Category: สุขภาพเด็ก

  • ดูโอดีนั่มตีบตัน (Duodenal Atresia) ความบกพร่องแต่กำเนิด

    ดูโอดีนั่มตีบตัน (Duodenal Atresia) ความบกพร่องแต่กำเนิด

    ดูโอดีนั่มตีบตัน (Duodenal Atresia) เป็นความผิดปกติแต่กำเนิดที่ส่วนบนของลำไส้เล็กที่หาได้ยากซึ่งเกิดขึ้นระหว่าง 1 ใน 6,000 ของการตั้งครรภ์ ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นในลำไส้เล็กขัดขวางการไหลเวียนของของเหลวและสารอาหารตามทางเดินอาหารของทารกในครรภ์ค่ะ

    ดูโอดีนั่มตีบตัน (Duodenal Atresia) คืออะไร

    ลำไส้เล็กส่วนต้นนั้นเป็นส่วนบนสุดของลำไส้เล็กซึ่งเชื่อมต่อกระเพาะอาหารกับลำไส้เล็กของทารกในครรภ์ ช่องเปิดนี้ช่วยให้อาหารและของเหลวไหลผ่านทางเดินอาหารของทารกในครรภ์ เมื่อลำไส้เล็กส่วนต้นท่อถูกปิดกั้นโดยเยื่อเมือกที่ผิดปกติหรือขาด ทำให้ร่างกายของทารกไม่สามารถย่อยอาหารดูดซับสารอาหารได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้เกิดการสะสมของน้ำคร่ำที่ผิดปกติเนื่องจากทารกในครรภ์ สิ่งนี้อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ได้ค่ะ

    สาเหตุของ Duodenal Atresia

    Duodenal Atresia ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าอาจเป็นผลมาจากปัจจัยทางพันธุกรรมที่พ่อแม่ไม่สามารถควบคุมได้ หากหากทั้งพ่อและแม่มีลักษณะเดียวกันของยีนด้อยที่มีข้อบกพร่องเหมือนกัน ซึ่งสามารถถ่ายทอดมาสู่ทารกในครรภ์ได้ค่ะ นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากความบกพร่องของหลอดเลือดในตัวอ่อน ซึ่งส่งผลให้ปริมาณเลือดในลำไส้เล็กส่วนต้นลดลงทำให้ลำไส้เล็กส่วนต้นขาดค่ะ 

    อาการของ Duodenal Atresia 

    สัญญาณของความผิดปกติของลำไส้เล็กส่วนต้นในเด็กสามารถสังเกตเห็นได้ก่อนการคลอดบุตร เนื่องจากภาวะนี้อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์และทำให้เด็กตกอยู่ในความเสี่ยงจึงมีความสำคัญสูงสุดที่จะต้องระวังสัญญาณและอาการต่อไปนี้

    อาการระหว่างการตั้งครรภ์ ลำไส้เล็กส่วนต้นไม่สามารถตรวจพบได้ง่ายในระหว่างตั้งครรภ์สัญญาณมักพบเมื่ออัลตราซาวนด์ก่อนคลอดค่ะ

    • ฟองอากาศคู่ เป็นตัวบ่งชี้ความผิดปกติของลำไส้เล็กส่วนต้นที่สามารถมองเห็นได้ง่ายในอัลตร้าซาวด์ หรือเอ็กซ์เรย์ของทารกในครรภ์ที่มีความผิดปกติของลำไส้เล็กส่วนต้น โดยที่ฟองแรกคือภาพของกระเพาะอาหารที่เต็มไปด้วยของเหลว และฟองที่สองคือลำไส้เล็กส่วนต้นที่เต็มไปด้วยของเหลว
    • น้ำคร่ำมากเกินไป ในระหว่างการตั้งครรภ์ปกติน้ำคร่ำจะถูกกลืนและย่อยโดยทารกในครรภ์ แต่ทารกที่มีความผิดปกติของลำไส้เล็กส่วนต้นส่งผลให้มีการสะสมของน้ำคร่ำมากเกินไปทำให้มดลูกขยายใหญ่ขึ้น หากรุนแรงอาจทำให้มารดาเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดค่ะ

    อาการทารกหลังคลอด อาการของ Duodenal Atresia ในทารกหลังคลอดอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการอุดตัน อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงในบางครั้งไม่อาจพบอาการผิดปกติภายหลังคลอดนานเป็นเดือนหรือปีค่ะ

    • ท้องบวม หลังคลอดทารกอาจแสดงอาการท้องส่วนบนที่ขยายหรือบวม เนื่องจากการสะสมของของเหลวในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นที่ถูกปิดกั้นค่ะ
    • อาเจียน ทารกหลังคลอดอาจอาเจียนน้ำดีซึ่งเป็นสารคัดหลั่งสีเขียวเหลืองที่เกิดจากตับค่ะ
    • การเคลื่อนไหวของลำไส้ผิดปกติ ทารกแรกเกิดจะขับอุจจาระสีดำเข้มหรือที่ส่วนใหญ่มักเรียกกันว่าขี้เทา แต่ในกรณีที่ทารกมีภาวะ Duodenal Atresia มักมีอาการท้องผูกค่ะ

    การรักษา Duodenal Atresia

    Duodenal atresia แม้ว่าจะได้รับการวินิจฉัยก่อนคลอด แต่ไม่สามารถรักษาได้จนกว่าทารกจะคลอดค่ะ โดยการผ่าตัดเปิดลำไส้เล็กส่วนต้นที่เกิดการอุดต้นหรือปิดกั้นอยู่ค่ะ ในระหว่างการผ่าตัดและหลังการผ่าตัดทารกจะได้รับท่อป้อนอาหารและของเหลวทางหลอดเลือดดำ เพื่อป้องกันการขาดน้ำจนกว่าลำไส้จะหายดีและเริ่มทำงานได้ตามปกติ นอกจากนี้ยังต้องได้รับการตรวจติดตามผลเพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการนี้ประสบความสำเร็จและทารกกำลังย่อยสารอาหารได้ดีค่ะ

    Duodenal atresia เป็นความบกพร่อง แต่กำเนิดของทารกในครรภ์ทำให้เกิดการอุดตันด้วยความระมัดระวังและการดูแลที่เหมาะสมสามารถหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนในทางเดินอาหาร สามารถรักษาได้หลังจากทารกคลอดโดยการผ่าตัดและ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • การขาดแคลเซียมในทารก

    การขาดแคลเซียมในทารก

    ปัญหาสุขภาพที่คุณต้องระวังคือการขาดแคลเซียมในทารก และส่วนใหญ่รักษาได้โดยการเปลี่ยนอาหารแต่ถึงอย่างไรก็ตามอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนได้ค่ะ การขาดแคลเซียมในทารก มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการตั้งแต่พันธุกรรมไปจนถึงการรับประทานอาหาร ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรคอยสังเกตพัฒนาการ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับลูกน้อยของคุณค่ะ

    ทำไมแคลเซียมจึงสำคัญสำหรับทารก

    แคลเซียมเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดสำหรับทารกและผู้ใหญ่ แคลเซียมมีส่วนสำคัญต่อความแข็งแรง การเจริญเติบโตของกระดูก รักษามวลกระดูก ซึ่งสิ่งนี้มีผลกระทบที่ยาวนานเนื่องของมวลกระดูกของผู้ใหญ่ เป็นผลมาจากการได้รับแคลเซียมอย่างเหมาะสมตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยรุ่น นอกจากนี้แคลเซียมยังช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อและการทำงานของหัวใจ

    สาเหตุของการขาดแคลเซียมในทารก

    ในผู้ใหญ่การขาดแคลเซียมอย่างเพียงพอในอาหารอาจทำให้ขาดแคลเซียมได้ค่ะ แต่สำหรับทารกสาเหตุของการขาดแคลเซียมอาจปัจจัยต่างๆดังนี้

    • ออกซิเจนต่ำในระหว่างการคลอดทารก
    • ยารักษาการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น Gentamicin อาจส่งผลต่อระดับแคลเซียมของทารก ฯลฯ
    • ขาดวิตามินดี เนื่องจากวิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียมค่ะ
    • ทารกที่มีความบกพร่องทางพันธุกรรมที่เรียกว่า DiGeorge Syndrome จะมีระดับแคลเซียมในร่างกายไม่ดี
    • ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติแต่กำเนิดจะมีระดับแคลเซียมในร่างกายต่ำ
    • ทารกที่คลอดก่อนกำหนดโดยเฉพาะทารกที่คลอดก่อน 32 สัปดาห์มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะขาดแคลเซียมได้ค่ะ
    • มารดาที่เป็นโรคเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ ทารกที่มีโอกาสเกิดการขาดแคลเซียมในทารกได้ค่ะ

    อาการขาดแคลเซียมของทารก

    การสังเกตอาการของการขาดแคลเซียมเป็นเรื่องยากในทารก ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องคอยสังเกตสัญญาณบางอย่างของการขาดแคลเซียมในทารก เช่น

    • พฤติกรรมทางอารมณ์ที่ผิดปกติ นอนไม่หลับกระสับกระส่าย
    • อาการชักเนื่องจากออกซิเจนไปเลี้ยงสมองลดลง
    • ความอ่อนแอต่อโรคสูงเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันไม่ดี
    • การเคลื่อนไหวของใบหน้าผิดปกติ เช่น การกระตุกของลิ้น ริมฝีปาก รวมถึงร่างกายสั่นกระตุก
    • การเจริญเติบโตไม่ดีและความผิดปกติในข้อต่อ
    • ความดันโลหิตต่ำ
    • ฯลฯ

