การเปลี่ยนแปลงของคนท้อง

การเปลี่ยนแปลงของคนท้องแต่ละเดือน ที่คุณแม่ต้องเจอ

คุณแม่ทราบหรือไม่ว่า อาการคนท้อง มีการเปลี่ยนแปลงนของร่างกายในแต่ละเดือนที่คุณแม่ต้องเจอและเตรียมรับมือ ดังนั้น ในครั้ง จะมาพูดถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายคุณแม่ต้องเจอ ในระหว่างการตั้งครรภ์ ตั้งแต่เดือนแรกไปถึงการคลอด ว่ามีร่างกายส่วนไหนบ้างที่มีการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงของคนท้องเดือนที่ 1

  • เต้านมเริ่มเปลี่ยนแปลง : ร่างกายจะแสดงอาการคล้ายเหมือนตอนก่อนการมีประจำเดือน จะเจ็บเต้านม ปัสสาวะบ่อยครั้ง แต่จะแตกต่างที่จะมีอาการอ่อนเพลีย ง่วงง่าย และจะมีเส้นเลือดขึ้นบริเวณเต้านม
  • ปากมดลูกมีมูกเหนียวข้น : ในช่วงระยะเริ่มตั้งครรภ์ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในปริมาณที่มากขึ้น จึงทำให้เกิดการผลิตมูกข้นๆ มาปิดช่องปากมดลูกไว้เพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในตัวเด็กที่อยู่ในครรภ์ จนกว่าถึงเวลาใกล้คลอด มูกที่มาปิดไว้ก็จะค่อยๆ บางลงและเปิดปากมดลูก และทำให้เกิดเป็นมูกเลือดได้
  • ประจำเดือนไม่มา : หลังจากที่ตัวอ่อนทำการฝังตัวอยู่ในเยื่อบุโพรงมดลูกแล้ว ถุงรังไข่ก็จะผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เพื่อทำการดูครรภ์ ส่งผลทำให้รังไขหยุดการผลิตไข่ ทำให้ประจำเดือนหยุดไม่มาในรอบเดือนถัดไป
  • อารมณ์ขึ้นๆลงๆ แปรปรวน : เมื่อเริ่มการตั้งครรภ์ จะเป็นช่วงที่ร่างกายมีการปรับตัว รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนสภาพของอารมณ์ด้วย จะมีความรู้สึกหงุดหงิดได้ง่าย อารมณ์อ่อนไหวโดยไม่ทราบสาเหตุ จะมีความกลัวไปต่างๆ นาๆ ซึ่งบางคนเป็นช้า บางคนก็เป็นเร็วแล้วแต่ร่างกายของแต่ละบุคคล

การเปลี่ยนแปลงของคนท้องเดือนที่ 2

  • มีอาการเจ็บเต้านม : เมื่อเข้าเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่ก็จะเริ่มมีอาการเจ็บเต้านม คัดเต้า ตึงบริเวณเต้านม และหากลองสังเกคุดีๆบริเวณฐานนมจะมีความกว้าง และนุ่มขึ้นมากขึ้น
  • มีตกขาว : ในช่วงนี้จะมีอาการตกขาวมากกว่าปกติ เพราะเนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์นี้ร่างกายจะผลิตเลือดเพื่อไปหล่อเลี้ยงช่องคลอดและอวัยวะเพศภายนอกมากขึ้น รวมไปถึงใช้ในระบบการหมุนเวียนของรก จึงทำให้บางครั้งอวัยวะเพศของคุณแม่จะมีที่คล้ำมากขึ้น
  • อาการแพ้ท้อง : ในช่วงเดือนนี้คุณแม่จะมีอาการคลื่นไส้ เหม็นทุกอย่าง อาเจียร บางครั้งก็อยากกินอาหารที่แปลกๆ วิธีแก้อาการแพ้ท้อง คือการให้ดื่มน้ำขิง เพื่อช่วยลดอาการแพ้ท้องได้
  • อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ : ในเดือนที่ 2 นี้ อารมณ์ก็ยังแปรปรวน และเหนื่อยล้ามากกว่าเดือนแรก จะเป็นบ่อยขึ้น ซึ่งสาเหตุมาจากที่คุณแม่ขาดสารอาหารคือธาตุเหล็กและโปรตีน ดังนั้นการรับประทานอาหารให้ครบถ้วน เพียงพอ จึงเป็นสิ่งสำคัญ
  • มีอาการหิวบ่อย : คุณแม่บางคนจะมีความรู้สึกว่าช่วงนี้จะเจริญอาหารเป็นพิเศษ ก็เพราะสาเหตุมากจากร่างกายมีการเผาพลาญพลังงานมากขี้น เพราะช่วงตั้งครรภ์ร่างกายมีความต้องการพลังงานเป็นอย่างมาก ดังนั้น วิธีการช่วยคือการรับประทานอาหารประเภมโปรตีนและแป้งให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละมื้อ

การเปลี่ยนแปลงของคนท้องเดือนที่ 3

  • มีการขยายตัวของหลอดเลือด : เมื่อเข้าเดือนที่ 3 คุณแม่บางคนอาจมีอาการแขนขาบวม ซึ่งสาเหตุมาจากการขยายตัวหลอดเลือดซึ่งผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่รองรับสภาวะของการตั้งครรภ์ ทำให้ปริมาณเลือดไหลเข้ามาเลี้ยงส่วนต่างๆ มากขึ้น ซึ่งทำให้ในช่วงนี้คุณแม่อาจต้องเจอความดันเลือดต่ำ ควรระวังในการทำกิจกรรมต่างๆ เพราะอาจทำให้วูบ หน้ามืดได้
  • มีการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว : น้ำหนักตัวของคนท้องจะมีความแตกต่างกันไป คุณแม่บางคนก็มีน้ำหนักลงที่มาจากการแพ้ท้อง และสำหรับคุณแม่บางคนมีน้ำหนักตัวขึ้นเกิดจากการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
  • พบเจอยอดมดลูก : การหายอดมดลูกเจอ จะเป็นบ่งบอกและการันตรีได้เลยว่าคุณมีน้องอย่างแน่นอนให้แน่นำไปหาหมอตรวจดูขนาดของเด็กในครรภ์ได้เลย
  • ยังมีอารมณ์แปรปรวน : เมื่อเข้าเดือนนี้อารมณ์ของคุณแม่ยังมีความแปรปรวนอยู่ แต่พอหลังจากเดือนนี้แล้วคุณแม่ก็จะรับมือกับอารมณ์ได้ดีและเป็นปกติ

การเปลี่ยนแปลงของคนท้องเดือนที่ 4

  • หน้าท้องแสดงรูปร่างให้เห็น : เมื่อเข้าเดือนที่ 4 ลักษณะร่างกายโดยเฉพาะส่วนท้องก็จะแสดงอาการให้เห็นว่าท้อง เพราะมดลูกจะเข้าสู่การท้องอย่างเต็มตัว เนื่องจากการเริ่มเติบโตของครรภ์ และเริ่มมีเส้นดำๆ กลางหน้าท้อง
  • หัวใจเต้นเร็วขึ้น : ในช่วงนี้ร่างกายของคนเป็นแม่จะยิ่งต่องใช้ปริมาณเลือดอย่างมากเพื่อให้เพียงพอต่อร่างกาย ทำให้หัวใจต้องการสูบฉีดหนักขึ้น
  • หัวนมจะมีสีคล้ำ : หากลองสังเกตุดีๆ นมจะเริ่มคล้ำขึ้นแะจะเห็นเส้นเลือดสีเขียวๆ เด่นชัดขึ้น และจะรู้สึกเจ็บเมื่อสัมผัส
  • ลูกเริ่มดิ้น : ในช่วงต้นเดือนจะรู้สึกว่าลูกจะค่อยๆตอดเป็นคลื่น และเมื่อเข้าสู่ปลายเดือน คุณแม่จะรู้สึกว่าลูกจะดิ้นเป็นครั้งแรก

