ลูกกินนมผสม

เลี้ยงลูกด้วยนมผสม แก้ปัญหาไม่มีน้ำนมให้ลูกกิน

นมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดของลูกวัยทารก โดยเฉพาะช่วงที่ทารก 2-3 เดือนแรก ที่ลูกต้องการนมแม่มากที่สุด แต่ก็มีคุณแม่หลายท่านที่มีปัญหาที่น้ำนมน้อย หรือไม่มีน้ำนมให้ลูกกิน ซึ่งมีปัจจัยได้หลายสาเหตุ ซึ่งในบทความนี้จะยังไม่พูดถึงสาเหตุที่คุณแม่มีน้ำนมน้อย หรือไม่มี

แต่จะมาพูดถึงการให้ลูกด้วยนมผสมแทนการกินนมแม่ แต่ขอออกตัวไว้ก่อนว่า นมแม่คือนมที่ดีที่สุด แต่ว่าทำไมให้กินนมผสม เพราะ มาช่วยแก้ไขปัญหาให้กับคุณแม่ในเรื่องน้ำนมน้อย หรือไม่มีน้ำนมของแม่ และไม่เพียงเท่านั้น ยังช่วยในเรื่องเวลาการให้นมลูก เนื่องจากคุณแม่บางท่านจำเป็นต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ไม่มีเวลาปั๊มนมให้ลูก ดังนั้น การให้ลูกกินนมผสมก็เป็นวิธีแก้ได้อีกทางหนึ่ง

เรามาเข้าเรื่องการเลยดีกว่า ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักชนิดของนมผสมกันว่ามีอะไรบ้าง เพราะไม่ใช่ว่าเด็กทุกคนสามารถจะกินนมได้ทุกชนิด ใช่ว่าจะหยิบแบบไหนมาก็ได้ ไม่ใช่แบบนั้น ต้องเลือกนมผสมที่เหมาะกับลูกตามช่วงวัย และร่างกายของลูก

ชนิดของนมผสม

ในปัจจุบันรมผงในท้องตลาด มีมากกมายหลายและยังพัฒนาสูตรนมผงให้เกือบทัดเทียมกับนมแม่แล้ว อีกทั้งยังเพิ่มวิตามินและสารอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนาและการเจริญเติบโตอีกด้วย ซึ่งทุกชนิดได้ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานจากองค์การอาหารและยา หรือ อย. สูตรนมทั้งหลายจะระบุไว้บนฉลากอยู่ข้างผลิตภัณฑ์ รวมทั้ง วันเดือนปีที่ที่ผลิตและหมดอายุ อีกทั้งยังบอกถึงวัยที่เหมาะสมต่อนมผงชนิดนั้นๆ อีกด้วย แบ่งออกมาด้วยกัน 3 ชนิด

  • นมผงดัดแปลงสำหรับทารก (เหมาะสำหรับเด็กช่วงอายุ 6 เดือนแรกหลังคลอด)
  • นมสูตรต่อเนื่อง (เหมาะสำหรับ เด็กช่วงอายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี)
  • นมครบส่วน (เหมาะสำหรับ เด็กช่วงอายุ 1 ปี ขึ้นไป

นมผสมสำหรับเด็กที่มีอาการแพ้และเป็นโรคในบางชนิด

เด็กบางคนเมื่อหลังคลอดออกมา จะมีอาการแพ้นมวัว หรือเป็นโรคบางชนิดที่ไม่สามารถกินนมได้ ต้องให้นมประเภทอื่น ที่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ ซึ่งนมกลุ่มนี้บางชนิดทำมาจากถั่วเหลือง บางชนิดทำมากจากน้ำตาลแล็กโตส ที่จะมาช่วยในการย่อย และจัดสัดส่วนที่พอเหมาะให้กับเด็กที่ไม่สามารถกินนมธรรมได้ หรือเด็กที่มีอาการท้องเดิน หรือปัญหาไม่ย่อยนมวัว

คำแนะนำ นมถั่วเหลืองเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่คุณแม่เลือกมาให้ลูกกินได้ ถึงแม้นมถั่วเหลืองจะมีสรรพคุณด้อยกว่านมวัวก็ตาม แต่คุณประโยชน์ก็เกือบทัดเทียมนมวัวมีโปรตีนสูง อีกทั้งราคายังไม่แพงหาซื้อง่าย อีกด้วย

สารอะไรบ้างที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ของนมวัว

ในปัจจับันบริษัทต่างๆ ที่ผลิตนมวัวพยายามเสริมสารอาหารให้คลายนมแม่มากที่สุด เช่น เสริมวิตามิน แร่ธาตุบางอย่าง รวมทั้งไขมันที่มีประโยชน์และน้ำตาลแล็คโทส แต่ก็ยังขาดสารบางอย่างที่มีในนมแม่โดยเฉพาะ คือ แอนติบอดี้ หรือภูมิคุ้มกันโรค และเอนไซท์ที่ช่วยย่อยไขมัน เรียกว่า Lipase ซึ่งเด็กบางคนยังต้องการกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวชนิดสายยาว (Long-Chain Poly Unsturated Fatty Acid) ซึ่งมีความสำคัญในการพัฒนาการสมอง และประสาทตา ซึ่งในปัจจุบันก็ได้เสริมสารดังกล่าวเข้าไปในนมผงแล้ว

