ลูกอาเจียนบ่อย

ลูกอาเจียนบ่อย เสี่ยงเป็นโรคร้าย

อาเจียน (Vomit) หรืออ้วก เป็นลักษณะของอาการอย่างหนึ่งซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การรับประทานอาหารมากเกินไป ความเครียด เมารถ โรคของทางเดินอาหาร โรคเนื้องอกในสมอง เยื้อหุ้มสมองอักเสบ หรืออาจเป็นข้างเคียงจากการรับประทานยาบางชนิด โดยทั่วไปมักไม่พบอาการที่รุนแรงสามารถรักษาให้ดีขึ้นเองได้ โดยไม่ต้องไปพบแพทย์ แต่ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงการอาเจียนที่อาจเกิดจากโรคร้ายแรงในเด็กค่ะ 

อาการอาเจียนบ่อยๆในเด็กเป็นที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยผ่านไปค่ะ ควรต้องรีบหาสาเหตุเพื่อรับรักษาที่ถูกต้องรวดเร็วค่ะ เพราะการอาเจียนบ่อยอาจมีสาเหตุมาจากโรคร้ายแรงได้ค่ะ 

  • โรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบหรืออุดตัน มักมีอาการอาเจียนร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น ไข้สูง เบื่ออาหาร ท้องเสียหรือท้องผูก เป็นต้น หากปล่อยไว้จะทำให้ร่างกายลูกขาดน้ำและสารอาหารอย่างรุนแรงค่ะ
  • แพ้อาหาร สามารถทำให้เกิดอาการอาเจียนในเด็กพร้อมกับอาการอื่นๆ เช่น ผื่นลมพิษ อาการบวมที่ใบหน้า รอบดวงตา ริมฝีปาก ลิ้น หรือเพดานปาก หายใจลำบาก เป็นต้น ซึ่งเป็นภาวะที่อันตรายมากหากลูกมีอาการแพ้รุนแรงอาจทำให้ช็อกหมดสติและเสียชีวิตได้ค่ะ
  • ภาวะของกรดไหลย้อน สำลักอาหารซึ่งเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ ซึ่งมีสาเหตุจากการรับประทานอาหารมากเกินไปจนล้นกระเพาะค่ะ ทำให้เกิดการอาเจียนหรือสำลักออกมามักพบในเด็กทารกที่มีอาการสำลักนมบ่อยๆ หากปล่อยไว้อาจนำไปสู่ปัญหาการหายใจและปวดท้องรุนแรงได้ค่ะ
  • โรคของสมองและระบบประสาท มักเกิดขึ้นในกรณีที่มีการอาเจียนติดต่อกันรุนแรง ส่งผลให้เกิดความดันในสมองสูงและโรคไมเกรน เด็กที่มีอาการอาเจียนจากโรคที่เกี่ยวข้องกับสมองและระบบประสาท เช่น ภาวะติดเชื้อในสมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฯลฯ มักมีอาการอาเจียนพุ่ง ร่วมกับมีอาการปวดศีรษะ ชัก กระหม่อมโป่งตึง เป็นต้น อันตรายต้องได้รับการรักษาโดยด่วนค่ะ

treatment of Vomiting

อาการอาเจียนผิดปกติที่คุณพ่อคุณแม่ควรระวังและพบแพทย์ทันที ได้แก่

  • เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน เพราะสังเกตหรือระบุอาการได้ยากว่าในเด็กโต 
  • เซื่องซึม อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร หรือในบางรายอาจดูกระสับกระส่ายสลับกับอาการซึม
  • การเต้นของหัวใจหรือชีพจรค่อนข้างเบาหรือเร็วเกินไป
  • มีอาการชัก หรือกระหม่อมหน้าบุ๋มลึก หรือมีกระบอกตาลึก ริมฝีปากแห้ง
  • ผิวหนังเหี่ยวย่น แห้งๆไม่สดใส
  • ปัสสาวะน้อย ในเด็กเล็กสังเกตได้จากผ้าอ้อมลูกไม่มีปัสสาวะเปียกเลยหลายชั่วโมง

การดูแลลูกอาเจียนบ่อย

การดูแลรักษาอาการอาเจียนในเด็ก

  • ลูกอายุต่ำกว่า 6 เดือน ควรพาลูกไปพบแพทย์เนื่องจากในเด็กเล็กสังเกตอาการได้ค่อนข้างยาก และมักเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้ง่ายกว่าช่วงวัยอื่น
  • เด็กที่อาเจียนไม่มากหรือไม่มีอาการอื่นๆร่วมด้วย สามารถดูแลเองได้ที่บ้านโดยการรับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย และจิบน้ำเกลือแร่บ่อยๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
  • เด็กที่อาเจียนมากหรือรุนแรง ต้องพบแพทย์ทันทีเพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของการอาเจียนที่ถูกต้อง และรับการรักษาที่ถูกต้องค่ะ

อาเจียนหรืออ้วกเป็นอาการหนึ่งไม่ใช่โรคค่ะ จึงจำเป็นต้องได้รับวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการจากแพทย์ผู้เชียวชาญ เพราะการอาเจียนอาจมีสาเหตุมาจากโรคร้ายแรงได้ค่ะ หากสงสัยควรพาลูกไปพบแพทย์ทันทีเพื่อการตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องต่อไปค่ะ