การเปลี่ยนแปลงของคนท้องเดือนที่ 5

  • ชา และเป็นตะคริวบ่อย : เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 5 คุณแม่บางคนจะมีความรู้สึกชาและเป็นตะคริว บ่อยครั้ง สาเหตุมาจากคุณแม่ได้รับแคลเซียมที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งเป็นเรื่องปกติและพบบ่อยครั้งในคนท้อ
  • ท้องเริ่มลาย : อาการที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเดือนนี้คือเส้นเลือดฝอยจะขึ้นตามส่วนต่างๆ เช่น หน้า แขน และบริเวณหน้าท้องจะขึ้นเป็นริ้วๆ และในบางครั้งก็จะมีอาการคัน
  • ลูกดิ้นชัดเจนขึ้น : หากในช่วงเดือนที่แล้วคุณแม่บางคนยังลูกไม่ดิ้น เมื่อเข้าสู่เดือนนี้ ลูกจะดิ้นอย่างแน่นอน
  • ความร้อนในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น : สาเหตุเกิดจากการทำงานของต่อมไทรอยด์จะทำงานหนักมาก จนทำให้คุณแม่มีความรู้สึกร่างกายร้อน และมีเหงื่อออกง่ายกว่าปกติ และหายใจหอบ เหนื่อยง่าย ดังนั้นในช่วงนี้คุณแม่ต้องหีกเลี่ยงการไปในที่ที่มีคนเยอะ หรือแออัด
  • เริ่มมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ : ในช่วงเดือนนี้คุณแม่จะต้องเจอโรคปัสสาวะอักเสบ กรดไหลย้อย อาหารไม่ย่อย และท้องผูก บ่อยมาก

การเปลี่ยนแปลงของคนท้องเดือนที่ 6

  • ปวดเมื่อยตามซี่โครง : เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 6 ครรภ์แม่เริ่มโตขึ้น เมื่อท้องใหญ่ขึ้นก็ไปเสียดสีบริเวณชายซี่โครง ทำให้เกิดอาการเจ็บ และในบางครั้งก็ไปกดทับบริเวณกระเพาะอาหารทำให้แสบร้อนได้
  • มีการหดเกร็งบริเวณมดลูก : ในเดือนนี้คุณแม่จะต้องเจอกับการหดเกร็งของมดลูกทำให้คุณแม่มีปวดท้องบ่อยครั้ง
  • จะเป็นตะคริวบ่อย : อีกอย่างที่คุณแม่จะเป็นบ่อยครั้งในเดือนนี้ คือการเป็นตะคริว ซึ่งสาเหตุมาจากการหดเกร็งของกร้ามเนื้อในบริเวนน่อง ต้นขา และปลายเท้า
  • น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น : เป็นเรื่องธรรมดาที่คุณแม่จะน้ำหนักขึ้น เพราะน้ำหนักของคุณแม่จะขึ้อาทิตย์ละ ครึ่งกิโลกรัมโดยประมาณ เกิดจากการเจริญเติบโตของเด็กในท้อง แต่ในบางคนน้ำหนักไม่ขึ้นตามเกณฑ์ก็ไม่ต้องกังวลไปว่าเด็กในท้องจะตัวเล็กไป เพราะน้ำหนักไม่ได้เป็นตัวการันตรีความตัวใหญ่เล็กของเด็ก
  • เกิดโรคแทรกซ้อน : ในช่วงเดือนนี้เป็นต้นไป คุณแม่ต้องคอยระมัดระวังในเรื่องของการกิน เพราะ อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอย่างเบาหวาน หรือครรภ์เป็นพิษ ควรขอรับคำปรึกษาในการกินให้ตรงตามหลักโภชนาการที่คนท้องจำเป็น

การเปลี่ยนแปลงของคนท้องเดือนที่ 7

  • การนอนลำบากมากขึ้น : เมื่อเข้าสู่เดือนนี้ อีกอย่างที่คุณแม่ต้องเผชิญ คือการนอนที่ลำบากมากขึ้นเพราะท้องที่ใหญ่โตขึ้น วิธีแก้คือการนอนตะแคงซ้ายและใช้หมอนข้างระหว่างขา เพื่อจะช่วยให้คุณแม่นอนได้สบายมากยิ่งขึ้น
  • มีอาการปวดหลังมากขึ้น : เนื่องจากครรภ์ที่มีน้ำหนักมากขึ้น ดังนั้นหลังต้องทำงานหนักในการผยุงครรภ์ อีกทั้งกระดูกเชิงกรานที่มีการขยายตัวเพื่อต้องรับน้ำหนัก ส่งผลให้เกิดอาการปวดหน่วงๆ เช่นกัน
  • ปัสสาวะบ่อยมาก : สาเหตุเกิดจากท้องที่ใหญ่ขึ้นไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อย
  • น้ำนมเริ่มไหล : เพราะร่างกายเตรียมความพร้อมในการคลอด
  • น้ำหนักตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว : เพราะช่วงนี้ระบบการย่อยอาหารจะทำงานแย่ลง ทำให้รู้สึกอึดอัด และอาหารไม่ค่อยย่อย ส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ควรแบ่งมื้ออาหาร หลายๆมื้อ และเคี้ยวอาหารให้ละเอียด ก็จะช่วยได้

การเปลี่ยนแปลงของคนท้องเดือนที่ 8

  • มีอาการปวดหน่วงๆ : อาการนี้คุณแม่จะเริ่มเป็นตั้งแต่เดือนที่ 7 แต่เดือนนี้จะทวีความเจ็บมากขึ้น สาเหตุมาจากข้อต่อกระดูกเชิงกร้านเกิดการหย่อนตัว ทำให้เกิดอาการเจ็บแบบหน่วงๆ หากมีการเปลี่ยนท่าอริยาบทต่างๆ
  • การเจ็บเตือน : เป็นการเจ็บที่แสดงสัญญาณในเตรียมพร้อมการคลอด จะมีความรู้สึกปวดท้อง และท้องจะแข็งเป็นระยะ มดลูกเกิดการหดตัวเป็นระยะ และท้องจะนูนแข็งครั้งละไม่เกิน 30 นาที
  • มีอาการจุกเสียด : เนื่องจากเกิดการขยายตัวของมดลูกและไปเบียดกับยอดอกบริเวณชายโครง ทำให้เกิดการจุกเสียด
  • เท้าบวมง่าย : ในเดือนนี้เท้าคุณแม่จะเริ่มบวม ซึ่งมาจากน้ำหนักตัวที่หนักขึ้น และไปกดทับหลอดเลือดดำใหญ่หลังลำตัว ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เป็นเรื่องปกติของคนท้องในเดือนนี้ แต่หากบวมมากเกินไป ให้ปรึกษาแพทย์ทันที

การเปลี่ยนแปลงของคนท้องเดือนที่ 9

  • หน้าท้องลดลง : เนื่องจากทารกเริ่มมีการกลับหัวเพื่อตัวออกมาดูโลกภายนอก ซึงระยะเวลาของการกลับหัวเด็ก จะแตกต่างกันไปในคุณแม่แต่ละคน ในช่วงนี้คุณแม่จะหายใจคล่องและสะดวกขึ้น
  • คุณแม่เริ่มกังวลหนักขึ้น และนอนไม่ค่อยหลับ : เนื่องจากใกล้กำหนดคลอด จึงมีความกังวลไปต่างๆ นาๆ และอารมณ์จะแปรปรวนหนักมาก มิหน่ำซ้ำด้วยท้องที่ใหญ่มากการนอนก็ยิ่งลำบายไปอีกทำให้นอนไม่ค่อยหลับ

ทั้งหมดนี้อาการที่คุณแม่ต้องเจอในแต่ละเดือน ไม่ใช่เรื่องง่ายกับการเป็นแม่คน ว่าต้องเจอ ต้องเหนื่อย แต่อย่างไรก็ตามผลลัพธ์ออกมาก็คือความสุขจนลืมความเจ็บปวดที่ผ่านมาทั้งหมด

บทความที่เกี่ยวข้อง