แอสเพอร์เกอร์ซินโดรม (Asperger Syndrome) ในเด็ก

แอสเพอร์เกอร์ซินโดรม (Asperger Syndrome) ในเด็ก

ในบางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็นความผิดปกบางอย่างที่เกิดขึ้นกับลูกของคุณ ปัญหาในการโต้ตอบกับผู้คนหรือสื่อสารสิ่งที่เขาต้องการ โดยเด็กส่วนใหญ่ใช้เวลาเรียนรู้สิ่งเหล่านี้เมื่อโตขึ้น แต่เด็กบางคนอาจดูเหมือนเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยากสำหรับเขา ซึ่งพฤติกรรมนี้มีโอกาสที่ลูกของคุณอาจเป็นกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ซินโดรมได้ค่ะ

แอสเพอร์เกอร์ซินโดรมในเด็กคืออะไร

แอสเพอร์เกอร์ซินโดรม (Asperger Syndrome) มีลักษณะเป็นออทิสติกประเภทหนึ่งเป็นภาวะที่ส่งผลต่อความสามารถในการเข้าใจภาษาการสื่อสารและการเข้าสังคม มีระดับสติปัญญาในระดับปกติ ความจำดีแต่มีปัญหาในการประยุกต์ใช้และมักมีพฤติกรรมหมกมุ่น ทำซ้ำๆไม่ค่อยยืดหยุ่น ซึ่งมักส่งผลต่อการเรียน การเข้าสังคมและการทำงานค่ะ

สาเหตุของกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ 

สาเหตุของอาการกลุ่มแอสเพอร์เกอร์ในเด็กไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ซึ่งอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมและความผิดปกติบางอย่างในโครงสร้างของสมอง อย่างไรก็ตามยังไม่มีการแยกยีนเฉพาะที่สามารถเรียกได้ว่าเป็นสาเหตุของภาวะนี้ค่ะ

อาการแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม (Asperger Syndrome) ในเด็ก

เด็กอาจแสดงอาการของโรคแอสเพอร์เกอร์ตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งสัญญาณอาจบ่งบอกว่าลูกของคุณอาจมีอาการของกลุ่มแอสเพอร์เกอร์ได้แก่ 

  • มีปัญหาในการทำความเข้าใจการแสดงออกบนใบหน้า ภาษากายหรือท่าทางอื่นๆ
  • ไม่เข้าใจสับสนเรื่องตลกหรือการล้อเล่นที่สนุกสนาน
  • พูดคุยโดยไม่มีการปรับเสียงหรือไม่มีจังหวะใดๆ
  • มีปัญหาในการโต้ตอบกับเด็กในวัยเดียวกัน
  • หลีกเลี่ยงการสบตาและชอบอยู่คนเดียวตามลำพัง
  • อารมณ์เสียง่ายกับการเปลี่ยนแปลงเล็กๆน้อยๆ
  • การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ซ้ำๆและไม่สามารถรักษาเสถียรภาพได้ เช่น การโยก การเคลื่อนไหวเป็นวงกลม เป็นต้น

การรักษาเด็กกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์

การรักษา Asperger’s syndrome โดยทั่วไปในเด็ก ปัจจัยสำคัญคือการแก้ไขปัญหาการสื่อสารและการเข้าสังคม ซึ่งคุณพ่อคุณแม่และทุกคนในครอบครัวถือว่ามีบทบาทสำคัญที่จะต้องมาช่วยกันดูแล ทำความเข้าใจกับปัญหาของลูก เช่น การเสริมสร้างทักษะปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การพูดคุยที่ช่วยให้เด็กเข้าใจความแตกต่างของการสื่อสาร เป็นต้น

ไม่ว่าจะเป็นแอสเพอร์เกอร์ในเด็กเล็กหรือในเด็กที่โต การจัดการกับสถานการณ์เช่นนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายค่ะ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นอย่างไร ความรักและการสนับสนุนของคุณทำให้เขารู้สึกได้รับการยอมรับและแรงจูงใจ เพื่อพัฒนาทักษะของลูกคุณค่ะ 

บทความที่เกี่ยวข้อง