ไข้หวัดใหญ่ในเด็ก

ไข้หวัดใหญ่ในเด็ก

ไข้หวัดใหญ่ในเด็ก(influenza หรือ flu)
สวัสดีค่ะ ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงปลายฝนต้นหนาว กลางวันหน้าร้อนแบบนี้ แอดมินมีสาระความรู้เรื่องของไข้หวัดใหญ่มาฝากคุณพ่อคุณแม่ค่ะ

โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีอยู่ 3 ชนิดใหญ่ๆ คือ ชนิดเอ(Type A)พบได้ในคนและสัตว์ ชนิดบี(Type B)พบในมนุษย์เป็นหลัก และชนิดซี(Type C)พบในมนุษย์เป็นหลักเช่นกัน โดยในแต่ละชนิดก็ยังสามารถแบ่งออกเป็นหลายชนิดย่อยๆได้อีกจำนวนมาก เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่แพร่ระบาดได้ง่ายผ่านการไอจามรดกันและการสัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยที่ปนเปื้อนกับส่งของเครื่องใช้ต่างๆ

อาการของไข้หวัดใหญ่
เชื้อไขหวัดใหญ่จะมีระยะฟักตัว 1 – 3 วันหลังจากได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยจะมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อโดยเฉพาะที่หลัง ต้นแขน ต้นขา รู้สึกอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ต่อมาจะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ไอแห้งๆ ไอแห้งๆ โดยในเด็กอาจพบอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วงร่วมด้วย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง อาการจะทุเลาและหายป่วยภายใน 5 – 7 วัน แต่บางรายที่มีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ปอดอักเสบ รุนแรง จะพบอาการหายใจเร็ว เหนื่อย หอบ หายใจลำบาก ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้นะค่ะ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลูกน้อย หากพบว่าลูกเป็นหวัด มีไข้สูง ปวดศีรษะ อ่อนเพลียมาก ไอมากจนหายใจเหนื่อย และอาการเป็นมากขึ้นหรือไม่ดีขึ้นเกิน 5 วัน ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจร่างกายและการรักษาที่ถูกต้องการโรคต่อไปค่ะ

การดูแล/รักษาโรคไข้หวัดใหญ่
กรณีที่เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนและมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็กโต โดยคุณหมออาจทำการรักษาด้วยยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ หลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าลูกเป็นไข้หวัดใหญ่ค่ะ ในส่วนของเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป พ่อคุณแม่อาจดูแลลูกตามอาการให้ทานยาลดไข้ ยาแก้ไอ ล้างจมูก ให้นอนพักผ่อนและดื่มน้ำมากๆ รวมถึงการรับประทานอาการที่มีประโยชน์ และบางรายอาจต้องทานยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่หรือยาปฏิชีวนะ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น ไซนัสอักเสบ, หูชั้นกลางอักเสบ, หลอดลมอักเสบ เป็นต้น โดยแพทย์จะพิจารณาการรักษาเป็นรายๆไปค่ะ ละสังเกตอาการที่ต้องไปพบคุณหมอเช่น ซึมลง ทานไม่ได้ ไข้สูง อ่อนเพลียมาก ไอมากจนหอบเหนื่อย เป็นต้นค่ะ

การป้องกันโรคไขหวัดใหญ่
ปัจจุบันมีวัคซีนที่สามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่สามารถฉีดได้ในเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป และบุคคลที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอด โรคหืด โรคหัวใจ โรคระบบประสาท โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เพราะมีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคไข้หวัดใหญ่ได้ค่ะ ซึ่งการฉีดในแต่ละครั้งจะสามารถป้องกันโรคได้นานถึงหนึ่งปี และควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสและคลุกคลีกับผู้ป่วย สร้างวินัยในการดูแลสุขลักษณะส่วนบุคคลให้กับลูก เช่น การล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ก่อนและหลังการรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง เป็นต้น เมื่อลูกป่วยควรหลีกเลี่ยงไปในที่ชุมชนค่ะ เพื่อลดการแพร่เชื้อไข้หวัดและรับเชื้อไวรัสอื่นๆ