child

ลูกนอนกัดฟัน ปัญหาการนอนหลับในเด็ก

การนอนกัดฟันหรือการขบเขี้ยวเคี้ยวฟันในขณะนอนหลับ ไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้นในผู้ใหญ่เท่านั้นแต่ยังพบได้บ่อยในเด็กในเด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน ซึ่งในเด็กส่วนใหญ่มันจะหายไปเองเมื่ออายุ 6 ปี ซึ่งการนอนกัดฟันอาจสร้างความกังวลให้กับคุณพ่อคุณแม่ ดังนั้นวันนี้เรามาหาสาเหตุและการแก้ไขการนอนกันฟันของลูกน้อยกันค่ะ

สาเหตุของการนอนกัดฟันในเด็ก

การนอนกัดฟันยังไม่ทราบสาเหุที่แน่ชัด แต่ก็มักจะเชื่อมโยงกับปัจจัยอื่นๆ เช่น  ความเครียด ความวิตกกังวลหรือปัญหาการนอนหลับ พันธุกรรม ปัญหาการงอกของฟันหรือการสบฟันที่ผิดปกติ การติดเชื้อในหู โรคภูมิแพ้อากาศ เป็นต้น ซึ่งในเด็กเล็กอจใช้เป็นวิธีบรรเทาอาการปวดฟัน ปวดศีรษะ ปวดหุ ฯลฯ และในเด็กโตการบดฟันอาจเป็นสัญญาณของความเครียดหรือความวิตกกังวลกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวันหรือรู้สึกไม่สบายค่ะ

การนอนกัดฟันมีผลอย่างไร

การนอนกัดฟันของลูกนอกจากสร้างความกังวลของคุณพ่อคุณแม่ การนอนกัดฟันยังอาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ได้แก่ การสึกหรอของฟัน เสียวฟัน ฟันบิ่น ฟันร้าว จนกระทั่งฟันแตกหัก รวมถึงส่งผลให้ปวดตรงข้อต่อขากรรไกรหรือปวดกรามร้าวไปยังหูได้ค่ะ

การแก้ปัญหาการนอนกัดฟัน

การนอนกัดฟันของลูกคุณพ่อคุณแม่สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุของการนอนกันฟันของลูกคุณค่ะ ในเบื้องต้นคุณสามารถดูแลเพื่อลดปัญหาการกัดฟันได้ดังนี้

  • อาบน้ำอุ่นๆ หรือการนวดหลังลูกเบาๆ เพทชื่อให้ลูกรูสึกผ่อนคลาย
  • การช่วยให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายก่อนเข้านอน เพื่อลดความเครียดหรือความวิตกกังวล เช่น การเล่นนิทาน การร้องเพลงกล่อม เป็นต้น
  • สังเกตการงอกของฟัน โดยเฉพาะเด็กในวัย 6 ปีหรือเมื่อฟันแท้ขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ค่ะ
  • ลดอาการปวดจากโรคติดเชื้อในหูด้วยการทานยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่งค่ะ

เนื่องจากการนอนกัดฟันเป็นปฏิกิริยาตามธรรมชาติต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กจึงไม่สามารถป้องกันได้ แม้ว่าการนอนกัดฟันในบางครั้งอาจมีสาเหตุมาจากความเครียดที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็ตามค่ะ หากคุณพ่อคุณแม่กังวลกับส่งที่เกิดขึ้นควรพาลูกไปพบทันตแพทย์เพื่อหาวิธีการรักษาค่ะ