Category: เลี้ยงลูกปลอดภัย

  • เด็กใช้ยาเพนนิซิลลิน เสี่ยงเด็กแพ้ยา

    เด็กใช้ยาเพนนิซิลลิน เสี่ยงเด็กแพ้ยา

    การใช้ยาต่างๆกับเด็กคุณแม่ต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมาก ในช่วงที่เด็กยังเล็ก คุณแม่ไม่ควรซื้อยาให้มาให้ลูกกินควรพาลูกไปหาหมอ เพราะอาจทำให้เด็กเกิดอาการแพ้ยาได้ โดยเฉพาะเด็กที่ใช้ยาในกลุ่มเพนนิซิลลิน

    ในครั้งนี้ทำไมถึงไม่ควรให้เด็กใช้ยาเพนนิซิลลิน ใช้แล้วมีอาการอย่างไร อันตรายอย่างไรมากน้อยเพียงใด

    ยาเพนนิซิลลิน คืออะไร

    ยาเพนนิซิลลิน คือ กลุ่มยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เป็นยาปฎิชีวนะ ซึ่งเป็นยาที่แพทย์สั่งหรือเภสัชกรจ่ายเท่านนั้น ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเม็ดยาที่จำเป็นต้องกินเป็นประจำ และจำนวนวันที่กินยา เพราะถ้าไม่ปฏิบัติตามตามที่หมอสั่ง กินยาไม่ตรงเวลา จะทำให้การรักษาไม่ได้ผลเต็มที่ และยิ่งเป็นยาเพนนิซิลลินด้วยแล้ว อัตราการแพ้ยาสูงมาก

    ความอันตรายของการที่เด็กใช้ยาเพนนิซิลลิน

    การใช้ยาเพนนิซิลลินมีความอันตรายหากใช้กับเด็ก ซึ่งผลข้างเคียงของยาเพนนิซิลลินจะทำให้มีอาการแพ้ มีลมพิษ ผื่นคันตามตัว แต่หากออกอาการรุนแรง อาจจะทำให้เกิดการหอบหืด หรือเป็นลมได้ หากมีอาการแพ้ยาควรหยุดยา แล้วรีบไปพบแพทย์ในทันทีหรือเภสัชเพื่อใช้ยาอื่นแทน ดังนั้น การใช้ยาเพนนิซิลลิน ต้องรู้ให้แน่ชัดก่อนว่าไม่เคยแพ้ยาเพนนิซิลลิน แต่สำหรับหากเป็นโรคภูมิแพ้ต้องมีความระมัดระวังในการใช้ยา เพราะจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้ง่ายกว่าปกติ ไม่เพียงเท่านี้ ไม่ควรใช้ยากลุ่มเพนนิซิลลินกับหญิงตั้งครรภ์หรือหญิงที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร รวมไปถึงเด็กทารกที่ยังเล็ก เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงคือทำให้เกิดอาการท้องเสีย หรือผื่นขึ้นเต็มตัวหลังจากการใช้ยา

    อาการแพ้ยาเพนนิซิลลิน

    ขึ้นผื่น

    ผื่นที่เกิดจากการแพ้ยาเพนนิซิลลินจะมีลักษณะหลายรูปแบบ บางครั้งก็จะแสดงออกมาในรูปของลมพิษ จะอยู่ไม่กี่ชั่วโมงก็หายไป แต่สักพักก็จะกลับมาใหม่ แต่ในเด็กบางคน ผื่นแพ้อาจจะไม่เหมือนของผู้ใหญ่ที่ขึ้นมาเป็นปื้นๆ แต่จะเป็นในลักษณะผื่นขึ้นนานเป็นวันๆ ซึ่งผื่นจะขึ้นหลังการใช้ยาไปแล้วไม่กี่วัน ดังนั้นหากผื่นขึ้นหลังการใช้ยาควรถ่ายรูปเก็บไว้ เพราะได้ช่วยให้คุณหมอได้วินิจฉัยโรคได้ง่ายมากขึ้น

    มีอาการบวม

    อาการบวมที่เกิดจากการแพ้ยาเพนนิซิลลินเป็นอาการแพ้ชนิดรุนแรง โดยจะมีลักษณะบวมทั้งตัว โดยเฉพาะบวมตรงใบหน้า และมีอาการลมพิษ แน่นคอ หายใจไม่สะดวก มีอาการไอ เหนื่อย หอบหืด ซึ่งประวัตการแพ้แบบนี้มีความสำคัญมาก เพราะอาการแพ้ครั้งต่อๆไป อาจทวีความรุนแรงมากกว่าเดิม

    มีอาการแพ้อย่างรุนแรง

    เป็นอาการแพ้ที่รุนแรงมากขึ้น เพราะอาการที่เกิดขึ้น เริ่มจาก หนังตา ริมฝีปากจะบวม มีอาการทางระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียร กล่องเสียงบวม ทำให้พูดไม่มีเสียงและหายใจลำบาก ความดันโลหิตต่ำ ซึ่งต้องนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วนเพราะเป็นอันตรายมาก

    การแพ้ยามีอันตรายเริ่มตั้งแต่เป็นเพียงผื่น หรือลมพิษ ไปจนถึงหายใจลำบากและความดันโลหิตต่ำ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้น การใช้ยาโดยเฉพาะกับคนท้องหรือเด็กเล็กต้องใช้ความระมัดระวัง ที่สำคัญควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรจะดีที่สุด พร้อมทั้งปฏิบัติตามในการทานยาหรือการใช้ยาเพื่อป้องกันการแพ้และการดื้อยา

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • อันตราย ลูกแพ้ยา สิ่งที่คุณแม่ต้องระวัง

    อันตราย ลูกแพ้ยา สิ่งที่คุณแม่ต้องระวัง

    อาการแพ้ยา (Drug Allergy) คืออาการที่เกิดจากฎิกริยาตอบสนองที่มาจากภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ต่อต้านยาที่ได้รับเข้าไปคล้ายการต่อต้านสิ่งแปลกปลอม และหากมีอาการนี้มากเกินไปก็จะนำไปสู่การแพ้ยาแบบอ่อนๆ ไปจนถึงขั้นรุนแรง หรือร้ายแรงสุดก็เป็นอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นหากมีอาการแพ้ยาใดๆ ก็ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบโดยด่วน

    ไม่เพียงแต่ผู้ใหญ่ที่สามารถแพ้ยาได้เพียงอย่างเดียว เด็กที่มีอายุ 1-5 ปี ก็สามารถมีโอกาสที่แพ้ยาได้เช่นกัน แต่การแสดงอาการอาจจะไม่รุนแรงเหมือนผู้ใหญ่ จึงทำให้ในบางครั้งเราที่เป็นพ่อและแม่ไม่สามารถทราบได้ว่าลูกแพ้ยาหรือไม่

    สาเหตุส่วนใหญ่ที่ลูกแพ้ยา

    ชนิดของยาที่ใช้

    เด็กที่แพ้ยาส่วนใหญ่ มักจะแพ้ยาปฎิชีวินะมากที่สุด ได้แก่กลุ่มยา Penicillins Cephalosporins และ Sulfonamide ในกลุ่มยา Penicillins เป็นกลุ่มยาที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ง่าย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้กับเด็กมากที่สุด ผลข้างเคียงของยาในกลุ่มนี้จะทำให้เกิดผื่นแพ้ยาได้แทบทุกชนิด มีทั้งแบบรุนแรง และไม่รุนแรง หรือมีผลถึงชีวิตเลยก็มี อีกกลุ่มยาที่จะทำให้เด็กแพ้ยาคือกลุ่มยากันชัก และยาแก้อักเสบซึ่งไม่ใช่ยาสเตอนอยด์

