3 โรคลำไส้ในเด็กเล็กที่พบบ่อย

3 โรคลำไส้ในเด็กเล็กที่พบบ่อย

สวัสดีค่ะ บทความนี้เราจะพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความรู้จักเกี่ยวกับโรคลำไส้ในเด็กเล็กที่พบบ่อย พร้อมวิธีการดูแลลูกน้อยอย่างถูกวิธีค่ะ

3 โรคลำไส้ในเด็กเล็กที่พบบ่อย ได้แก่

โรคลำไส้อักเสบ 

โรคลำไส้อักเสบ 

ลำไส้อักเสบ หรืออุจจาระร่วงเฉียบพลัน จากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียในลำไส้ โดยไวรัสที่พบบ่อยที่สุดคือ ไวรัสโรต้า โดยมักระบาดในช่วงฤดูหนาวและสามารถติดต่อได้ทางการสัมผัสอุจจาระ น้ำมูก น้ำลาย อาจติดอยู่ตามสิ่งของเครื่องใช้หรือของเล่น เป็นต้น 

อาการลำไส้อักเสบ ได้แก่ ถ่ายอุจจาระเหลวมากกว่าปกติ ปวดท้อง ท้องอืดและอาจมีไข้ คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ในกรณีที่มีเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียอาจถ่ายเหลวมีมูกเลือดปน ข้อควรระวังเมื่อลูกมีอาการท้องร่วงคือ การสูญเสียน้ำมากอาการขาดน้ำ เช่น ปัสสาวะน้อยผิดปกติ ปากแห้ง เบ้าตาลึก กระหม่อมบุ๋ม ซึม ตัวเย็น และอาจทำให้เกิดอาการขาดน้ำอย่างรุนแรงจนช็อกได้ค่ะ

การดูแลลูกเมื่อมีอาการท้องร่วงสิ่งสำคัญคือ การป้องกันภาวะร่างกายขาดน้ำด้วยการทดแทนน้ำที่สูญเสียไป ซึ่งสามารถดูแลได้เองที่บ้านด้วยการให้ลูกดื่มสารละลายเกลือแร่บ่อยๆ ทานอาหารปรุงสุกย่อยง่าย แต่ในกรณีที่มีไข้ อาเจียน หรือพบภาวะร่างกายขาดน้ำรุนแรงควรพบแพทย์ทันทีค่ะ

การป้องกันโรคลำไส้อักเสบในเด็ก เริ่มต้นจาการดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสโรต้า เนื่องจากเป็นสาเหตุของโรคที่พบบ่อยในเด็ก ซึ่งสามารถฉีดได้ตั้งแต่ทารกอายุ 6 สัปดาห์ รวมถึงการรักษาสุขอนามัย การล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง ทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ รวมถึงไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น หมั่นทำความสะอาดที่อยู่และของเล่นลูกบ่อยๆค่ะ

ภาวะลำไส้กลืนกัน

ภาวะลำไส้กลืนกัน

ลำไส้กลืนกันในเด็ก เป็นภาวะที่เกิดขึ้นฉับพลันและอันตราย เกิดจากการลำไส้ส่วนต้นมุดเข้าไปในลำไส้ส่วนที่อยู่ถัดไปทางด้านปลาย หากลำไส้กลืนกันเป็นเวลานานจะทำให้เกิดภาวะลำไส้ขาดเลือดจนเกิดการเน่า ลำไส้แตกทะลุและเยื่อบุช่องท้องอักเสบ รวมทั้งอาจเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดจนนำไปสู่การเสียชีวิตได้ค่ะ

อาการภาวะลำไส้กลืนกัน คุณแม่สามารถสังเกตเมือลูกจะมีอาการปวดท้อง กระสับกระส่าย ร้องไห้เป็นพักๆประมาณ 15-30 นาทีก็เริ่มร้องอีก มือเท้าเกร็ง ท้องอืด อุจจาระปนเมือกแดง และอาจอาเจียนร่วมด้วย ในเด็กบางร่ายอาจจะมีอาการซึมหรือชักร่วมด้วยค่ะ

วิธีการดูแลสามารถทำได้ 2 วิธี ได้แก่

  1. การดันลำไส้ส่วนที่กลืนกันออกให้คลายออก โดยไม่ต้องทำการผ่าตัดซึ่งอาจจะใช้การสวนลำไส้ใหญ่ด้วยสารของเหลวที่เป็นสารทึบรังสี barium หรือใช้ก๊าซเป็นตัวดัน
  2. การผ่าตัดช่องท้อง เพื่อบีบดันให้ลำไส้ส่วนที่กลืนกันคลายตัวออกจากกัน วิธีนี้ใช้ในกรณีที่ลำไส้กลืนกันนานจนเกิดลำไส้ขาดเลือดหรือลำไส้ทะลุค่ะ

เนื่องจากภาวะลำไส้กลืนกันนั้นเกิดขึ้นแบบฉับพลันและไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่นอนได้ ดังนั้นการป้องกันที่ดีสุดคือการหมั่นสั่งเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกันอาการรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ 

ภาวะท้องผูก

ภาวะท้องผูก

อาการท้องผูกในเด็ก สาเหตุของอาการท้องผูกในเด็กสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีลำไส้ผิดปกติตั้งแต่กำเนิด และกลุ่มที่มีท้องผูกจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารหรือกลุ่มที่มีอาการท้องผูกจากนิสัยในการขับถ่าย เช่น การทานอาหารย่อยยาก เส้นใยอาหารน้อย การดื่มน้ำน้อย ฯลฯ

อาการท้องผูกในเด็ก คุณแม่สามารถสังเกตได้เมื่อลูกขับถ่ายมักมีอาการดังนี้ มีอาการปวดท้องเป็นอาการนำ ท้องอืดแน่นท้อง ถ่ายยากมีลักษณะเป็นเหมือนเม็ดกระสุนเล็กๆและแข็ง หรือในบางคนเวลาถ่ายอุจจาระจะเบ่งหน้าดำหน้าแดง ร่วมกับการกรีดร้องเสียงดัง เป็นต้น แต่มักไม่มีอาการอื่นร่วมด้วยเมื่อได้ถ่ายก็จะหายปวดได้เองค่ะ 

วิธีการดูแลรักษาและป้องกันอาการท้องผูกในเด็ก ได้แก่ 

– กลุ่มที่มีความผิดปกติของลำไส้ จำเป็นต้องรับการผ่าตัดเพื่อตัดลำไส้ส่วนที่ผิดปกติทิ้งไปค่ะ

– กลุ่มที่มีอาการท้องผูกจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร คุณแม่ควรในลูกทานผักผลไม้ที่กากใยอาหารมากขึ้น การดื่มน้ำสะอาดมากๆ หรืออาจให้ดื่มน้ำลูกพรุน มะระกอสุก จะช่วยให้ลูกขับถ่ายขึ้นค่ะ