม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน และจำเป็นต้องให้ลูกกินนมจากขวดนม ควรเลือกขวดนมที่ลักษณะใกล้เคียงกับเต้านมแม่ และเลือกจุกนมให้เหมาะสมกับอายุของลูกค่ะ และเมื่อกลับมาบ้านให้ลูกดูดนมจากเต้าของคุณแม่เท่านั้นค่ะ

    คุณแม่หลายๆท่านคงท่านทราบกันดีอยู่แล้วว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นมีประโยชน์ต่อลูกน้อยอย่างไรบ้าง แต่ทราบหรือไม่ว่านอกจากประโยชน์ที่ดีต่อลูกแล้ว ยังช่วยให้คุณแม่เผาพลาญไขมันได้ดี ผิวสวย หุ่นกระชับได้เร็วขึ้นค่ะ และทางทีมงาน thaichildcare สนับการเลี้ยงดูด้วยนมแม่ค่ะ

  • อาหารที่เหมาะสมกับแม่ที่กำลังให้นมลูก และเทคนิคการให้นมแม่

    อาหารที่เหมาะสมกับแม่ที่กำลังให้นมลูก และเทคนิคการให้นมแม่

    อาหารที่เหมาะสำหรับคุณแม่ที่กำลังให้นมแม่

    อาหารสำหรับคุณแม่ที่กำลังให้นมแม่ ต้องมีส่วนประกอบของแร่ธาตุ เพราะแร่ธาตุที่มีความจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของลูก มีหลายอย่าง โดยเฉพาะแร่ธาตุแคลเซียม ซึ่งแร่ธาตุนี้จะช่วยในการสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูก ส่งผลให้ทารกเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น นมที่มีส่วนประกอบของแคลเซียมเป็นส่วนประกอบ ก็เป็นหนึ่งในอาหารที่สำคัญที่คุณแม่ที่กำลังให้นมลูกที่จำเป็นต้องกิน และอาหารอีกอย่างที่คุณแม่ก็ควรกินก็คือ ผลไม้ที่มีวิตามินซีที่สูง รวมไปถึงเนื้อสัตว์ที่มีโปรตีนสูง ถ้าสรุปกันง่ายๆ คุณแม่ที่กำลังให้นมลูก ควรที่จะกินอาหารที่ให้สารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ และดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกายที่ต้องกาย

    ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นของอาหารสุกๆดิบ อาหารที่เป็นหมักของดอง น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง หรืออาหารที่จะแสลงต่อร่างกาย เป็นต้น

    เกล็ดความรู้ “คุณแม่ที่กำลังให้นมลูกควรดื่นน้ำก่อนการให้นมประมาณ 10- 15 นาที”

    เทคนิคการช่วยให้นมลูกง่ายขึ้น

    ให้ลูกดูดนมบริเวณลานนมด้วย

    เด็กส่วนมากจะมักดูดนมเฉพาะบริเวณหัวนม ซึ่งคุณแม่ควรที่จะให้ลูกดูดบริเวณลงคล้ำที่อยู่รอบบริเวณหัวนม เรียกว่า “ลานนม” ด้วย เพราะบริเวณลานมจะมีท่อน้ำนมที่เชื่อมต่อ

    “ทำไมต้องให้ดูดบริเวณลานนมด้วย” เพราะจะช่วยให้คุณแม่ไม่เจ็บขณะที่ลูกดูดนม และเป็นการกระตุ้นให้น้ำนมเพิ่มมากขึ้น

    วิธีการให้ลูกไม่ดูดนมแค่หัวนม โดยการที่คุณแม่ใช้ปลายนิ้ว (ตัดเล็บด้วยเพราะเล็บอาจทำอันตรายต่อเด็กได้) สอดเข้าไปทางมุมปากพร้อมกับยื่นบริเวณลานนมเข้าไปให้ลึก พยายามให้ลูกดูดบริเวณลานนมเสมอ

    ลูกดูดนมหมดเต้า

    คุณแม่หลายท่านนิยมให้ลูกดูดนมข้างใดข้างหนึ่งจนหมดเกลี้ยง เพราะมีความเข้าใจว่าจะช่วยให้ผลิตน้ำนมที่มากขึ้น และเมื่อลูกจะกินในมื้อต่อไป ก็จะเปลี่ยนข้าง

    แต่ที่จริงแล้ว ควรดูดนมทั้ง 2 ข้าง โดยข้างหนึ่งประมาณ 10-15 นาที ไม่ควรเกินกว่านี้ หากลูกยังไม่อิ่มก็เปลี่ยนไปอีกข้าง

    5 ลักษณะของทารกที่ได้จากการดูดนม

    • ดูดแบบหิวโซ เด็กทารกกลุ่มนี้ จะเป็นทารกที่กินจุ ดูดแบบเร็ว ใช้เวลาไม่นานนมแม่ก็หมดเกลี้ยงเต้า ข้อควรระวัง อย่าให้ทารกดูดเร็วมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้หัวนมแตกและเกิดอาการเจ็บนมได้
    • ดูดเพราะตื่นเต้น เด็กทารกกลุ่มนี้ จะดูดแบบลักษณะงับหัวนมแบบ งับๆ หลุดๆ พอหลุดก็จะโมโหร้องกรี๊ด วิธีแก้ทารกกลุ่มนี้คือการอุ้มเบาๆ พร้อมปรอบลูก 2-3 นาที เมื่อทารกอารมเย็นลงก็ค่อยให้ดูดนมต่อ จะเป็นแบบดังกล่าวประมาณ 2-3 วัน ทารกก็จะกลับมาเรียบร้อยปกติ
    • ดูดแบบไม่เรียกร้อง ทารกกลุ่มนี้ จะรักความสบาย ก็ไม่มีนมมาให้ดูดก็ไม่เรียกร้องที่จะต้องดูด ถ้ามีมาให้ดูดก็ดูด เป็นทารกที่เลี้ยงง่ายไม่กวนใจคนเป็นแม่
    • ดูดบบนักชิม ทารกกลุ่มนี้ อนาคตน่าเป็นนักวิจารณ์อาหารแน่นอน เพราะก่อนกินก็จะเอาลิ้นมาแตะที่หัวนม จะทำแบบนี้สะพัก แล้วค่อยดูดนม แต่หากคุณแม่เผลอไปเร่ง ลูกอาจจะโกรธได้ ต้องรอให้ลูกได้ปรับตัว
    • ดูแบบสายชิว ทารกกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่จะดูดแบบเรื่อยๆ ดูดแปปๆ ปล่อย แล้วกลับมาดูดใหม่ สายชิว ดังนั้นคุณแม่ต้องใจเย็นจนกว่าจะหยุดดูด อย่าได้เร่งลูกเป็นอันขาด ไม่งั้น ลูกได้หรรษาแน่นอนค่ะ
  • น้ำผึ้งประโยชน์และข้อควรระวังในเด็ก

    น้ำผึ้งประโยชน์และข้อควรระวังในเด็ก

    น้ำผึ้งของขวัญจากธรรมชาติที่หลายท่านทราบกันอยู่แล้วว่ามีคุณประโยชน์มากมายและรสชาติแสนอร่อย แต่คุณทราบหรือไม่ว่าน้ำผึ้งสำหรับเด็กนั้นมีข้อควรระวังอย่างไร และวันนี้เราจะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจในประโยชน์และข้อควรระวังในการใช้น้ำผึ้งสำหรับเด็กนั้นมีอะไรบ้างค่ะ

    แม้ว่าน้ำผึ้งจะมีสรรพคุณที่น่าอัศจรรย์จากธรรมชาติแต่ไม่ได้มีไว้สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี เนื่องจากในน้ำผึ้งอาจก่อให้เกิดโรคโบทูลิซึมในทารก ที่เกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียคลอสติเดียมโบทูลินัม(Clostridium botulism) ซึ่งอาจเป็นพิษและทำให้เกิดปัญหาในทางเดินอาหารของทารกได้ค่ะ

    ประโยชน์ด้านสุขภาพของน้ำผึ้งสำหรับเด็ก

    ประโยขน์ของน้ำผึ้ง

    น้ำผึ้งมีประโยชน์มากมายสำหรับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กๆ โดยองค์ประกอบทางโภชนาการที่พบในน้ำผึ้ง 339 กรัม ได้แก่ โปรตีน 1 กรัม, น้ำ 8 กรัม, แคลเซียม 20.3 มก, แมกนีเซียม 6.8 มก, โพแทสเซียม 176 มก, สังกะสี 0.7 มก, เส้นใยอาหาร 7 กรัม, พลังงาน 304 กิโลแคลอรี, น้ำตาล 278 กรัม, วิตามินซี 1.7 มก, เนียซิน 0.4 มก, โฟเลต 6.8 mcg ซึ่งมีประโยชน์ต่อเด็กๆดังนี้

    • เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน เนื่องจากในน้ำผึ้งมีวิตามิน แร่ธาตุและกรดอะมิโนที่จำเป็นซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเด็กที่กำลังเติบโตค่ะ
    • น้ำผึ้งทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันตับ ช่วยตับควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
    • ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ฟังดูแปลกที่การใช้น้ำผึ้งกับรอยถลอกของเด็กๆ น้ำผึ้งสามารถช่วยบรรเทาผิวที่ระคายเคืองได้ค่ะ
    • น้ำผึ้งมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการไอเจ็บคอและระคายเคืองได้ค่ะ
    • น้ำผึ้งสามารถช่วยบรรเทาอาการท้องผูกและท้องเสียได้ค่ะ เชื่อกันว่าสารอาหารในน้ำผึ้งจะทำลายแบคทีเรียในลำไส้ค่ะ
    • ช่วยระบบย่อยอาหาร ผึ้งเป็นยาธรรมชาติที่ช่วยในการย่อยอาหารโดยสามารถชงชาผสมน้ำผึ้งดื่มได้ทันทีค่ะ
    • ช่วยให้ผิวนุ่มชุมชื่น น้ำผึ้งเป็นหนึ่งในมอยเจอร์ไรเซอร์ที่ดีที่สุดสำหรับผิว จะเห็นได้จากผลิตภัณฑ์ต่างๆนิยมนำมาใช้เป็นส่วนผสมค่ะ

    ข้อควรคำนึงในการใช้น้ำผึ้งในเด็ก

    ข้อควรคำนึงในการใช้น้ำผึ้งในเด็ก

    • ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีรับประทาน เพาะอาจทำให้เกิดพิษและเกิดโรคโบทูลิซึมซึ่งส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารและอาจเสียชีวิตได้ค่ะ
    • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำผึ้งในเด็กทารกโดยเฉพาะเด็กที่มีประวัติแพ้ผลิตภัณฑ์จากผึ้งค่ะ
    • กรณีที่ให้เด็กรับประทานน้ำผึ้งควรสังเกตอาการหรือปฏิกิริยาการแพ้  ซึ่งหากพบว่าลูกหายใจลำบากควรพบแพทย์ทันทีค่ะ
    • หลังจากใช้แล้วควรปิดฝาให้สนิทและวางให้พ้นมือเด็ก เนื่องจากน้ำผึ้งมีรสหวานและเป็นอาหารโปรดปรานสำหรับมดค่ะ
  • พัฒนาการล่าช้าในเด็ก

    พัฒนาการล่าช้าในเด็ก

    วัยเด็กเป็นช่วงเวลาสำคัญของการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่างๆ โดยเฉพาะในช่วงอายุ 3 ปีแรกค่ะ การพัฒนาในเด็กมีตั้งแต่ทักษะการคิด ทักษะทางสังคมและอารมณ์ ทักษะการพูดและภาษา และทักษะทางด้านร่างกายการเคลื่อนไหว เด็กๆจะมีการพัฒาที่เหมาะสมตามลำดับของการเติบโตในแต่ละช่วงวัยค่ะ ในส่วนของพัฒนาการที่มีความล่าช้าอาจเกิดขึ้นเพียงด้านเดียวหรือหลายๆด้านพร้อมกันค่ะ ซึ่งโอกาสที่บุตรหลานของคุณจะมีพัฒนาการล่าช้าขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง และมีส่วนช่วยเพิ่มโอกาสในการล่าช้า ได้แก่

    – การคลอดก่อนกำหนดและขาดสุขอนามัยการดูแลที่ดี

    – ความผิดปกติทางพันธุกรรมและโครโมโซม เช่น ดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) ฯลฯ

    – การสัมผัสกับมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมที่คุกคามชีวิตและสารพิษ

    – การขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย

    – สภาพแวดล้อมและการบาดเจ็บ

    สัญญาณของพัฒนาการล่าช้าแตกต่างกันไป โดยแบ่งออกเป็นทักษะด้านต่างๆ ดังนี้

    ทักษะการคิดหรือความรู้ความเข้าใจ

    การคิดคือความสามารถในการคิดเรียนรู้และแก้ปัญหา เป็นวิธีที่เด็กๆสำรวจกรอบตัวด้วยดวงตา หูและมือ ในเด็กเล็กยังรวมถึงสิ่งต่างๆ เช่น การเรียนรู้การนับ การตั้งชื่อและการเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ความล่าช้าในการพัฒนาทางปัญญาที่เกิดจากความผิดปกติตั้งแต่กำหนด เช่น ดาวน์ซินโดรม ภาวะแทรกซ้อนแรกเกิด การสัมผัสแอลกอฮอล์หรือสารพิษที่เป็นอันตราย รวมถึงการถูกทอดทิ้งตั้งแต่เด็กส่งผลให้รบกวนความสามารถในการเรียนรู้ และขัดขวางการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ

    สัญญาณเตือนทั่วไปของความล่าช้าพัฒนาการทางปัญญาในเด็ก คือ

    – ไม่เข้าใจคำแนะนำง่ายๆ

    – ไม่มีสมาธิกับกิจกรรมเดียวนานกว่า 5 นาที

    – ไม่สนุกกับการเล่นกับของเล่นหรือเด็กคนอื่น ๆ

    – ไม่เลียนแบบท่าทางหรือคำพูด

    ทักษะทางสังคมและอารมณ์

    พัฒนาทางสังคมและอารมณ์ คือความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งรวมถึงความสามารถในการแสดงออกและการควบคุมอารมณ์ ในเด็กทารกหมายถึงการยิ้มให้ผู้อื่นและทำเสียงเพื่อสื่อสาร ในเด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนเข้าเรียนหมายถึงความสามารถในการขอความช่วยเหลือแสดง การแสดงความรู้สึกและเข้ากับผู้อื่นได้

    สัญญาณเตือนทั่วไปของทักษะทางสังคมและอารมณ์ เช่น

    – ไม่สามารถสบตากันได้

    – ไม่เข้าใจคำพูด

    – ขาดความสนใจในการสื่อสาร และขาดความสนใจในการเล่นกับเด็กคนอื่น

    – พูดติดอ่างหรือการลำดับของคำพูด

    – ไม่แสดงอารมณ์หรือตอบสนองต่อคนแปลกหน้า

    ทักษะการพูดและภาษา

    พัฒนาทางการพูดและภาษา คือความสามารถในการใช้และเข้าใจภาษา สำหรับเด็กทารกรวมถึงการอ้อแอ้และพูดพล่าม ในเด็กวัยเรียนจะมีการเข้าใจสิ่งที่พูดและใช้คำอย่างถูกต้องและผู้อื่นสามารถเข้าใจ สัญญาณเตือนว่าลูกของคุณกำลังเผชิญกับพัฒนาการทางภาษาและการพูดช้าคือ

    – ไม่สามารถพูดได้ เช่น พ่อ แม่ หม่ำ ฯลฯ หลังจากกำหนดระยะเวลาของการหัดพูด

    – ไม่ตอบสนองต่อการเสียงหรือการเรียกชื่อ

    – ไม่เข้าใจคำแนะนำง่ายๆ และไม่สามารถระบุส่วนต่างๆของร่างกายได้

    – ขาดการพัฒนาคำศัพท์ต่างๆ

    ทักษะทางด้านร่างกาย

    พัฒนาทางด้านร่างกาย คือความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อต่างๆในร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อมือในการหยิบจับสิ่งของ เป็นต้น ในเด็กทารกคือความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือหยิบจับสิ่งของต่างๆ การลุกขึ้นยืนและเดิน เด็กวัยเข้าเรียนหมายถึงการกระโดด วิ่งและปีนที่สูงซึ่งต้องใช้สมองและการประสานมือ เป็นต้น 

    สัญญาณเตือนทั่วไปความล่าช้าในทักษะทางด้านร่างกาย เช่น

    – ไม่สามารถหยิบจับสิ่งของ เช่น ขวดนม ช้อน ของเล่น ฯลฯ

    – ไม่สามารถนำอาหารเข้าปากได้

    – ไม่สามารถลุกขึ้นยืนได้

    – ไม่สามารถเคลื่อนที่เดินได้อย่างมั่นคง

    หากคุณสงสัยว่าลูกของคุณมีพัฒนาการล่าช้า หรือไม่เป็นไปตามที่คาดหวังในกลุ่มอายุสามารถปรึกษาแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำและตรวจคัดกรองและการรักษาที่ถูกต้องค่ะ

  • 7 เหตุผล ทำไมต้องทำอาหารให้ลูกทาน

    7 เหตุผล ทำไมต้องทำอาหารให้ลูกทาน

    เมื่อลูกน้อยถึงวัยที่ต้องเริ่มป้อนอาหารอื่นๆนอกจากนม และสิ่งที่ตามมาคือการเลือกอาหารให้ลูกทานควรเริ่มต้นอย่างไรดี เพราะเราต้องการให้ลูกของเราเริ่มต้นได้ดีที่สุด

    เนื่องจากปัจจุบันมีผลิตอาหารสำเร็จรูปสำหรับเด็กมากมายตามท้องตลาด ซึ่งจะดีกว่าไหมหากคุณทำอาหารให้ลูกทานด้วยตัวคุณเองค่ะ เพราะการทำอาหารทารกเป็นเรื่องง่ายใช้เวลา 10-15 นาที และเป็นการเริ่มต้นที่ดีสำหรับนิสัยการกินเพื่อสุขภาพของลูกน้อยในอนาคตได้ค่ะ

    7 เหตุผล ทำไมถึงต้องทำอาหารให้ลูกทานด้วยตัวคุณเอง

     ไม่มีสารกันบูดหรือสารเติมแต่ง

    ไม่มีสารกันบูดหรือสารเติมแต่ง

    การทำอาหารเองทำให้เรามั่นใจได้ว่าไม่มีสารกันบูดหรือสารเคมีใดๆที่อาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อย

    เลือกวัตถุดิบได้เอง

    เลือกวัตถุดิบได้เอง

    สามารถเลือกเมนูและคุณภาพของวัตถุดิบได้เอง รวมถึงการปรับเปลี่ยนคิดค้นเมนูขึ้นเองได้เพื่อให้ลูกน้อยไม่รู้สึกเบื่อ

    อาหารสดใหม่อยู่เสมอ

    อาหารสดใหม่อยู่เสมอ

    อาหารสำหรับเด็กควรเป็นอาหารที่ปรุงสุกใหม่ทุกครั้ง ดังนั้นการทำอาหารให้ลูกทานเองทำให้ลูกได้ทานอาหารปรุงใหม่ในทุกวันค่ะ

    คุณค่าทางโภชนาการ

    คุณค่าทางโภชนาการ

    เนื่องจากอาหารที่บรรจุต้องได้รับการฆ่าเชื้อด้วยเหตุผลานี้ทำให้สารอาหารลดน้อยลง แต่ในทางตรงกันข้ามการทำอาหารเองไม่จำเป็นต้องผ่านการฆ่าเชื้อจึงมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าค่ะ

    อาหารรสชาตอร่อย

    อาหารรสชาตอร่อย

    อาหารที่ปรุงสดใหม่มักมีรสชาติที่ดี และเราสามารปรุงแต่งรสชาติเพิ่มเครื่องเทศและสมุนไพรตามแบบที่ลูกชอบได้ค่ะ

    สอนนิสัยการกินเพื่อสุขภาพ

    สอนนิสัยการกินเพื่อสุขภาพ

    การทำอาหารให้ลูกทานสามารถสร้างนิสัยการกินเพื่อสุขภาพ เรียนรู้รสชาติและกลิ่นตามธรรมชาติของอาหารที่แท้จริงและสดใหม่

    ดังนั้น คุณแม่ลองทำอาหารให้ลูกน้อยทานที่บ้านแทนที่จะเป็นอาหารสำเร็จรูป แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอาหารสำเร็จรูปสำหรับเด็กไม่ดีนะคะ เพราะในบางครั้งหรือบางครอบครัวมีความจำเป็นต้องเลือกอาหารสำเร็จรูปให้ลูกทาน ถ้าหากคุณกำลังมองหาอาหารสำหรับเด็ก ควรอ่านฉลากอย่างละเอียดเพื่อแยกแยะสารกันบูดหรือสารเติมแต่งที่เป็นอันตรายต่อลูกคุณค่ะ

  • โปรตีนเชคปลอดภัยสำหรับเด็กหรือไม่

    โปรตีนเชคปลอดภัยสำหรับเด็กหรือไม่

    โปรตีนเชคปลอดภัยสำหรับเด็กหรือไม่

    โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อร่างกาย สร้างกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อของร่างกายช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโต แต่คุณจะแน่ใจได้อย่างไรว่าลูกของคุณได้รับโปรตีนที่เพียงพอต่อร่างกาย ดังนั้นพ่อแม่หลายๆท่านจึงมองหาอาหารเสริม หรือผลิตภัทณ์เสริมด้านโภชนาการต่างๆให้กับลูกๆของคุณ และมีคุณพ่อคุณแม่หลายท่านสอบถามเข้ามาเกี่ยวกับโปรตีนเชคปลอดภัยสำหรับเด็กหรือไม่ ซึ่งบทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับโปรตีนเชคมากขึ้นค่ะ
    (more…)