การแพ้อาหารพบบ่อยมากในเด็กเล็กค่ะ เมื่อถึงช่วงอายุที่ลูกน้อยต้องเริ่มรับประทานอาหารอื่นๆนอกเหนือจากนม ซึ่งถือว่าเป็นก้าวสำคัญสำหรับคุณพ่อคุณแม่โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ ความกังวล การเลือกอาหารให้ลูกน้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการแพ้อาหารในเด็ก ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องรู้สัญญาณของปฏิกิริยาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้นค่ะ เนื่องจากการแพ้อาหารรุนแรงอาจทำให้เสียชีวิตได้ค่ะ
การแพ้อาหารเป็นปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกันที่มีผลหลังจากรับประทานอาหารบางชนิด ความรุนแรงแตกต่างกันไปในแต่ละคนค่ะ ซึ่งเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้อาการสูงคือ พ่อแม่หรือคนในครอบครัวมีประวัติการแพ้อาหาร หรือโรคหอบหืด อาการแพ้โดยทั่วไปมักจะแสดงอาการต่างๆ ดังนี้
- ผื่นรอบปาก ผื่นคัน หรือผื่นคล้ายลมพิษตามร่างกาย ซึ่งเป็นอาการเบื้องต้นที่คุณสามารถสังเกตได้ในเด็กที่มีอาการแพ้ค่ะ
- คันคอและลิ้น หรือดวงตา น้ำตาไหล
- ใบหน้าริมฝีปากหรือลิ้นบวม
- จามต่อเนื่อง มีน้ำมูกใสหรือจมูกอุดตัน
- ไออย่างต่อเนื่อง
- คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ
- ปวดท้อง หรือท้องเสีย หากมีอาการท้องเสียต้องระมัดระวังภาวะร่างกายขาดน้ำค่ะ
- ปัญหาระบบทางเดินหายใจ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หายใจดังเสียงฮืด
- หมดสติ ซึ่งอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ
อาหารที่มักก่อให้เกิดอาการแพ้ที่พบได้บ่อยในเด็ก ได้แก่
- ไข่
- ถั่วเหลือง
- นมวัว หรือที่เรียกว่า แพ้โปรตีนนมวัว
- อาหารทะเล เช่น กุ้ง ปลาหมึก เป็นต้น
- ธัญพืชต่างๆ เช่น งา วอลนัท,อัลมอนด์ เป็นต้น
- ขาวสาลี หรือแป้งสาสี ซึ่งมักเป็นส่วนประกอบอาหารหลากหลายชนิด เช่น เบเกอรี่ สปาเก็ตตี้ ซาลาเปา มันฝรั่งทอด ขนมกรอบบางชนิด ฯลฯ
การรักษาอาการแพ้ที่เกิดขึ้นนั้นจะเป็นการรักษาตามอาหารและความรุนแรงค่ะ เช่น การทานยาแก้แพ้ในกรณีที่อาการไม่รุนแรง หรือใบบางรายที่มีอาการแพ้เฉียบพลันหรือรุนแรงต้องได้รับการฉีดยาทันทีที่มีอาการค่ะ อาการแพ้อาหารในบางรายสามารถหายหรือรับประทานอาหารชนิดนั้นได้เมื่อโตขึ้นค่ะ
ควรทำอย่างไรถ้าลูกมีอาการแพ้
หากลูกน้อยของคุณจะแสดงอาการสัญญาณของการเกิดอาการแพ้อาหาร สิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำคือ ให้ลูกของคุณหยุดทานอาหารนั้นทันทีพร้อมสังเกตอาการที่เกิดขึ้นค่ะ และควรรีบไปพบแพทย์ทันทีค่ะ
อาการแพ้อาหารในเด็กทารกสามารถลดหรือป้องกันได้ด้วยขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้
- การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยลดโอกาสของการแพ้เนื่องจากน้ำนมแม่นั้นอุดมไปด้วยแอนติบอดีจึงทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงค่ะ
*ให้นมแม่นานขนาดไหน
*อาหารสำหรับแม่ที่กำลังให้นมลูก - หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ก่อนอายุ 6 เดือนค่ะ
- เด็กทารกที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ ควรหลีกเลี่ยงของอาหารหรือนมสูตรถั่วเหลือง เนื่องจากโปรตีนจากถั่วเหลืองสามารถทำให้เกิดอาการแพ้ในทารกได้ค่ะ
- เมื่อเริ่มรับประทานอาการควรเริ่มให้ลูกทานครั้งละน้อยๆ พร้อมสังเกตอาการหลังรับประทานอาหาร รวมถึงลักษณะอุจจาระของลูกน้อย เนื่องจากเด็กบางรายอาจมีอาการท้องผูกหรือถ่ายเหลวจากการรับประทานอาหารบางชนิด
- หากพบอาการผิดปกติหรือมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ
บทความที่เกี่ยวกับการแพ้อาหาร
Leave a Reply