ลูกร้องไห้

การดูแลเด็กแรกเกิด สำหรับพ่อแม่มือใหม่ : ลูกร้องไห้

การร้องไห้ของจะแบ่งออกเป็นช่วงๆ ซึ่งแต่ละช่วงจะมีความแตกต่างกันตามช่วงวัยของเด็ก เรามาดูกันว่าในแต่ละช่วงวัยของเด็กร้องไห้เพราะอะไร แล้วควรทำอย่างไรเมื่อลูกร้องกันค่ะ

ในช่วงวัย 2-3 สัปดาห์แรก

“ทำอย่างไรดีลูกร้องไห้ไม่หยุดเลย”  คำถามยอดฮิตที่คุณพ่อคุณแม่หลายๆท่าน โดยเฉพาะพ่อแม่มือใหม่  ที่จะเป็นกังวล เพราะลูกจะร้องแบบไม่มีเหตุผล หาสาเหตุไม่ได้ ร้องนาน ร้องเป็นเวลาสม่ำเสมอทุกวัน ในช่วงนี้ก็จะเป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่ต้องอดทนไปอีกสักระยะหนึ่ง ช่วงเวลาดังกล่าว เป็นเรื่องปกติของเด็กทุกคน แล้วผ่านไปสักระยะลูกก็หายร้องโยเยไปเอง สาเหตุที่ลูกร้องไม่มีเหตุผลในลักษณะแบบนี้ ก็เพราะลูกของคุณอยู่ในช่วงที่กำลังปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบข้างใหม่ๆ และระบบในร่างกายของลูกยังไม่สมบูรณ์

อีกสาเหตุที่สำคัญคือ การร้องที่แสดงถึงการไม่สบายของลูก

ลูกไม่สบาย มีไข้ เป็นหวัด ปวดท้อง ท้องเสีย ก็สามารถทำให้ลูก ร้องโยเย เนื่องจากร่างกายของเด็กเกิดความไม่สมดุล ซึ่งทารกในวัยนี้ ยังไม่ค่อยมีโรคที่รุนแรง แต่หากร่างกายของลูกผิดปกติ แล้วไม่ค่อยร้องออกมา แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่รีบพาลูกไปปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการและรักษา ค่ะ

เมื่อลูกร้องไห้ควรทำอย่างไร ?

คำถามนี้เป็นคำถามที่คุณแม่มือใหม่จะถามกันมาก เพราะด้วยความที่คุณแม่เป็นคุณแม่มือใหม่ จะทำไม่ทำถูก ดังนั้นสิ่งแรกที่ควรทำเมื่อลูกร้อง คือการนำลูกมาอุ้มไว้ในอ้อมแขนของคุณแม่ ให้ลูกรู้สึกถึงความปลอดภัย ซึ่งเมื่อคุณแม่อุ้มอาจจะยังไม่ทำให้ลูกของคุณแม่หยุดร้องในทันที แต่ก็อย่าเพิ่งตกใจ แปลกใจไป เพราะเป็นธรรมดาของเด็กแรกเกิดที่อยู่ในช่วงของการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมนอกครรภ์ของแม่ ที่ในบางครั้งอาจทำให้เด็กตกใจได้ง่าย และร้องไห้ออกมา ดังนั้นนั้นเป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยดูแล อุ้ม และปลอบโยน

ถ้าอุ้มลูกมากๆ จะทำให้เสียเด็กหรือไม่ ?

ขอตอบว่า ในเดือนแรกๆ ของทารก เด็กจะยังไม่ทราบว่าแบบนี้คือการเอาแต่ใจ ดังนั้น ถ้าลูกร้องในช่วงนี้ เอาลูกขึ้นมาอุ้มได้เลย และเป็นการตรวจสอบไปในตัวด้วยว่า ลูกร้องเพราะอะไร ซึ่งถ้าลูกร้องมากๆ ก็อาจเกิดจากความหงุดหงิดของเด็กที่มาจากความเพลีย ซึ่งเด็กบางคนเพลียแล้วร้อง ไม่ยอมหลับ แต่เด็กบางคนก็ร้องแล้วค่อยๆหลับไปเอง แล้วแต่เด็กบางคน คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตค่ะ คุณสามารถที่ทำในสิ่งที่ลูกชอบได้ แค่ไม่ควรที่ทำบ่อย ควรทำเป็นครั้งคราวเท่านั้น ซึ่งการอุ้มที่มากจนเกินไป ก็อาจทำให้ลูกของคุณเป็นคนที่นอนยากได้ค่ะ

ลูกร้องไห้เพราะโคลิก

ในช่วงวัย 3 เดือน ลูกร้องออกมาจาก โคลิก

เด็กที่ร้องเพราะโคลิกจะมีลักษณะจะคล้อยกับเด็กเป็นนาฬิกาปลุก เช่น จะร้องทุกวันในเวลาเดียวกัน ซึ่งอาการดังกล่าวมักพบบ่อยในลูกคนแรกของคุณพ่อคุณแม่ และมักจะเกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 2-4 สัปดาห์ และอาการดังกล่าวก็จะค่อยหายไปในช่วงเด็กที่มีอายุได้ 3 เดือน

