ลูกท้องเสียควรทำอย่างไร
จากคำโบราณที่กล่าวว่า “ลูกท้องเสียเพราะยืดตัวหรือเพราะลูกเปลี่ยนอิริยาบถ” นั้น แอดมินเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลายท่านคงเคยได้ยินมาบ้าง และจากความเชื่อดังกล่าวอาจทำให้คุณแม่ประมาทและชะล่าใจ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องปกติซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายจากภาวะขาดน้ำและพลังงานจนช็อคได้ค่ะ
อาการท้องเสียในเด็กเกิดจากการได้รับเชื้อโรคเข้าไปในร่างกายผ่านช่องทางต่างๆ การแพ้อาหาร เช่น การแพ้โปรตีนนมวัว ฯลฯ การติดเชื้อโรค เช่น ไวรัส แบคทีเรีย พยาธิ ฯลฯ โรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ ผลจากยาปฏิชีวนะบางตัว เป็นต้น ซึ่งสามารถดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกได้ค่ะ

อาการที่จะบ่งบอกว่าลูกท้องเสีย
การถ่ายอุจจาระเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำจำนวน 3 ครั้งขึ้นไปในหนึ่งวัน ปกติอาการท้องเสียชนิดเฉียบพลันในทารกส่วนใหญ่จะหายได้ภายใน 2-3 วันค่ะ แต่ถ้าหากพบว่าลูกน้อยมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น อาเจียนบ่อย อุจาระมีลักษณะเป็นน้ำซาวข้าว กลิ่นเหม็นเน่าเหม็นคาว มีไข้สูงหรือมีอาการชัก หายใจหอบลึก ไม่ยอมกินนมหรือกินอาหาร ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน ในเด็กโตที่ดื่มสารละลายเกลือแร่แล้ว แต่ยังซึมหรืออ่อนเพลีย คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันทีค่ะ เพื่อจะได้ตรวจร่างกายโดยละเอียดหรือส่งตรวจเกี่ยวกับช่องท้องและอุจจาระเพิ่มเติมค่ะ
ภาวะขาดน้ำจากท้องเสียชนิดเฉียบพลัน ถ้าหากมีอาการรุนแรงอาจทำให้เด็กเสียชีวิตได้นะคะ ซึ่งพบบ่อยในทารกที่อายุไม่ถึง 1 ปี อาการขาดน้ำสังเกตได้จากการการปัสสาวะออกน้อย ปากแห้ง ลิ้นและริมฝีปากแห้ง ร้องไห้ไม่มีน้ำตา กระบอกตาลึกโบ๋ กระหม่อมหน้าบุ๋ม(ในเด็กอ่อนที่กระหม่อมยังไม่ปิด) อ่อนเพลีย กระสับกระส่ายหรือเซื่องซึม ถ้าถึงขั้นรุนแรง จะมีอาการง่วงซึม ผิวหนังเย็น มือหรือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเร็ว หายใจสั้นๆ และเร็วค่ะ ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันทีค่ะ
หากไม่ดีขึ้นหรือมีแนวโน้มท้องเสียมากขึ้นเรื่อยๆ หรืออุจาระมีลักษณะเป็นน้ำซาวข้าว กลิ่นเหม็นเน่าเหม็นคาว มีมูกเลือดปนหรือมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น มีไข้ ปวดท้อง ลุกเดินไม่ได้ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน กินไม่ได้ ดูซึมลง ปัสสาวะออกน้อยลง ควรรีบไปตรวจกับแพทย์ที่โรงพยาบาลค่ะ เพื่อจะได้ตรวจร่างกายโดยละเอียดหรือส่งตรวจเกี่ยวกับช่องท้องและอุจจาระเพิ่มเติมค่ะ หรืออาจจะต้องให้ยาช่วยลดอาการท้องเสียหรือยาปฏิชีวนะเพิ่มเติมตามความจำเป็นค่ะ
การรักษาอาการท้องเสีย ในกรณีที่ทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือนมีอาการท้องเสียควรได้รับการดูแลจากแพทย์ ลูกน้อยอายุต่ำกว่า 6 เดือน และโดยเฉพาะถ้ามีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้ มีภาวะขาดน้ำ หรือเมื่ออาการท้องเสียไม่ดีขึ้นภายใน 1-2 วันค่ะ เด็กอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไปคุณแม่ต้องรีบชดเชยน้ำที่สูญเสียไปค่ะ โดยให้กินนมแม่ กินน้ำเพิ่มขึ้นหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล เกลือ และแร่ธาตุ หลีกเลี่ยงน้ำผลไม้นะคะ เพราะอาจทำให้ท้องเสียมากขึ้นได้ค่ะ

การป้องกันไม่ให้ลูกท้องเสีย
การให้เด็กกินนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรก เพราะในนมแม่มีสารต้านไวรัสและแบคทีเรีย รวมถึงลดโอกาสการปนเปื้อนจากภาชนะที่ไม่สะอาดได้ค่ะ นอกจากนี้อาการท้องเสียในเด็กมักเกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งการได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายโดยตรงจากทางปาก ดังนั้นควรรักษาสุขลักษณะอนามัยของอาหาร กินแต่อาหารที่ปรุงสุก ไม่มีแมลงวันตอม การล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบอาหารเข้าปาก การล้างมือคนเลี้ยงและมือลูกบ่อยๆ คอยทำความสะอาดพื้นบ้าน ข้าวของเครื่องใช้ ของเล่น หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดหรือสัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย
ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกังเชื้อไวรัสโรต้า ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยของโรคท้องเสียในเด็กเล็ก เป็นวัคซีนชนิดรับประทาน ช่วยลดความเสี่ยงในการติดโรค หรือลดความรุนแรงลงได้ค่ะ และยังเป็นการสร้างและเพิ่มความรักความผูกพันระหว่างแม่ลูกด้วยการดูดนมจากเต้าโดยการสัมผัสอย่างใกล้ชิด
ท้องเสียในเด็กเรื่องใกล้ตัวที่อาจส่งผลรุนแรงต่อตัวลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่อย่าชะล่าใจคิดว่าลูกไม่เป็นอะไรค่ะ เราอยากให้ดูแลลูกน้อยและคอยสังเกตุอาการอย่างใกล้ชิด เพราะเด็กไม่สามารถบอกเราได้ค่ะ สุขภาพลูกเป็นสิ่งสำคัญส่งผลต่อพัฒาการของลูกค่ะ
Leave a Reply