Overfeeding ในเด็กทารก

Overfeeding ในเด็กทารก

Overfeeding คือพฤติกรรมของลูกน้อยที่กินนมเยอะเกินไป หรือกินจนล้นกระเพาะ ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของระบบการย่อยอาหาร ท้องโต ท้องอืด ไม่สบายท้อง อาเจียนแวะนม เป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กที่ดูดนมจากเต้าและจากขวดนม วันนี้เราจะพาคุณพ่อคุณแม่มือใหม่มาทำความเข้าใจอาการ Overfeeding ในเด็ก รวมถึงวิธีการรับมือและการป้องกันค่ะ

อะไรคือสาเหตุของการกินนมมากเกินไป

โดยทั่วไปเด็กทารกจะกินนมเมื้อรู้สึกหิวและจะหยุดเมื่อรู้สึกอิ่ม ดังนั้นสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่คุณแม่บางท่าน อาจเข้าใจว่าลูกตื่นนอนหรือร้องไห้เพราะหิว หรือกังวลว่าลูกน้อยอาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจึงพยายามป้อนนมในปริมาณที่มากเกินไปหรือบ่อยเกินไปค่ะ ซึ่งพบได้ทั้งเด็กที่กินนมแม่และนมผงหรือจากเต้าและจากขวดนมค่ะ แต่พบว่าเด็กที่กินนมผงมีโอกาสเสี่ยงการเกิดภาวะ Overfeeding มากกว่าเด็กที่กินแม่ เนื่องกระเพาะอาหารและลำไส้ของเด็กทารกสามารถดูดซึมสารอาหารในนมแม่ได้ดี อาการของทารกที่ได้รับอาหารมากไป ส่วนใหญ่สามารถสังเกตได้ค่อนข้างง่าย เช่น ร้องไห้งอแง อึดอัดแน่นท้องหรือรู้สึกไม่สบายท้อง แหวะนมมากกว่าปกติและอาจถ่ายเหลวร่วมด้วย เป็นต้น

Overfeeding ในเด็กทารกอันตรายอย่างไร

การกินนมอิ่มมากเกินไปหรือล้นกระเพาะในเด็กทารกนั้น มีผลกระทบต่อตัวลูกน้อยมากที่สุดคือ อึดอัดไม่สบายตัว ร้องไห้งอแง การแหวะนม แต่ถึงอย่างไรก็มักจะส่งผลกระทบในระยะยาวได้เช่นกันค่ะ เช่น โรคอ้วน เนื่องจากร่างกายอาจมีการปรับตัวเพื่อรับสารอาหารและเริ่มกักเก็บสารอาหารไขมัน ทำให้มีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นหรือเกินเกณฑ์ตามแต่ละช่วงวัย ส่งผลให้เป็นโรคอ้วนในเด็กได้ และอาจตามมาด้วยโรคอื่นๆได้ค่ะ

การป้องกันการให้อาหารมากไปในเด็ก โดยเคล็ดลับง่ายๆเพื่อการลดโอกาสเสี่ยงที่จะให้เกิดการให้นมลูกน้อยมากเกินไป ได้แก่

  • การให้กินนมในปริมาณที่พอเหมาะ ซึ่งทั่วไปการกินนมในปริมาณ 4 ออนซ์ ลูกจะอิ่มท้องประมาณ 4 ชั่วโมง
  • ลูกกินนมเพียงพอในหนึ่งวันหรือไม่ สามารถสังเกตได้จากจำนวนการปัสสาวะของเด็ก 6 ครั้งในหนึ่งวัน หรืออุจจาระ 2 ครั้งในหนึ่งวัน เป็นต้น
  • สังเกตอาการหรือสัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกน้อยอิ่ม คือ เบือนหน้าหนี การดูดนมช้าลงหรือเว้นช่วงการดูดนานขึ้น เป็นต้น
  • อย่าพยายามเลี้ยงลูกด้วยการให้กินนมทันทีที่เขาเริ่มร้องไห้ เนื่องจากการร้องไห้อาจแสดงถึงอาการอื่นได้

การให้อาหารมากไปเด็กทารกแรกเกิดเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องตระหนักถึงและให้ความสำคัญค่ะ เพราะอาจนำไปสู่อาการหรือโรคอื่นๆได้ค่ะ