    การรักษาภาวะขาดแคลเซียมของทารก

    แม้ว่าลูกของคุณจะมีระดับแคลเซียมลดลง แต่ก็สามารถแก้ไขได้โดยขั้นตอนง่ายๆ เช่น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นหนึ่งในแหล่งแคลเซียมที่ดีที่สุดสำหรับทารกค่ะ และการได้รับแสงแดดที่เพียงพอ เนื่องจากแสงแดดจะช่วยให้ร่างกายเปลี่ยนคอลเลสเตอรอลเป็นวิตามินดี ซึ่งวิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียมที่ดีของร่างกายค่ะ

    แม้ว่าการขาดแคลเซียมควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน แต่ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีการที่กล่าวมาข้างต้นค่ะ เพื่อให้เขาเติบโตเป็นเด็กที่แข็งแรงคุณค่าทางอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้ามและใส่ใจเป็นพิเศษค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • เชื้อไวรัส HIVและโรคเอดส์ในเด็ก

    เชื้อไวรัส HIVและโรคเอดส์ในเด็ก

    ก่อนที่จะเข้าเรื่องกัน เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า HIV กับโรคเอดส์ แตกต่างกัน เนื่องจากคนไทยหลายคนยังมีความเข้าใจที่ผิดๆกันอยู่ระหว่างโรคเอดส์กับเชื้อไวรัส HIV คือโรคเดียวกัน

    HIV คือ เชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่หากเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเข้าไปเริ่มก่อตัวทำร้ายภูมิคุ้มกันของร่างกายซึ่งในระยะแรกๆ จะเริ่มทำให้ผู้ที่ได้รับเชื้อมีอาการคล้ายกับเป็นไข้หวัด แต่ยังไม่แสดงอาการแต่อย่างใด ทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับรับเชื้อจะไม่สามารถรู้ว่าตัวเองได้รับเชื้อไปแล้ว ซึ่งปัจจุบันยังไม่มียาตัวไหนสามารถกำจัดเชื้อไวรัสตัวนี้ได้ มีแต่เพียงยาต้านไวรัสที่จะไม่ทำให้เชื้อไวรัสกำเริบให้กลายเป็นโรคเอดส์ ซึ่งหากได้รับยาต้านและรักษาอย่างต่อเนื่องผู้ป่วยก็ยังที่จะสามารถดำรงชีวิตปกติในสังคมได้

    AIDS คือ โรคที่ผลต่อมาจากการไม่รับการรักษาเชื้อไวรัส HIV อย่างต่อเนื่องทำให้ผู้ป่วย ซึ่งโรคเอดส์คือโรคที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่องไม่สามารถต้านทานโรคต่างๆ ได้

    ดังนั้น ระหว่าง HIV กับ โรคเอดส์ ไม่ใช่โรคเดียวกัน แต่เป็นเพียงโรคที่มีความเกี่ยวเนื่องกันเท่านั้น

    ในปัจจุบัน นอกจากมีการค้นพบยาต้านเอดส์ใหม่ ๆ หลายชนิด? ยังมีการพัฒนาการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคเอดส์ ได้แก่ การตรวจนับจำนวน CD4 ปริมาณไวรัส (viral load) และการดื้อยาของไวรัส (HIV resistance assay) ทำให้แพทย์สามารถให้การรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ความพิการและอัตราตายและช่วยฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น

    การติดเชื้อไวรัส HIVและโรคเอดส์ในเด็ก

    โดยส่วนใหญ่เด็กที่ติดเชื้อไวรัส HIV จะติดเชื้อในขณะที่อยู่ในครรภ์ หรือในระหว่างที่คลอด หรือไม่ก็ได้รับเชื้อจากน้ำนมจากแม่ และยังมีการติดเชื้อจากเหตุอื่นๆ เช่น การได้รับเลือด ซึ่งมีโอกาสเกิดขุึ้นในเปอร์เซนต์น้อยหรือมากในระยะหลังเพราะมีการตรวจคัดกรองเลือดที่มาบริจาคอย่างประสิทธิภาพ

    พ่อแม่ติดเชื้อ HIV หรือ เป็นโรคเอดส์ ลูกสามารถติดเชื้อเสมอไปหรือไม่

    สำหรับการติดเชื้อเด็ก จะอยู่ในช่วงที่อยู่ในครรภ์ หรือระหว่างการคลอด สำหรับในประเทศไทยจะไม่แนะนำให้เด็กที่เกิดแม่ที่ติดเชื้อกินนมแม่ ทำให้การติดเชื้อภายหลังคลอดไม่พบการติดเชื้อ สำหรับการติดเชื้อจากคนเป็นพ่อไม่มีการติดต่อเชื้อไปยังลูก

    สำหรับแม่ที่เชื้อไม่ได้รับยาต้านไวรัสใดๆ และเด็กก็ไม่ได่กินนมจากแม่ มีเพียง 1 ใน 4 หรือ ประมาณ 25% เท่านั้นที่ลูกจะติดเชื้อจากแม่ แต่สำหรับแม่ที่ติดเชื้อได้รับยาต้านไวรัส Zidovudine (AZT) โดยได้รับก่อนคลอดไม่นาน และเด็กก็ได้รับยาเดียวกัน จะพบว่าอัตราการลูกติดเชื้อเหลือแค่ประมาณ 7-8% แต่ถ้าหากคุณแม่ที่ติดเชื้อได้รับยา Zidovudine (AZT) และยา Lamivudine (3TC) ตั้งแต่ที่คุณแม่มีอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ และได้รับยา Nepirapine (NVP) 1 ครั้งในตอนที่คลอด และเด็กได้รับยาตัวเดียวกัน 1 ครั้ง จะทำให้อัตราการติดเชื้อไปสู่ลูกเหลือแค่ประมาณ 3% และหากคุณแม่ที่ติดเชื้อ ได้รับยา 3 ขนานนานกว่า 4 สัปดาห์ ก่อนที่คลอด อัตราการติดเชื้อไปสู่ลูกเหลือแค่เพียงประมาณ 1-2% ไม่เพียงเท่านี้คุณแม่ทำการคลอดโดยการผ่าตัดทางหน้าท้อง (Caesaren section) ก่อนที่จะเจ็บครรภ์หรือมีอาการน้ำเดิน จะลดความอันตรายการติดเชื้อในเด็กลงไปได้อีกด้วย

    ในสถานพยาบาลในปัจจุบัน จะเน้นการรักษาคุณแม่ในระหวางที่กำลังตั้งครรภ์เป็นอย่างมากเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ลูก ซึ่งทำถูกต้องและทำดี จะทำให้ผู้ป่วยที่เด็กในรายใหม่จะลดน้อยลง ซึ่งในปัจจุบันกระทรางสาธารณสุขได้จัดสรรยาต้านไวรัส ในหญิงที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นยา Zidovudine (AZT) และ Nepirapine (NVP) ไม่เพียงเท่านี้ทางกระทรวงสาธารณสุขยังมอบนมผงให้แก่เด็กทารกนาน 1 ปี ให้เพียงพอทั่วประเทศ ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับการชื่นชมในเรื่องการป้องกันการติดเชื้อ HIV จากแม่สู่ลูก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การตรวนเลือดเพื่อค้นหาเชื้อในเพศหญิงตั้งครรภ์ จึงจำเป็นต้องทำให้ทุกราย และการคาดการในอนาคตจะมีเด็กติดเชื้อรายใหม่ที่เกิดน้อยลง ส่งผลทำให้ผู้ป่วยไม่เพิ่มขึ้น จะทำให้มีทรัพยากรเหลือมาดูแลรักษาเด็กที่ติดเชื้อไปแล้วได้ดีมากยิ่งขึ้น

    อาการการติดเชื้อไวรัส HIV ในเด็ก

    การแสดงอาการของเด็กที่ติดเชื้อไวรัส HIV

    • ตับ ม้ามโต มีการอักเสบที่ผิวหนัง และเจ็บป่วยบ่อย
    • มีอาการท้องเสียบ่อย ช่องปากมีฝ้าขาวที่เกิดจากเชื้อรา
    • ปอด เยื้อหุ้มสมอง ในเชื้อรา ร่างกายซูบผอมมาก และมีพัฒนาการที่ช้า

    แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ติดเชื้ออาจไม่แสดงอาการใดๆ และอาจมีสุขภาพที่แข็งแรง ได้หลายปี ดังนั้นวิธีการตรวจเลือดเป็นวิธีเดียวที่จะวินิจฉัยผู้ที่ติดเชื้อ HIV ได้อย่างแน่นอน ดังนั้น หากมีอาการน่าสงสัยควรตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อดีที่สุด

    การรักษาการติดเชื้อไวรัส HIV และโรคเอดส์ในเด็ก

    ในปัจจุบันทางการแพทย์ได้คิดค้นยาต้านไวรัส HIV ซึ่งมีความสามารถลดปริมาณเชื้อ HIV ทำให้ผู้ป่วยแข็งแรงใกล้เคียงเป็นปกติได้ แต่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และโรคนี้จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง แต่ทั้งนี้การเริ่มใช้ยาต้าน HIV จำเป็นต้องอยู่ในดุลพินิจของแพทย์

    การรับประทานยาต้านอย่างสม่ำเสมอ ตรงต่อเวลา มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีผลต่อระดับยาในเลือดอย่างสม่ำเสมอ สามารถลดจำนวนเชื้อไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาวะใดๆ ที่สามารถทำให้ระดับยาในเลือดลดลง อย่างเช่น การขาดยา กินยาไม่ตรงเวลา หรือไม่กินยาตามหมอสั่ง จะส่งผลให้เชื้อไวรัสเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว ทำให้โรคต่างๆกำเริบได้ง่าย

    ในการลดปริมาณไวรัส HIV ให้น้อยที่สุดจะเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญที่เป็นเครื่องป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยกลายเป็นโรคเอดส์และส่งผลให้เสียชีวิต ไม่เพียงเท่านี้ การรับประทานยาต้าน จะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยดื้อยา เพราะหากู้ป่วยดื้อยา จะทำให้สูตรยาที่จะรักษาได้ มีปริมาณที่น้อยลง ดังนั้นการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้มีโอกาสรักษาหายในอนาคต

    วิธีการรักษาด้วยยาต้านไวรัส HIV สามารถเกิดผลข้างเคียงขึ้นมาได้ หากมีปัญหาจากการรับยา ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง และเนื่องด้วยเชื้อไวรัส HIV อาจมีปฎิกริยากับตัวยาตัวอื่น ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง และควรแจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้งเมื่อใช้ยาร่วม

    วิธีการป้องกันการติดเชื้อ HIV ไปสู่เด็ก

    • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
    • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ไม่รู้สถานะการมีเพศสัมพันธ์ หรือผู้ที่มีประวัติการใช้ยาเสพติดที่ใช้เข็มฉีดยาเข้าเส้น หรือมีประวัติการมีเพศสัมพันธ์แบบรักร่วมเพศ หรือมีเพศสัมพันธ์กับหญิงที่ค้าประเวณี เป็นต้น
    • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์แบบฉาบฉวย ไม่สวมถุงยางอนามัย เช่น มีเพศสัมพันธ์ในยณะมึนเมา หรือใช้ยาเสพติด
    • หากคุณเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส โรคหนองใน หรือมีแผลบริเวณอวัยวะเพศ ควรต้องรักษาให้หายก่อน เพราะหากมีเพศสัมพันธ์ในขณะที่คุณยังเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV
    • หยุดการใช้สารเสพติดทุกชนิด โดยเฉพาการใช้เข็มฉีดเข้าเส้นเลือด และไม่ควรใช้เข็มฉีดยาร่วมกับคนอื่น
    • ไม่ใช้มีดโกนต่างๆ แปรงสีฟัน กรรไกรตัดเล็บ ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ HIV
    • สำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์ หรือประสงค์ที่จะตั้งครรภ์ ควรที่จะต้องได้รับการตรวจหาเชื้อ HIV หากพบว่ามีการติดเชื้อเอชไอวี การให้ยาต้านไวรัสเอชไอวี ในมารดาช่วงตั้งครรภ์และในทารกแรกเกิด ร่วมกับงดกินนมมารดา สามารถลดอัตราการติดเชื้อจากมารดาสู่ทารกได้เป็นอย่างมาก

    วิธีการดูแลเด็กที่ติดเชื้อ HIV

    เด็กที่ติดเชื้อไวรัส HIV ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่มากกว่าเด็กคนอื่นทั่วไป ซึ่งเด็กที่ติดเชื้อจะต้องได้รับอาหารที่มีประโยชน์ตามความเหมาะสมตามวัย ควรส่งเสริมให้เด็กได้ทำกิจกรรมต่างๆ ออกกำลังกายที่เหมาะสม ส่งเสริมการศึกษาเหมือนเด็กทั่วไป ไม่จำกัดการเล่นกิจกรรมต่างๆ กับเด็กคนอื่น ไม่เพียงเท่านี้ยังมีข้อควรระวังให้เป็นพิเศษ ดังนี้

    • รับประทานอาหารและน้ำต้มสุก สะอาด
    • ดูแลส่งเสริมสุขอนามัยส่วนบุคคล โดยเฉพาะเรื่องความสะอาด เช่นควรการล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง ดูแลสิ่งแวดล้อมให้สะอาดอยู่เสมอ
    • งดเลี้ยงสัตว์เลี้ยงทุกชนิด เพราะเป็นแหล่งรวมเชื้อต่างๆ
    • ไม่ควรให้เด็กเล่นของเล่นที่มีลักษณะแหลมคม ควรทำมาจากพลาสติก และสามารถล้างทำความสะอาดได้
    • เมื่อเด็กเจ็บป่วย ควรพาไปพบแพทย์ และเมื่อมีคนในบ้านเจ็บป่วยเป็นโรคติดต่อ หรือเด็กสัมผัสโรคที่อาจเป็นอันตรายได้ เช่น โรคอีสุกอีใส หัด วัณโรค ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
    • ควรพาเด็กไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
    • ก่อนจะรับวัคซีนใดๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง
    • เมื่อมีบาดแผลเลือดออก หรือเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก ควรสอนการดูแล ทำความสะอาด และปิดแผล
    • หลีกเลี่ยงการใช้มือเปล่าสัมผัสเลือด น้ำเหลือง และน้ำมูกของเด็ก ควรใช้สิ่งปกป้องการสัมผัสโดยตรง เช่น ถุงมือ ถุงพลาสติก ผ้า กระดาษทิชชู เป็นต้น

    วิธีการเปิดเผยสถานะการติดเชื้อของเด็ก ให้ตัวเด็กและผู้อื่น

    ปกติแล้ว เด็กที่เป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV จะไม่แพร่เชื้อให้แก่ผู้ใกล้ชิด จึงจะไม่เป็นอุปสรรคในการทำกิจวัตรประจำวันให้กับผู้อื่น ดังนั้น แพทยสภาจึงมีข้อแนะนำว่าไม่จำเป็นต้องเปิดเผยต่อสาธารณะให้รับทราบ เว้นแต่ในกรณีที่เกิดการสัมผัสเลือด น้ำหนอง กันโดยตรง เช่น เด็กทะเลาะกันและกันกัน เป็นต้น

    ในเด็กเล็กที่ติดเชื้อ HIV มักจะไม่ทราบว่าตัวเองนั้นติดเชื้อ แต่เมื่อเด็กโตขึ้นมีอายุมากขึ้น เด็กจำเป็นต้องรู้และรับรู้การวินิจฉัยโรคของตัวเอง รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้ เพื่อในการดำรงชีวิตและปฏิบัติตนในสังคมได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจถึงความจำเป็นของการต้องรับยาอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้มีวินัยของการกินยามากขึ้น

    ในการเปิดเผยสถานะการติดเชื้อควรที่จะทำเมื่อเด็กเข้าสู่วัยรุ่น โดยเฉพาะในช่วงที่จะเริ่มมีเพศสัมพันธ์ เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อให้กับผู้อื่น

    ในการบอกสถานะการติดเชื้อ HIV ให้กับเด็กได้รับทราบต้องระมัดระวัง ต้องเตรียมความพร้อม และทำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเรื่องแบบนี้ต้องใช้เวลาให้เด็กได้ทำใจและค่อยๆ ปรับตัว และเมื่อได้เปิดเผยต่อเด็กแล้ว ต้องมีการติดตามผลและครอบครัวต่อไป

    การปฏิบัติตนและข้อจำกัดในการใช้ชีวิตของเด็กที่ติดเชื้อ HIV

    โดยปกติทั่วไปเด็กที่ติดเชื่อไวรัส HIV ไม่มีข้อห้ามในการดำเนินชีวิตประจำวันแต่อย่างใด แต่ก็ยังมีเรื่องที่แตกต่างคือในเรื่องของอาหารที่ปรุงสุกและน้ำที่สะอาด ไม่ควรที่รับประทานอาหารที่สุกๆดิบๆ เพราะอาจมีผลต่อเชื้อไวรัสได้

    เชื้อไวรัส HIV จะไม่ติดต่อผ่านทางการสัมผัส ซึ่งเด็กสามารถไปโรงเรียนได้ตามปกติ แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดแผลได้ เช่น กีฬาที่ต้องประทะที่อาจทำให้เกิดบาดแผลได้

    การเตรียมความพร้อมเมื่อเด็กที่ติดเชื้อ HIV เข้าสู่วัยรุ่น

    วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและอารมณ์ ในด้านของการเจริญเติบโตเด็กผู้หญิงเริ่มมีประจำเดือน ส่วนเด็กผู้ชายจะสามารถหลั่งน้ำอสุจิได้ เด็กควรได้รับการสอนสุขลักษณะอนามัยที่ดี เช่น ล้างมือก่อนและหลังจากเข้าห้องน้ำ ผ้าอนามัยที่ใช้แล้ว วัสดุที่ปนเปื้อนเลือดหรือน้ำอสุจิ ควรห่อกระดาษหรือใส่ถุงก่อนทิ้งลงในถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด เป็นต้น นอกจากนั้นควรเน้นในเรื่องของการไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร หากมีเพศสัมพันธ์ ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ส่วนในด้านของจิตใจ อารมณ์ และการปรับตัวในสังคม เด็กที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง อาจมีปัญหาในเรื่องของพฤติกรรม การกินยาอย่างสม่ำเสมอ ความมั่นใจในตนเอง ผู้ดูแลควรคอยสังเกต และเป็นที่ปรึกษาให้แก่เด็กอย่างใกล้ชิด รวมทั้งอาจช่วยวางแนวทางในการเลือกอาชีพด้วย

    ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีนั้น โดยทั่วไปไม่มีข้อจำกัดในการทำอาชีพใด ๆ ยกเว้นควรหลีกเลี่ยงในบางอาชีพ ที่เสี่ยงต่อการสัมผัสปนเปื้อนเลือดโดยตรงได้ เช่น แพทย์หรือพยาบาลที่ทำการผ่าตัด เป็นต้น

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • โรคภูมิแพ้ตัวเองในเด็ก (SLE)

    โรคภูมิแพ้ตัวเองในเด็ก (SLE)

    โรคภูมิแพ้ตัวเองในเด็ก (SLE) หรือชื้อเต็มๆคือ Systemic Lupus Erythematosus หรือเป็นที่รู้จักของคนไทยทั่วไปคือ “โรคพุ่มพวง” เพราะนักร้องลูกทุ่งชื่อดัง “พุ่มพวง ดวงจันทร์” ถึงแก่ชีวิตด้วยโรคนี้ และเนื่องจากโรคนี้น้อยคนที่จะเป็นโรคนี้ ในครั้งนั้เรามาทำความรู้จักโรคภูมแพ้ตัวเอง SLE ว่าคือโรคอะไร อันตรายอย่างไร และวิธ๊ป้องกันและรักษาอย่างไรกันค่ะ

    โรคภูมิแพ้ตัวเอง คืออะไร

    โรคภูมิแพ้ตัวเอง หรือ SLE เป็นโรคที่มีความบกพร่องของภูมิคุ้มกันชนิดหนึ่ง แต่อย่าสับสนกับ HIV เพราะภูมิคุ้มกันบกพร่องนั้นเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HIV ที่เข้าไปทำลายภูมิคุ้มกัน แต่สำหรับ SLE คือความบกพร่องของภูมิคุ้มกันชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แอนติบอดี้ ที่ส่วนมากจะอยู่ในเม็ดเลือดขาว ที่จะทำหน้าที่ในการกำจัดสิ่งแปลกปลอม และทำหน้าที่ต้านเชื้อโรคที่เข้ามาสู่ร่างกาย แต่เนื่องจากเกิดความผิดปกติของ แอนติบอดี้ คือไม่สามารถจดจำเนื้อเยื้อในร่างกายได้ และสร้างภูมิคุ้มกันมาเพื่อทำลายเนื้อเยื้อตัวเองทั่วร่างกาย มิหน่ำซ้ำยังสร้างขึ้นมาโดยอัตโนมัติโดยไม่สามารถควบคุมการทำงานได้ ในบางครั้งนอกจากโรคพุ่มพวงแล้ว ยังเรียกว่าโรคพันหน้า เนื่องจากสามารถแสดงอาการทางร่างกาได้หลายระบบและมีความเด่นชัดของอาการแตกต่างกันออกไป เช่น อาจจะแสดงอาการผื่นผิวหนัง ข้ออักเสบ เยื้อหุ้มปอดอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ไตอักเสบ หรือมีความดันโลหิตสูง

    สาเหตุของโรคภูมิแพ้ตัวเอง

    โรคเอสแอลอีเป็นโรคไม่ติดต่อ เป็นโรคที่เกิดจากภูมิต้านทานทำร้ายตนเอง โดยภูมิต้านทานไม่สามารถแยกแยะระหว่างสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายกับเซลล์และเนื้อเยื่อของตนเองทำให้ภูมิต้านทานคิดว่าเซลล์ปกตินั้น เป็นสิ่งแปลกปลอมจึงได้ไปทำร้ายเซลล์นั้นซึ่งผลทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะนั้นๆ (ข้อ ไต ผิวหนัง เป็นต้น) การอักเสบหมายถึงการที่ส่วนของ ร่างกายมีการร้อน แดง บวม และอาจปวดได้ ถ้ามีการอักเสบเป็นระยะเวลา นานอย่าง เช่นในโรคเอสแอลอีก็จะทำให้เนื้อเยื่อนั้นถูกทำลายและไม่ สามารถทำหน้าที่ได้ปกติ ดังนั้นจุดประสงค์ของการรักษาคือการลดการ อักเสบนั่นเอง
    ปัจจัยทางด้านพันธุกรรมร่วมกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมส่งผลให้เกิดความผิดปกติของระบบภูมิต้านทานในร่างกาย เป็นที่ทราบกันว่าโรคเอสแอลอีนั้นสามารถเกิดจากการกระตุ้นได้จาก หลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ความไม่สมดุลของฮอร์โมนในวัยเจริญพันธ์ ความเครียด ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเช่น แสงแดด การติดเชื้อไวรัส ยา (เช่น ไอโซไนอาซิด ไฮดราลาซีน โพรเคนาไมด์ และกลุ่มยากันชัก)

    ความแตกต่างของโรค SLE ระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่

    ผู้ป่วยที่เป็นเด็กจะมีอยู่ร้อยละ 15-20 จะมีอายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ ซึ่งเกิดโรคได้ตั้งแต่หลังคลอดไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ แต่ส่วนมากเด็กที่ป่วยในโรคนี้จะพบได้ช่วง 10-14 ปี มากที่สุด และมากรองลงมาคือ15-19 และ5-9 ปี ตามลำดับ ซึ่งโดยทั่วไปอาการที่เกิดขึ้นกับเด็กจะพบว่ามีอาการทางข้อ ผอวหนัง ไต และอาการทางประสาท ซึ่งโรค SLE ในเด็กจะมีความรุนแรงมากกว่าผู้ใหญ่ และมีอาการกำเริบเร็วมากกว่าผู้ใหญ่ ส่งผลทำให้การรักษาต้องเร็วกว่าผู้ใหญ่ เพื่อหลีกเลี่ยงผลของโรคในระยะยาว

    อาการของโรคภูมิแพ้ตัวเอง

    • จะมีอาการปวด บวมตามข้อกระดูก หรือในเด็กบางราย หากได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ก็อาจจะมีอาการรูมาตอยด์อักเสบ
    • อาจจะมีอาการไข้โดยไม่มีสาเหตุ หรือมีแผลในปากเป็นบ่อยๆ หายๆ
    • มีความอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เพราะเกิดจากความผิดปกติของระบบหมุนเวียนเลือด
    • เป็นผื่นที่แก้ม รูปผีเสื้อ ที่เกิดจากการแสงแดด
    • มีอาการเจ็บหน้าอกเมื่อหายใจลึกๆ
    • มีอาการผลร่วง
    • บริเวณปลายนิ้วเปลี่ยนเป็นสีม่วงเมื่อโดนอาการเย็น
    • มีอาการเท้าบวม ที่ผลมาจากการอักเสบของไต รวมถึงมีอาการผิดปกติปัสสาวะผิดปกติ
    • บางรายอาจมีความผิดปกติทางระบบประสาท

    การรักษาโรค SLE

    สำหรับลูกของคุณแม่มีอาการผิดปกติเมื่ออาการที่กล่าวไว้ดังกล่าวข้างต้น และเป็นบ่อยควรรีบพาลูกของคุณแม่พบแพทย์โดยด่วนเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษา ซึ่งการรักษาโรค จะรักษากันไปตามอาการ และมักได้รับยาเพื่อกดภูมิคุ้มกันที่เหมาะสมกับระดับความรุนแรงของโรค เนื่องจากยาที่รักษาโรคนี้เป็นยาที่มีผลข้างเคียงสูง และควรได้รับการติดตามผลการรักษาโดยแพทย์ จึงไม่ควรซื้อยาเพื่อรับประทานเองค่ะ

    การป้องกันโรคภูมิแพ้ตัวเอง SLE

    โรคเอสแอลอีไม่สามารถป้องกันได้ อย่างไรก็ตามเด็กที่เป็นโรคควรจะ หลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งที่อาจกระตุ้นให้ เกิดโรคหรือทำให้โรคกำเริบได้ (เช่น สัมผัสแดดโดดไม่ทาครีมกันแดด เชื้อไวรัสบางชนิด ความเครียด ฮอร์โมน และยาบางอย่าง)

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • ภาวะน้ำตาเอ่อล้นในเด็ก

    ภาวะน้ำตาเอ่อล้นในเด็ก

    ภาวะน้ำตาไหลเอ่อล้นเป็นภาวะที่พบบ่อยในเด็กทารก อาจเกิดจากท่อน้ำตาอุดตัน การติดเชื้อหรือโรคภูมิแพ้ค่ะ ถึงอย่างไรก็ตามในบางกรณีอาจบ่งบอกถึงภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้เช่นกันค่ะ บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจถึงสาเหตุการรักษาและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอาการน้ำตาไหลในทารกค่ะ

    ภาวะน้ำตาเอ่อล้นในเด็กคืออะไร

    ภาวะน้ำตาเอ่อ (Epiphora) คืออาการน้ำตาไหลอยู่เสมอ น้ำตาเอ่อล้นอย่างต่อเนื่องหรือในปริมาณที่มากเกินไปทำให้เกิดอาการตาแฉะค่ะ ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุหลายประการที่แตกต่างกันของอาการน้ำตาไหลในทารกและเด็กเล็กต้องได้รับการรักษาที่แตกต่างกันค่ะ โดยส่วนใหญ่ทารกมีอาการน้ำตาไหลมักเกิดจากท่อน้ำตาอุดตันซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ค่ะ

