ครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia) ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ ซึ่งมีความอันตราย เนื่องจากภาวะครรภ์เป็นพิษจะทำให้คุณแม่ที่กำลังมีครรภ์จะมีความดันโลหิตที่สูงมาก เทียบเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท และมีสภาวะโปรตีนไข่ขาวอยู่ในปัสสาวะ ส่งผลทำให้การทำงานของไตผิดปกติ ซึ่งภาวะครรภ์เป็นพิษมักจะเกิดขึ้นเมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ แต่ไม่เสมอไป บางคนมีอายุครรภ์น้อยกว่านั้นก็สามารถเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษได้เช่นกัน ดังนั้น หากคุณแม่มีอาการที่เหมือนจะเป็นครรภ์เป็นพิษ ให้รีบไปพบแพทย์ในทันที เพราะหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลาอาจทำให้คุณแม่เกิดอาการชักในขณะตั้งครรภ์ได้ และก็ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามมาได้ หรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ทั้งแม่และลูก
ภาวะครรภ์เป็นพิษ เกิดจากอะไร
ครรภ์เป็นพิษ คือ อาการที่ผิดปกติของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ที่มีอายุครรภ์ตั้ง 20 สัปดาห์ขึ้นไป แต่ในบางรายก็มีอายุครรภ์ไม่ถึงก็สามารถเป็นได้แต่ส่วนน้อย ซึ่งจะแบ่งความรุนแรงของอาการครรภ์เป็นพิษด้วยกัน 3 ระดับได้แก่
- Non-Severe Pre-Eclampsia ครรภ์เป็นพิษที่ไม่ยังไม่รุนแรง คุณแม่จะมีความดันโลหินสูง อยู่ที่ 140/90 มิลลิเมตรปรอท แต่จะไม่เกิน 160/110 มิลลิเมตรปรอท และไม่มีภาวะแทรกซ้อน
- Severe Pre-Eclampsia ครรภ์เป็นพิษที่อยู่ในระดับรุนแรง คุณแม่จะมีความดันโลหิตสูงถึง 160/110 มิลลิเมตรปรอท และยังสามารถตรวจพบความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ เช่น เกล็ดเลือดต่ำ ตับอักเสบ ไตทำงานผิดปกติ และเม็ดเลือดแดงแตกตัว ฯลฯ
- Eclampsia ครรภ์เป็นพิษในระดับอันตราย คุณแม่จะมีอาการชัก เกร็ง หมดสติ หรือมีเลือดไหลออกจากสมอง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันเวลา และถูกต้อง ก็อาจทำให้แม่และลูกมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
สาเหตุของภาวะครรภ์เป็นพิษ
ในปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่การันตรีแน่ชัดถึงสาเหตุของการเกิดอาการครรภ์เป็นพิษ รวมถึงระยะเวลาของการเกิดโรคนี้ที่ยังไม่มีความแน่นอน ต้องรอจนกว่าผู้ป่วยจะแสดงอาการ ถึงหมอจะสามารถวินิจฉัยโรคออกมาได้ แต่ผู้เชียวชาญได้สันนิษฐานว่า ครรภ์เป็นพิษ อาจเกิดจากที่รถได้สร้างโปรตีนชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อเข้าสู่กระแสเลือด ก็จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูง และอีกอย่างก็อาจเกิดการหดตัวของหลอดเลือดส่งผลทำให้ปริมาณเลือดที่ไหลเวียนไปตามอวัยวะต่างๆ ทั้งร่างกาย น้อยลง รวมไปถึงการไหลเวียนไปยังรก
ไม่เพียงเท่านี้สาเหตุเพิ่มเติมที่ทำให้คุณแม่มีความเสี่ยงต่ออาการครรภ์เป็นพิษ มีดังนี้
- มดลูกมีเลือดไหลเวียนไม่เพียงพอ
- เกิดความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
- มีความเสียหายที่หลอดเลือด
- เกิดจากกรรมพันธุ์
- ไปรับประทานอาหารในบางชนิด
- มีคนในครอบครัวที่เคยมีประวัติเป็นครรภ์เป็นพิษ
- มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ไม่เกรน โรคเบาหวาน โรคเอสแอลอี มีโอกาสที่เป็นโรคลูปัส หรือเป็นภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
- ตั้งครรภ์ครั้งแรก
- ตั้งครรภ์ลูกแฝด
- ตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก คือ อาการการตั้งครรภ์ที่มีเนื้อเยื้อรกมากกว่าปกติ ทำให้ท้องใหญ่โตแต่ไม่ตัวเด็ก และมีทำการลอกตัวออกมาก็จะมีเลือดออกมายังช่องคลอดเป็นก้อนเล็กลักษณะคล้ายไข่ปลา
- มีระห่างของการตั้งครรภ์น้อยกว่า 2 ปี หรือห่างกันเกิน 10 ปี
- การตั้งครรภ์โดยวิธีพิเศษ
อาการของครรภ์เป็นพิษ
- คุณแม่จะมีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง หรือในบางครั้งปวดเฉพาะท้ายทอย หรือบริเวณหน้าผาก
- ดวงตาพล่ามัว มองเห็นแสงเป็นจุดๆ หรือวูบวาบ
- มีอาการคลื่นไส้ และอาเจียน
- จะมีอาการปวดบริเวณใต้ลิ้นปี่
- มีอาการบวมตามือ เท้า และใบหน้า
- คุณแม่จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
- ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ
- มีภาวะความดันโลหิตสูงกว่า 130/80
- เกิดอาการชัก และหมดสติ (หากถึงขั้นชักควรรีบไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต)
- คุณแม่บางรายจะมีภาวะเม็ดเลือดแดงแตก มีเอนไซม์ตับขึ้นสูง และมีเกร็ดเลือดต่ำ
อาการครรภ์เป็นพิษแบบไหนที่ควรพบแพทย์
หากคุณหมอได้ทำการวินิจฉัยแล้วคุณแม่มีอาการเป็นพิษ คุณแม่ต้องปฏิบัติตามหมออย่างเคร่งครัด และสังเกตุอาการตัวอย่างเป็นประจำ และต่อเนื่อง หากพบว่าตัวเองมีอาการดังต่อไปนี้ต้องรีบไปพบแพทย์ในทันที
- มีความดันโลหิตสูง
- ลูกดิ้นน้อยกว่าวันละ 10 ครั้ง
- มีอาการน้ำเดิน หรือน้ำไหลออาจจากช่องคลอด
- มีการปวดหัวอย่างรุนแรง ตาพร่ามัว และจุกลิ้นปี่
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากครรภ์เป็นพิษ
ลูกคลอดก่อนกำหนด : ความอันตรายของภาวะครรภ์เป็นพิษก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่คุณหมอต้องทำการตัดสินใจทำคลอดให้คุณแม่ก่อนกำหนด เพื่อลดความเสี่ยงที่อันตรายต่อเด็ก และเมื่อเด็กคลอดก่อนกำหนด ก็ส่งผลถึงสุขภาพของเด็กโดยตรง
เกิดการลอกของรก : ซึ่งครรภ์เป็นพิษอาจทำให้เกิดการหลุดลอกของรกก่อนกำหนด และเมื่อรกลอกก็อาจทำให้เกิดเลือดออกมาก ส่งผลทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิตทั้งแม่และเด็กที่อยู่ในครรภ์
อวัยวะต่างๆ เกิดความเสียหาย : ซึ่งครรภ์เป็นพิษอาจส่งผลเสียต่ออวัยวะอื่นๆ ทำให้อวัยวะต่างๆ ทำงานผิดปกติ เช่น หัวใจ ปอด ตับ ไต เป็นต้น ซึ่งความรุนแรงก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการครรภ์เป็นพิษ
มีอาการชัก : อาการชักส่งผลอันตรายต่อเด็กในครรภ์และคุณแม่ เพราะอาการดังกว่างจะไม่สัญญาณเตือน ให้รู้ก่อน เพราะเมื่อคุณแม่มีอาการชักในขณะตั้งครรภ์ แพทย์มีความจำเป็นต้องทำการหยุดการตั้งครรภ์ของคุณแม่โดยทันที เพื่อรักษาชีวิตแม่เอาไว้
ภาวะ HELLP : คือ ภาวะที่อันตรายถึงชีวิต เพราะมีความรุนแรง ส่งผลทำให้เกิดความเสียหายของอวัยวะหลายจุด และภาวะดังกล่าวไม่มีสัญญาณเตือน วิธีการสังเกตุภาวะดังกล่าว คือ ปวดหัว อาเจียร และคลื่นไส้ เป็นต้น ถ้ามีอาการดังกล่าวรีบไปพบแพทย์ในทันที
การวินิจฉัยอาการครรภ์เป็นพิษคุณแม่ของหมอ
การตรวจวินิจฉัยภาวะครรภ์เป็นพิษ คุณหมอจะสามารถตรวจอาการครรภ์เป็นพิษได้หลังจากคุณแม่มีความผิดของการอย่างใดอย่างหนึ่งและคุณแม่มีอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป พร้อมกับตรวจสภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งการตรวจมีดังต่อไปนี้
การตรวจสุขภาพทั่วไป คือการซักประวัติของคุณแม่และครอบครัว จะเป็นการตรวจความผิดปกติในเบื้องต้น เช่นการตรวจปัญหาสายตา มีการปวดหัวอย่างต่อเนื่อง มีการตรวจไตที่ทำงานผิดปกติ ซึ่งภาวะครรภ์เป็นพิษมักตรวจพบในขณะที่คุณแม่ไปตรวจตามนัดของหมอที่รับฝากครรภ์ตามปกติ
การตรวจวัดความดันโลหิต ซึ่งการตรวจดังกล่าวจะสามารถทำให้คุณแม่รู้ว่าเป็นภาวะครรภ์เป็นพิษหรือไม่ โดยคุณหมอจะต้องทำการตรวจวัดความดันโลหิตหลายครั้ง ซึ่งจะวัดห่างกัน 4 ชั่วโมง หากวัดความดันโลหิตได้ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ก็มีความเป็นไปได้ที่คุณแม่มีเปอร์เซนต์ที่เป็นภาวะครรภ์เป็นพิษได้
การตรวจเลือด จะเป็นการตรวจเพื่อดูการทำงานของไต ตับ และปริมาณของเกร็ดเลือด
การตรวจปัสสาวะ จะเป็นการตรวจเพื่อหาโปรตีนไข่ขาวในปัสสาวะ เพราะหากตรวจพบ แพยท์ก็จะส่งตัวอย่างของปัสสาวะไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อทำการยืนยันผล อาจทำการเก็บตัวอย่างปัสสาวะเพียงครั้งเดียว หรือหลายครั้งโดยมีระยะห่างในการเก็บตัวอย่าง 24 ชั่วโมง เพื่อดูปริมาณโปรตีนที่ได้รั่ว โดยเทียบจากสัดส่วนของโปรตีน แลสารครีอะตินินในปัสสาวะ
การตรวจสุขภาพของเด็กในครรภ์ จะเป็นการตรวจเด็กที่อยู่ในครรภ์ โดยทำการตรวจการเต้นของหัวใจ เมื่อเด็กมีการคลือนไหว หรือลูกดิ้น ในบางกรณีคุณหมอจะทำการประเมินความสมบูรณ์ของเด็กโดยการอัลตราซาวด์ปริมาณน้ำคล้ำกับการหายใจ และการเคลื่อนไหวของเด็ก
วิธีการรักษาภาวะครรภ์เป็นพิษ
สภาวะครรภ์เป็นพิษสามารถรักษาได้ โดยการคลอด เพียงอย่างเดียว โดยอาการเจ็บป่วยต่างๆ หลายๆอย่าง จะค่อยๆหายไปเองหลังจากการคลอด ซึ่งแพทย์ทำการวินิจฉัยหลายอย่างหลายปัจจัยก่อนการทำคลอด เช่น ระยะเวลาการตั้งครรภ์ สุขภาพของคุณแม่ หรือระดับความรุนแรงของอาการครรภ์เป็นพิษ ซึ่งหากคุณแม่ยังมีอายุครรภ์ที่ยังน้อย ที่ยังไม่ถึงกำหนดคลอดสมบูรณ์ แพทย์อาจจะยังไม่ทำการคลอดในทันที และแพทย์จะทำการดูแลอย่างใกล้ชิด และประคองอาการจนกว่าจะถึงเวลาทำคลอดอย่างปลอดภัย แต่หากคุณแม่มีอายุ ฃครรภ์ถึง 37 สัปดาห์ แพทย์จะการเร่งทำคลอดหรือผ่าคลอดในทันที เพื่อไม่ให้อาการทรุดลงและเป็นอันตรายต่อแม่และเด็ก และลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ซึ่งการรักษาประคับประคองอาการครรภ์เป็นพิษจนกว่าคลอดมีด้วยกัน 2 แบบ ดังนี้
การรักษาครรภ์เป็นพิษชนิดไม่รุนแรง
คณแม่ที่เป็นครรภ์เป็นพิษชนิดนี้ เมื่อคุณหมดทำการตรวจแล้ว สามารถกลับบ้านได้ โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในความดูแลของหมอตลอดเวลา แต่คุณแม่ต้องเข้าพบหมอเป็นประจำตามหมอนัดอย่างเคร่งครัด เพื่อเฝ้าระวังอาการและตรวจครรภ์และตรวจร่างกายเป็นประจำ โดยแพทย์จะแนะนำให้คุณแม่พักผ่อนเยอะๆ ลดการกินอาหารที่มีรสเค็ม ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือบางรายหมออาจให้กินยาลดความดันโลหิตร่วมด้วย
การรักษาครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง
สำหรับคุณแม่ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษที่รุนแรง แพทย์จำเป็นต้องให้คุณแม่พักรักษาตัวที่โรงพยายาล เพื่อดูแลอย่างใกล้ชิด โดยหมออาจจะจ่ายยาลดความดันโลหิต กลุ่มยาสเตรียรอย์ ยาป้องกันการชัก หรือยาอื่นๆ ขึ้นอยู่กับอาการทีแตกต่างของคุณแม่แต่ละคน รวมไปถึงการตรวจร่างกาย และปฏิบัติตามเหมือนคุณแม่ที่มีอาการครรภ์เป็นพิษชนิดที่ไม่รุนแรง
การป้องกันภาวะอาการครรภ์เป็นที่พิษ
ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีที่สามารถป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษ และคุณแม่สามารถลดความเสี่ยงการเกิดภาวะดังกล่าวได้ ดังนี้
- ฝากครรภ์และพบแพทย์ตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจพบความผิดปกติและรักษาได้อย่างทันถ่วงที พร้อมปฎิบัติตามหมออย่างเคร่งครัด
- หลี่กเลี่ยงการกินอาหารรสจัด โดยเฉพาะรสเค็ม อาหารที่มีไขมันสูง รวมทั้งเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์และคาเฟอีน
- ดื่นน้ำวีนละ 6-8 แก้ว
- ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอเท่าที่ที่สามารถออกได้ แนะนำควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการออกกำลังกายได้อย่างถูกต้อง
- นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
- พยายามยกขา เคลื่อนไหวขา บ่อยๆ ในระว่างวัน
- หากเรื่องการกินยาหรืออาหารเสริมควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และปฏิบัติตามอย่างเคร่างครัด
สภาวะอาการครรภ์ไม่ใช่เรื่องเล่นๆที่สามารภปล่อยปะละเลยได้ เพราะมันมีความอันตรายต่อชีวิตของคุณแม่และลูกของคุณแม่ได้ ดังนั้นอย่าลืมไปพบแพทย์เป็นประจำในขณะที่คุณกำลังตั้งท้องเพื่อชีวิตของคุณและลูกของคุณค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง