ลูกเป็นผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เกิดจากอะไรสิ่งที่คุณแม่ควรรู้
การที่ลูกเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง มักเกิดได้จากหลายสาเหตุ หลายปัจจัย อธิเช่นมาจาก การติดต่อทางพันธุกรรม แพ้อาหาร หรือได้รับสารที่ก่อให้เกิดการภูมิแพ้ ซึ่งการเป็นผื่นภูมิแพ้ สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเนื่องจากผิวหนังของเด็กยังมีความบอบบาง แพ้ง่ายเป็นธรรมดา ซึ่งเป็นเรื่องที่พ่อแม่ป้องกันได้
สาเหตุการเกิดผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
โรคภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) เกิดจากการที่ผิวหนังได้รับการอักเสบเรื้อรังซึ่งมาจากการปฎิกริยาทางภูมิแพ้ จะพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่เป็นเด็ก โรคภูมิแพ้ผิวหนังมีด้วยกัน 2 ประเภท คือ
- โรคภูมิแพ้ที่เกิดจากปัจจัยภายใน (intrinsic หรือ Non LgE associated) เป็นปัจจัยที่เกิดจากความผิดปกติของผิวหนังจากทางร่างกาย
- โรคภูมิแพ้ที่เกิดจากปัจจัยภายนอก (extrinsic หรือ LgE associated) ผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ในกลุ่มนี้ จะมีระดับของ LgE associated ในเลือดสูง หรือได้รับการทดสอบทางผิวหนังชนิด Skin prick test ให้ผลเป็นบวก หรือผู้ป่วยมีประวัติที่คนในครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ เช่น การเป็นหอบหืด (asthma) โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (allergic rhinitis) เป็นต้น
อาการของลูกเป็นผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจะมีลักษณะของการอักเสบของผิวหนังได้หลายระยะ มีตั้งแต่เฉียบพลันจนไปถึงระยะเรื้อรัง ซึ่งลักษณะที่พบได้ชัดคือจะเป็นผื่นตุ่มแดงคัน เป็นแผ่นแดง ลอก และเป็นขุน และยังมีอาการคันร่วมด้วย จะมีการกระจายตามตัวต่างกันในแต่ละวัย
- วัยทารกแรกเกิด อายุ 2-3 เดือน มักจะขึ้นผื่นบริเวณแก้ม แขน ขา หรือบริเวณที่มีการเสียดสี
- วัยเด็ก ผื่นมักจะขึ้นหนา และมีรอยเกา บริเวณลำคอและบริเวณข้อพับของแขนและขา
การวินิจฉัยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
โรคผื่นภูมิแพ้พิวหนัง แพทย์สามารถวินิจฉัยได้จากอาการ และลักษณะของผื่นที่มีอาการคันร่วม ตำแหน่งของการขึ้นผื่นของแต่ละช่วงวัย ประวัติการมีผื่น และประวัติการเป็นภูมิแพ้ในครอบครัว หากมีเข้าข่ายก็จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
แต่สำหรับในกรณีที่การรักษาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอย่างถูกต้อง แต่อาการไม่ดีขึ้น และยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น แพทย์จำเป็นต้องทำการตรวจเพิ่มเติมตามความเหมาะสมของผู้ป่วยในแต่ละราย เพื่อดูปัจจัยอื่นที่สามารถทำให้โรคกำเริบ โดยทดสอบ ดังนี้
- การทดสอบทางผิวหนัง
- การเจาะเลือด
- การทดสอบการแพ้อาหารโดยการรับประทาน
การรักษาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
- การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่เป็นเหตุให้ผื่นกำเริบ โดยเฉพาะหากผู้ป่วยมีประวัติของการแพ้อาหาร แพ้เหงื่อ แพ้สารเคมี ที่อาจส่งผลทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคือง
- สร้างความชุ่มชื้นให้กับผิวหนังโดยการทาโลชั่น หรือครีมบำรุงผิว ในทันทีหลังจากการอาบน้ำ หลีกเลี่ยงการอาบน้ำบ่อยเกินไป หรืออาบน้ำอุ่นที่อุ่นจนเกินไป
- แพทย์จะสั่งจ่ายยาทาลดการอักเสบ เมื่อมีผื่นกำเริบขึ้นมา โดยแพทย์จะทำการรักษาผื่นตามระยะและลักษณะของผื่น เช่นหากมีลักษณะของการอักเสบของผิวหนังอย่างเฉียบพลัน มีน้ำเหลืองไหล จะเริ่มการรักษาโดยการใช้น้ำเกลือประคบ แต่สำหรับระยะของผื่นนานกว่านั้น ก็จะทำการรักษาโดยใช้ยาในกลุ่มของคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) ชนิดแบบทา โดยหมอจะเลือกชนิดของยาและความรุนแรงของยาตามความรุนแรง ระยะ และลักษณะของผื่น ข้อควรระวัง และสิ่งต้องห้ามคือ ห้ามทำการซื้อยาจากร้านขายยามากินเอง ควรได้รับยาจากที่แพทย์สั่งเท่านั้น เพราะเด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้อาจได้รับผลข้างเคียงจากยาที่ซื้อมาได้ ในปัจจุบันกลุ่มยาต้านการอักเสบ Calcineurin inhibitors มาทดแทนยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตรียรอยด์ เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงในเด็กที่ต้องทานยาอย่างต่อเนี่ยงเปนระยะเวลานานๆ แต่ยาในกลุ่มดังกล่าวๆค่อยข้างมีราคาที่แพง จึงทำให้ต้องทำการพิจารณาจ่ายให้กับผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีผลข้างเคียงจากยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid)
- การเฝ้าระวังภาวะการติดเชื้อแทรกซ้อน หากมีการตรวจพบ ก็จะทำการรักษาภาวะแทรกซ้อนนั้นๆ เช่นการรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะเมื่อติดเชื้อจากแบคทีเรีย
- การรับยาลดอาการคัน เพื่อบรรเทาอาการคันให้กับผู้ป่วย
- การรักษาแบบอื่นๆ
- การฉายแสง UV หรือการรับประทานยากดภูมิแพ้กันเอาไว้ แต่สำหรับกรณีที่เป็นผื่นมากอาการไม่ดีขึ้นเลยถึงแม้ได้รับยาปฏิชีวนะไปแล้ว ให้แนะนำไปพบคุณหมอที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้โดยตรง
- การรักษาโดยการใช้วิธีฉีดยาวัคซีนภูมิแพ้ (allergen specific immunotherapy) อาจได้รับประโยชน์ในผู้ป่วยที่มีปฎิกิริยาการแพ้ออกมาอย่างชัดเจนจากการที่ได้รับการตรวจเลือด specific lgE หรือได้รับการตรวจทดสอบทางผิวหนัง (Skin prick test) โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการแพ้จากไรฝุ่น โดยมีการศึกษาจากทางผู้ใหญ่และเด็ก พบว่า การรักษาโดยใช้วิธี allergen immunotherapy สามารถลดความรุนแรงบริเวณของโรคและความรุนแรงของโรค รวมไปถึงลดการใช้ยาทาที่อยู่ในกลุ่มของสเตียรอยด์ลงได้ แต่อย่างไรก็ตามควรได้รับการประเมินการรักษาจากทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน
มีคุณแม่หลายรายตั้งข้อสงสัยว่า โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังสามารถรักษาหายหรือไม่ ซึ่งคำตอบคือ เนื้่องจากโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังสามารถเกิดจากได้หลายปัจจัย หลายสาเหตุ และก็ขึ้นอยู่กับวัย และความรุนแรงของโรค ซึ่งผู้ป่วยในบางรายก็เป็นๆหายๆ เว้นระยะช่วงกำเริบของโรค และช่วงสงบของโรค ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการดูแลผิวหนัง และการสัมผัสปัจจัยเสี่ยงของการกำเริบของผื่นของแต่ละคน ตามธรรมชาติของโรคนี้มักจะเป็นในช่วงเด็กเป็นหลักสูงถึง 60 % ของผู้ป่วยโรคนี้ทั้งหมด โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี แต่เมื่อมีอายุมากขึ้นผิวหนังก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มีอาการดีขึ้น ก็มาจากการดูแลผิวหนังอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ
การป้องกันโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอย่างที่บอกไปมันสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยปัจจัยหลายปัจจัย หลายสาเหตุ ทั้งจากทางร่างกาย หรือปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ จึงทำให้ในปัจจุบันทางการแพทย์จึงยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด ดังนั้น วิธีการป้องกันที่ดีคือการเรียนรู้วิธีการดูแลผิวหนังอย่างถูกต้อง และสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงปัจจัยการทำให้เกิดผื่น เช่น การหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ตัวเองแพ้ หลีกเลี่ยงสภาพอากาศที่ทำให้เราเกิดผื่น หรือสิ่งอื่นๆ เช่น สารเคมี เครื่องสำอางค์ต่างๆ ผงซักฟอก หรือไรฝุ่น ฯลฯ หรือความเครียด เพียงทำให้เป็นการป้องกันการผื่น และลดความรุนแรงของผื่นได้ ในปัจจุบันมีการศึกษาจากทางแพทย์มีการสนับสนุนว่าการใช้ครีมบำรุงผิวสูตรที่เหมาะสมสำหรับผิวเด็ก และผิวที่แพ้ง่าย สามารถบำรุงดูแลได้ตั้งแต่เด็ก 6 เดือนขึ้นไปหลังคลอด
บทความที่เกี่ยวข้อง