    สาเหตุของน้ำตาไหลในทารก

    ภาวะน้ำตาเอ่อล้น หรือลูกมีอาการตาแฉะจากน้ำตาไหลอยู่เสมอ แม้ว่าภาวะดังกล่าวจะไม่ร้ายแรงและสามารถรักษาให้หายได้ค่ะ โดยสาเหตุของอาการน้ำตาไหลในทารกอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุดังนี้

    • การผลิตน้ำตามากเกินไป การระคายเคืองตามักมีส่วนทำให้น้ำตาหลั่งออกมามากเกินไปเพื่อล้างสิ่งระคายเคืองออก เช่น ควัน ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ แมลงขนาดเล็ก เป็นต้น ซึ่งรวมถึงภาวะเยื่อบุตาอักเสบทำให้ดวงตาผลิตน้ำตาออกมามากเกินไปค่ะ
    • ท่อน้ำตาอุดตัน ลูกน้อยของคุณอาจมีอาการน้ำตาไหลเนื่องจากท่อน้ำตาอุดตัน ท่อน้ำตามีหน้าที่ระบายของเหลวออกจากดวงตาเพื่อไม่ให้เกิดการสะสม อย่างไรก็ตามหากท่อน้ำตาของทารกอุดตันระบบระบายน้ำอาจทำงานผิดปกติได้ค่ะ
    • การติดเชื้อ เช่น โรคตาแดง ซึ่งเป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่งค่ะสามารถติดต่อกันได้ง่าย การติดเชื้อเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการรุนแรงได้ เช่น บวม แสบร้อน เป็นต้น
    • อาการแพ้ ลูกน้อยของคุณอาจมีน้ำตาไหลหรือตาแดงเนื่องจากโรคภูมิแพ้ อาจทำให้เกิดอาการแพ้ในตาซึ่งทำให้มีน้ำตาเอ่อล้น หรือน้ำไหลมากกว่าปกติได้เช่นกันค่ะ

    การรักษาภาวะน้ำตาเอ่อล้นในเด็ก

    เนื่องจากสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้นการรักษาจึงเป็นการรักษาตามสาเหตุของการเกิดภาวะดังกล่าว หากไม่มีอาการรุนแรงหรืออาการข้างเคียงใดๆคุณแม่สามารถดูแลดวงตาของลูกน้อยเบื้องต้นได้ดังนี้

    • ทำความสะอาดดวงตาของทารกด้วยผ้าฝ้ายชุบน้ำสะอาด เช็ดเบาๆจากหัวตาไปหางตาเพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อแบคทีเรียหรือสารเคมีค่ะ
    • การนวดท่อน้ำตาวันละสองสามครั้งโดยใช้แรงกดเบาๆจะช่วยคลายการอุดตันได้ค่ะ
    • การใช้ยาตาปฏิชีวนะสามารถช่วยบรรเทาอาการที่อาจเกิดจากการติดเชื้อได้ค่ะ ซึ่งการใช้ยาต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
    • กรณีการล้างตาเพื่อขจัดสิ่งระคายเคืองใดๆ ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของจักษุแพทย์เด็กเท่านั้นค่ะ

    ควรไปพบแพทย์เมื่อใด

    หากลูกของคุณมีอาการน้ำตาไหลต่อเนื่อง ร่วมกับอย่างต่างๆต่อไปนี้ควรพบแพทย์ทันที่เพื่อวินิจฉัยสาเหตุและรับการรักษาที่ถูกต้องค่ะ

    • การอักเสบ ตาแดงหรือรอยแดงรอบดวงตา
    • ขี้ตามีเขียวอมเหลืองปริมาณมากและก่อตัวเป็นเปลือกแข็งรอบดวงตา
    • ทารกของคุณขยี้ตาอย่างต่อเนื่องหรือแสดงอาการไม่สบายตัว
    • ลูกน้อยของคุณไวต่อแสงและชอบที่จะหลับตาเมื่อเจอแสง
    • ฯลฯ

    ภาวะน้ำตาเอ่อ (Epiphora) เป็นภาวะที่พบบ่อยในเด็กทารกค่ะ ดังนั้นคุณแม่ไม่จำเป็นต้องวิตกกังวลหากลูกน้อยไม่มีอาการอื่นๆร่วมด้วย หรือหากมีข้อสงสัยคุณแม่สามารถพาลูกน้อยเข้าพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • 7 อาหารสำหรับลูกท้องผูก

    7 อาหารสำหรับลูกท้องผูก

    ลูกท้องผูกเป็นอาการที่ไม่เหมือนอาการของโรคทั่วไปที่จะแสดงอาการที่ส่งสัญญาณอาการออกมาได้ ต้องใช้การสังเกตอาการ และสาเหตุของอาการท้องผูกของลูก ซึ่งโดยปกติ เด็กอายุเข้า 6 เดือน และเมื่อลูกท้องผูกคนเป็นพ่อเป็นแม่ก็เริ่มมีความกังวล และอาจคิดว่าต้องไปหาหมอเพียงเท่านั้น แต่ความเป็นจริงไม่จำเป็นเสมอไป เพราะมันมีวิธีเช่น การเปลี่ยนการกิน และการนวดช่วย สำหรับในครั้งนี้ จะขอแนะนำอาหารสำหรับเด็กที่กำลังมีอาการท้องผูก

    อาหารสำหรับลูกท้องผูก

    เมื่อลูกมีอาการท้องผูก อย่างแรกที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำแบบง่ายๆ คือ การเลือกอาหารที่ช่วยให้มีการขับถ่ายได้ดี ดังนั้น อาหารที่ควรพยายามเพิ่มอาหารที่มีเส้นใยอาหารให้ลูกมากขึ้น ซึ่งเส้นใยมีมากในผัก และผลไม้ ดังนี้

    ลูกพรุน

    เป็นผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูง มีสรรพคุณเป็นยาระบายจากธรรมชาติ ไม่เพียงเท่านี้ลูกพรุนยังมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเด็กอย่างมาก

    บล๊อกโคลี่

    เป็นผักที่มีประโยชน์และสารอาหารมากมาย และยังมีไฟเบอร์สูง เหมาะสำหรับในการไปประกอบอาหารให้ลูกรับประทานเป็นอย่างยิ่ง เพื่อช่วยให้ระบบขับถ่ายได้ดี

    ลูกแพร์

    เป็นอีกผลไม้ชนิดหนึ่งที่มีเส้นใยอาหารสูง จึงมีสรรพคุณในการช่วยระบบขับถ่ายได้ดี และยังมีสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

    เมล็ดแฟลกซ์

    เป็นพื้ชที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นมากมาย โดยเฉพาะมีไขมันอย่างกรดโอเมก้า 3 ที่ช่วยให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้ดี

    น้ำสับปะรด

    จะช่วยให้เรื่องระบบขับถ่าย แต่ข้อควรระวังไม่ควรรับประทานในขณะที่กำลังท้องว่าง

    ลูกพีช

    จะช่วยในบรรเทาอาการไม่ให้ท้องผูก อีกทั้งยังช่วยให้มีความสดชื่น ผิวพรรณดี และยังทำให้มีสุขภาพดีอีกด้วย

    แครอท

    แครอทไม่ว่าดิบหรือสุกก็มีประโยชน์ต่อการขับถ่ายของลูกน้อยเพราะแครอทมีไฟเบอร์สูง หากเด็กไม่ชอบกินผักสามารถนำแครอทมาปั่นทำน้ำแครอทให้เด็กทานได้

    วิธีดูแลเมื่อลูกมีอาการท้องผูก

    • ดื่มนมวันละไม่เกิน 32 ออนซ์ (นมมีแคลเซียมสูงมักจับกับไขมัน เกิดก้อนแข็ง) ดื่มนมมากเกินมักทำให้ท้องผูก
    • กินอาหารเด็กตามวัย โดยให้อัตราส่วนของข้าว:เนื้อสัตว์:ผักผลไม้ เท่ากับ 2:1:1
    • ให้ข้าวซ้อมมือกับลูก หรือขนมปังโฮลวีต เพราะมีกากใยอาหารมากกว่าข้าวหรือแป้งสาลีขาว ทำให้ถ่ายง่ายขึ้น
    • ให้กินผักผลไม้สดที่มีใยอาหารมาก เช่น ส้มทั้งกลีบ ชมพู่ มะละกอ และดื่มน้ำมากขึ้น ส่วนอาหารว่างควรเป็นผลไม้ ไม่ควรตามใจให้กินแต่ขนมหวาน
    • พาลูกไปนั่งถ่ายอุจจาระหลังรับประทานอาหารทุกมื้อ
    • ออกกำลังกายกล้ามเนื้อหน้าท้องจะได้แข็งแรง มีแรงเบ่ง ในทารกการนวดหน้าท้องแบบรูปตัว U กลับหัว ช่วยกระตุ้นให้ลำไส้เคลื่อนไหวบีบตัวขับอุจจาระออกได้ กรณีท้องผูกเรื้อรัง อาจต้องให้ยาระบายระยะหนึ่ง เพื่อให้ลำไส้ทำงานได้ปกติ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • วิธีนวดท้องลูกแก้ท้องผูก

    วิธีนวดท้องลูกแก้ท้องผูก

    ลูกท้องผูก เป็นปัญหาสุขภาพที่เด็กทารกมักเป็น คุณพ่อคุณแม่ควรเอาใจใส่ให้เป็นพิเศษ เนื่องจากอาการท้องผูกจะไม่เหมือนกับอาการทั่วไปที่ทารกจะแสดงอาการออกมาเพื่อส่งสัญญาณให้พ่อแม่ได้รู้ โดยปกติแล้วเด็กทารกเมื่อเข้าสู่วัย 6 เดือน เด็กจะขับถ่ายวันละ 1-2 ครั้ง หรือสัปดาห์ละ 5-28 ครั้ง แต่ทั้งนี้เด็กอาจจะไม่ได้ถ่ายทุกวัน ซึ่งแสดงว่าหากลูกไม่ถ่าย ก็ไม่ถือว่าเด็กมีอาการท้องผูก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่หากมีความสงสัยว่าลูกท้องผูก ต้องสังเกตุอาการอื่นร่วมด้วย

    คุณพ่อคุณแม่มักมีความกังวลเมื่อลูกท้องผูก และคิดว่าต้องพาไปหาหมอเท่านั้น ซึ่งหากลูกอาการไม่หนักก็ไม่จำเป็นที่คุณมีวิธีในการแก้ลูกท้องผูกได้ ซึ่งในครั้งนี้จะขอแนะนำ 1 วิธี คือวิธีการนวดท้องลูกแก้ท้องผูกได้ แต่ก่อนจะเข้าเรื่องเรามาทราบก่อนว่าอาการและสาเหตุอาการท้องผูกของลูกเกิดจากอะไร

    อาการลูกท้องผูก

    โดยปกติทั่วไป เด็กแต่ละคนจะมีความถี่ในการถ่ายแตกต่างกันออกไป ซึ่งขึ้นอยู่กับอาหารการกิน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นในการสังเกตุอาการหรือความผิดปกติในการขับถ่าย ซึ่งอาการที่จะแสดงว่าลูกท้องผูกมี ดังนี้

    • มีการขับถ่ายน้อย ซึ่งในแต่ละวันลูกจะขับถ่ายในจำนวนที่ไม่แน่นอน ยิ่งโดยเฉพาะในช่วงที่ลูกอยู่ในระหว่างการสลับเปลี่ยนการกินนมมากินอาหารอื่น อยู่ในช่วงที่กระเพาะอาหารของลูกอยู่ในระหว่างการปรับตัว แต่อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่สังเกตุว่าลูกไม่ยอมขับถ่ายติดต่อกันเป็นเวลานาน 2-3 วัน ให้คุณแม่คิดไว้เลยว่าลูกอาจจะท้องผูกได้
    • ลูกต้องใช้แรงเบ่งอุจจาระ หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตุเห็นลูกต้องออกแรงเบ่งอุจจาระมากกว่าปกติ หรือมีความงอแงทุกครั้งเมื่อต้องขับถ่าย หากเป็นลักษณะนี้ ลูกอาจเป็นท้องผูกได้
    • อุจจาระของลูกมีเลือดปน หากอุจจาระของลูกมีเลือดปนที่เกิดจากท้องผูก เนื่องจากผนังทวารหนักฉีกขาดที่มามากออกแรงเบ่งอุจจาระ
    • ลูกไม่ยอมกินอาหาร หากลูกท้องผูก ลูกจะไม่ยอมกินอาหาร เนื่องจากลูกมีอาการไม่สบายท้องและอึดอัดที่เหตุมาจากไม่ได้ขับของเสีย
    • ลูกท้องแข็ง ท้องของลูกจะมีลักษณะตึง แน่น หรือแช็ง ซึ่งจะเป็นอาการท้องอืดร่วมด้วย

    สาเหตุของอาการลูกท้องผูกที่มีอายุ 6 เดือนขึ้นไป

    นมชง ซึ่งเด็กที่รับประทานเฉพาะนมชงเพียงอย่างเดียว มีความเสี่ยงต่ออาการท้องผูกสูง เพราะนมชงจะมีส่วนผสมที่ส่งผลทำให้ระบบย่อยอาหารของลูกทำงานหนัก ทำให้ลูกอุจจาระออกมาเป็นก้อน ไม่เพียงเท่านี้ หากเด็กที่มีอาการแพ้โปรตีนนมก็เกิดอาการท้องผูกได้เช่นกัน

    อาหาร เด็กอาจมีอาการท้องผูกที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงการกินอาหารจากการกินนมมาเป็นกินอาหารอื่น เนื่องจากเด็กได้รับของเหลวในปริมาณที่ไม่เท่าเดิม อีกทั้งอาหารบางชนิดมีปริมาณเส้นใยอาหารต่ำ ส่งผลทำให้เด็กมีอาการท้องผูก

    มีภาวะขาดน้ำ หากลูกมีภาวะขาดน้ำ หรือได้รับน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ร่างกายของลูกจะไปซึมซับน้ำที่มาจากอาหารเข้าไป รวมทั้งน้ำจากกากของเสียในร่างกาย ทำให้อุจจาระของลูกแห้งส่งผลทำให้ขับถ่ายยาก

    ลูกป่วย ปัญหาสุขภาพของลูกก็ส่งผลทำให้ลูกมีภาวะท้องผูกได้

    วิธีนวดท้องลูกแก้ท้องผูก

    คุณพ่อคุณแม่หลายท่านคงยังไม่ทราบว่าวิธีการแก้ปัญหาโรคท้องผูกสามารถทำได้โดยไม่ต้องพึงหมอเพียงอย่างเดียว (หากอาการไม่รุนแรง) คือ การนวดท้องของลูกให้ลดอาการจุกเสียดและท้องผูกได้ โดยมีวิธีการนวดที่ถูกต้อง ต่อไปนี้

    1. จับลูกนอนหงายในลักษณะนำลำตัวเข้าหา และนำเบบี้อาย น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันงา ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวควรเป็นผลิตภัณฑ์ที่สกัดจากธรรมชาติและเหมาะสมสำหรับผิวเด็กด้วย จากนั้นเทใส่มือ ถูเบาๆที่ฝ่ามือก่อนนวด
    2. ใช้ปลายนิ้วนวดบริเวณศีรษะของลูกเบาเพื่อดูว่าลูกจะส่งสัญญาณการงอแงหรือไม่
    3. เทผลิตภัณฑ์ที่เตรียมไว้ขยีบนฝามือเบาก่อนการนวด
    4. วางมือของคุณแม่ลงบนหน้าท้องของลูก และถูลงมาในลักษณะเป็นเส้นตรง จากหน้าท้องไปยังขาหนีบ
    5. จากนั้นใช้ปลายนิ้วโป้งทั้ง 2 ข้างจรดชนกัน จากนั้นลางออกทั้ง 2 ข้าง ทำซ้ำอย่างเบามือ
    6. นวดในลักษณะใช้ฝ่ามือลงวนในทิศทาง 7 นาฬิกาไปถึง 5 นาฟิกา
    7. นวดในลักษณะเป็นรูปพระจันทร์เสี่ยว
    8. นวดในลักษณะใช้ 2 มือสลับกัน โดยมือข้างซ้ายนวดตรงบริเวณ กึ่งกลางหน้าท้องไปยังขาหนีบ ส่วนมือขวานวดจากขาหนีบด้านซ้ายวนไปถึงขาหนีบด้านขวา ทำสลับ 2 มือ
    9. เมื่อนวดหน้าท้องเสร็จแล้วให้ใช้มือน้ำข้อเท้าลูกทั้ง 2 ข้าง และยกขึ้นลงเบา เพื่อผ่อนคลายท้องของลูก
    10. จากนั้นยกข้อเท้าลูกทั้ง 2 ข้างและดันขาไปลูกไปยังหน้าท้องในลักษณะงอเข่าเพื่อเป็นการผ่อนคลายท้องของลูก
    11. ทำซ้ำทั้งหมด 3 ครั้ง
    12. สุดท้ายให้วางฝามือไว้หน้าท้องลูกทั้ง 2 ข้างวางไว้เฉยๆ สักครู่ และปิดท้ายด้วยการอุ้มขึ้นมากอด เป็นอันเสร็จสื้น

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • ลูกชอบขยี้ตา สาเหตุและการป้องกัน

    ลูกชอบขยี้ตา สาเหตุและการป้องกัน

    ลูกชอบขยี้ตาบ่อย เป็นพฤติกรรมปกติที่ทารกจะขยี้ตาเมื่อรู้สึกเหนื่อยหรือง่วงนอน แต่ในบางกรณีลูกน้อยของคุณอาจรู้สึกระคายเคืองเนื่องจากฝุ่นละออง ขนตาเข้าตา การติดเชื้อที่ตาหรือแม้แต่โรคภูมิแพ้ค่ะ ดังนั้นเมื่อลูกน้อยของคุณขยี้ตาอาจเป็นสัญญาณเตือนบางอย่างที่เกิดขึ้นกับดวงตาของลูกน้อยได้ค่ะ ซึ่งจะมีสาเหตุและการป้องกันอย่างไรนั้นตามมาเลยจ้า

    ทารกขยี้ตาบ่อยเกิดจากอะไร

    นอกจากความง่วงนอนและความเหนื่อยล้าแล้วยังมีสาเหตุอื่นๆอีกที่ทำให้ทารกขยี้ตาบ่อยได้ค่ะ อาทิเช่น

    • ง่วงนอน บางครั้งลูกของคุณอาจหาวร่วมกับการขยี้ตาด้วย ซึ่งนั่นหมายความว่าเขาง่วงและเหนื่อย เมื่อคุณเหนื่อยดวงตาของคุณจะเหนื่อยล้า นั่นเป็นเหตุผลที่เด็กทารกขยี้ตามักขยี้ตาค่ะ
    • ตาแห้ง เมื่อแห้งเกินไปทำให้เกิดการระคายเคืองจึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่เด็กๆมักชอบขยี้ตาค่ะ โดยสัญชาตญาณเพื่อบรรเทาความรู้สึกไม่สบายดวงตาค่ะ
    • ความอยากรู้อยากเห็น คุณอาจสังเกตเห็นว่าเมื่อหลับตาและขยี้ตาคุณจะเห็นแสงไฟและลวดลายที่ด้านในของเปลือกตา ซึ่งลูกน้อยของคุณอาจประหลาดใจกับรูปแบบที่เห็นขณะขยี้ตาและอาจลองซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อทดลองสิ่งที่เห็นนั่นเองค่ะ
    • มีบางอย่างในดวงตา หากลูกน้อยของคุณขยี้ตาอย่างต่อเนื่องหากมีบางอย่างในนั้นทำให้เกิดการระคายเคือง ซึ่งต้องระมัดระวังสังเกตว่มีสิ่งแปลกปลอมในดวงตาลูกหรือไม่ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดการอักเสบได้ค่ะ หากคุณเห็นบางสิ่งติดอยู่ที่มุมตาของลูกน้อยให้ใช้ผ้าชุบน้ำหรือสำลีก้อนชุบน้ำค่อยเช็ดออกค่ะ
    • การแพ้หรือการติดเชื้อ อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทารกขยี้ตาอาจเกิดจากการแพ้ หรือการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นเองจากความเจ็บปวดหรืออาการคัน ซึ่งอาจรวมถึงอาการตาบวมแดง มีน้ำมูกหรือร้องไห้งอแง ในกรณีเช่นนี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาอาการตาติดเชื้อหรือภูมิแพ้ของลูกน้อยได้อย่างถูกต้องค่ะ

    ความเสี่ยงของการขยี้ตาอย่างแรง

    แม้ว่าการขยี้ตาเป็นเรื่องปกติแต่การขยี้ตาบ่อยและขยี้ตาแรงๆ มักก่อให้เกิดผลกระทบตามมาได้ค่ะ เช่น

    • การติดเชื้อ การขยี้ตาจะเพิ่มความเสี่ยงที่เชื้อโรคได้เมื่อมือสัมผัสกับเชื้อโรคหรือเชื้อแบคทีเรียแล้วมากขยี้หรือสัมผัสที่ตา
    • สายตาแย่ลงในระยะยาว การขยี้ตาอย่างต่อเนื่องจะทำให้เนื้อเยื่อกระจกตาบางลงทำให้สายตาแย่ลงในระยะยาวได้ค่ะ แม้ว่าผลกระทบอาจไม่เกิดขึ้นทันทีเหมือนการติดเชื้อค่ะ
    • อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ดวงตาได้ การขยี้ตาแรงๆหากมีอะไรติดอยู่ในนั้นทำให้เกิดอาการระคายเคือง การทำเช่นนี้จะเพิ่มความเสี่ยงของการถลอกที่กระจกตาซึ่งอาจเจ็บปวดได้ค่ะ

    ลูกชอบขยี้ตาทำอย่างไร

    การขยี้ตาบ่อยๆ อาจทำให้เกิดบาดแผลทั้งในดวงตาและผิวหน้ารอบดวงตาจากการขีดขวนของเล็บได้ เพื่อลดการบาดเจ็บและรอยขีดข่วนที่ดวงตาคุณแม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ เช่น เมื่อคุณเห็นลูกขยี้ตา คุณอาจจับมือลูกเพื่อขัดจังหวะและหาของเล่นมาเบี่ยงเบนความสนใจของลูกแทน ในกรณทารกคุณแม่ควรตัดเล็บให้ส้นค่ะ หากลูกขยี้ตาบ่อยให้ใส่ถุงมือ เป็นต้น

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • ไวรัส RSV กับไข้หวัดธรรมดา แตกต่างกันอย่างไร

    ไวรัส RSV กับไข้หวัดธรรมดา แตกต่างกันอย่างไร

    ไวรัส RSV โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โรคระบาดที่มาพร้อมช่วงปลายฤดูฝนต้นหนาว เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา แต่รุนแรงกว่ามากค่ะ หากไม่ได้รับการดูและอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะในเด็กเล็กอันตรายถึงชีวิตได้เลยค่ะ ดังนั้นเราไม่ควรประมาทกับอาการป่วยของลูกถึงแม้ว่าการติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวีจะคล้ายกับไข้หวัดธรรมดา แต่เราก็สามารถสังเกตผิดความผิดปกติได้ค่ะ ซึ่งบทความนี้จะมาพูดถึง ไวรัส RSV กับไข้หวัดธรรมดา แตกต่างกันอย่างไรค่ะ

    ไวรัส RSV คืออะไร

    ไวรัส RSV (Respiratory syncytial virus) เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อทางเดินหายใจ เจริญเติบโตและแพร่กระจายได้ง่ายได้ดีช่วงที่มีอากาศชื้นหรือช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาวค่ะ อาการคล้ายกับไข้หวัด เช่น มีไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล แต่มีความรุนแรงกว่ามากโดยเฉพาะนเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ซึ่งอันตรายถึงชีวิตได้ค่ะ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ทันท่วงทีค่ะ

    อะไรคือสาเหตุของการติดเชื้อไวรัส RSV

    การติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวีพบการระบาดมากในช่วงฤดูฝนและต้นฤดูหนาว ซึ่งสามารถติดต่อกันได้ง่ายๆ ผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งต่างๆในร่างกาย เช่น ละอองน้ำลายจากการไอหรือจาม น้ำมูก เป็นต้น และเชื้อไวรัสสามารถจะมีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกายได้นานเป็นเวลาหลายชั่วโมงค่ะ

    ไวรัส RSV กับไข้หวัดธรรมดา แตกต่างกันอย่างไร

    โรคไข้หวัดและไวรัสอาร์เอสวี เป็นโรคที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ซึ่งมีอาการเบื้องต้นคล้ายกัน ได้แก่ มีไข้ คัดจมูก มีน้ำมูก ปวดศีรษะ ไอแห้ง เจ็บคอ เป็นต้น แต่มีอาการบ้างอย่างที่คุณแม่สามารถสัเกตเห็นถึงความแตกต่างกันระว่างไวรัส RSV กับไข้หวัดธรรมดา ได้แก่

    อาการไวรัส RSV

    • ไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส เซื่องซึม เบื่ออาหาร
    • หายใจเร็ว หรือหอบเหนื่อยและหายใจลำบาก 
    • ไออย่างรุนแรง มีเสมหะข้นเหนียวมาก 
    • มีเสียงหวีดในปอด (จากการที่เยื่อบุทางเดินหายใจบวมอักเสบและหลอดลมหดตัว)
    • ปากหรือเล็บมีสีเขียวคล้ำจากการขาดออกซิเจน
    • หากลูกมีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจมีอาการแทรกซ้อนและทรุดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้หยุดหายใจเป็นช่วงๆหรือหายใจล้มเหลวได้ค่ะ

    อาการไข้หวัดธรรมดา

    • มีไข้สูง 37-39 องศาเซลเซียส ปวดศีรษะ
    • ไอ เจ็บคอ
    • มีน้ำหมูกไหล

    การดูแลรักษาไข้หวัด สามารถรักษาด้วยการทานยา พักผ่อนมากๆ ทานอาหารและดื่มน้ำสะอาดมากๆค่ะ

    การรักษา ไวรัส RSV

    เนื่องจาก RSV ยังไม่มียารักษาโรคติดเชื้อไวรัส RSV โดยตรง ดังนั้นการรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการหรือการประคับประคอง เช่น การให้ยาลดไข้ ยาแก้ไอละลายเสมหะ พ่นยาขยายหลอดลม เคาะปอด ดูดเสมหะออก เป็นต้น เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ ในบางรายอาจต้องใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจหากพบว่ามีภาวะออกซิเจนต่ำหรือระบบหายใจล้มเหลวค่ะ

    การป้องกันการติดเชื้อไวรัส RSV

    ไวรัส RSV สามารถติดเชื้อและแพร่กระจายได้ง่ายโดยการสัมผัส ซึ่งสามารถป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสได้ดังนี้

    • รักษาความสะอาด หมั่นล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อต้องสัมผัสหรือทำอาหารให้ลูกน้อย
    • การสอนให้ลูกรักษาสุขอนามัยส่วนบุลคล การล้างมือให้สะอาดก่อน-หลังรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
    • รักษาความสะอาดที่อยู่อาศัย สิ่งของเครื่องใช้และของเล่นให้สะอาด 
    • หลีกเลี่ยงการการพาลูกน้อยไปยังที่แออัด โดยเฉพาะในช่วงที่มีระบาดของเชื้อไวรัส
    • หากมีความจำเป็นต้องพาลูกไปสถานที่ชุมชน เช่น โรงพยาบาล ควรสวนใส่หน้ากากอนามัย
    • หากลูกป่วยเป็นหวัด ควรพักรักษาตัวให้หายก่อนไปโรงเรียน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อให้กับผู้อื่น
    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ และการพักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงดื่มน้ำสะอาดมากๆค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • ลูกเป็นผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เกิดจากอะไรสิ่งที่คุณแม่ควรรู้

    ลูกเป็นผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เกิดจากอะไรสิ่งที่คุณแม่ควรรู้

    การที่ลูกเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง มักเกิดได้จากหลายสาเหตุ หลายปัจจัย อธิเช่นมาจาก การติดต่อทางพันธุกรรม แพ้อาหาร หรือได้รับสารที่ก่อให้เกิดการภูมิแพ้ ซึ่งการเป็นผื่นภูมิแพ้ สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเนื่องจากผิวหนังของเด็กยังมีความบอบบาง แพ้ง่ายเป็นธรรมดา ซึ่งเป็นเรื่องที่พ่อแม่ป้องกันได้

    สาเหตุการเกิดผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

    โรคภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) เกิดจากการที่ผิวหนังได้รับการอักเสบเรื้อรังซึ่งมาจากการปฎิกริยาทางภูมิแพ้ จะพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่เป็นเด็ก โรคภูมิแพ้ผิวหนังมีด้วยกัน 2 ประเภท คือ

    • โรคภูมิแพ้ที่เกิดจากปัจจัยภายใน (intrinsic หรือ Non LgE associated) เป็นปัจจัยที่เกิดจากความผิดปกติของผิวหนังจากทางร่างกาย
    • โรคภูมิแพ้ที่เกิดจากปัจจัยภายนอก (extrinsic หรือ LgE associated) ผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ในกลุ่มนี้ จะมีระดับของ LgE associated ในเลือดสูง หรือได้รับการทดสอบทางผิวหนังชนิด Skin prick test ให้ผลเป็นบวก หรือผู้ป่วยมีประวัติที่คนในครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ เช่น การเป็นหอบหืด (asthma) โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (allergic rhinitis) เป็นต้น

    อาการของลูกเป็นผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

    โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจะมีลักษณะของการอักเสบของผิวหนังได้หลายระยะ มีตั้งแต่เฉียบพลันจนไปถึงระยะเรื้อรัง ซึ่งลักษณะที่พบได้ชัดคือจะเป็นผื่นตุ่มแดงคัน เป็นแผ่นแดง ลอก และเป็นขุน และยังมีอาการคันร่วมด้วย จะมีการกระจายตามตัวต่างกันในแต่ละวัย

    • วัยทารกแรกเกิด อายุ 2-3 เดือน มักจะขึ้นผื่นบริเวณแก้ม แขน ขา หรือบริเวณที่มีการเสียดสี
    • วัยเด็ก ผื่นมักจะขึ้นหนา และมีรอยเกา บริเวณลำคอและบริเวณข้อพับของแขนและขา

    การวินิจฉัยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

    โรคผื่นภูมิแพ้พิวหนัง แพทย์สามารถวินิจฉัยได้จากอาการ และลักษณะของผื่นที่มีอาการคันร่วม ตำแหน่งของการขึ้นผื่นของแต่ละช่วงวัย ประวัติการมีผื่น และประวัติการเป็นภูมิแพ้ในครอบครัว หากมีเข้าข่ายก็จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

    แต่สำหรับในกรณีที่การรักษาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอย่างถูกต้อง แต่อาการไม่ดีขึ้น และยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น แพทย์จำเป็นต้องทำการตรวจเพิ่มเติมตามความเหมาะสมของผู้ป่วยในแต่ละราย เพื่อดูปัจจัยอื่นที่สามารถทำให้โรคกำเริบ โดยทดสอบ ดังนี้

    • การทดสอบทางผิวหนัง
    • การเจาะเลือด
    • การทดสอบการแพ้อาหารโดยการรับประทาน

    การรักษาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

    • การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่เป็นเหตุให้ผื่นกำเริบ โดยเฉพาะหากผู้ป่วยมีประวัติของการแพ้อาหาร แพ้เหงื่อ แพ้สารเคมี ที่อาจส่งผลทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคือง
    • สร้างความชุ่มชื้นให้กับผิวหนังโดยการทาโลชั่น หรือครีมบำรุงผิว ในทันทีหลังจากการอาบน้ำ หลีกเลี่ยงการอาบน้ำบ่อยเกินไป หรืออาบน้ำอุ่นที่อุ่นจนเกินไป
    • แพทย์จะสั่งจ่ายยาทาลดการอักเสบ เมื่อมีผื่นกำเริบขึ้นมา โดยแพทย์จะทำการรักษาผื่นตามระยะและลักษณะของผื่น เช่นหากมีลักษณะของการอักเสบของผิวหนังอย่างเฉียบพลัน มีน้ำเหลืองไหล จะเริ่มการรักษาโดยการใช้น้ำเกลือประคบ แต่สำหรับระยะของผื่นนานกว่านั้น ก็จะทำการรักษาโดยใช้ยาในกลุ่มของคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) ชนิดแบบทา โดยหมอจะเลือกชนิดของยาและความรุนแรงของยาตามความรุนแรง ระยะ และลักษณะของผื่น ข้อควรระวัง และสิ่งต้องห้ามคือ ห้ามทำการซื้อยาจากร้านขายยามากินเอง ควรได้รับยาจากที่แพทย์สั่งเท่านั้น เพราะเด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้อาจได้รับผลข้างเคียงจากยาที่ซื้อมาได้ ในปัจจุบันกลุ่มยาต้านการอักเสบ Calcineurin inhibitors มาทดแทนยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตรียรอยด์ เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงในเด็กที่ต้องทานยาอย่างต่อเนี่ยงเปนระยะเวลานานๆ แต่ยาในกลุ่มดังกล่าวๆค่อยข้างมีราคาที่แพง จึงทำให้ต้องทำการพิจารณาจ่ายให้กับผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีผลข้างเคียงจากยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid)
    • การเฝ้าระวังภาวะการติดเชื้อแทรกซ้อน หากมีการตรวจพบ ก็จะทำการรักษาภาวะแทรกซ้อนนั้นๆ เช่นการรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะเมื่อติดเชื้อจากแบคทีเรีย
    • การรับยาลดอาการคัน เพื่อบรรเทาอาการคันให้กับผู้ป่วย
    • การรักษาแบบอื่นๆ
      • การฉายแสง UV หรือการรับประทานยากดภูมิแพ้กันเอาไว้ แต่สำหรับกรณีที่เป็นผื่นมากอาการไม่ดีขึ้นเลยถึงแม้ได้รับยาปฏิชีวนะไปแล้ว ให้แนะนำไปพบคุณหมอที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้โดยตรง
      • การรักษาโดยการใช้วิธีฉีดยาวัคซีนภูมิแพ้ (allergen specific immunotherapy) อาจได้รับประโยชน์ในผู้ป่วยที่มีปฎิกิริยาการแพ้ออกมาอย่างชัดเจนจากการที่ได้รับการตรวจเลือด specific lgE หรือได้รับการตรวจทดสอบทางผิวหนัง (Skin prick test) โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการแพ้จากไรฝุ่น โดยมีการศึกษาจากทางผู้ใหญ่และเด็ก พบว่า การรักษาโดยใช้วิธี allergen immunotherapy สามารถลดความรุนแรงบริเวณของโรคและความรุนแรงของโรค รวมไปถึงลดการใช้ยาทาที่อยู่ในกลุ่มของสเตียรอยด์ลงได้ แต่อย่างไรก็ตามควรได้รับการประเมินการรักษาจากทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน

    มีคุณแม่หลายรายตั้งข้อสงสัยว่า โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังสามารถรักษาหายหรือไม่ ซึ่งคำตอบคือ เนื้่องจากโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังสามารถเกิดจากได้หลายปัจจัย หลายสาเหตุ และก็ขึ้นอยู่กับวัย และความรุนแรงของโรค ซึ่งผู้ป่วยในบางรายก็เป็นๆหายๆ เว้นระยะช่วงกำเริบของโรค และช่วงสงบของโรค ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการดูแลผิวหนัง และการสัมผัสปัจจัยเสี่ยงของการกำเริบของผื่นของแต่ละคน ตามธรรมชาติของโรคนี้มักจะเป็นในช่วงเด็กเป็นหลักสูงถึง 60 % ของผู้ป่วยโรคนี้ทั้งหมด โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี แต่เมื่อมีอายุมากขึ้นผิวหนังก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มีอาการดีขึ้น ก็มาจากการดูแลผิวหนังอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ

    การป้องกันโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

    โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอย่างที่บอกไปมันสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยปัจจัยหลายปัจจัย หลายสาเหตุ ทั้งจากทางร่างกาย หรือปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ จึงทำให้ในปัจจุบันทางการแพทย์จึงยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด ดังนั้น วิธีการป้องกันที่ดีคือการเรียนรู้วิธีการดูแลผิวหนังอย่างถูกต้อง และสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงปัจจัยการทำให้เกิดผื่น เช่น การหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ตัวเองแพ้ หลีกเลี่ยงสภาพอากาศที่ทำให้เราเกิดผื่น หรือสิ่งอื่นๆ เช่น สารเคมี เครื่องสำอางค์ต่างๆ ผงซักฟอก หรือไรฝุ่น ฯลฯ หรือความเครียด เพียงทำให้เป็นการป้องกันการผื่น และลดความรุนแรงของผื่นได้ ในปัจจุบันมีการศึกษาจากทางแพทย์มีการสนับสนุนว่าการใช้ครีมบำรุงผิวสูตรที่เหมาะสมสำหรับผิวเด็ก และผิวที่แพ้ง่าย สามารถบำรุงดูแลได้ตั้งแต่เด็ก 6 เดือนขึ้นไปหลังคลอด

    บทความที่เกี่ยวข้อง