เด็กกลุ่มดาวน์ซินโดรมทำประกันได้ไหม
เด็กกลุ่มดาวน์ซินโดรมทำประกันได้ไหม
สวัสดีค่ะ
เด็กกลุ่มดาวน์ซินโดรมว่าทำประกันได้ไหม บทความนรี้จะพาคุณพ่อคุณมาไขข้อสงสัยค่ะ แต่ก่อนอื่นเราจะพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจเด็กกลุ่มดาวน์ซินโดรมกันค่ะ
ดาวน์ซินโดรมมีสาเหตุจากอะไร รวมถึงการตรวจวินิจฉัยในขณะตั้งครรภ์ค่ะ
ดาวน์ซินโดรม คือภาวะความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมาอีกหนึ่งตัว ปกติต้องมีแค่ 2 แท่งเท่านั้นค่ะ ลักษณะภายนอกที่สังเกตุได้ชัดเจนในเด็กกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมนั้น ได้แก่ ศีรษะค่อนข้างเล็ก แบน ตาเล็กเป็นวงรี จมูกแบน ปากเล็ก ลิ้นมักยื่นออกมา ตอสั้น ตัวค่อนข้างเตี้ย มือสั้น ฯลฯ และในเด็กบางรายอาจมีปัญหาด้านสุขภาพต่างๆค่ะ ซึ่งมักพบว่ามีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือโรคลำไส้อุดตันตั้งแต่แรกเกิด เป็นต้น
สาเหตุของดาวน์ซินโดรมเกิดจากอะไร
ดาวน์ซินโดรมสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
– ภาวะ Trisomy 21 มีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินออกมา ซึ่งเป็นกลุ่มที่พบได้บ่อยที่สุด
– ภาวะ Translocation การสับเปลี่ยนเคลื่อนย้ายโครโมโซมในคู่ที่ 21 โดยมีชิ้นส่วนเกินของโครโมโซมคู่ที่ 21 นั้นไปยึดติดกับโครโมโซมอีกตัวหนึ่ง
– ภาวะโมเซอิก(Mosaicism) เกิดจากเซลล์บางส่วนเท่านั้นในร่างกายที่ผิดปกติ ซึ่งเป็นกลุ่มที่พบได้น้อยที่สุด
ภาวะดาวน์ซินโดรมไม่ใช่การติดต่อทางพันธุกรรมสืบทอดโดยตรงจากพ่อหรือแม่ เป็นเพียงผลของความผิดปกติของการแบ่งตัวของสารพันธุกรรมเพียงครั้งเดียวในตัวอสุจิหรือไข่ก่อนมีการปฏิสนธิ ซึ่งอายุของคุณแม่ที่มากในขณะตั้งครรภ์เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีความเสี่ยงที่จะมีบุตรเป็นดาวน์ซินโดรมก็จะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วยค่ะ
การตรวจวินิจฉัยดาวน์ซินโดรม
การตรวจวินิจฉัยเด็กกลุ่มดาวน์ซินโดรมนั้น สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การตรวจคัดกรองและวินิจฉัยในขณะตั้งครรภ์ และการวินิจฉัยหลังคลอด
– การตรวจคัดกรองและวินิจฉัยในขณะตั้งครรภ์ เพื่อหาความผิดปกติของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจคัดกรองวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เด็กจะเป็นดาวน์ซินโดรม โดยอาจใช้วิธีการเจาะน้ำคร่ำ หรือเจาะเอาเลือดจากสายสะดือเด็ก หรือเจาะเอาส่วนของรกไปตรวจดูโครโมโซม หรือการตรวจอัลตราซาวน์ เพื่อวัดความหนาของเนื้อเยื่อที่คอ และวัดความยาวของกระดูกต่างๆ เมื่อตรวจพบว่าเด็กมีสารพันธุกรรมที่ผิดปกติแล้ว พ่อและแม่จะต้องตัดสินใจต่อไปว่า ต้องการทำแท้งหรือไม่ ทั้งนี้การทำแท้งในกรณีเด็กทารกมีความผิดปกติแบบนี้ถือว่าไม่ผิดกฎหมายค่ะ
– การวินิจฉัยหลังคลอด คือการตรวจเพื่อหาความผิดปกติเมื่อทารกเกิดมาแล้ว โดยแพทย์จะทำการตรวจร่างกาย ความผิดปกติของรูปร่างหน้าตาและอวัยวะภายในที่สงสัยว่าอาจจะเป็นกลุ่มอาการดาวน์ ก็จะต้องเจาะเลือดเพื่อส่งตรวจดูสารพันธุกรรมหาความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 ซึ่งเป็นโครโมโซมที่จะบ่งชี้ว่าเด็กเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่
การรักษาภาวะดาวน์ซินโดรม เนื่องจากเกิดจากการผิดปกติของโครโมโซมจึงไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ค่ะ ผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมจะต้องได้รับการสนับสนุน การดูแลเป็นพิเศษจากบุคคลใกล้ชิด ช่วยเหลือและฝึกทักษะข้อบกพร่องทางสติปัญญาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เพื่อให้เด็กสามารถพัฒนา ปรับปรุงทักษะและสามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ค่ะ และ
ดาวน์ซินโดรมเป็นภาวะที่ไม่สามารถป้องกันได้และรักษาให้หายขาดได้ แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้มีลูกเป็นดาวน์ซินโดรมได้ค่ะ โดยการปรึกษาแพทย์การวางแผนมีบุตรค่ะ
เด็กกลุ่มดาวน์ซินโดรม มักจะพบปัญหาสุขภาพอื่นๆร่วมด้วย เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยหรือการติดเชื้อต่างๆได้ง่าย เพราะระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอาจไม่ได้มีการพัฒนาไปตามวัยอย่างเหมาะสม ปัญหาด้านสายตาและการมองเห็น ฯลฯ และมักพบว่ามีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือโรคลำไส้อุดตันตั้งแต่แรกเกิด เป็นต้น
ดังนั้น เด็กกลุ่มดาวน์ซินโดรมจึงไม่สามารถทำประกันได้ค่ะ ถึงแม้ว่าคุณแม่จะไม่ทราบมาก่อนว่าลูกเป็นดาวน์ซินโดรมค่ะ จากกรณีของคุณขนิษฐา ใจบุญตระกูล ถูกบริษัทบอกล้างสัญญาประกันภัย และต้องจ่ายเงินสินไหมคืนบริษัทประกัน หลังทราบภายหลังว่าลูกเป็นเด็กกลุ่มดาวน์ซินโดรมค่ะ โดยคุณแม่ได้เล่าว่า เนื่องด้วยดิฉันได้ทำประกันชีวิตให้ลูก ขณะนั้นลุกอายุได้ ประมาณ 3 เดือน สุขภาพร่างกายแข้งแรง และบริษัทคุ้มครองตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2554 โดยดิฉันได้จ่ายค่าเบี้ยประกันมาโดยตลอด ไม่เคยขาด แต่ช่วงอายุเดือนที่ 5 หมอสงสัยว่าลูกเป็นโรคหัวใจ จึงนัดติดตามอาการ และเดือนที่ 6 หมอขอตรวจโครโมโซม พบว่าน้องเป็นดาวน์ซินโดรม ซึ่งขณะตั้งครรภ์น้องดิฉันฝากพิเศษกับคุณหมอสูติแพทย์ แต่คุณหมอก็ไม่ได้มีการเจาะน้ำคร่ำอะไร เพราะไม่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคดาวน์ซินโดรม และหลังจากคลอดน้อง คุณหมอและทางโรงพยาบาลแจ้งว่าน้องปกติ มีสุขภาพแข็งแรง ช่วงที่น้องอายุได้ประมาณ 9 เดือนป่วยเป็นปอดบวมต้องนอนโรงพยาบาล และอีกเดือนต่อมา น้องต้องผ่าตัดหัวใจ ขณะนี้น้องผ่าตัดได้ 1 ปีแล้ว และเมื่อเดือนที่ผ่านมาได้เข้าผ่าตัดแยงท่อน้ำตา โดยข้าพเจ้าได้ถามตัวแทนประกันว่าจะสามารถใช้ประกันได้หรือไม่ ประกันบอกว่าใช้ได้ แต่พอวันออกจากโรงพยาบาลผลปรากฏว่าไม่สามารถเครมประกันได้ค่ะโดยดิฉันต้องชำระเงินเอง ทั้งหมด และวันที่ 21 มิ.ย. 56 ทางบริษัทได้มีหนังสือแจ้งกลับมาบอกว่า “ขอยกเลิกบอกล้างสัญญาประกันภัย” โดยที่ทางบริษัทประกันให้เหตุผลว่าน้องมีสุขภาพไม่สมบูรณ์มาก่อนการขอเอาประกันภัย โดยเขาได้คืนเงินเบี้ยประกันที่ได้ชำระไป 23,540 บาท หักด้วยเงินสินไหมที่บริษัทเคยจ่ายขณะน้องนอนโรงพยาบาลเป็นเงิน 62,425 บาท โดยดิฉันต้องคืนเงินค่าสินไหมทดแทนให้บริษัท จำนวน 38,885 บาท ดิฉันจึงข้องใจว่าขณะที่ทำประกันดิฉันไม่ทราบว่าลูกเป็นดาวน์ซินโดรม เพราะเราไม่ทราบว่าลูกเป็นจริงๆแม้กระทั่งตอนคลอด ตอนที่อยู่โรงพยาบาลหมอก็บอกว่าปกติดี และเพิ่งมาทราบเมื่อลูกอายุ 6 เดือน แต่ทางบริษัทแจ้งว่าเราไม่ได้แถลงให้บริษัททราบในใบคำขอเอาประกันภัย ดิฉันก็เลยไม่สบายใจและเป็นกังวลใจคะ เพราะในการประกันสุขภาพหรือค่ารักษาพยาบาลนั้น จะไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาแต่กำเนิดหรือก่อนการทำประกันค่ะ โดยเงื่อนเป็นไปตามที่บริษัทประกันกำหนดในกรมธรรม์ ถึงแม้ว่าไม่ทราบมาก่อนว่าลูกป่วยเป็นโรคดังกล่าว ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุของการถูกบริษัทบอกล้างสัญญาประกันภัยของคุณขนิษฐาค่ะ