โรคหัดในเด็ก

โรคหัดในเด็ก (Measles)

สวัสดีค่ะ บทความนี้เราจะมาพูดคุยเกี่ยบกับโรคหัด ไข้ออกผื่น ที่มาพร้อมกับหน้าหนาวพบบ่อยได้ในเด็กเล็ก โดยส่วนใหญ่จะเป็นเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดในช่วงเด็กอายุ 1 – 6 ปี โรคหัดส่วนมากจะหายจากหัดได้เองแต่ในบางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงอื่นๆขึ้นมาได้และอาจเสียชีวิตได้ค่ะ ดังนั้นหากลูกเป็นโรคหัด คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร รวมถึงมีวิธีการป้องกันโรคหัดอย่างไรบ้างไปหาคำตอบกันค่ะ

โรคหัด คืออะไร

โรคหัดในเด็ก

โรคหัด (Measles) เกิดจากไวรัส Rubeola Virus เป็นโรคที่ทำให้เกิดไข้ออกผื่น มีลักษณะเด่นคือ มีไข้ร่วมกับการติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น มีน้ำมูก ไอบ่อย ตาแดง มีผื่นขึ้นที่ผิวหนังลักษณะเป็นผื่นนูนแดงติดกันเป็นปื้นๆ ผื่นจะขึ้นที่หน้าบริเวณชิดขอบผมแล้วกระจายไปตามลำตัว แขน ขา หลังจากนั้นไข้จะเริ่มลดลงและผื่นจะมีสีเข้มขึ้นเป็นสีแดงคล้ำและจะจางหายไปเองค่ะ โรคหัดมีการติดต่อสู่คนได้ง่ายจากการหายใจ การไอ จามรดกัน การใช้สิ่งของร่วมกัน ของเล่น-ของใช้ที่ปนเปื้นเชื้อโรคและมักนำเข้าปากในเด็กเล็ก เนื่องจากเชื้อไวรัสจะอยู่ในละอองน้ำลายและน้ำมูกของผู้ป่วยค่ะ

อาการของโรคหัด

อาการของโรคหัดโดยทั่วไปจะเกิดอาการหลังจากได้รับเชื่อภายใน 14 วัน โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้

มีไข้
  • ระยะก่อนออกผื่น ลุกจะเริ่มด้วยการมีไข้สูง น้ำมูกไหล ไอแห้ง เจ็บคอ มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหารร่วมด้วย จะเป็นแบบนี้อยู่ประมาณ 3-4 วันค่ะ
มีไข้และออกผื่น
  • ระยะออกผื่น เด็กจะมีผื่นนูนแดงเป็นปื้นๆ ไม่คัน โดยขึ้นที่บริเวณโคนผม ใบหน้าก่อน หลังจากนั้นจะแพร่กระจายไปทั่วตัว เมื่อผื่นขึ้นไข้จะเริ่มลดลงค่ะ ผื่นจะมีสีแดงต่อมาสีจะเข้มขึ้นจนแดงคล้ำและหายไปเอง

การรักษาโรคหัด

พาลูกไปหาหมอ

โรคหัด เนื่องจากยังไม่มีการรักษาเฉพาะจึงเป็นการรักษาตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้ ยาแก้อักเสบ ฯลฯ และโรคหัดสามารถหายเองได้ภายใน 7 – 10 วัน เมื่อดูปเป็นโรคหัดคุณพ่อคุณแม่สามารถดูแดลูกน้อยโดยการเด็กนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ ทานอาหารครบ 5 หมู่ เพื่อเพิ่มภูมิต้านทางโรคให้แก่เด็กค่ะ แต่ถ้าหากลูกมีอาการไอมาก เสมหะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเขียว หรือหายใจเหนื่อยหอบ ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ทันทีค่ะ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัด

ภาวะแทรกของดรคหัด ซึ่งมักเกิดกับทารกที่อายุต่ำกว่า 1 ปี ในเด็กที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เด็กขาดสารอาหาร และภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ ไปจนถึงวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่สุขภาพไม่ดีค่ะ ภาวะแทรกที่อาจเกิดขึ้นได้ ได้แก่ หูส่วนกลางอักเสบซึ่งอาจมีผลต่อการได้ยินของเด็กได้ โรคปอดอักเสบติดเชื้อ โรคสมองอักเสบ โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร อุจจาระร่วง ไส้ติ่งอักเสบ ตับอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และเสียชีวิตได้เช่นกันค่ะ ในกรณีของสตรีมีครรภ์ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคหัด และติดเชื้อไวรัสนั้นมีโอกาสเสี่ยงแท้งบุตรหรือทารกเสียชีวิตในครรภ์หรือคลอดก่อนกำหนด

การดูแลป้องกันโรคหัดในเด็ก

การฉีดวัคซีน

โรคหัดสามารถป้องกันได้ค่ะ หากเด็กได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดครบตามกำหนด ซึ่งเป็นวัคซีนที่ป้องกันได้ทั้งโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน โดยทารกสามารถรับวัคซีนครั้งแรกเมื่ออายุ 9 – 12 เดือน และครั้งที่สองเมื่ออายุ 2 ปี 6 เดือน คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองควรพาบุตรหลานไปรับวัคซีนตามกำหนด เพื่อป้องกันโรคหัดและโรคแทรกซ้อนอันตรายอื่นๆที่อาจเกิดตามมาได้ค่ะ

โรคหัดในเด็กอันตรายใกล้ตัวที่คุณพ่อคุณแม่ดูแลและป้องกันได้ค่ะ เพราะยุขภาพลูกน้อยเป็นสิ่งสำคัญ การดูแลป้องกันย่อยดีกว่าการแก้ไขเสมอค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง