การฉีดวัคซีนสำหรับเด็ก
การฉีดวัคซีนสำหรับเด็ก
การฉีดวัคซีนสำหรับเด็กควรฉีดวัคซีนใดบ้าง ค่าใช้จ่ายวัคซีนแต่ละชนิด และถ้าหากได้รับวัคซีนไม่ตรงตามที่กำหนดจะเกิดผลอย่างไรบ้าง วันนี้เราจะพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีนสำหรับเด็ก 14 วัคซีนสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัยค่ะ โดยปกติแล้ววัคซีนสามารถแบ่งเป็น 2 แบบค่ะ คือ วัคซีนพื้นฐานหรือวัคซีนจำเป็น และวัคซีนเสริมหรือวัคซีนทางเลือก
วัคซีนพื้นฐานหรือวัคซีนจำเป็น วัคซีนในกลุ่มนี้เด็กทุกคนต้องได้รับวัคซีนตามโปรแกรมที่กำหนดค่ะ ค่าใช้จ่ายในการฉีดวัคซีนหากเป็นโรงพยาบาลรัฐจะไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ ถ้าเป็นโรงพยาบาลเอกชนค่าใช้จ่ายขอวัคซีนแต่ละชนิดเป็นไปตามรายละเอียดของโรงพยาบาลค่ะ ซึ่งราคาของวัคซีนแต่ละประเภท แต่ละชนิดจะแตกต่างกันและการให้บริการของแต่ละโรงพยาบาลค่ะ
การฉีดวัคซีนกลุ่มพื้นฐานของเด็กในวัยต่างๆ ดังนี้
– วัคซีนป้องกันวัณโรค โดยฉีดในชั้นผิวหนังที่ไหล่ซ้าย ฉีดเมื่อตอนแรกเกิด จำนวน 1 ครั้งค่ะ
– วัคซีนตับอักเสบบี(HB1) เป็นวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีตั้งแต่แรกเกิด เพราะการติดเชื้อในวัยเด็กจะทำให้เด็กที่ติดเชื้อเป็นพาหะของโรคนี้ได้สูงค่ะ โดยต้องฉีดวัคซีนตัวนี้ให้เร็วที่สุดภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด
– วัคซีนตับอักเสบบี (HB2) เป็นวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
– วัคซีน DTP-HB1 ป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และตับอักเสบบี
– วัคซีน OPV1 ป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน โดยใช้หยอดข้างปาก
– วัคซีน DTP-HB2 วัคซีนรวมเพื่อป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และตับอักเสบบี
– วัคซีน IPV1 ป้องกันโรคโปลิโอ โดยต้องให้แบบฉีด 1 เข็ม
– วัคซีน OPV2 ป้องกันโรคโปลิโอ แบบรับประทาน 1 ครั้ง
– วัคซีน OPV3 ป้องกันโรคโปลิโอ แบบรับประทาน 1 ครั้ง
– วัคซีน DTP-HB3 รวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และตับอักเสบบี
– วัคซีน MMR1 รวมป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน ซึ่งถ้าไม่ได้ฉีดวัคซีนตามกำหนด จะต้องรีบฉีดโดยเร็วที่สุด
– วัคซีน LAJE1 ป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี ชนิดเชื้อเป็นแบบอ่อนฤทธิ์
– วัคซีน DTP4 รวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน
– วัคซีน OPV4 ป้องกันโรคโปลิโอ แบบรับประทาน 1 ครั้ง
– วัคซีน LAJE2 ป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี ชนิดเชื้อเป็นแบบอ่อนฤทธิ์
– วัคซีน MMR2 วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน
– วัคซีน DTP5 รวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน
– วัคซีน OPV5 ป้องกันโรคโปลิโอ แบบรับประทาน 1 ครั้ง
เด็กประถมศึกษาชั้นปีที่ 1
– วัคซีน MMR รวมป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน
– วันซีน dT ป้องกันโรคคอตีบและบาดทะยัก
– วัคซีน HB ป้องกันโรคตับอักเสบบี
– วัคซีน IPV ป้องกันโรคโปลิโอ โดยต้องให้แบบฉีด 1 เข็ม
– วัคซีน BCG ป้องกันโรควัณโรค
– วัคซีน OPVป้องกันโรคโปลิโอ ชนิดรับประทาน 1 ครั้ง
– วัคซีน LAJE ป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี ชนิดเชื้อเป็นแบบอ่อนฤทธิ์
เด็กประถมศึกษาชั้นปีที่ 5
– วัคซีนHPV1 และ HPV2 ป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อ HPV
เด็กประถมศึกษาชั้นปีที่ 6
– วัคซีน dT ป้องกันโรคคอตีบและบาดทะยัก
วัคซีนเสริมหรือวัคซีนทางเลือกวัคซีนกลุ่มนี้เป็นวัคซีนกลุ่มที่ไม่จำเป็นต้องฉีดก็ได้ค่ะ แต่ถ้าฉีดจะช่วยป้องกันการเกิดโรคนั้นได้ค่ะ ค่าใช้จ่ายในการฉีดวัคซีนกลุ่มนี้จะเป็นไปตามรายละเอียดของโรงพยาบาลกำหนดค่ะ ซึ่งราคาของวัคซีนแต่ละประเภท แต่ละชนิดจะแตกต่างกันตามการให้บริการของแต่ละโรงพยาบาลค่ะ วัคซีนเสริมหรือวัคซีนทางเลือก ได้แก่
วัคซีนเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกทั้ง 4 สายพันธุ์ ฉีดจำนวน 3 เข็มห่างกัน 0 เดือน, 6 เดือนและ 1 เดือน และเป็นวัคซีนที่ฉีดเมื่อเคยเป็นไข้เลือดออกเท่านั้น
วัคซีนกลุ่มทางเลือกที่เด็กไทยจำเป็นต้องได้รับ และแนะนำสำหรับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ผู้สูงอายุ สตรีตั้งครรภ์และผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ เนื่องจากโรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดต่อที่เกิดขึ้นบ่อยค่ะ โดยในช่วงแรกจะฉีดเมื่ออายุ 6 เดือนถึง 2 ปี จำนวน 2 เข็มห่างกัน 1 เดือน หลังจากนั้นฉีดปีละครั้งค่ะ
วัคซีนที่ช่วยป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิดเอที่ติดต่อผ่านทางอาหารและน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อโรคนี้ มีอยู่ 2 ชนิด คือ เชื้อไม่มีชีวิต ฉีดจำนวน 2 เข็ม เมื่ออายุ 1 ปีขึ้นไปโดยฉีดห่างกัน 6 – 12 เดือน และเชื้อมีชีวิต ฉีดจำนวน 1 เข็ม อายุ 18 เดือนขึ้นไปค่ะ
วัคซีนที่ช่วยป้องกันโรคอีสุกอีใสซึ่งเป็นโรคที่ติดต่อผ่านการไอ จาม หรือการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ ซึ่งจะทำให้เกิดผื่นผุพองเป็นตุ่มน้ำใสที่ผิวหนัง ฉีดจำนวน 2 เข็ม เมื่ออายุ 12 – 18 เดือนและ 2 ปี 5 เดือน – 4 ปี
วัคซีนที่ช่วยป้องกันเชื้อแบคทีเรียฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนซา ชนิดบี (Haemophilus influenzae Type B : Hib) ซึ่งเป็นเชื้อที่ติดต่อได้โดยผ่านละลองอากาศ เป็นสาเหตุของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และไขสันหลังอักเสบในเด็ก มีความรุนแรงมากโดยเฉพาะในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี ฉีดจำนวน 3 ครั้ง เมื่ออายุ 2 เดือน, 4 เดือนและ 6 เดือนค่ะ
วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก โดยฉีดเมื่ออายุ 11 – 12 ปี จำนวน 2 เข็ม ห่างกัน 6 – 12 เดือนและจะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อได้รับการฉีดตั้งแต่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ค่ะ
วัคซีนกลุ่มทางเลือก เชื้อไวรัสโรตา (Rotavirus) เป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดอุจจาระร่วง ท้องร่วง หรือท้องเสียในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งวัคซีนโรตาเป็นวัคซีนเชื้อเป็นที่จะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันต้านทานโรค โดยวัคซีนนี้เป็นวัคซีนแบบหยอด มีชนิด 2 ชนิดคือ Live attenuated human ฉีดจำนวน 2 ครั้ง เมื่ออายุ 2 เดือน, 4 เดือนและ Bovine-human reassortant ฉีดจำนวน 3 ครั้ง เมื่ออายุ 2 เดือน, 4 เดือน และ 6 เดือนค่ะ
วัคซีนนิวโมคอคคัส
ชนิดคอนจูเกตหรือวัคซีนไอพีดี (IPD)
วัคซีนกลุ่มทางเลือก เชื้อนิวโมคอคคัสเป็นตัวการหลักในการก่อให้เกิดโรคติดเชื้อไอพีดี ที่มีอาการรุนแรง คือ เยื่อหุ้มสมองอักเสบและปอดอักเสบ ซึ่งเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีความเสี่ยงในการติดเชื้อสูง ดังนั้นจึงมีการให้วัคซีนนิวโมคอคคัส ชนิดคอนจูเกต เพื่อเป็นการป้องกันโรคแก่เด็ก ฉีดจำนวน 4 เข็ม เมื่ออายุ 2 เดือน, 4 เดือน, 6 เดือนและ 12 – 18 เดือนค่ะ
คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกรับวัคซีนพื้นฐานให้ครบตามกำหนดค่ะ และการรับวัคซีนเสริมเพื่อป้องกันลูกน้อย เพราะการป้องกันย่อมดีกว่าการแก้ไขเสมอค่ะ เพื่อสุขภาพลูกน้อยของคุณ