โรคกรดไหลย้อนในทารก

โรคกรดไหลย้อนในทารก

กรดไหลย้อน เป็นอาการที่ส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อนี้ตั้งอยู่ในหลอดอาหารส่วนล่างใกล้กับกระเพาะอาหาร เกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่รวมถึงทารกด้วยเช่นกันค่ะ เนื่องจากเด็กทารกไม่สามารถบอกอาการการเจ็บป่วย ไม่สบายตัวได้ ดังนั้นวันนี้เราจะพามาหาคำตอบกรดไหลย้อนในทารก รวมถึงวิธีการดูแลรักษาค่ะ

โรคกรดไหลย้อนในทารก คืออะไร

โรคกรดไหลย้อนในผู้ใหญ่อาจมีสาเหตุมากจากแก๊สในกระเพาะอาหาร อาหารไม่ย่อยเป็นกรด โรคดไหลย้อนในทารกส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการกินนมมากเกินไป ทำให้เกิดน้ำลายไหลมากกว่าปกติ อาเจียน แหวะนมบ่อย แต่ยังคงร่าเริงสดใส มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยค่ะ เชื่อกันว่ากรดไหลย้อนในทารกไม่ถือว่าเป็นภาวะร้ายแรงและไม่ทำให้การเจริญเติบโตหรือความสามารถของเด็กลดลง แต่หากพบว่ามีอาการแหวะนม พร้อมกับมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น ร้องไห้งอแง แหวะนมตลอดทั้งวัน เป็นต้น ซึ่งเป็นสัญญาณที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังค่ะ เพราะลูกอาจเป็นโรคกรดไหลย้อน ซึ่งทำให้นำไปสู่ปัญหาการหายใจและปวดท้องได้ค่ะ

กรดไหลย้อนในทารกเกิดจากอะไร

คุณอาจสงสัยว่าทำไมลูกของคุณถึงเป็นโรคนี้ ทารกส่วนใหญ่เกิดภาวะนี้เนื่องจากระบบย่อยอาหารยังทำงานได้ไม่เต็มที่ค่ะ ในบางกรณีอาจเกิดจากการรับประทานอาหารของมารดาโดยเฉพาะในช่วงให้นมบุตร เช่น ยาบางชนิด โซดา อาหารรสเผ็ด เป็นต้น นอกจากนี้อาจมีสาเหตุมาจากผลข้างเคียงของการแพ้แลคโตส การบริโภคนมมากเกินไป หรือภาวะอ้วน เป็นต้น

สัญญาณและอาการกรดไหลย้อนในทารก

ภาวะกรดไหลย้อนในทารก มักมีอาการของการแหวะนมแต่ไม่แสดงอาการอื่นๆ และอาการนี้จะหายไปได้เองเมื่อเริ่มโตค่ะ อาการอื่นๆที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษคือ

  • อาเจียนหรือแหวะนมหลังจากกินนมมากกว่า 5 ครั้งต่อวัน
  • หงุดหงิดร้องไห้ งอแง รู้สึกไม่สบายตัว นอนไม่หลับหรือหลบในระยะเวลาสั้นๆ
  • มีปัญหาในการรับประทานอาหาร กลืนลำบากอาหารกลับขึ้นมาหลอดอาหาร
  • มีปัญหาการหายใจ หายใจลำบาก มีเสียงครืดคราด ในบางรายอาจเป็นลมหมดสติ หรือเกิดภาวะหยุดหายใจในขณะหลับ

หากพบว่าลูกน้อยมีอาการดังกล่าวควรรีบพบแพทย์ทันที เพื่อเข้ารับการตรวจรักษาที่ถูกต้องทันท่วงทีค่ะ

การดูแลลูกน้อยที่มีภาวะกรดไหลย้อน

การรักษากรดไหลย้อนในทารก ที่มีสาเหตุมาจากการกินนมมากเกินไปซึ่งสามารถทำได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการกินของลูกน้อย ดังนี้

  • การป้อนนมลูกน้อยควรให้อยู่ในท่าลำตัวตั้งตรง ไม่ควรอุ้มกินนมในท่าขนานกับพื้นหรือศีรษะต่ำกว่าลำตัวของลูกน้อย เพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับของนมค่ะ
  • กินนมในปริมาณที่น้อยลง เนื่องจากหูรูดหลอดอาหารอ่อนแอยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์เท่าในช่วงวัยอื่น แต่ควรให้กินบ่อยครั้งขึ้นเพื่อป้องการการกินนมมากเกินไปและกระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหารให้ทำงานได้ดีขึ้น
  • หลังจากกินนมควรให้ลูกน้อยเรอทุกครั้งจะทำให้สบายท้องไม่อึดอัดค่ะ
  • การนอนควรให้ลูกนอนในท่าตะแคงซ้าย จะทำให้หลดอาหารหรือทางเข้ากระเพาะอยู่ในระดับที่สูงกว่าทางออกค่ะ สามารถช่วยลดความเสี่ยงการไหลย้อนกลับของอาหารค่ะ
  • สวมใส่เสื้อผ้าสบายไม่รัดแน่นจนเกินไป ป้องกันการบีบรัดกระเพาะอาหารทำให้อาหารล้นหรือทะลักออกมาได้ค่ะ

กรดไหลย้อนในทารกสามารถดูแลและป้องกันได้ค่ะ เพราะสุขภาพของลูกน้อยเป็นสิ่งสำคัญ หากเจ็บป่วยหรือมีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์ทันทีค่ะ เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป เพราะหากปล่อยไว้นานอาจส่งผลร้ายต่อตัวลูกน้อยของคุณค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง