หวัดลงกระเพาะในเด็ก

ไวรัสลงกระเพาะ หรือหวัดลงกระเพาะในเด็ก

ไข้หวัดในกระเพาะอาหารเป็นโรคที่พบบ่อยมากในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี อันตรายถึงถึงเสียชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องค่ะ ซึ่งหลายคนอาจเข้าใจว่าเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดที่ทำให้เกิดอาการไอ น้ำมูกไหล ไข้ตัวร้อนและปวดเมื่อยตามร่างกาย แท้จริงแล้วมีสาเหตุจากอะไรบ้างและมีวิธีการรักษา รวมถึงการป้องกันอย่างไรบ้างมาดูกันเลยค่ะ

ไวรัสลงกระเพาะ คืออะไร

ไวรัสลงกระเพาะ อาจเรียกโรคนี้อีกอย่างว่า โรคหวัดลงกระเพาะและลำไส้ คือการอักเสบในระบบทางเดินอาหารรวมทั้งกระเพาะอาหารและลำไส้ พบบ่อยในเด็กเล็กและช่วงในช่วงฤดูหนาว เป็นโรคหนึ่งที่อาจมีอาการรุนแรงหรือเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอค่ะ

สาเหตุของของโรคไวรัสลงกระเพาะ

ไวรัสลงกระเพาะที่พบบ่อยในเด็กเล็ก มักเกิดจากเชื้อไวรัสโรตา (Rotavirus) และโนโรไวรัส (Norovirus) เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร โรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ ซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหาร ดื่มน้ำหรือนำมือ ของเล่นที่อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อไวรัส นอกจากนี้ยังเป็นไวรัสที่มีการแพร่ระบาดได้ง่ายและติดต่อได้ง่าย เนื่องจากเด็กๆมักเข้านำสิ่งเข้าและมือเข้าปากค่ะ

อาการไวรัสลงกระเพาะ หรือ หวัดลงกระเพาะในเด็ก

อาการของไข้หวัดในกระเพาะอาหารที่พบบ่อยหลังได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายประมาณ 2 – 3 วัน อาการรุนแรงแตกต่างกันตามเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคและอายุของเด็ก เช่น

  • ทารก มักมีอาการอาเจียนนานหลายชั่วโมง หาโหล กระหม่อมบุ๋ม ปากแก้ง ร้องไห้ไม่มีน้ำตา ไม่ปัสสาวะนานหลายชั่วโมง ซึ่งอันตรายมากอาจเกิดอาการช็อกจากภาวะขาดน้ำได้ค่ะ
  • เด็กเล็ก มักมีอาการดังนี้ มีไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน และมักจะตามด้วยอาการปวดท้อง ท้องเสียถ่ายอุจจาระเหลว อุจจาระเป็นเลือด ซึ่งเสี่ยงเกิดภาวะขาดน้ำรุนแรงและช็อกได้

เมื่อไหร่จึงควรไปพบแพทย์

หากพบว่าลูกของคุณมีอาการอาเจียน ท้องเสียต่อเนื่องหรืออาการไม่ดีขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรระวังอาการขาดน้ำอย่างรุนแรงซึ่งเป็นอันตรายและอาจทำให้ช็อกได้ค่ะ โดยมีอาการดังนี้ ปากแห้ง กระหม่อมบุ๋ม ตาโหล มีไข้สูง ซึมลง หอบเหนื่อย ปัสสาวะน้อยหรือไม่ปัสสาวะติดต่อหลายชั่วโมง รวมถึงมีอาการท้องเสียเป็นเรื้อรัง ถ่ายเป็นมูกเลือด ฯลฯ ควรพบแพทย์โดยเร็วที่สุดค่ะ

การรักษาโรคหวัดลงกระเพาะ

โรคหวัดลงกระเพาะและลำไส้ หรือไวรัสลงกระเพาะ ในปัจจุบันยังไม่มียาสำหรับรักษาเฉพาะเจาะจง ดังนั้นการรักษาจึงเป็นการรักษาเพื่อประคับประคองอาการ สาเหตุของการเกิดโรคและป้องกันค่ะ เช่น ทานยาแก้อาเจียน ดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อป้องกันภาวะร่างกายขาดน้ำ และการให้ยาปฏิชีวนะในบางราย

การป้องกันไวรัสลงกระเพาะในเด็ก

เนื่องจากโรคไวรัสลงกระเพาะเกิดจากการปนประทานอาการ หรือนำสิ่งของที่มีการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสเข้าปาก ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดสำหรับเด็กเล็กคือ การรับวัคซีนป้องกันไวรัสดังดังกล่าว รวมถึงการดูแลสุขอนามัย ได้แก่

  • ล้างมือ ซอกเล็บด้วยน้ำสบู่เป็นประจำโดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรฝึกฝนและแนะนำการล้างมือที่ถูกต้องแก่เด็กๆค่ะ
  • รับประทานอาหารปรุงสุก รวมถึงการล้างผักผลไม้ก่อนรับประทานเสมอค่ะ
  • ก่อนการเตรียมอาหารให้เด็ก คุณพ่อคุณแม่ควรล้างมือให้สะอาด รวมถึงภาชนะในการประกอบอาหารค่ะ
  • หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะอุปกรณ์การรับประทานอาหาร
  • หมั่นทำความสะอาดพื้นผิวต่างๆ ของเล่นเป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง