อาหารคนท้องตลอด 9 เดือน ควรกินอย่างไร
คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ การกินอาหารจึงมีความสำคัญ เพราะจะส่งผลต่อร่างกายทั้งตัวของคุณแม่เอง และตัวของลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์ ดังนั้น ตลอดทั้ง 9 เดือนนี้คุณแม่ควรตระหนัก เรียนรู้ และให้ความสำคัญกับการกินอาหารมากที่สุด เพื่อเป็นการบำรุงครรภ์อย่างเหมาะสมตลอดทั้ง 9 เดือน
อาหารคนท้องช่วง 3 เดือนแรก
ใน 3 เดือนแรก ในช่วงนี้ร่างกายเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเพื่อรองรับการตั้งครรภ์และการเจริญเติบโตของเด็กในครรภ์ คุณแม่อาจมีอาการของคนท้องเช่น คลื่นไส้ อาเจียร ร่างกายอ่อนเพลีย อารมณ์แปรปรวน ซึ่งเป็นอาการปกติของคนท้อง และเมื่ออายุครรภ์เพิ่มมากขึ้น อาการเหล่านี้ก็จะหายไป พลังงานต่อวันสำหรับคนท้อง คือวันละประมาณ 1,700-2,000 กิโลแคลอรี่ ซึ่งต้องได้มาจากอาหารหลัก 5 หมู่ ดังนั้นในช่วง 3 เดือนแรก อาหารที่คุณแม่ควรกินคือ อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โปรตีน กรดโฟลิก กรดไขมัน DNA โอเมก้า 3 ธาตุเหล็ก แคลเซียม และฟอสฟอรัส
อาหารในช่วงอายุครรภ์ 4-6 เดือน
เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 4 อาการแพ้ท้องของคุณแม่จะลดลง ในช่วงเดือนนี้เป็นช่วงที่เริ่มมีการสร้างส่วนต่างๆในร่างกายของลูก ลูกจะเริ่มมีการเคลื่อนไหว มีเล็บ ผม ขนคิ้ว และมีการพัฒนาการของสมองขึ้นถึง 4 เท่า ในช่วงนี้ร่างกายของคุณแม่ต้องการพลังงานต่อวัน เพิ่มมากขึ้นเป็น 2,000-2,300 กิโลแคลอรี่ต่อวัน ถึงจะเพียงพอต่อการพัฒนาร่างกายของเด็กในท้อง ดังนั้นอาหารที่คุณแม่ควรกินคืออาหารจำพวก คาร์โบไฮเดตร โปรตีน กรดโฟลิก กรดไขมัน DNA ใยอาหาร ธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส และไอโอดีน
คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ การกินอาหารจึงมีความสำคัญ เพราะจะส่งผลต่อร่างกายทั้งตัวของคุณแม่เอง และตัวของลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์ ดังนั้น ตลอดทั้ง 9 เดือนนี้คุณแม่ควรตระหนัก เรียนรู้ และให้ความสำคัญกับการกินอาหารมากที่สุด เพื่อเป็นการบำรุงครรภ์อย่างเหมาะสมตลอดทั้ง 9 เดือน
อาหารในช่วงอายุครรภ์ 7-9 เดือน
เมื่อเข้าสู่ช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนที่ลูกน้อยลืมตาดูลูก ร่างกายของคุณแม่จะมีการรองรับการผลิตน้ำนม และร่างกายของเด็กจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะ 4 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์ เด็กจะมีน้ำหนักมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และพัฒนาการทางสมองก็มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วง 3 เดือนสุดท้ายนี้ ในช่วงนี้คุณแม่จะมีอาการท้องผูกบ่อย เนื่องจากมีการขยายตัวของมดลูก และไปกดทับลำไส้ ทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานผิดปกติ ทำให้คุณแม่จำเป็นต้องแบ่งย่อยมื้ออาหารเป็น 5-6 มื้อ/วัน พฤติกรรมการกินก็ต้องเปลี่ยนคือ เคี้ยวอาหารให้ละเอียด กินอาหารอย่างช้าๆ จะทำให้ไม่อึดอัดแน่นท้อง และในช่วง 3 เดือนนี้ ควรมีอาหารติดตัวไว้ อย่างเช่น กล้วย ส้ม ขนมปังกรอบ ถั่วอบแห้ง
อาหารที่เหมาะสมในช่วง 3 เดือนหลังนี้ คือ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน กรดโฟลิก กรดไขมัน DNA ใยอาหาร ธาตุเหล็ก แคลเซียม และฟอสฟอรัส
ตารางปริมาณอาหารที่เหมาะสมกับคนท้อง
อาหารประจำวัน | อายุครรภ์ 1-3 เดือน | อายุครรภ์ 4-6 เดือน | อายุครรภ์ 7-9 เดือน |
ข้าว อาหารเส้น ธัญพืช | 8-10 ทัพพี | 8-10 ทัพพี | 8-10 ทัพพี |
น้ำตาล | 4-6 ช้อนชา | 4-6 ช้อนชา | 4 ช้อนชา |
ไข่ | 1 ฟอง | 1 ฟอง | 1 ฟอง |
เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน | 100-150 กรัม | 150-200 กรัม | 200 กรัม |
ปลาทะเลไม่ทอด | 200-300 กรัมต่อสัปดาห์ | 200-300 กรัมต่อสัปดาห์ | 200-300 กรัมต่อสัปดาห์ |
นมวัวหรือนมถั่วเหลือง | 1 แก้ว | 1-2 แก้ว | 2 แก้ว |
ผัก | 200-300 กรัม | 200-300 กรัม | 300 กรัม |
ผลไม้ | 2-3 ชนิด | 3-4 ชนิด | 3-4 ชนิด |
น้ำมันปรุงอาหาร | 2 ช้อนโต๊ะ | 2-3 ช้อนโต๊ะ | 2-3 ช้อนโต๊ะ |
น้ำ | 6-8 แก้ว | 8-10 แก้ว | 8-10 แก้ว |
อาหารคนท้อง ที่ควรหลีกเลี่ยง
- อาหารรสจัด เพราะจะทำให้เป็นการเพิ่มปริมาณกรด ทำให้คุณแม่มีอาการจุกเสียด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย
- อาหารที่ย่อยยาก และมีปริมาณแคลลอรี่สูงอย่างเช่น พิซซ่า โดนัท น้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานหนัก และส่งผลให้กลายเป็นไขมันส่วนเกิน
- เนื้อสัตว์ที่สำเร็จรูป เช่น แฮม โบโลญญ่า ไส้กรอก เพราะในอาหารประเภทนี้จะมีโซเดียมสูง ส่งผลให้เกิดเป็นความดันโลหิตสูง และอาจมีเชื้อลิสเตอเรียที่สามารถเจริญเติบโตในตู้เย็น ส่งผลทำให้เด็กในท้องป่วยได้ หากจำเป็นต้องกินควรผ่านความร้อน แต่ไม่ควรกินบ่อย
- อาหารสุกๆดิบๆ เช่น ไข่ดิบ ปลาดิบ สเต็กที่สุกๆดิบๆ หอยนางรม เพราะอาจมีเชื้อโรคหรือสารพิษเจือปน ทำให้คุณแม่มีอาการท้องเสีย ท้องร่วง หรืออาหารเป็นพิษได้
- เนย นม ที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ เพราะอาจมีเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการแท้งลูก หรือทำให้คุณแม่ต้องคลอดก่อนกำหนด
- ของหมักดอง เนื้องจากอาหารจำพวกนี้จะมีสารกันบูด สารบอแรก หรือมีโซเดียมสูง ทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานหนัก ส่งผลให้ย่อยยาก หรือท้องเสีย หากต้องการกินของเปรี้ยวขอแนะนำให้กินผลไม้สดรสเปรี้ยว และต้องล้างให้สะอาด
- ส้มตำปลาร้า ส้มตำปูดอง เนื้องจากในปลาร้าอาจมีเชื้อแบคทีเรียและพยาธิ ปนอยู่ เสี่ยงต่อการเป็นอาหารเป็นพิษ ดังนั้น ในขณะที่กำลังท้องควรงดกินอาหารดังกล่าว แต่หากทนความอยากไม่ไหว ก็ควรเลือกร้านที่ทำสะอาด และไม่ควรกินในปริมาณมาก ควรกินพอให้อยาก
- ช็อกโกแลต ชา หรือกาแฟ เพราะเนื่องจากมีส่วนผสมของคาแฟอีน หากยิ่งรับประทานเข้าไป จะมีการขับน้ำสูง ส่งผลถึงการเจริญเติบโตของเด็กในท้อง และทำให้คุณแม่มีอาการท้องผูก ควรจำกัดการกินอยู่ที่ 200 มิลลิกรัมต่อวัน แต่สำหรับคุณแม่ที่มีอาการไทรอยด์เป็นพิษ หรือความดันโลหิตสูง ควรระวังการกิน ชา กาแฟ หรือช็อคโกแลต ให้มาก เนื่องจากกาแฟจะไปเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต
- กาแฟ 1 แก้ว มีคาเฟอีน 60-150 มิลลิกรัม
- ชา 1 แก้ว มีคาเฟอีน 40-60 มิลลิกรัม
- น้ำอัดลม 1 กระป๋อง มีคาเฟอีน 32-42 มิลลิกรัม
- ช็อคโกแลต 50 กรัม มีคาเฟอีน 50 มิลลิกรัม (หากเป็นช็อคโกแลตนม จะมีปริมาณคาเฟอีนน้อยกว่าช็อคโกแลตทั่วไปครึ่งหนึ่งคือประมาณ 25 มิลลิกรัม)
- น้ำอัดลม เพราะมีส่วนผสมของน้ำตาล และคาแฟอีน เป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้สูงกว่าเกณฑ์ปกติ ส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่และเด็กในครรภ์ และน้ำอัดลมประเภทลดน้ำหนัก ก็มีผลทำให้คุณแม่คลอดก่อนกำหนด
- ถั่วลิสง ในขณะกำลังตั้งท้องหรือช่วงให้นมลูกควรหลีกเลี่ยงการกินถั่วลิสงในปริมาณมาก และโดยเฉพาะคุณแม่ที่มีคนในครอบครัวมีประวัติของโรคภูมิแพ้ เพราะอาจส่งผลต่อลูกที่เกิดมาเป็นโรคภูมิแพ้ได
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มต้องห้ามของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะส่งผลการพัฒนาของเด็กที่อยู่ในท้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง