โรคกระเพาอาหาร

โรคกระเพาะอาหารในเด็ก

โรคกระเพาะอาหารหลายๆคนอาจคิดว่าเป็นโรคที่มักเกิดกับวัยรุ่นและผู้ใหญ่ เนื่องจากการอดอาหาร การรับประทานอาหารไม่เป็นเวลาหรือความเครียด แต่คุณทราบหรือไม่ว่าโรคกระเพาะก็เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยในเด็กค่ะ ซึ่งจะมีสาเหตุมากจากอะไรและมีวิธีการป้องกันดูแลรักษาอย่างไรบ้างมาดูกันเลยจ้า

โรคกระเพาะคืออะไร

โรคกระเพาะอาหาร คือการระคายเคืองหรือการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหารจากกรดที่เพิ่มขึ้น การรับประทานอาหารรสจัดโดยเฉพาะรสเผ็ด การใช้ยาต้านการอักเสบสเตียรอยด์เป็นเวลานาน ความเครียดทางร่างกายที่รุนแรง การติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น Helicobacter pylori (H. pylori) เป็นต้น โรคบางอย่าง เช่น โรคโลหิตจาง โรคเบาหวาน ฯลฯ วัยรุ่นและผู้ใหญ่อาจมีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคกระเพาะเนื่องจาก การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ เป็นต้น

อะไรทำให้เด็กเสี่ยงต่อโรคกระเพาะ

สาเหตุของโรคกระเพาะสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดการระคายเคืองของเยื่อบุกระเพาะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยในเด็กได้แก่

  • การติดเชื้อแบคทีเรีย
  • วัตถุมีพิษที่เด็กกลืนเข้าไป เช่น ถ่านกระดุม เป็นต้น
  • การบาดเจ็บ เช่น การบาดเจ็บที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้ของเด็ก เป็นต้น
  • การใช้ยาต้านการอักเสบสเตียรอยด์เป็นเวลานาน

โรคกระเพาะในเด็กมีอาการอย่างไร

โรคกระเพาะอาหารแต่ละคนอาจมีอาการแตกต่างกันค่ะ ซึ่งอาการหลักของโรคกระเพาะอาจรวมถึงความรู้สึกไม่สบายท้องเนื่องจากแผลในกระพาะอาหาร โดยอาการที่พบบ่อยที่สุดของโรคกระเพาะได้แก่

  • ปวดท้อง แสบร้อนหรือกดเจ็บที่ท้องของเด็ก
  • แน่นท้องบริเวณกระเพาะอาหาร
  • คลื่นไส้หรืออาเจียน
  • เบื่ออาหาร อิ่มเร็ว
  • มีกลิ่นปาก
  • อ่อนเพลียหรือรู้สึกเหนื่อยมากกว่าปกติ

การรักษาโรคกระเพาะ

โดยทั่วไปการรักษาโรคกระเพาะอาหารในเด็กขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรคกระเพาะ เช่น อาการที่เกิดจากวัตถุที่เป็นพิษ เช่น ถ่านกระดุมต้องได้รับการรักษาทันทีค่ะ อาจให้ยาเพื่อช่วยรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียหรือลดกรดในกระเพาะอาหาร รวมถึงผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงอาหารเครื่องดื่มหรือยาที่ทำให้เกิดอาการหรือระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะอาหารค่ะ

การป้องกันโรคกระเพาะอาหารในเด็ก

การป้องกันโรคกระเพาะอาหารในเด็กวิธีที่ดีที่สุดคือ การหลีกเลี่ยงลดความเสี่ยงที่อาจเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะ เช่น

  • หลีกเลี่ยงหรือเก็บถ่านกระดุม แบตเตอรี่ขนาดเล็ก วัสดุที่เป็นพิษที่สามารถอมหรือกลืนได้ให้พ้นมือเด็ก 
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองโดยเฉพาะในขณะท้องว่าง เช่น น้ำอัดลม ผลไม่รสเปี้ยว เป็นต้น
  • ช่วยให้ลูกของคุณผ่อนคลายและลดความเครียด เนื่องจากความเครียดสามารถเพิ่มกรดในกระเพาะอาหารค่ะ