    แพ้ยาจากพันธุกรรม

    คือ การที่พ่อ หรือแม่มีอาการแพ้ยาชนิดนั้นๆ ลูกก็สามารถแพ้ยาชนิดนั้นได้เช่นกัน ซึ่งอาการแพ้ยาก็จะมีความแตกต่างกันออกไป หรือเด็กบางคนไม่แพ้ยาตอนเด็ก แต่ก็สามารถแพ้ยาตอนโตเป็นได้

    อาการของลูกแพ้ยา

    อาการลูกแพ้ยา

    อาการแพ้ยาสามารถพบได้บ่อยได้จากผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้สูงอายุ ซึ่งในบางครั้งผู้ป่วยมีความจำเป็นที่ต้องใช้ยาร่วมกันหลายชนิดเพื่อหลีกเลี่ยงตัวยาที่แพ้ ซึ่งในบางครั้งเปอร์เซนต์การแพ้ยาก็จะสูง อาการแพ้ยาอาจเพิ่มความรุนแรง ตลอดจนอันตรายถึงชีวิตได้ ไม่เพียงเท่านี้อาการแพ้ยาอื่นที่แสดงออกมาเช่น เป็นไข้เรื้อรัง มีอาการปวดข้อ มีแผลในปาก เกิดตับอักเสบ ไตวาย ต่อมน้ำเหลืองโต เป็นต้น

    อาการแพ้ยาที่เกิดจากปฎิกิริยาที่มาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จะมีการแสดงอาการออกมาไวมาก ไม่ว่าจะมาทางใดก็ตาม มาจากการกิน ฉีด ทา หรือการสูดดม แต่อาการก็ไม่ได้เกิดขึ้นได้ทุกคน แต่เป็นเฉพาะคนที่มีอาการแพ้จากการต่อต้านของร่างกายเท่านั้น อาการข้างเคียงจะมีอาการเหมือนกันกับทุกคนที่ได้รับยาในชนิดเดียวกัน แต่เรื่องความรุนแรงแล้วแต่ละคน เช่น มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วงที่มาจากการบำบัด เป็นต้น อาการแพ้ยานี่ จะมีความแตกต่างจากที่เป็นผื่นผิวหนัง เพราะเกิดจากการได้รับยาที่เกิดขนาด ซึ่งสามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

    อาการแพ้ยาชนิดรุนแรง ผื่นแพ้ยาชนิดรุนแรง ถ้าหากได้รับยาเป็นครั้งแรก มักจะแสดงอาการหลังจากได้รับยาไปแล้วประมาณ 1-3 สัปดาห์ แต่หากเคยได้รับยาชนิดนี้มาแล้ว จะมีอาการหลังจากได้รับยาไปแล้ว 1-3 วัน โดยจะแสดงอาการมีไข้ ปวดศีรษะ น้ำมูกไหล มีอาการปวดข้อ ปวดเมื่อยตามตัว และต่อมาก็จะเริ่มมีผื่นขึ้นบริเวณใบหน้า ลำตัว แขน และขา

    ผื่นของอาการแพ้ยาจะมีลักษณะออกเป็นสีแดง ตรงกลางจะมีสีเข้ม หรือสีน้ำตาล หรือบางคนก็จะออกมาในลักษณะเป็นตุ่มน้ำพองเจ็บ และผื่นอาจจะมารวมกันเป็นวงกว้าง ซึ่งคนที่มีอาการรุนแรง จะพบว่าผิวหนังชั้นกำพร้านั้นตายไปแล้ว ทำให้มีการหลุดลอกของผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณที่มีการเสียดสี หรือมีการกดทับ หรืออาจมีอาการที่เยื่อบุ เช่น มีอาการอักเสบที่ตา ตาแดง มีแผลที่ปาก หรือมีแผลที่อวัยวะเพศ หรือมีแผลบริเวณอวัยวะภายใน ตับอักเสบ ไตวาย เม็ดเลือดขาวในเลือดต่ำ ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อแทรกซ้อนได้

    ดังนั้น ยาทุกชนิด หรือแม้กระทั้งยาสมุนไพร สามารถทำให้เกิดผื่นแพ้รุนแรงได้ โดยยาที่จะพบบ่อย เช่น ยารักษาโรคเกาต์ ยาลดการอักเสบในกลุ่ม NSAIDs,ยากันชัก และยาปฎิชีวนะ เช่น ในกลุ่มยา Sulfa

    การวินิจฉัยของอาการแพ้ยาของแพทย์

    การวินิจฉัยของอาการแพ้ยาของแพทย์ การได้ข้อมูลจากแค่ประวัติการแพ้จะยังไม่เพียงพอ เพื่อทำการยืนยันว่าผู้ป่วยแพ้ยาจริงหรือไม่ ซึ่งจากการสำรวจผู้ป่วยที่เป็นเด็ก พบว่าผู้ป่วยที่มี่ประวัติการแพ้ยา มีเพียง 10% เท่าน้นที่ทำการตรวจสอบและมีอาการแพ้ยาจริง ส่วนอีก 90% เมื่อผ่านการทดสอบแล้วสามารถกลับมาใช้ยาได้ปกติโดยไม่มีผลข้างเคียงหรือเกิดความผิดปกติ

    การทดสอบการแพ้ยาของแพทย์

    • การทดสอบทางผิวหนัง (Skin test) จะทำการทดสอบโดยการใช้ยาที่คาดว่าเด็กจะแพ้ในปริมาณน้อย สะกิดเข้าไปภายใต้ผิวหนังหากเด็กมีอาการแพ้ ผิวหนังแดง และเกิดตุ่มขึ้นมา การทดสอบนี้มีความแม่นยำสูงในกลุ่มที่แพ้ยาแพนิซิลลินควรทำหลังจากการเกิดอาการ 4-6 สัปดาห์
    • การทดสอบด้วยยาที่คาดว่าแพ้ (Drug provocation test) การทดสอบนี้ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์

    การรักษาการแพ้ยา

    การรักษาเป็นเพียงการป้องกันเท่านั้นคือการหลีกเลี่ยงยาที่แพ้ หรือถ้าได้รับยาตัวใหม่แล้วมีอาการแพ้ ก็จะทำการหยุดยาในทันทีและต้องรีบมาพบแพทย์เพื่อทำการป้องกันการแพ้ยา และแพทย์จะให้บัตรประวัตการแพ้ยาเอาพกติดตัว เพื่อเมื่อทำการรักษาครั้งต่อไปก็ยื่นใบนี้ให้แพทย์ผู้รักษาได้ทราบว่าแพ้ยาอะไรบ้าง

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • ทำไมทารกไม่ควรใช้หมอน

    ทำไมทารกไม่ควรใช้หมอน

    สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่คุณแม่ทุกคนควรทราบคือหมอนไม่ได้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทารกแรกเกิดค่ะ แม้ว่าหลายคนจะคิดว่าการใช้หมอนของทารกเป็นเรื่องปกติ แต่ก็ไม่แนะนำให้ใช้เนื่องจากการใช้หมอนอาจเป็นอันตรายสำหรับลูกน้อยของคุณค่ะ ดังนั้นวันนี้เราจะพูดถึงทุกสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับเวลาและวิธีการใช้หมอนสำหรับลูกน้อยของคุณค่ะ