นมผงแบบชนิดธาตุเหล็ก โดยเฉพาะในเด็กที่ได้สูตรต่อเนื่องหลัง 6 เดือน ก็มีโปรตีน เหล็ก และวิตามินซีเพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันภาวะการณ์ขาดธาตุเหล็ก ไม่ให้เกิดโรคโตจาง นมสูตรเสริมธาตุเหล็กเหมาะสำหรับเด็กที่กำลังเริมลดนมแม่และใกล้หย่านมแม่

แต่อย่างไรก็ตาม นมผสมก็ไม่ยังไม่สามารถเทียบเท่ากับนมแม่ ดังนั้น หากคุณแม่สามารถให้นมแม่ได้ ก็ควรให้นมแม่ดีกว่าค่ะ

ปริมาณที่ลูกสามารถกินนมผสมต่อวัน

สำหรับคุณแม่มือใหม่ แล้วก็ยังมีความกังวลอยู่ว่าต้องให้นมในปริมาณเท่าไรถึงจะดี ซึ่งจะขอแนะนำแบบเข้าใจง่ายละกันว่า ซึ่งแบ่งตามน้ำหนักและอายุเด็กได้ดังนี้

  • เด็กที่น้ำหนัก 2.7 กิโลกกรัม ปริมาณที่เหมาะสมคือ 3 ออนซ์ ในทุกๆ 3 ชั่วโมงในช่วงเวลากลางวัน และทุกๆ 4 ชั่วโมงในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งรวมทั้งหมด 21 ออนซ์ต่อวัน
  • เด็กที่มีน้ำหนัก 2.7 – 3.5 ปริมาณที่เหมาะสมคือ 4 ออนซ์ ในทุกๆ 4 ชั่วโมง ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน ซึ่งรวมทั้งหมด 24 ออนซ์ต่อวัน
  • เมื่อเด็กเข้าสู่อายุได้ 2-3 สัปดาห์หลังคลอดปริมาณมื้อกินของลูกจะลดลง ซึ่งในช่วงเวลากลางคืนลูกอาจจะตื่นขึ้นมาในช่วง 4 ทุ่ม และจะหลับยาวไปถึงช่วงตี 2 คุณแม่สามารถเพิ่มปริมาณของนมให้มากขึ้น หรือจะแบ่งมื้ออาหารอย่างไรก็ได้ เพราะถ้าลูกรับนมเพียงพอ น้ำหนักก็จะเพิ่มขึ้น เด็กเกิดใหม่ ยังไม่ได้กินนมเป็นมื้อ ควรตามใจลูก ให้ลูกกินถ้าลูกหิว
  • เมื่อลูกโตขึ้น มื้อนมก็จะห่างออกไปอีก แต่จะกินปริมาณมากขึ้น เช่น นม 3 ออนซ์ จำนวน 8 ขวดต่อวัน ต่อมาก็กลายเป็น 4 ออนซ์กิน 7 ขวด และจะกลาย เป็น 5 ออนซ์ กิน 6 ขวด ในที่สุดจะกิน 6 ออนซ์จำนวน 5 ขวดต่อวัน คุณแม่ค่อยๆเหนื่อยน้อยลง

การเตรียมนมผสม

หัวใจสำคัญที่สุดในการเตรียมนมผสม คือ ความสะอาด คุณต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ล้างขวดให้สะอาดทุกครั้งหลังจากใช้ โดยเฉพาะตรงคอขวดรวมทั้งจุกนม ซึ่งมักมีคราบนมตกค้างอยู่ ทำตามขั้นตอนที่แนะนำ อย่าเติมปริมาณนมเกินที่ระบุไว้ข้างกระป๋องจะทำให้นมข้นมากเกินไป เพิ่มการทำงานของไตเด็กให้หนักขึ้น

วิธีการให้นมขวด

  • คุณพ่อหรือคุณแม่นั่งบนเก้าอี้ ให้ฝ่าเท้าวางนสบบนพื้นได้สบายๆ แผ่นหลังมีที่หนุนอย่างพอดี ถ้าจำเป็นควรใช้หมอนหนุน อุ้มลูกให้กระชับเสมอเวลาให้นม
  • ทดสอบอุณหภูมิน้ำนมให้เหมาะสม โดยหยดลงด้านในของข้อมือ จุกนมที่ดีควรทำให้น้ำนมหยดคราวๆละหลายๆ หยดต่อวินาที
  • ใช้นิ้วมือข้างที่ถือขวดนม แตะแก้มลูกเบาๆ เพื่อให้ลูกหันหน้าไปหาขวดนม
  • จับขวดนมให้แน่น และเอียงพอเหมาะ ให้มีน้ำนมอยู่ในจุกนมตลอดเวลา ป้องกันไม่ให้อากาศเข้าท้องลูก ระหว่างที่ให้นมควรจะหยุดสักครั้งหรือ 2 ครั้ง เพื่อไล่ลมให้ลูก แต่ถ้าลูกเลิกดูดนมเร็วทั้งๆ ที่ลูกยังหิวอยู่ อาจจะมีอะไรผิดปกติก็ได้

บทความที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงลูกนมผสม