ไข้มาลาเรียในเด็ก

ไข้มาลาเรียในเด็ก

โรคไข้มาลาเรีย โรคร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อเด็กและผู้ใหญ่ พบว่าเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี มาลาเรียมียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค การติดเชื้อนี้ทำให้เกิดไข้หนาวสั่นและมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ในเด็กเล็ก โรคมาลาเรียสามารถรักษาได้ค่ะ แต่จะต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว เพราะถ้าหากติดเชื้อรุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและอาจทำให้เสียชีวิตได้ค่ะ

มาลาเรีย (Malaria) เป็นโรคมที่มียุงก้นปล่องเพศเมียเป็นพาหะ แพร่กระจายในเด็กเล็กและผู้ใหญ่ผ่านการกัดของยุงตัวเมียที่ติดเชื้อปรสิตที่เกิดจากเชื้อ พลาสโมเดียม (Plasmodium) ซึ่งทำลายระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายและส่งผลกระทบต่อเด็กรุนแรง เชื้อพลาสโมเดียมที่ทำให้เกิดโรคในคนมี 5 ชนิด ได้แก่

  • พลาสโมเดียมฟัลซิพารัม (P. falciparum) เป็นเชื้อที่พบได้บ่อยที่สุดในประเทศไทย
  • พลาสโมเดียมไวแว็กซ์ (P. vivax) เป็นเชื้อที่พบในเอเชียและละตินอเมริกา
  • พลาสโมเดียมโอวาเล่ (P.ovale) พบในหมู่เกาะแปซิฟิกและแอฟริกาตะวันตก
  • พลาสโมเดียมมาลาเรีย (P. malariae) เชื้อชนิดนี้ค่อนข้างหายากและเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดการติดเชื้อเรื้อรัง
  • พลาสโมเดียมโนว์ไซ Z(P. Knowlesi)X พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การติดเชื้อชนิดนี้ส่งผลกระทบรุนแรงและรวดเร็ว

นอกเหนือจากการถูกยุงกัด สาเหตุอื่นของมาลาเรียยังรวมถึงการถ่ายเลือดหรือการใช้เข็มร่วมกัน และคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อมาลาเรียอาจแพร่เชื้อไปสู่ลูกในครรภ์ก่อนหรือระหว่างการคลอด เรียกว่า มาลาเรียที่มีมาแต่กำเนิด มาลาเรียมีระยะฟักตัวระหว่าง 10 วันถึง 4 สัปดาห์หลังจากการติดเชื้อค่ะ

อาการของโรคมาลาเรียในเด็ก

ทารกที่ได้รับผลกระทบจากมาลาเรีย อาจมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน เช่น ไม่ไข้ ไอ เบื่ออาหาร ง่วงนอน หงุดหงิด กระสับกระส่าย ในบางรายมีอาการคลื่นไส้และท้องร่วง เป็นต้น ซึ่งอาการทั่วไปของโรคมาลาเรียในเด็กที่พบ ได้แก่

  • ไข้สูง หนาวสั่น ซึ่งการที่ร่างการมีอุณหภูมิสูงไม่จำเป็นต้องเป็นไข้ธรรมดา มันอาจบ่งบอกว่ามีการติดเชื้อหรือโรคร้ายแรงได้เช่นกันค่ะ
  • เบื่ออาหาร ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งเป็นวิธีที่ร่างกายตอบสนองต่อการติดเชื้อและความรุนแรง
  • ปวดศีรษะเป็นเรื่องธรรมดาในเด็กทีมีไข้ร่วมด้วย
  • กระสับกระส่าย มาลาเรียสามารถทำให้เกิดอาการต่างๆในเด็ก ในบางคนมันทำให้เกิดอาการง่วงนอน และในขณะที่บางคนก็นอนไม่หลับค่ะ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคมาลาเรีย

การติดเชื้อมาเลเรียอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่นได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ดังนี้

  • การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อสมอง อาจทำให้เกิดการบวมในสมองหรือนำไปสู่ความเสียหายของสมองอย่างถาวรหรืออาการโคม่าได้ค่ะ
  • อาการชัก หรือมาลาเรียในสมองเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในกรณีของการติดเชื้อ P. falciparum อย่างรุนแรง อาการของการติดเชื้อที่ซับซ้อนนี้รวมถึงอาการชักที่คาดเดาไม่ได้
  • ไตเสื่อม ในบางกรณีไข้มาลาเรียจะนำไปสู่ภาวะไตวายเฉียบพลัน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ P. falciparum บางครั้งแม้แต่ P. vivax และ P. malariae ก็มีส่วนทำให้การทำงานของไตในผู้ป่วยมาลาเรียเสื่อมถอยได้ค่ะ
  • โรคโลหิตจาง เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถนำออกซิเจนมาสู่อวัยวะในร่างกายได้อย่างเพียงพอ ทำให้เกิดความรู้สึกอ่อนเพลีย ง่วงนอนตลอดทั้งวัน และมาลาเรียสามารถนำไปสู่โรคโลหิตจางรุนแรงได้ค่ะ
  • ปอดบวม หรืออาการบวมน้ำที่ปอด ในบางครั้งไข้มาลาเรียทำให้เกิดการกักเก็บของเหลวในปอดและอาจทำให้หายใจลำบากได้ค่ะ
  • ม้ามโตเป็นอาการที่พบบ่อยในมาลาเรีย
  • อวัยวะล้มเหลว ซึ่งรวมถึงไตตับสมองหรือปอดล้มเหลวและอาจถึงแก่ชีวิตได้ค่ะ

การฟื้นตัวจากโรคมาลาเรียขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ชนิดของมาลาเรีย ความรวดเร็วของการรักษาและภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย นอกจากนี้ชนิดของมาลาเรียจะกำหนดความรุนแรงและการติดเชื้อค่ะ