7 various abnormal symptoms In the body of a newborn baby

การดูแลเด็กแรกเกิด สำหรับพ่อแม่มือใหม่ : 7 อาการผิดปกติต่างๆ ในร่างกายของเด็กแรกเกิด

อาการผิดปกติของเด็กแรกเกิดมีมากมาย เนื่องจากร่างกายของเด็กแรกเกิดอยู่ในช่วงกำลังปรับสภาพให้คุ้นชินกับสิ่งแวดล้อมนอกครรภ์ของคนเป็นแม่ ซึ่งอาการผิดปกติบางอย่าง เป็นเรื่องปกติที่เด็กทารกจะเป็น และเมื่อเด็กทารกโตขึ้นไปสักระยะ ร่างกายก็จะเข้าที่และเป็นปกติค่ะ

ตาเอก หรือ ตาเข (Premier or squint eye)

Premier or squint eye 1

เด็กแรกเกิดในช่วงเดือนแรก ตาดำของเด็กอาจจะเลือนเข้าไปด้านในสุด หรือนอกสุด ทำให้เห็นว่าลูกอาจเป็นตาเข หรือตาเอก แต่คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะในเดือนแรกของเด็กบริเวณกล้ามเนื้อตายังไม่แข็งแรง การทำงานยังไม่ดี  แต่เมื่อเด็กโตขึ้น ดวงตาก็จะกลับมาตรงเองค่ะ

แต่อย่าเพิ่งวางใจ หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตแล้วว่าดวงตาของลูกเขอยู่ตลอดเวลา ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจ และหาแนวทางแก้ไข เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นผลร้ายต่อดวงตาของลูกได้ เพราะตาเขจะทำให้ลูกมองทุกอย่างเป็น 2 วัตถุเสมอ สมองอาจสั่งงานให้ลืมภาพจากตาข้างหนึ่งเพื่อจะได้เห็นภาพเดียว นานๆเข้าตาข้างนั้นก็เลยเข รับภาพได้แต่สมองสั่งงานไม่รับภาพ กลายเป็นตาบอดทั้งที่ไม่ได้บอดจริง

เสียงหายใจดัง (Loud breathing)

Loud breathing

เด็กแรกเกิดสามารถนอนกรนได้ จะมีลักษณะคล้ายกับเสียงกรนของผู้ใหญ่ เพราะเด็กแรกเกิด ร่างกายของเด็กยังไม่สามารถควบคุมเพดานอ่อน จึงทำเกิดเสียงดังในเวลานอนหลับ

เสียงดังอีกอย่างในขณะที่เด็กแรกเกิดหายใจ อาจเกิดมาจากหลอดกล่องเสียง (Larynx) อ่อน ทำให้เวลาที่เด็กหายใจ จะเกิดเสียงดังจากในหลอดที่อยู่บริเวณลำคอ (Stridor) ซึ่งเป็นเรื่องปกติของเด็กทารก ที่กำลังหลับสบายดี แต่แค่การหายใจเสียงดังจึงทำให้พ่อแม่เป็นกังวล โดยเฉพาะเวลานอนหงายจะเกิดได้มากกว่านอนคว่ำเมื่อโตขึ้นก็จะหายไปเอง

แต่สิ่งที่ควรคอยระมัดระวังจริงๆ คือ ถ้าเด็กกำลังหลับสบาย แต่ก็มีเสียงหายใจดังถี่ๆ ขึ้นแบบไม่มีสาเหตุ ต้องระวังเพราะอาจมีโรคหอบหืดหรือโรคระบบหายใจอย่างอื่น หรืออาจมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปขัดขวางทางเดินหายใจได้

สะอึก

baby hiccup

อาการสะอึกบ่อยมักจะพบใจเด็กแรกเกิดในระหว่างอายุ 2-3 เดือนแรก มักจะเป็นหลังจากมื้อนม แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลไป แค่เพียงคุณพ่อคุณแม่อุ้มพาดบ่าลูกหลังลูกไล่ลมไปสักระยะ หรืออีกวิธีให้ดูดน้ำอุ่น ก็อาจหายได้ แต่ลองแล้ว แล้วยังไม่หาย รอสักพักจะหายไปเอง

กลั้นหายใจเวลาโกรธ (bay hold your breath when angry.)

baby Hold your breath when angry.

บางคนเวลาโกรธจะร้องเสียงดังพร้อมทั้งกลั้นหายใจจนหน้าเขียว ควรจะพาไปพบแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าลูกไม่มีความผิดปกติใดๆ ซ่อนอยู่ เช่น โรคหัวใจ แพทย์จะได้แนะนำวิธีแก้ไขด้วย

ทารกผวา สะดุ้งง่าย (baby scared)

scared baby

ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกของการคลอด เด็กแรกเกิดบางคนมักจะมีเสียงดังนิดหน่อย หรือพริกตัวไปเองก็จะตกใจมาก  ถ้าใครอุ้มหลวมๆ ไม่กระชับก็ร้องมือเท้าสั่น บางคนพอวางลงนอนหงาย แค่หลังแตะพื้นก็สะดุ้งพร้อมทั้งร้องจ้า คุณแม่ก็ต้องเบามือ รวมๆ 6 เดือนต่อมาจะดีขึ้นเอง แต่ถ้าเด็กขี้ตกใจมาก ควรปรึกษาแพทย์

ลูกแหวะนม (Baby throw milk)

ลูกแหวะนม

เมื่อเด็กแรกเกิดแหวะนม จะเป็นน้ำนมไหลรินๆ ออกมาทางปากเล็กน้อย ทั้งนี้ เกิดจากหูรูดบริเวณปากกระเพราะไม่กระชับแน่น เมื่อดูดนมมากก็ไหลเอ่อออกมา โตขึ้นจะหายไปเอง ระวังอย่าอุ้มลูกให้แน่นมาก ถ้าอุ้มเหวี่ยงแรงๆ หรือรีบให้เด็กแรกเกิดนอนราบทันทีหลังดื่มนม ก็ทำให้แหวะนมได้

อาการแหวะนมพบเสมอๆ ในเด็กแรกเกิดในช่วง 2-3 เดือนแรก ไม่มีอันตรายใดๆ

ลูกอาเจียน (Baby vomiting)

Baby vomiting

นมในกระเพาะจะพุ้งออกอย่างแรง อาจจะพุ้งออกทางปาก 2-3 นิ้ว คุณแม่ไม่ต้องตกใจ ถ้าลูกแข็งแรงก็ดีก็ไม่น่าเป็นห่วง บางคนอาเจียนวันละครั้ง มักเป็นเด็กแรกเกิดที่ร้องมาก ขี้โมโห อาจเป็นอยู่ประมาณ 2-3 สัปดาห์

ถ้าลูกผอมลงต้องมีอะไรผิดปกติ ควรพาไปพบแพทย์

ถ้าทารกอาเจียนทุกมื้อ ควรจะไปปรึกษาแพทย์ หรืออาเจียนอกมาเป็นน้ำดีสีเขียวๆ แสดงว่าผิดปกติ เพราะอาจเป็นลำไส้อุดตัน ทารกที่อาเจียนมาก ผอมลง อุจจาระผูก มีก้อนวิ่งในท้องให้เป็นเวลานอน อย่างนี้อย่ารอช้าให้รีบไปพบแพทย์ทันที

อาเจียนจากระเพาะอุดตัน มักเกิดกับเด็กแรกเกิดเพศชายในช่วงอายุ 2-3 สัปดาร์แรก เด็กแรกเกิดอาจจะอาเจียนพุ่งออกมาอย่างแรง เกิดขึ้นหลังให้นมสักครู่สังเกตจะเห็นบริเวณใต้อก (ตรงตำแหน่งกระเพาะ) เป็นก้อนโป่งและคลำได้ด้วย รีบพาลูกไปหาแพทย์โดยเร็ว เพราะโรคนี้รักษาโดยการผ่9าตัดจึงจะหายขาด ถ้าไม่พบแพทย์มีอันตรายได้

อาเจียนเพราะป่วย เด็กแรกเกิดที่ไม่เคยอาเจียนมาก่อนเลย อยู่ๆ เกิดอาเจียนควรดูว่ามีไข้ไหม บางคนพอเริ่มไม่สบายก็อาเจียนทันที

อาเจียนโดยไม่รู้สาเหตุ เด็กแรกเกิดที่อาเจียนโดยไม่รู้สาเหตุ มักทุเลาและหายไปเองในวัยที่นั่งได้ บางคนหายตอนเริ่มเดินได้ บางครั้งฟันงอกก็เริ่มอาการอีกแต่ไม่มาก ถ้าลูกแข็งแรง ร่าเริง แม้จะมีอาเจียนบ้างก็อย่ากังวล