ไวรัสโรต้า ท้องร่วงรุนแรงในเด็ก

ไวรัสโรต้า ท้องร่วงรุนแรงในเด็ก

ไวรัสโรต้า ท้องร่วงรุนแรงในเด็ก
ภาวะท้องร่วงรุนแรงในเด็ก อันตรายใกล้ตัวที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ บทความนี้จะพาคุณพ่อคุณแม่ไปทำความรู้จักกับไวรัสโรต้าสาเหตุทำให้เกิดโรคท้องร่วงรุนแรงในเด็ก รวมถึงการป้องกันและการดูแลลูกน้อยมาฝากค่ะ

ไวรัสโรต้า(ROTAVIRUS) เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียฉับพลันและติดต่อกันได้ง่ายผ่านการนำมือ อาหาร หรือสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าปาก โดยมักพบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เพราะเด็กมักจะหยิบอะไรได้ก็ส่งเข้าปากทันที ทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายได้อย่างง่ายดาย เชื้อไวรัสโรต้าพบการแพร่ระบาดมากในช่วงฤดูหนาวโดยเฉพาะช่วงเดือน ตุลาคม ถึง กุมพาพันธ์ แฝงตัวอยู่กับสิ่งของรอบตัวไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า อาหาร หรือของเล่น และแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว เชื้อไวรัสโรต้าทนต่อสภาพแวดล้อมภายนอกร่างกายคนได้นาน ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องระวังเป็นอย่างมากค่ะ

เชื้อไวรัสโรต้าแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว เนื่องจากเชื้อชนิดนี้ทนต่อสภาพแวดล้อมภายนอกร่างกายคนได้นาน โดยจะเข้าสู่ร่างกายผ่านการรับประทานอาหารหรือการดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ รวมถึงการนำนิ้วมือที่สัมผัสกับสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าปาก นอกจากนี้ เชื้อไวรัสโรต้ายังสามารถปะปนไปกับอุจจาระของผู้ติดเชื้อตั้งแต่ในช่วงก่อนที่จะแสดงอาการป่วย และสามารถอาศัยอยู่ในร่างกายต่อไปได้นานถึง 10 วันหลังหายดีแล้ว บุคคลเหล่านี้จึงกลายเป็นพาหะแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้โดยไม่รู้ตัว

อาการและการรักษาโรคท้องร่วงที่อาจเกิดจากไวรัสโรต้า โดยสังเกตได้ดังนี้
ไวรัสโรตัาเมื่อได้รับเชื้อไวรัสโรตาเข้าสู่ร่างกาย จะมีระยะฟักตัว 48 ชั่วโมง จะมีอาการท้องเสียหนักมาก ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำและถ่ายบ่อยกว่าปกติ ปวดท้องอย่างรุนแรง เด็กบางรายจะมีอาการซึม มือเท้าเย็น มีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากอุจจาระบ่อยจนอาจหมดแรงและสูญเสียน้ำในร่างกาย หรืออาเจียนร่วมด้วยไม่สามารถดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารได้ มีไข้ น้ำมูกและไอเล็กน้อยคล้ายการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ อาการท้องร่วงหากอาการไม่รุนแรงจะหายได้เองใน 3 – 7 วัน แต่สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง คือการเสียน้ำในร่างกายซึ่งทำให้เกิดการช็อกได้ค่ะ ควรดื่มเกลือแร่ ทานอาการอ่อนย่อยง่ายค่ะ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการหากพบภาวะอื่นร่วมด้วยหรือความผิดปกติควรรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด

การป้องกันไวรัสโรต้า

1.การรักษาสุขอนามัย ซึ่งเป็นการป้องกันที่สำคัญที่สุดค่ะ
– เด็กอายุ 6 – 12 เดือน คุณพ่อคุณแม่ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดก่อนและหลังการสัมผัส ป้อนอาหารลูกน้อย หมั่นควรทำความสะอาดของใช้เด็กเป็นประจำค่ะ
– เด็กวัยอนุบาล ควรฝึกวินัยนิสัยสร้างสุขอนามัยที่ดี เช่น การล้างมือก่อนและหลังการหยิบของเข้าปาก เป็นต้น
2. รับประทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาด ไม่มีแมลงวันตอม
3. หลีกเลี่ยงการพาลูกไปในที่ชุมชนหนาแน่น หรือที่ที่มีการระบาดของโรค
4. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตามวัคซีนก็ไม่สามารถป้องกันเชื้อไวรัสโรต้าได้ 100 % เพียงแต่ช่วยให้มีอาการท้องร่วงน้อยลงค่ะ

นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่สุดเมื่อลูกป่วย คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดค่ะ หากพบว่าลูกมีอาการผิดปกติ เช่น ลูกไม่สามารถรับประทานอะไรได้ มีอาการซึม หรืออาเจียนบ่อยครั้ง คุณพ่อคุณแม่ต้องรีบพาลูกมาพบคุณหมอทันทีค่ะ เพื่อตรวจยืนยันการวินิจฉัย และให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป