ซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic fibrosis)

ซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic fibrosis)

ซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic fibrosis)

สวัสดีค่ะ

วันนี้เรากลับมาพบกันกับเรื่องราวสุขภาพของลูกน้อย วันนี้จะพูดคุยกันเกี่ยวกับโรคอะไรตามมาเลยจ้า

โรคทางพันธุกรรม “ซิสติก ไฟโบรซิส”  (cystic fibrosis : CF) เป็นโรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่พบได้น้อย และก่อให้เกิดความผิดปกติเสียหายที่รุนแรงของปอดและอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร ตับอ่อน ลำไส้ ต่อมเหงื่อ ต่อมน้ำลาย ระบบสืบพันธุ์ เป็นต้น โรคทางพันธุกรรมนี้ส่งผลให้เกิดการสร้างสารคัดหลั่ง เสมหะเมือกเหนียวข้นในปอด และอวัยวะอื่นๆในร่างกาย ส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังติดเชื้อได้ง่ายอันตรายถึงขึ้นเสียงชีวิตได้ค่t

สติก ไฟโบรซิสเกิดจากความผิดปกติของยีน cystic fibrosis ที่สืบทอดผ่านพันธุกรรมที่ได้รับมากจากพ่อและแม่อย่างคนละอัน แต่หากได้รับยีนผิดปกติมาจากทางพ่อ หรือแม่เพียงฝ่ายเดียวก็อาจไม่เกิดอาการหรือความผิดปกติใดๆ แต่คุณจะเป็นพาหะและสามารถส่งต่อยีนนี้ไปให้ลูกตัวเองได้

อาการของ “ซิสติก ไฟโบรซิส” พบได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิด เช่น ทารกอายุ 1 – 2 วันหลังคลอดเกิดอาการลำไส้ไม่ทำงาน น้ำหนักตัวน้อย การเจริญเติบโตช้า เป็นต้น อาการส่วนใหญ่พบได้บ่อยก่อนอายุ 3 ปี ลักษณะอาการและความรุนแรงมักแตกต่างกันไป เช่น อาการความผิดปกติระบบทางเดินหายใจ เช่น หายใจลำบาก มีเสียงหวีด คัดจมูก แน่นจมูกตลอดเวลา ปอดบวมบ่อย เป็นต้น อาการผิดปกติระบบทางเดินอาหาร เช่น อาหารไม่ย่อย ท้องผูกรุนแรง ลำไส้อุดตัน ปวดท้องหรือจุกแน่นท้อง อุจจาระมันและมีกลิ่นเหม็น เกิดภาวะดีซ่าน เป็นต้น ความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ เช่น ภาวะมีบุตรยากในเพศชาย เกิดถุงน้ำในอัณฑะ ภาวะอัณฑะค้างหรืออัณฑะไม่ลงถุง ภาวะขาดประจำเดือน เป็นต้น นอกจากนี้ โรคนี้ยังส่งผลให้อวัยวะต่างๆทำงานผิดปกติและอาจทำให้เกิดการติดเชื้อต่างๆได้ง่าย และอาจทำให้เกิดโรคเรื้อรัง เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ลำไส้อักเสบ เป็นต้น

การดูแลรักษาและการป้องกัน “ซิสติก ไฟโบรซิส” โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ค่ะ เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากพันธุกรรมที่ได้รับจากพ่อและแม่ ดังนั้น การรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้นเท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้ เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะกรณีที่เกิดการติดเชื้อ ยาละลายเสมหะ เพื่อละลายเสมหะและให้ปอดทำงานได้ดีขึ้น และในบางรายอาจต้องได้รับการผ่าตัดในกรณีที่เกิดการอุดตันของสำไส้ เป็นต้น

ปัจจุบันยังไม่พบรายงานของผู้ป่วยโรคนี้ในประเทศไทย ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีรายงานการเกิดโรคดังกล่าวในไทย คุณพ่อคูแม่ไม่ความมองข้ามค่ะ การดูแลสุขภาพร่างกายจึงเป็นสิ่งสำคัญ การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เมื่อพบความผิดของร่างกายของลูกน้อย ควรรีบพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาที่ถูกต้องต่อไปค่ะ