5 วิธีลดไข้เด็ก โดยไม่ใช้ยา

5 วิธีลดไข้ลูก โดยไม่ใช้ยาและได้ผลดี

อาการไข้ตัวร้อนเป็นเรื่องปกติในเด็ก ซึ่งเป็นปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเผชิญ เตรียมพร้อมรับมือเมื่อลูกมีไข้ตัวร้อน และทำทุกอย่างเพื่อบรรเทาอาการไม่สบายตัวของลูกน้อย ในขณะที่การให้ลูกทานยาลดไข้อาจง่ายและสะดวกต่อคุณพ่อคุณแม่ค่ะ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการช่วยลดให้ให้กับลูก และการเลือกวิธีการลดไข้ตามธรรมชาติจะช่วยให้เด็กสร้างภูมิคุ้มกัน โดยการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันเพิ่มความสามารถในการต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆของร่างกายค่ะ ดังนั้นบทความเรามีวิธีลดไข้โดยไม่ใช้ยา และได้ผลที่ดีสำหรับเด็กมาฝากค่ะ

วิธีลดไข้ลูกโดยไม่ใช้ยา

ผ้าชุบน้ำวางบนหน้าผาก

1. การวางผ้าชุบน้ำแล้วบิดหมาดบนหน้าผากของลูกในขณะหลับ ซึ่งเป็นวิธีการดูแลในเบื้องต้นที่ดีที่สุดสำหรับอาการไข้สูง การทำเช่นนี้จะช่วยลดอุณหภูมิร่างกายของเด็กและลดความรู้สึกไม่สบายได้

wipe the reduce fever

2. การเช็ดตัวหรือการอาบน้ำอุ่น การอาบในช่วงที่ลูกมีไข้จะช่วยลดอุณหภูมิการคลายความร้อนจากร่างกาย ด้วยการราดจากศีรษะและขยี้ผมเหมือนการสระผมโดยไม่ต้องถูสบู่ค่ะ หลังจากนั้นให้เช็ดตัวและผมให้แห้ง ไม่ควรอาบน้ำเย็น เพราะสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็วและทำให้ไข้ขึ้นสูงได้

ลูกมีไข้ตัวร้อน

3. การสวมใส่เสื้อผ้า ควรเลือกเสื้อผ้าที่เบาสบายระบายอากาศได้ดี และหลีกเลี่ยงการห่มผ้าหนาๆทับลงบนตัวลูกน้อย เพื่อให้ผิวหนังผ่อนคลายร่างกายคลายความร้อนได้ดี

หอมแดงรักษาไข้หวัด

4. การักษาด้วยหัวหอมแดง เนื่องจากหัวหอมมีสรรพคุณช่วยลดอุณหภูมิของร่างกาย ลดหวัด ระบายน้ำมูกได้ดีและบรรเทาอาการปวดเมื่อยจากไข้ เพียงแค่ทุบหันหอมผสมน้ำให้ลูกอาบไม่ควรใส่ในปริมาณมากเพราะอาจทำให้แสบร้อนได้ค่ะ ทำเช่นนี้อย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน

อาบน้ำขิงลดไข้

5. การักษาด้วยขิง การอาบน้ำผสมขิงช่วยกระตุ้นให้เหงื่อออก ลดอาการไข้เนื่องจากหวัด โดยการใช้ขิงแก่ 2-3 เหง้า นำมาทุบให้ละเอียดต้มกับน้ำอาบให้ลูกน้อย

เคล็ดลับการดูแลลูกเมื่อมีไข้

  • การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์หลากหลายครบ 5 หมู่ 
  • ดื่มน้ำสะอาดมากๆ ช่วยลดอาการขาดน้ำชดเชยน้ำที่ร่างกายสูญเสียจากไข้ 
  • ให้ลูกนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะในขณะที่หลับร่างกายนำสารอาหารต่างๆไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ทำให้ร่างกายฟื้นฟูได้เร็ว
  • พักผ่อนในห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมหรือออกไปนอกบ้าน 

ลูกมีไข้แบบไหนควรพบแพทย์

อาการมีไข้ตัวร้อนควรระวังและพบแพทย์ทันที เมื่อพบว่าลูกของคุณมีไข้สูงตั้งแต่ 38.9 องศาเซลเซียส นานหว่า 2 วันและอาการไม่ดีขึ้นหลังรับประทานยา หรือมีไข้ร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น ไม่สบายตัว ปวดศีรษะ คอแข็ง อาเจียน เซื่องซึม ท้องเสีย เบื่ออาหาร หายใจลำบาก เป็นต้น