ในทารกแรกเกิดถ้าร้องเพราะ โคลิก (colic) ลักษณะของทารกจะแสดงอาการได้เห็นชัดเจนคือ หน้าจะแดง และยกขางอขา หรือหดเกร็ง และจะร้องเสียงแหลม ซึ่งเด็กบางคนถ้าผายลมออกมา อาการก็จะทุเลา ถ้าให้จุกนมอาจดูดได้ตลอดเวลาที่อุ้มไว้

เด็กบางคนร้องเป็นระยะๆ และร้องนาน ถึง 2-3 ชั่วโมง แต่ก็ไม่แสดงอาการเจ็บปวดออกมาหรือมีลมที่จุดอยู่ในท้อง เด็กบางคนร้องออกมผลัดกันระหว่างร้องเพราะโคลิก กับร้องเป็นระยะๆ เด็กบางคนพอกลับมาอยู่บ้านได้ 2-3 วัน ก็เริ่มร้อง ร้องครั้งหนึ่งนาน 3-4 ชั่วโมง ไม่ว่าคุณแม่จะอย่างไรก็ไม่ยอมหยุดร้อง แม้ว่าจะให้นมซึ่งตอนแรกก็ดูดดี แต่สักพักนมไม่ทันหมดก็ร้องจ้า

รายในเด็กบางคนร้องโคลิก 2-3 ครั้ง ก็เลิก บางคนเป็นมาก ร้องทุกคืนจนอายุครบ 3 เดือนเราจึงเรียกว่า “ร้อง 100 วัน” มีน้อยรายมากที่ขยันร้องจนถึง 6 เดือนหรือมากกว่านั้น

การร้องโคลิกจะเกิดขึ้นหลังมื้อครึ่งชั่วโมงหรือช้ากว่านี้ บางคนอิ่มนมแล้วก็ร้องเลย จึงต่างจากร้องเพราะหิว ซึ่งมักจะร้องก่อนมื้อนม

สำหรับสาเหตุนั้นยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ว่าเกิดจากสาเหตุใด ส่วนมากให้สมเหตุสมผลก็อาจเกิดจากที่ลูกอิ่ม หรือหิวจนเกินไป ท้องอืด มีลมในท้อง หรืออาหารไม่ย่อย หรือไม่ก็อยากให้เราอุ้ม ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะร่างกายเด็กยังไม่สมบูรณ์ ระบบต่างๆ ยังไม่ทำงานไม่ดี โดยเฉพาะระบบประสาท ซึ่งอาจใช้ระยะเวลาในการปรับตัวประมาณ 3 เดือน ก็หาย

โคลิก รักษาได้หรือไม่

การร้องไห้เพราะโคลิก ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า โคลิก ไม่ใช่อันตราย และไม่ใช่โรค เป็นเพียงภาวการณ์แสดงออกของเด็ก ซึ่งโคลิก จะหายเองได้เมื่อครบกำหนด 3 เดือน แล้วลูกของคุณจะหยุดร้องไปเอง

ซึ่งถ้าเอาลูกไปปรึกษาหมอ หมอก็จัดยามาให้แบบหยด ซึ่งจะประกอบด้วยยาคลายการหดเกร็งของลำไส้ และยาให้นอนพัก หยอดให้เด็กกิน 15 นาทีก่อนร้องโคลิก ให้ได้วันละครั้ง แล้วอาการเด็กก็จะทุเลาลง

ลูกร้องไห้ พ่อแม่ช่วยได้หรือไม่

  • เด็กที่ร้องมากๆ และขี้ตกใจด้วย ควรให้ลูกอยู่ในห้องเงียบๆ จะอุ้มจะจับก็ต้องแบมือ อย่ารีบพาลูกออกนอกบ้า คนมากมายจะยิ่งทำให้เด็กตกใจ แล้วร้องออกมา
  • เด็กที่ร้องจากโคลิก เด็กบางคนไม่ค่อยตกใจ เวลาอยู่กับลูกก็อุ้มพูดเล่นได้ ควรลูบหลังเบาๆ ไล่ลมทุกครั้งหลังมื้อนม
  • เด็กโคลิกชอบนอนคว่ำทับท้อง บางคนชอบนอนคว่ำบนหัวเข่าแม่ หรือนอนทับบนกระเป๋าน้ำร้อนแล้วลูบหลังเบาๆ ก่อนจะใช้กระเป๋าน้ำร้อน ต้องแน่ใจว่าน้ำไม่ร้อนจัด ปิดฝาสนิทแล้วควรใช้ผ้าขนหนูพันในให้รอบเสียก่อน
  • คุณแม่บางคนให้ลูกจุกนม ก็พอจะทุเลาได้ อุ้มปลายโยนเบาๆ พาเดินเล่น แต่ควรงดหัวจุกนม เมื่อเด็กครบอายุ 3 เดือน เด็กจะได้ไม่ติดจุกนม