เหงื่อออกมากในเด็ก

เหงื่อออกมากในเด็ก

ลูกของคุณเหงื่อออกมากเกินไปหรือหรือเปล่า ซึ่งในบางครั้งอาการเหงื่อออกมากๆอาจจะเป็นอาการของปัญหาสุขภาพพื้นฐานค่ะ เหงื่อออกมากเกินไปในเด็กก่อนวัยเรียนและวัยรุ่นเป็นเรื่องปกติ เด็กในช่วงวัยนี้มักจะมีเหงื่อที่ฝ่ามือ หลัง รักแร้ หรือเหงื่อออกที่ใบหน้ามากเกินไป แต่ในทางตรงกันข้ามการมีเหงื่อออกมากๆในเด็กเล็กนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนักและบางครั้งก็อาจเป็นอาการของโรคได้ค่ะ

เหงื่อออกเป็นกลไกของร่างกายในการควบคุมอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นของร่างกาย ความร้อนภายในร่างกายจะถูกปลดปล่อยออกจากร่างกายด้วยการขับเหงื่อออกมา หรือเหงื่อออกที่ฝ่ามืออาจเกิดขึ้นได้เมื่อบุคคลนั้นรู้สึกประหม่าหรือตื่นเต้น เป็นต้น ซึ่งอารมณ์หรือสุขภาพที่ซับซ้อนสามารถกระตุ้นต่อมเหงื่อตลอดเวลา และอาการเหงื่อออกมากเกินไปในเด็กขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้

  • เสื้อผ้าหรือสภาพแวดล้อม เสื้อผ้าที่อบอุ่นในช่วงอากาศร้อนอาจทำให้เหงื่อออกมากเกินไปได้ค่ะ
  • การติดเชื้อ อาการของการเจ็บป่วย อาจทำให้เหงื่อออกมากเกินไป เช่น วัณโรค เป็นต้น
  • ไทรอยด์เป็นพิษ เหงื่อออกมากเป็นสัญญาณความไม่สมดุลของฮอร์โมนไทรอยด์นี้จะมาพร้อมกับอาการอื่นๆ เช่น ลดน้ำหนัก คลื่นไส้ หรือท้องเสีย
  • โรคเบาหวาน หากลูกของคุณมีเหงื่อออกมาก และเหงื่อมีกลิ่นเหมือนอะซิโตนหรือน้ำยาล้างเล็บที่รู้จักกันดี
  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด ทารกที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวมักมีอาการอื่น นอกเหนือจากการมีเหงื่อออกมาก ไอบ่อย อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว ขณะกินอาหารหายใจเร็ว

อาการเหงื่อออกมากเกินไปในเด็กเล็ก อาจสังเกตได้จากมีเหงื่อออกที่ใบหน้าของลูก หรือมีเหงื่อซึมผ่านเสื้อผ้า ในขณะที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สะดวกสบาย หากมีเหงื่อออกมากเกินไป อาการบางอย่างก็จะตามมาด้วย ได้แก่ ภาวะเหงื่อออกที่มองเห็นได้และความเปียกชื้น ลูกของคุณอาจมีเหงื่อออกมากเกินไปที่ฝ่ามือ แผ่นหลัง รักแร้ ฯลฯ การติดเชื้อที่ผิวหนัง เหงื่อออกมากเกินไปบางครั้งสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อที่ผิวหนังได้ค่ะ

การรักษาเหงื่อออกมากในเด็ก 

การรักษาภาวะเหงื่อออกมากนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการขับเหงื่อที่ลูกของคุณ เช่น ยาลดเหงื่อ เพื่อรักษาภาวะเหงื่อออกมาก ยารักษารักษาช่องปากบางชนิด เพื่อป้องกันประสาทที่กระตุ้นต่อมเหงื่อ แต่มีผลข้างเคียงของยาดังกล่าว เช่น อาการปากแห้ง ความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ และการฉีดโบทูลินัมท็อกซินช่วยในการปิดกั้นเส้นประสาทที่นำไปสู่การกระตุ้นของต่อมเหงื่อในเด็ก นอกจากนี้ยังสามารถรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดต่อมเหงื่อ การผ่าตัดจะกำจัดต่อมเหงื่อผ่านการดูดไขมัน การศัลยกรรมเส้นประสาทคือ การผ่าตัดเส้นประสาท การทำงานของเส้นประสาทไขสันหลังที่ทำให้ต่อมเหงื่อถูกปิดการใช้งาน

การดูแลป้องกันภาวะเหงื่อออกในเด็ก ได้แก่ การรักษาความสะอาด อาบน้ำเป็นประจำเพื่อป้องกันการสะสมของแบคทีเรียบนผิวหนัง การสวมใส่เสื้อผ้า ถุงเท้าสบาย ระบายอากาศได้ดีเหมาะกับสภาพของอากาศ หลังจากออกแรงหรือสัมผัสอากาศร้อน ควรทำให้ตัวเย็นลงใต้พัดลมและปล่อยให้เหงื่อแห้ง เป็นต้น