    ทำไมทารกไม่ควรใช้หมอน

    ในฐานะพ่อแม่คุณอาจทำทุกวิถีทางเพื่อให้ลูกน้อยของคุณสบายตัวที่สุด เช่น การใช้ที่นอนๆ หมอนนุ่นๆ ผ้าห่มหนาๆ เป็นต้น แต่คุณเคยสงสัยหรือไม่ทำไมทารกแรกเกิดถึงไม่ควรนอนหนุนหมอน เนื่องจากทารกยังไม่สามารถควบคุมบังคับศีรษะและคอได้ดีค่ะ ซึ่งอาจนำไปสู่อันตรายจากการหายใจไม่ออกจาการปิดกลั้นจมูก ศีรษะอาจจมลงไปในหมอนนุ่มๆซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการหายใจไม่ออก เพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตอย่างกะทันหันหรือภาวะไหลตายในทารก(SIDS) นอกจากนี้เด็กทารกยังมีความไวต่อสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ ดังนั้นกุมารแพทย์ส่วนใหญ่จะแนะนำให้วางลูกน้อยนอนบนพื้นผิวเรียบไม่นุ่มจนเกินไปค่ะ ไม่แนะนำให้คุณใช้ผ้าห่มขนาดใหญ่ที่กั้นเปลหรือหมอนค่ะ

    ทารกสามารถใช้หมอนได้เมื่อใด

    เมื่อเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไปคุณอาจเริ่มใช้หมอนสำหรับลูกของคุณได้ แต่ควรคำนึงสิ่งต่างๆเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยของคุณได้แก่

    • ควรเลือกใช้หมอนที่เหมาะสม หมอนที่แบนไม่หนาเกินไปหรือนุ่มมากเกินไป
    • หลีกเลี่ยงการใช้หมอนที่ผลิตวัสดุโพลีเอสเตอร์ อาจทำให้เกิดความร้อนที่ศีรษะและลำคอมากเกินไปค่ะ
    • ควรเป็นหมอนที่ไม่เก็บฝุ่นหรือใช้ผ้ากันไรฝุ่นหุ้มหมอนไว้ค่ะ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจค่ะ
    • ควรทำความสะอาดหมอนเป็นประจำ หมอนมักเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อ ฝุ่นละออง เหงื่อ น้ำนมหรือความชื้นที่ตกค้างอาจทำให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคค่ะ
    • ในบางกรณีกุมารแพทย์อาจแนะนำให้ใช้หมอนกับทารกได้ค่ะ เพราะสภาวะสุขภาพบางอย่าง เช่น กรดไหลย้อน ติดเชื้อที่หู เป็นต้น

    เคล็ดลับช่วยให้ทารกนอนหลับสบาย

    การช่วยให้ลูกน้อยนอนหลับสบายไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอย่างที่คิดค่ะ ด้วยเคล็ดลับง่ายๆดังนี้

    • อุณหภูมิห้องพอเหมาะ ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป จะช่วยให้ลูกรู้สึกสบายตัวมากขึ้นค่ะ ซึ่งคุณแม่สามารถใช้ผ้าทับบริเวณหน้าอก เพื่อความอบอุ่นให้แก่ลูกน้อยได้ค่ะ
    • สวมใส่เสื้อผ้าเนื้อนุ่มแต่ไม่ควรหนาจนเกินไป เหมาะสมกับอุณหภูมิค่ะ จะช่วยให้ลูกรู้สึกสบายตัวและหลับได้ง่ายและนานขึ้นค่ะ
    • แสงไฟความสลัว จะช่วยให้ลูกรู้สึกสบายตาและยังมองเห็นคุณพ่อคุณแม่ค่ะ
    • การนวดตัวลูกเบาก่อนนอนเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกสบายตัวค่ะ
    • การตบก้นหรือการลูบเบาๆ ซึ่งการสัมผัสเบาๆจากคุณจะทำให้ลูกรู้สึกอุ่นใจค่ะ
    • เปิดเพลงเบาๆ คุณแม่สามารถเปิดเพลงกล่อมเด็กเบาๆฟังสบายๆ ช่วงช่วยให้มีอารมณ์ดี นอนหลับได้ง่ายและยังเป็นการช่วยพัฒนาสมองค่ะ

    นอกจากการหลีกเลี่ยงการนอนหนุนหมอนในเด็กทารกแล้ว ที่นอนของที่ลูกนอนไม่ควรมีตุ๊กตา หมอนข้าง หรือผ้าห่ม หรือใช้ที่นอนนุ่มเกินไปค่ะ เนื่องจากสิ่งเหล่านี้อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอันตรายกับลูกน้อยของคุณได้ค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • วิธีทำความสะอาดของเล่นเด็ก

    วิธีทำความสะอาดของเล่นเด็ก

    ของเล่นเปรียบเสมือนเพื่อนของเด็กๆทุกช่วงวัยและมักพกพาไปในสถานที่ต่างๆ เนื่องจากของเล่นทั้งหมดทำจากวัสดุที่แตกต่างกัน ดังนั้นการหาวิธีที่ดีที่สุดในการทำความสะอาดของเล่นจึงเป็นสิ่งจำเป็นค่ะ การทำความสะอาดของเล่นเป็นประจำและฆ่าเชื้อเป็นระยะๆ จะช่วยให้ของเล่นเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดปลอดภัยสำหรับลูกน้อยของคุณค่ะ

    ทำไมการทำความสะอาดของเล่นจึงสำคัญ

    ของเล่นสำหรับเด็กแล้วกลายเป็นเพื่อนคนแรกในชีวิต ด้วยรูปแบบ สีสันสดใสและเสียงที่แตกต่างกันจะดึงดูดความสนใจทำให้เด็กมักชอบพกพาของเล่นชิ้นโปรดไปด้วยทุกที่ และเด็กๆมักชอบนำของเล่นเข้าปากหรือวางของเล่นไว้ในสถานที่ต่างๆ ของเล่นหล่นลงพื้นดิน ซึ่งอาจมีเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อโรคต่างๆที่ก่อให้เกิดโรคหรืออาการเจ็บป่วยได้ค่ะ เช่น โรคทางเดินอาหาร ท้องร่วง เป็นต้น นี่จึงเป็นสาเหตุสำคัญของการทำความสะอาดของเล่นของลูกน้อยค่ะ

    วิธีทำความสะอาดของเล่นเด็ก

    ของเล่นต่างๆมีความแตกต่างกันจึงต้องทำความสะอาดด้วยวิธีต่างๆ และวิธีทำความสะอาดของเล่นของลูกน้อยแต่ละชิ้นมีดังนี้

    การทำความสะอาดของเล่นผ้า

    ของเล่นผ้าสำหรับเด็ก เช่น ตุ๊กตา หนังสือผ้า เป็นต้น วัสดุที่ทำจากผ้ามักจะสกปรกได้ค่อนข้างเร็วและยังเป็นแหล่งสะสมของฝุ่น เชื้อโรคจำนวนมากค่ะ ซึ่งโดยปกติของเล่นเหล่านี้สามารถทำความสะอาดได้ด้วยน้ำ ซักด้วยสบู่หรือผงซักฟอกแล้วผึ่งแดดให้แห้ง แต่สิ่งสำคัญคือควรล้างให้หมดเพราะผงซักฟอกทั่วไปอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเด็กๆได้ค่ะ

    การทำความสะอาดของเล่นในน้ำ

    ของเล่นในน้ำโดยเฉพาะของเล่นที่เด็กมักชอบเล่นเวลาอาบน้ำ มักจะเปียกตลอดเวลาและรอบๆห้องน้ำมีทั้งน้ำสะอาดและสกปรกทำให้จุลินทรีย์แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดี เนื่องจากลูกน้อยของคุณอาบน้ำทุกวันและเล่นของเล่นในขณะอาบน้ำจึงควรทำความสะอาดสิ่งเหล่านี้เป็นประจำทุกวันค่ะ โดยการล้างทุกครั้งหลังจากอาบน้ำผึ่งให้แห้งและวางไว้ในที่แห้งและสะอาดค่ะ

    การทำความสะอาดของเล่นพลาสติก

    ของเล่นพลาสติกเป็นของเล่นที่ได้รับความนิยมมากในเด็กๆ เนื่องจากมีรูปร่าง สีสันสดใสดึงดูดความสนใจเด็กๆได้ดี ของเล่นพลาสติกส่วนใหญ่สามารถทำความสะอาดได้ง่าย คุณแม่สามารถทำความสะอาดได้ด้วยการใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆเช็ดให้สะอาด หรือล้างด้วยน้ำสบู่และปล่อยให้แห้งตามธรรมชาติ สำหรับของเล่นที่มีชิ้นส่วนเคลื่อนไหวน้อยคุณสามารถใช้แปรงสีฟันเก่าเพื่อทำความสะอาดบริเวณด้านในได้ค่ะ

    การทำความสะอาดของเล่นซิลิโคน

    ของเล่นเหล่านี้มีลักษณะคล้ายกับยางเล็กน้อยซึ่งอาจผลิตจากวัสดุอื่นค่อนข้างทนทาน วิธีทำความสะอาดของเล่นที่เร็วที่สุดวิธีหนึ่งคือ การแช่ของเล่นประเภทนี้ด้วยน้ำอุ่นเติมน้ำยาฆ่าเชื้อหรือแชมพูเด็กประมาณครึ่งชั่วโมง จากนั้นสามารถทำความสะอาดด้วยแปรงสีฟันหรือฟองน้ำแล้วน้ำด้วยน้ำสะอาดจากนั้นทิ้งให้แห้งตามธรรมชาติค่ะ

    การทำความสะอาดของเล่นไม้

    การทำความสะอาดของเล่นไม้จะแตกต่างกันไปตามลักษณะของเล่นไม้นั้นๆ หากของเล่นไม้ที่เคลือบด้วยสีหรือสารเคมีเคลือบเงา การทำความสะอาดที่ดีที่สุดคือ การใช้ผ้าชุบน้ำผสมน้ำยาฆ่าเชื้อหรือน้ำส้มสายชูเล็กน้อยบีบหมาดๆ เช็ดทำความสะอาดของเล่นผึ่งให้แห้ง ถ้าหากของเล่นผิวธรรมชาติเช็ดด้วยผ้าหมาดเช่นเดียวกับของเล่นไม้ที่เคลือบแล็กเกอร์ จากนั้นให้เอาผึ่งแดดให้แห้ง สิ่งสำคัญของการทำความสะอาดของเล่นไม้คือไม่ควรให้ของเล่นเปียกน้ำ เพราะจะทำให้เกิดเชื้อราและของเล่นไม้เสียหายได้ง่ายค่ะ

    การทำความสะอาดของเล่นแบตเตอรี่

    ของเล่นที่ใช้แบตเตอรี่ส่วนใหญ่ทำจากพลาสติก การจุ่มลงในน้ำอาจทำให้วงจรเสียหายได้ค่ะ วิธีทำความสะอาดที่ถูกต้องคือ ถอดแบตเตอรี่ออกจากของเล่นและเก็บไว้ในที่ปลอดภัย และวิธีเดียวในการทำความสะอาดของเล่นคือดูแลพื้นที่ด้านนอก โดยการใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาดๆเช็ดของเล่นซึ่งสามารถใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีสารฆ่าเชื้อสามารถช่วยทำความสะอาดของเล่นได้ค่ะ เพียงระมัดระวังบริเวณที่ใส่ถ่านหรือแบตเตอรี่อาจทำให้เป็นสนิมได้ค่ะ

    การทำความสะอาดของเล่นด้วยสารฟอกขาวปลอดภัยไหม

    การใช้สารฟอกขาวสามารถกำจัดเชื้อโรคทั้งหมดที่มีอยู่ในของเล่นได้อย่างง่ายดาย โดยปกติแล้วน้ำยาฟอกขาวนั้นปลอดภัยที่จะใช้กับวัสดุหลายประเภท แต่ควรลองใช้ในสัดส่วนที่เจือจางหรือตามคำแนะนำในการใช้งานค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • 4 วิธีการแก้ไขปัญหาการลืมเด็กไว้ในรถ

    4 วิธีการแก้ไขปัญหาการลืมเด็กไว้ในรถ

    เมื่อวันอังคารที่ 11 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา ได้มีข่าวการเสียชีวิตของเด็กชายอายุเพียง 3 ปี (น้องกองบิน) ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช สาเหตุของการเสียชีวิต คือเด็กได้ถูกลืมทิ้งไว้ในรถตู้ของโรงเรียนเป็นเวลานานถึง 6 ชั่วโมงกับอีก 30 นาที ถือเป็นเหยื่อเด็กอีกรายล่าสุดที่จบชีวิตกับการถูกลืม เรียกได้ว่าปัญหาดังกล่าวที่เป็นปัญหาที่ซ้ำซาก ไม่ถูกนำมาแก้ไขอย่างจริงจังเสียที

    จากข้อมูลของศูนย์วิจัยเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี (CSIP) ได้ทำการสำรวจวิจัยและพบว่า เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี จะถูกลืมไว้ในรถมากที่สุด และเป็นช่วงวัยที่ที่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้หากไม่ได้รับการสอน จึงทำให้สถิติการเสียชีวิตกับปัญหาดังกล่าวสูงที่สุด ดังนั้น ในครั้งนี้เรามาเรียนรู้ถึงปัญหาการที่ลูกถูกลืมไว้ในรถ ทั้งความน่ากลัว และวิธีการป้องกันไม่ให้เด็กถูกลืมไว้ในรถกันค่ะ

    สาเหตุการเสียชีวิตเมื่อลืมเด็กไว้ในรถ

    สาเหตุการเสียชีวิตของเด็กที่ถูกลืมไว้ในรถส่วนใหญ่เกิดจากที่ร่างกายของเด็กมีความร้อนสูงเกินขนาด คือมีความร้อนสูงถึง 42 องศา หากถูกลืมไว้ในรถนานเกิน 2 ชั่วโมงขึ้นไปจากนั้นเด็ก จากนั้นเซลล์ในร่างกายจะเริ่มตาย เลือดในร่างกายจะเริ่มเป็นกรด ต่อมาสมองก็จะบวมจนไปทับก้านสมองในส่วนการควบคุมในระบบการหายใจ

    ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ได้แนะนำ ให้ผู้ปกครองห้ามทิ้งลูกไว้ในรถขณะที่จอดรถไว้ที่กลางแจ้ง ถ้าไม่จำเป็นที่ต้องทิ้งลูกไว้ ก็ให้นำลูกลงจากรถไปด้วยในทุกๆครั้ง ไม่เพียงเท่านี้ ไม่ควรที่จะแง้มหน้าต่างรถและทิ้งลูกไว้ เพราะไม่ได้ป้องกันความร้อนภายในรถได้ เพราะสาเหตุหลักที่เด็กเสียชีวิตไม่ได้เกิดจากการขาดอากาศหายใจ แต่เพราะเกิดความร้อนในรถที่สูงเกินกว่าร่างกายเด็กจะรับไหว ถึงแม้จะจอดรถไว้ในที่ร่มก็ตามเด็กก็สามารถเสียชีวิตจากความร้อนสูงได้เช่นกัน

    วิธีการป้องกันการลืมเด็กไว้ในรถ

    การป้องกันการลืมเด็กไว้ในรถมีด้วยกัน 4 ข้อ ดังนี้

    • ไม่ว่าจะทำธุระเร็วหรือช้า ไม่ควรทิ้งเด็กไว้ตามลำพังโดยเด็ดขาด ควรนำเด็กลงไปด้วยทุกครั้ง ถึงแม้เด็กจะหลับอยู่ก็ตามก็ต้องเอาลงจากรถ ไม่ต้องกังวลเรื่องลูกงอแง ควรนึกถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นสำคัญ ไม่เพียงเท่านี้ยังเป็นการฝึกลูกในรู้ว่าการจอดรถต้องลงจากรถ
    • แง้มหน้าต่าง แล้วทิ้งลูกไว้ได้ เป็นความเข้าใจผิด เพราะสาเหตุการเสียชีวิตของเด็กที่ถูกทิ้งไว้ไม่ได้เกิดจากการขาดอากาศหายใจแต่เกิดจากความร้อนที่สูงมากเกินกว่าร่างกายเด็กรับไหว ดังนั้น ทำความเข้าใจใหม่ ไม่ควรแง้มหน้าต่างแล้วทิ้งลูกเอาไว้ ควรให้ลูกลงจากรถทุกครั้ง
    • ในกรณีที่ไปกับรถคนอื่นควรหมั่นตรวจสอบสอบถามเป็นระยะว่าต้อนนี้ลูกอยู่ที่ไหน ลงจากรถแล้วหรือยัง เพราะการที่เราต้องหมั่นตรวจสอบเพราเพื่อความปลอดภัยของลูก เพราะผู้ที่ไม่มีประสบการณ์การเลี้ยงลูกอาจมีการเผลอลืมเด็กไว้ในรถเป็นได้
    • ในกรณีที่ลูกไปโรงเรียนกับรถโรงเรียน ก่อนใช้บริการควรตรวจสอบมาตรฐานการรับส่งของผู้ให้บริการว่าดีหรือไม่ เพื่อความมั่นใจ ซึ่งเอาจริงๆ เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ไม่ควรใช้บริการของรถโรงเรียน เพราะด้วยความต้องรับผิดชอบหลายชีวิต อาจมีเรื่องผิดพลาดเกิดขึ้นได้บ่อยเสมอ ดังนั้นช่วงเด็กอายุประมาณนี้ พ่อแม่ควรเป็นคนรับส่ง แต่หากจำเป็นจริงๆ พ่ออแม่ต้องดูถึงมาตรการความปลอดภัยของรถโรงเรียนด้วย ไม่ใช่ดูเฉพาะสภาพรถว่าเป็นอย่างไรเท่านั้น แต่ต้องดูถึงเรื่องผู้ที่ต้องเป็นคนไปรับส่งลูกว่ามีใครบ้าง คนขับรถเป็นอย่างไร คนที่ติดรถเป็นคุณครูระดับปฐมวัย มีความเข้าใจเรื่องเด็กเล็กไหม เวลารับส่งเด็กขึ้นรถลงรถมีการเช็คชื่อเด็กหรือไม่ แล้วมาตรการของโรงเรียนเป็นอย่างไร เมื่อเด็กถึงโรงเรียนแล้วมีการดับเบิ้ลเช็คอีกครั้งหรือไม่

    ดังนั้น สิ่งที่ต้องตระหนักอย่างยิ่งเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยก็คือ ผู้ที่ใกล้ชิดเด็กเล็กทั้งหลายต้องมีความระมัดระวังมากกว่าปกติหลายเท่า เพราะต้องคิดเสมอว่าเด็กเล็กยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองเรื่องความปลอดภัยได้ เป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่ต้องไม่ประมาทแม้เพียงเสี้ยววินาที

    บทความที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับความปลอดภัยสำหรับเด็ก

  • รถหัดเดินสำหรับเด็ก จำเป็นหรือไม่

    รถหัดเดินสำหรับเด็ก จำเป็นหรือไม่

    การเดินถือเป็นเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของทารกและพ่อแม่เช่นกัน เนื่องจากเป็นการแสดงความเป็นอิสระ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่บางคนเชื่อว่าการใช้เครื่องช่วยเดินจะช่วยให้ลูกเดินได้เร็วขึ้น แต่จริงๆแล้วรถหัดเดินสำหรับลูกจำเป็นหรือไม่ สามารถช่วยให้ลูกเดินได้เร็วขึ้นจริงไหม วันนี้เราจะพามาหาคำตอบถึงข้อดี ข้อเสียและสิ่งที่ต้องระวังในการใช้รถหัดเดินค่ะ

    รถหัดเดิน สำหรับเด็กคืออะไร

    รถหัดเดินสำหรับเด็ก หรือ Baby Walkers คืออุปกรณ์ที่มีล้อเลื่อนที่ช่วยให้เด็กเล็กที่ยังไม่สามารถเดินได้สามารถวิ่งหรือเด็กไปรอบๆได้โดยการผลักด้วยเท้าเพิ่มความคล่องตัว โดยทั่วไปทารกส่วนใหญ่เรียนรู้ที่จะเกาะยืนเมื่ออายุ 9 เดือนและเด็กโดยทั่วไปจะเดินในช่วงอายุประมาณ 1 ปี อย่างไรก็ตามพัฒนาการของทารกทุกคนแตกต่างกันไปค่ะ

    รถหัดเดินสามารถช่วยให้ลูกเดินได้เร็วขึ้นจริงหรือไม่

    กระบวนการตามธรรมชาติมักสอนทารกถึงวิธีการทรงตัวเริ่มต้นตั้งแต่การตั้งศีรษะ การนั่ง คลาน ยืนหรือเดิน แต่รถหัดเดินจะทำให้เขาเอนไปข้างหน้าหรือข้างหลังจากสะโพกโดยไม่ต้องทรงตัวและช่วยป้องกันไม่ให้เขาล้มได้ ซึ่งการใช้รถหัดเดินไม่ช่วยให้เด็กๆเรียนรู้ที่จะปรับความสมดุลหรือเรียนรู้การทรงตัวค่ะ ดังนั้นเด็กต้องเรียนรู้ที่จะปรับสมดุลตัวเองใหม่อีกครั้งค่ะ

    ข้อดีของรถหัดเดิน

    • มีส่วนร่วมและสร้างแรงบันดาลใจ รถหัดเดินที่ออกแบบมาสำหรับเด็กส่วนใหญ่มักจะติดตั้งของเล่นง่ายๆหรือเครื่องเล่นต่างๆเพื่อให้ทารกมีส่วนร่วม ออกแบบมาเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางจิตใจและกระตุ้นการมองเห็นด้วยค่ะ
    • กระตุ้นให้ทารกเดิน ช่วยให้ทารกเข้าใจว่าท่ายืนจะช่วยให้เดินได้อย่างไรและเขาจะพยายามก้าวไปด้วยตัวเอง
    • ส่งเสริมการเคลื่อนไหว เด็กอายุระหว่าง 8 – 12 เดือนกระตือรือร้นที่จะสำรวจสภาพแวดล้อม รถหัดเดินสามารถให้ความคล่องตัว ช่วยให้เคลื่อนที่ได้โดยไม่ต้องให้ความช่วยเหลือใดๆค่ะ
    • อำนวยความสะดวกให้กับคุณพ่อคุณแม่สามารถทำกิจกรรมอื่นๆได้โดยไม่ต้องอุ้มลูกๆตลอดค่ะ

    ข้อเสียของรถหัดเดิน

    รถหัดเดินเด็ก หรือ Baby Walkers ถึงแม้ว่าจะเป็นที่นิยมใช้สำหรับเด็กๆวัยหัดเดินนอกจากจะมีข้อดีแล้วอาจเป็นอันตรายสำหรับเด็กๆได้เช่นกัน หากไม่ระมัดระวังในการใช้งานค่ะ เช่น อันตรายจากการสูญเสียการทรงตัว เนื่องจากการใช้รถหัดเดินเด็กๆสามารถเคลื่อนไหวได้อิสระด้วยความเร็วและเด็กมักยังไม่เข้าใจเรื่องของการทรงตัวการระมัดระวังซึ่งเป็นอันตรายได้ค่ะ บางรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ เป็นต้น

    ข้อควรระวังในขณะที่ใช้รถหัดเดิน

    เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถหัดเดินของเด็กๆ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวังได้แก่

    • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าใช้รถหัดเดิน(Baby Walkers) บนพื้นผิวเรียบและสม่ำเสมอเท่านั้น
    • หลีกเลียงการใช้รถหัดเดินใกล้บันไดและสระน้ำ
    • ย้ายสิ่งของมีคมหรือสิ่งที่อาจเป็นอันตรายให้พ้นมือเด็ก
    • การใช้รถหัดเดินคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอย่างใกล้ชิด

    อย่างที่เราเห็นรถหัดเดินเด็กมีข้อดีข้อเสียในตัวเองและมักจะทำให้เกิดคำถามว่า การใช้รถหัดเดิน สำหรับเด็ก จำเป็นหรือไม่ แต่สิ่งสำคัญและสิ่งที่ต้องคำนึงในฐานะพ่อแม่คือ การตรวจสอบให้แน่ใจว่าพัฒนาการของทารกจะไม่ถูก จำกัด เนื่องจากการใช้วัตถุดังกล่าวค่ะ

  • หูฟังปลอดภัยสำหรับเด็กไหม

    หูฟังปลอดภัยสำหรับเด็กไหม

    หูฟังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ในปัจจุบันเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่นิยมใช้ไม่ว่าจะเป็นการฟังเพลง ดูหนัง การโทรศัพท์ หรือการเล่นเกม แต่มันปลอดภัยจริงเหรอโดยเฉพาะเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่อาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับการแผ่รังสีและผลข้างเคียงที่มีต่อความสามารถในการได้ยินและสมอง ดังนั้นเราจะมาหาคำตอบกันค่ะ

    เด็กๆสามารถใช้หูฟังได้หรือไม่

    ผู้ปกครองหรือพ่อแม่หลายท่านมักให้ลูกๆใช้โทรศัพท์มือถือร่วมกับการใช้หูฟังในการฟังเพลง ดูการ์ตูนหรือเล่นเกม ซึ่งเป็นหูฟังทั่วไปที่ผลิตมาสำหรับผู้ใหญ่ไม่ใช่หูฟังที่เหมาะสำหรับเด็ก ช่องหูของเด็กนั้นแคบกว่ามากและเสียงที่ดังมากอาจทำให้เกิดปัญหากับการได้ยิน อย่างไรก็ตามการใช้หูฟังเด็กๆสามารถใช้ได้ค่ะ แต่ควรเป็นหูฟังที่ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับเด็กด้วยเทคโนโลยีควบคุมระดับเสียงในตัว โดยรักษาระดับเสียงให้อยู่ในระดับเสียงไม่เกิน 60 เดซิเบล และไม่ควรให้ฟังนานติดต่อกันหลายชั่วโมงค่ะ

    ข้อเสียของการใช้หูฟัง

    การใช้หูฟังสำหรับเด็กสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองควรทราบถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ อาทิเช่น

    • ส่งผลเสียต่อการได้ยินในระยะยาว ภาวะประสาทหูเสื่อม สูญเสียการได้ยิน ความบกพร่องทางการได้ยิน
    • ทำให้เกิดโรคเสียงอื้อในหู (Tinnitus)
    • การใช้หูฟังที่ใช้งานร่วมกันอาจติดเชื้อโรคบางชนิดได้ค่ะ
    • อุบัติเหตุจากการไม่ระมัดระวังน้อยลงเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม เช่น ไม่ได้ยินเสียงรอบข้าง ฯลฯ

    ทำไมต้องหูฟังสำหรับเด็ก

    หลายๆบ้านอาจมองว่าไม่จำเป็นต้องซื้อหูฟังสำหรับเด็ก แต่คุณรู้หรือไม่ว่าหูฟังสำหรับเด็กมีข้อดีอย่างไร และนีคือเหตุผลที่ควรมีหูฟังให้ลูกค่ะ

    • หูฟังถูกออกแบบมาเพื่อเด็กย่อมพอดีหัวกว่าของผู้ใหญ่ สวมใส่ได้สบายกว่าค่ะ 
    • เพื่อเป็นการไม่ให้เสียงจากอุปกรณ์รบกวนคนรอบข้าง 
    • เพื่อให้ลูกฟังเสียงในระดับที่เหมาะสม ไม่ทำลายประสาทการได้ยิน

    การเลือกหูฟังสำหรับเด็ก

    การเลือกหูฟังสำหรับลูกๆของคุณและสิ่งที่ควรคำนึงถึงได้แก่

    • ขนาดหูฟัง ไม่แน่นหรือหลวมเกินไปและควรเป็นแบบครอบปิดหูจะดีกว่าค่ะ
    • ทนทาน ด้วยความซุกซนและไม่ระมัดระวังเด็กๆจึงมักจะทำลายสิ่งต่างๆโดยไม่ตั้งใจ
    • หูฟังที่ออกแบบมาสำหรับเด็ก เนื่องจากมีด้วยเทคโนโลยีควบคุมระดับเสียงในตัว เพื่อให้ลูกฟังเสียงในระดับที่เหมาะสมค่ะ

    ข้อควรระวังในขณะที่ให้เด็กใช้หูฟัง

    ข้อควรระวังในการใช้หูฟังสำหรับเด็กๆ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองควรคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้

    • ตรวจสอบระดับเสียงไม่ควรดังเกินไป เพราะอาจสิ่งผลให้เกิดปัญหาการได้ยินได้และเสี่ยงต่อความเสียหายร้ายแรงในระยะยาวค่ะ
    • ควรลดระดับเสียงเป็น 60% ของค่าสูงสุด เพราะการฟังในระดับเสียงที่สูงสามารถสร้างความเสียหายต่อการได้ยินค่ะ
    • จำกัดเวลาการใช้หูฟังไม่ควรนานติดต่อกัน 60 นาทีต่อวัน

    หูฟังปลอดภัยสำหรับเด็กไหม ก่อนอื่นต้องบอกว่าการใช้หูฟังที่ถูกต้องและปลอดภัยไม่ว่าจะวัยไหนๆ สิ่งสำคัญคือไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลาและไม่ควรใช้ระดับเสียงที่ดังเกินไปค่ะ เพราะอาจสิ่งผลในระยะยาวได้ค่ะ

  • ปฐมพยาบาลเบื้องต้น ลูกน้อยวัยซน

    ปฐมพยาบาลเบื้องต้น ลูกน้อยวัยซน

    เด็กๆวัยซนวัยของการเรียนรู้และสำรวจโลกทำให้พวกเขามีแนวโน้มที่จะได้รับบาดเจ็บได้ง่ายและเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ค่ะ ดังนั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับเด็กเมื่อเกิดอุบัติเหตุต่างๆค่ะ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคนควรทราบค่ะ โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกๆวัยซนวัยของการเรียนรู้ ทดลอง ทดสอบสิ่งต่างๆหรือการวิ่งเล่นๆก็สามารถเกิดอุบัติเหตุได้ค่ะ และอุบัติเหตุในเด็กที่พบได้บ่อยได้แก่

    บาดแผลและรอยถลอก

    บาดแผลและรอยถลอกจากการซุกซน หกล้มเป็นอุบัติเหตุที่พบบ่อยในเด็กๆและสิ่งที่ต้องทำทันทีเมื่อมีแผลคือ การห้ามเลือดในกรณี่ที่มีเลือดออกมากโดยใช้แรงกดบริเวณเหรือบาดแผล ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด ผลิตภัณฑ์สำหรับล้างแผลสด เพื่อฆ่าเชื้อและกำจัดสิ่งสกปรกที่อาจติดอยู่ในบาดแผล จากนั้นให้ทายาสำหรับรักษาแผลสดและปิดด้วยพลาสเตอร์หรือผ้าพันแผล ควรทำแผลทุกวันและแน่ใจว่าลูกได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักทุกสินปีค่ะ

    แผลไหม้พุพอง

    แผลไหม้พุพอง แผลที่เกิดจากการสัมผัสวัตถุสิ่งของที่มีอุณหภูมิสูง เช่น น้ำร้อนลวก เตารีด เป็นต้น ซึ่งสิ่งที่ควรทำเป็นสิ่งแรกเมื่อลูกมีแผลพุพองคือ ล้างผิวบริเวณที่ถูกน้ำร้อนลวกด้วยน้ำสะอาดอุณหภูมิห้องหรือความเกลือสำหรับล้างแผล ในกรณีที่มีแผลไหม้รุนแรงให้ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเย็นประคบ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด หลีกเลี่ยงการใช้น้ำแข็งหรือแช่น้ำเย็นบริเวณผิวไหม้เพราะอาจทำให้ช็อคได้ค่ะ อาจใช้ว่านหางจระเข้ทาบริเวณแผลเพื่อบรรเทาอาการปวดแสบได้ค่ะ หากอาการปวดรุนแรงควรพบแพทย์ทันทีค่ะ

    เลือดกำเดาไหล

    เลือดกำเดาไหลมักเกิดจากการกระทบกะเทือนของจมูก อากาศร้อนหรือเย็นและแห้ ส่งผลให้เยื่อบุจมูกระคายเคืองและเส้นเลือดฝอยในโพรงจมูกแตก และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเลือดกำเดาไหล สามารถทำได้ดังนี้ ให้ลูกของคุณนั่งเอนตัวและก้มหน้าเล็กน้อย ค่ายๆบีบบีบจมูกค้างไว้ 5 – 10 นาที เพื่อห้ามเลือดค่ะ หรือใช้วิธีการประคบเย็นด้วยการใช้ผ้าเย็นหรือผ้าห่อน้ำแข็งบริเวณสันจมูก หลีกเลี่ยงการเอียงศีรษะไปข้างหลังเพราะเลือดอาจไหลย้อนกลับ ซึ่งทำให้หายใจไม่ออกหรือสำลักได้ค่ะ 

    ลมแดด (Heat Stroke)

    ลมแดด หรือ Heat Stroke เกิดเมื่ออุณหภูมิรอบๆตัวสูงและสัมผัสกับอากาศร้อนมากเป็นเวลานานเกินขีดจำกัดของร่างกายค่ะ ทำให้เกิดโรคลมแดดกะทันหันซึ่งเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันค่ะ ซึ่งการปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนนำส่งโรงพยาบาลสามารถทำได้ดังนี้ สิ่งแรกที่คุณต้องทำคือหาวิธีลดอุณหภูมิร่างกายของลูก ในลูกอยู่ในสถานที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก ถอดเสื้อผ้าแล้วใช้ผ้าน้ำเย็นเช็ดตามส่วนต่างๆของร่างกาย เพื่อให้ร่างกายได้ระบายความร้อนและเย็นลงค่ะ และรีบปรึกษาแพทย์ทันทีค่ะ

    สำลักอาหารหรือสิ่งแปลกปลอม

    การสำลักอาหารหรือสิ่งแปลกปลอมอันตรายใกล้ตัว ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในเด็ก เนื่องจากเกิดจากภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้นค่ะ และสิ่งที่ต้องทำในทันทีเมื่อลูกสำลักอาหารหรือสิ่งแปลกปลอม คือการกระตุ้นให้เด็กไอออกมาด้วยตนเองซึ่งเป็นกลไกการขับสิ่งแปลกปลอมออกจากท่อหลอดลม แต่สิ่งสำคัญคือห้ามล้วงเอาสิ่งแปลกปลอมนั้นออกเพราะอาจจะทำให้สิ่งนั้นเข้าไปลึกมากขึ้นค่ะ สามารถอ่านรายละเอียดได้ที่ >> วิธีช่วยเด็กสำลักอาหารหรือสิ่งแปลกปลอม <<

  • มหาหิงค์ ยาแก้ลูกท้องอืด ที่นิยมใช้

    มหาหิงค์ ยาแก้ลูกท้องอืด ที่นิยมใช้

    “มหาหิงค์” เป็นยางที่ได้จากต้นไม้ ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ferula assafoetida L. เป็นพืชในวงศ์เดียวกับผักชี ผักชีลาว มีต้นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียกลาง และถูกส่งออกไปขายทั่วโลก ส่วนที่นิยมนำมาใช้เป็นยา หรืออาหารคือส่วนของลำต้นใต้ดิน โดยสีเหลืองอมน้ำตาล และมีกลิ่นฉุน เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

    ลักษณะของมหาหิงคุ์

    เป็นชันน้ำมันประเภทโอลีโอกัมเรซินจากรากและลำต้นใต้ดินของพืชในสกุล Ferula หลายชนิด ซึ่งเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลงหัว ขึ้นในที่แล้ง ในทะเลทราย มีถิ่นกำเนิดในตะวันออกกลาง (ประเทศอิรัก อิหร่าน และอัพกานิสถาน) และภาคตะวันตกของประเทศจีน ลำต้นเล็กเรียว สีเขียวเกลี้ยง
    ใบเป็นฝอยใบไม่ดก ดอกสีเหลืองอ่อน ดอกช่อคล้ายดอกผักชี  เมื่อออกดอกแล้ว มักสลัดใบ รากและเหง้ากลมยาวเรียว สีน้ำตาล เนื้อในสีขาวจะให้ยางเมื่ออายุได้ประมาณห้าปียางจากรากเรียกว่า มหาหิงคุ์  คำว่า หิงคุ์(Hingu) เป็นภาษาสันสกฤต โบราณไทยเติมคำว่า มหา เข้าไป เรียกเป็นมหาหิงคุ์
    มหาหิงค์ มีลักษณะเป็นก้อนสีเหลือง แดงและเหนียว มียางสีขาวฝังตัวอยู่ด้วยเป็นแห่งๆ มีกลิ่นเหม็นทนนาน  มีรสเผ็ดร้อนและเบื่อ ซึ่งเมื่อเวลาลูกน้อยของเราเกิดอาการปวดท้องหรือท้องอืดขึ้นมา สิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่อย่างเราจะต้องคิดถึงนั้นก็คือ “มหาหิงค์” ซึ่งมีสรรพคุณมากมายในการช่วยบรรเทาอาการ “ระงับอาการปวดท้อง”“แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ”“บำรุงธาตุในร่างกาย”“ขับเสมหะ”“ช่วยย่อยอาหาร” ให้กับลูกน้อยเราได้เป็นอย่างดี เรามักจะนิยมนำ“มหาหิงค์” มาทาที่ท้อง หรือ ฝ่ามือและฝ่าเท้าของลูกน้อยเรา พอทาไปสักพักลูกน้อยของเราก็จะผายลมออกมาทำให้ลูกน้อยของเราไม่ “ปวดท้อง”และ “ลดอาการท้องอืด” ได้ และ“มหาหิงค์”ยังมีสรรพคุณอีกมากมายเช่น ใช้ทาภายนอกเพื่อรักษากลาก แก้แมลงกัดต่อย แก้ปวด แก้บวม กลิ่นของมหาหิงคุ์ ยังใช้ในการรักษาโรคหวัด และบรรเทาอาการไอได้ด้วย

    ข้อควรรู้ก่อนการใช้มหาหิงค์

    • อย่าทาน หรือผสมน้ำทาน เพราะมหาหิงค์มีแอลกอฮอล์ ไม่ดีต่อร่างกายของเด็กเล็ก
    • อย่าให้มหาหิงค์เข้าตา บริเวณเนื้อเยื่ออ่อน แผล หรือรอยถลอกของเด็ก
    • หมั่นดูวันหมดอายุที่ข้างบรรจุภัณฑ์ก่อนใช้เสมอ
    • เก็บไว้ให้ไกลมือเด็ก และอย่าวางรวมกับยาทั่วไป
    • ทามหาหิงคุ์ให้ห้องที่อากาศถ่ายเทดี

    คำแนะนำเมื่อใช้มหาหิงค์ในเด็ก

    • มหาหิงคุ์ ควรทาในที่โล่ง อากาศโปร่ง ถ่ายเทสะดวก
    • หลังจากทามหาหิงคุ์ที่ท้องแล้ว หากใช้ผ้าอ้อมห่อบริเวณท้องเด็ก จะทำให้ยาออกฤทธิ์ได้ดียิ่งขึ้น
    • ควรเก็บให้พ้นมือเด็ก และไม่ควรเก็บรวมกับยารับประทานตัวอื่น ๆ
    • ตรวจดูวันหมดอายุของยาทุกครั้ง ก่อนนำมาใช้

    วิธีการใช้มหาหิงค์

    • ใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์และเภสัชกรอย่างเคร่งครัดเสมอ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว ผู้ที่กำลังรับประทานยารักษาโรคอื่น ๆ และผู้ป่วยที่กำลังเข้ารับการผ่าตัด
    • ควรทายาทิงเจอร์มหาหิงคุ์เฉพาะบริเวณหน้าท้อง และทายาในสถานที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวกให้แอลกอฮอล์ระเหยออกไปได้ง่ายเพื่อไม่ให้เด็กสูดดมยา โดยอาจใช้ผ้าห่อบริเวณท้องของเด็กให้อุ่นหลังจากทายาเพื่อเสริมการออกฤทธิ์ยา
    • ควรปิดขวดยาให้มิดชิดเป็นระเบียบที่อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส โดยให้ยาพ้นจากมือเด็กและห่างจากแสงแดด และหมั่นตรวจดูวันหมดอายุของยา เพราะยาอาจเสื่อมสภาพและออกฤทธิ์ได้ไม่ดี

    ผลข้างเคียงจากการใช้มหาหิงค์

    มักไม่พบผลข้างเคียงจากการใช้ยาทิงเจอร์มหาหิงคุ์ อย่างไรก็ตาม การรับประทานยาที่มีส่วนผสมของมหาหิงคุ์อาจทำให้ปวดหัว ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ท้องเสีย ชัก และเลือดไหลไม่หยุดได้ แม้มีโอกาสพบได้น้อยมาก แต่ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์หากมีอาการรุนแรงหรืออาการที่เกิดขึ้นไม่หายไป

    เมื่อลูกน้อยของเราท้องอืด “มหาหิงค์” จึงเป็นท้องเลือกที่ดีได้อีกทางในการช่วยบรรเทาอาการท้องอืดของลูกน้อยเรา

    บทความที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับ ลูกท้องอืด

  • ลูกแพ้อาหาร อันตรายถึงชีวิต สิ่งที่พ่อแม่ต้องรู้

    ลูกแพ้อาหาร อันตรายถึงชีวิต สิ่งที่พ่อแม่ต้องรู้

    การแพ้อาหารพบบ่อยมากในเด็กเล็กค่ะ เมื่อถึงช่วงอายุที่ลูกน้อยต้องเริ่มรับประทานอาหารอื่นๆนอกเหนือจากนม ซึ่งถือว่าเป็นก้าวสำคัญสำหรับคุณพ่อคุณแม่โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ ความกังวล การเลือกอาหารให้ลูกน้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการแพ้อาหารในเด็ก ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องรู้สัญญาณของปฏิกิริยาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้นค่ะ เนื่องจากการแพ้อาหารรุนแรงอาจทำให้เสียชีวิตได้ค่ะ

    การแพ้อาหารเป็นปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกันที่มีผลหลังจากรับประทานอาหารบางชนิด ความรุนแรงแตกต่างกันไปในแต่ละคนค่ะ ซึ่งเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้อาการสูงคือ พ่อแม่หรือคนในครอบครัวมีประวัติการแพ้อาหาร หรือโรคหอบหืด อาการแพ้โดยทั่วไปมักจะแสดงอาการต่างๆ ดังนี้

    • ผื่นรอบปาก ผื่นคัน หรือผื่นคล้ายลมพิษตามร่างกาย ซึ่งเป็นอาการเบื้องต้นที่คุณสามารถสังเกตได้ในเด็กที่มีอาการแพ้ค่ะ
    • คันคอและลิ้น หรือดวงตา น้ำตาไหล
    • ใบหน้าริมฝีปากหรือลิ้นบวม
    • จามต่อเนื่อง มีน้ำมูกใสหรือจมูกอุดตัน
    • ไออย่างต่อเนื่อง 
    • คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ
    • ปวดท้อง หรือท้องเสีย หากมีอาการท้องเสียต้องระมัดระวังภาวะร่างกายขาดน้ำค่ะ
    • ปัญหาระบบทางเดินหายใจ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หายใจดังเสียงฮืด
    • หมดสติ ซึ่งอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ

    อาหารที่มักก่อให้เกิดอาการแพ้ที่พบได้บ่อยในเด็ก ได้แก่

    • ไข่ 
    • ถั่วเหลือง
    • นมวัว หรือที่เรียกว่า แพ้โปรตีนนมวัว
    • อาหารทะเล เช่น กุ้ง ปลาหมึก เป็นต้น
    • ธัญพืชต่างๆ เช่น งา วอลนัท,อัลมอนด์ เป็นต้น
    • ขาวสาลี หรือแป้งสาสี ซึ่งมักเป็นส่วนประกอบอาหารหลากหลายชนิด เช่น เบเกอรี่ สปาเก็ตตี้ ซาลาเปา มันฝรั่งทอด ขนมกรอบบางชนิด ฯลฯ

    การรักษาอาการแพ้ที่เกิดขึ้นนั้นจะเป็นการรักษาตามอาหารและความรุนแรงค่ะ เช่น การทานยาแก้แพ้ในกรณีที่อาการไม่รุนแรง หรือใบบางรายที่มีอาการแพ้เฉียบพลันหรือรุนแรงต้องได้รับการฉีดยาทันทีที่มีอาการค่ะ อาการแพ้อาหารในบางรายสามารถหายหรือรับประทานอาหารชนิดนั้นได้เมื่อโตขึ้นค่ะ

    ควรทำอย่างไรถ้าลูกมีอาการแพ้

    หากลูกน้อยของคุณจะแสดงอาการสัญญาณของการเกิดอาการแพ้อาหาร สิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำคือ ให้ลูกของคุณหยุดทานอาหารนั้นทันทีพร้อมสังเกตอาการที่เกิดขึ้นค่ะ และควรรีบไปพบแพทย์ทันทีค่ะ

    อาการแพ้อาหารในเด็กทารกสามารถลดหรือป้องกันได้ด้วยขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

    • การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยลดโอกาสของการแพ้เนื่องจากน้ำนมแม่นั้นอุดมไปด้วยแอนติบอดีจึงทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงค่ะ
      *ให้นมแม่นานขนาดไหน
      *อาหารสำหรับแม่ที่กำลังให้นมลูก
    • หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ก่อนอายุ 6 เดือนค่ะ
    • เด็กทารกที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ ควรหลีกเลี่ยงของอาหารหรือนมสูตรถั่วเหลือง เนื่องจากโปรตีนจากถั่วเหลืองสามารถทำให้เกิดอาการแพ้ในทารกได้ค่ะ
    • เมื่อเริ่มรับประทานอาการควรเริ่มให้ลูกทานครั้งละน้อยๆ พร้อมสังเกตอาการหลังรับประทานอาหาร รวมถึงลักษณะอุจจาระของลูกน้อย เนื่องจากเด็กบางรายอาจมีอาการท้องผูกหรือถ่ายเหลวจากการรับประทานอาหารบางชนิด
    • หากพบอาการผิดปกติหรือมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ

    บทความที่เกี่ยวกับการแพ้อาหาร

    *ลูกแพ้อาหารผ่านนมแม่